
เรื่องน่ารู้ “โซล่าเซลล์” ผลิตไฟฟ้าได้อย่างไร?
???? แหล่งพลังงานสำคัญแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ พลังงานฟอสซิล หรือพลังงานสิ้นเปลือง เช่น ถ่านหิน น้ำมันดิบ และก๊าซธรรมชาติ กับพลังงานทดแทน หรือพลังงานหมุนเวียน เช่น น้ำ ลม ชีวมวล นิวเคลียร์ และแสงอาทิตย์ ปัจจุบันคนส่วนใหญ่มักจะหันมาใช้พลังงานทดแทนกันเป็นจำนวนมาก เนื่องจากเป็นพลังงานที่ไม่มีวันหมดและหามาทดแทนได้ ต่างจากพลังงานฟอสซิลที่มีอยู่อย่างจำกัดและกำลังจะหมดไปในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า
❝ นอกจากนี้ การเผาไหม้ฟอสซิลเพื่อให้ได้พลังงานมาต้องแลกกับการปล่อยก๊าซต่าง ๆ สู่ชั้นบรรยากาศ จนทำให้เกิดภาวะเรือนกระจกและส่งผลให้โลกร้อน จึงทำให้พลังงานทดแทนเข้ามามีบทบาทสำคัญ คือ “พลังงานแสงอาทิตย์” ที่สามารถนำมาเปลี่ยนเป็นไฟฟ้าด้วย “โซล่าเซลล์” ได้ วันนี้ KACHA จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับกระบวนการและความน่าสนใจของสิ่งประดิษฐ์ชนิดนี้ว่าสามารถผลิตไฟฟ้าได้อย่างไรกัน? ???? ❞

▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾
โซล่าเซลล์ (Solar Cell) คืออะไร?
โซล่าเซลล์ หรือเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Cell) เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้าได้ ประโยชน์หลัก ๆ คือ การใช้พลังงานไฟฟ้าจากแหล่งที่ไม่มีวันหมด เป็นพลังงานสะอาด ปราศจากมลพิษ สามารถนำมาใช้ทดแทนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลได้ นอกจากนี้ยังนำไปใช้งานได้หลากหลาย ผลิตไฟฟ้าได้ทุกขนาดตั้งแต่เล็กจนถึงใหญ่ และช่วยให้การผลิตไฟฟ้าใช้เองเป็นเรื่องง่าย เพราะผลิตที่ไหนก็ใช้ที่นั่นได้เลย ไม่ต้องคำนึงถึงการนำส่ง ใช้ต้นทุนในการผลิตที่ต่ำ โดยกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จาก Solar Cell จะเป็นไฟฟ้ากระแสตรง +/- ซึ่งเราสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทันที รวมทั้งสามารถนำไปเก็บไว้ในแบตเตอรี่ และใน Power Bank ได้
ประเทศไทยมีการใช้ประโยชน์จากพลังงานแสงอาทิตย์มานานแล้ว การเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้า หรือการใช้โซล่าเซลล์ เพิ่งจะเริ่มในปี 2519 หรือประมาณ 22 ปี โดยมีกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน, กรมโยธาธิการ, การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เป็นผู้ดูแลหลัก
???? กระบวนการในการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นกระแสไฟฟ้า
การเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้าจะต้องประกอบด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น แผงโซล่าเซลล์, เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า (อินเวอร์เตอร์), ตู้กระแสสลับ, มิเตอร์วัดกระแสสลับ และหม้อแปลงไฟฟ้า

โดยกระบวนการไฟฟ้าจะเกิดขึ้นเมื่อ “แสงอาทิตย์” ซึ่งเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและมีพลังงาน มากระทบกับ “แผงโซล่าเซลล์” ซึ่งเป็นสารกึ่งตัวนำ จนเกิดเป็นการถ่ายทอดพลังงาน ทำให้กลายเป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสตรงขึ้น หลังจากนั้นก็เคลื่อนที่ต่อไปยังเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าเพื่อทำให้กลายเป็นกระแสสลับ เสร็จแล้วก็ส่งต่อไปสู่มิเตอร์วัดกระแสไฟฟ้าและหม้อแปลงไฟฟ้า เพื่อเพิ่มแรงดันและส่งใช้งานต่อไป
ประเภทของ “โซล่าเซลล์”
โซล่าเซลล์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ โซล่าเซลล์ที่ใช้สารกึ่งตัวนำซิลิคอน (Silicon Semiconductor) และโซล่าเซลล์ที่ใช้สารกึ่งตัวนำแบบผสม (Compound Semiconductor) ซึ่งที่เห็นกันทั่วไปและนิยมใช้ส่วนใหญ่ คือ โซล่าเซลล์ที่ใช้สารกึ่งตัวนำซิลิคอน ซึ่งก็จะมีแบ่งแยกย่อยเพิ่มเติมตามลักษณะได้ 2 แบบ คือ แบบที่อยู่ในรูปผลึก (Crystal) และแบบที่ไม่อยู่ในรูปผลึก (Amorphous) โดยโซล่าเซลล์ที่ใช้สารกึ่งตัวนำซิลิคอนที่คนไทยนิยมใช้มีทั้งหมด 3 ชนิดหลัก ดังนี้

1) โซล่าเซลล์แบบผลึกเดี่ยว
โซล่าเซลล์แบบผลึกเดี่ยว โมโนคริสตัลไลน์ หรือซิงเกิลคริสตัลไลน์ (Mono Crystalline/Single Crystalline) มีลักษณะเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมจัตุรัสวางเรียงกันในแนวราบคล้ายการปูกระเบื้อง โดยมีเส้นสีเงินทำหน้าที่นำกระแสไฟฟ้า ซึ่งถือเป็นโซล่าเซลล์ชนิดแรกที่ถูกสร้างขึ้น แม้จะมีราคาแพงแต่ก็มีประสิทธิภาพสูงกว่าแผงโซล่าเซลล์ชนิดอื่น
2) โซล่าเซลล์แบบผลึกรวม
โซล่าเซลล์แบบผลึกรวม โพลีคริสตัลไลน์ หรือมัลติคริสตัลไลน์ (Poly Crystalline/Multi Crystalline) มีลักษณะเป็นสีน้ำเงิน พร้อมคริสตัลสีรุ้ง เป็นโซล่าเซลล์ที่สร้างขึ้นต่อยอดจากโซล่าเซลล์แบบผลึกเดี่ยว
3) โซล่าเซลล์แบบฟิล์มบาง
โซล่าเซลล์แบบฟิล์มบางซิลิคอน (Thin film) หรืออะมอร์ฟัสซิลิคอน (Amorphous) มีลักษณะเป็นสีดำ อาจจะมีเส้นราง ๆ เป็นบางครั้ง เป็นโซล่าเซลล์ที่ไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าไร ส่วนมากจะใช้ในฟาร์มขนาดใหญ่ หรือนำไปใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าขนาดเล็กต่าง ๆ เช่น เครื่องคิดเลข นาฬิกา เป็นต้น
ส่วนโซล่าเซลล์ที่ใช้สารกึ่งตัวนำแบบผสม หรือทำมาจากสารประกอบอื่น ๆ (Compound Semiconductor) เป็นโซล่าเซลล์ที่ไม่ค่อยนิยมใช้ในประเทศไทย รวมถึงพื้นที่ต่าง ๆ บนโลกมากนัก เนื่องจากโซล่าเซลล์ประเภทนี้มีประสิทธิภาพสูงมาก อย่างน้อยก็ 25% ขึ้นไป จึงทำให้ราคาแพงเกินเอื้อม ดังนั้น การใช้งานหลักจึงเป็นบนอวกาศ ดาวเทียม และระบบรวมแสง อีกทั้งยังเหมาะกับพื้นที่ที่มีขนาดจำกัดและมีปัญหาเรื่องการรองรับน้ำหนักด้วย
???? ข้อดี-ข้อเสีย ของ โซล่าเซลล์ เป็นอย่างไร?
✔ ข้อดี |
---|
1. เป็นพลังงานสะอาด เพราะได้มาจากการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้าโดยตรง ไม่ทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หนึ่งในตัวการสำคัญของภาวะเรือนกระจก เหมือนกับการผลิตไฟฟ้าด้วยวิธีอื่น ๆ |
2. เป็นพลังงานที่ไม่มีวันหมด เพราะผลิตมาจากแหล่งพลังงานที่ไม่จำกัด และไม่มีวันดับอย่างดวงอาทิตย์ แตกต่างจากแหล่งพลังงานอื่นที่มีอยู่อย่างจำกัด ใช้แล้วหมดไป เช่น น้ำมัน ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ |
3. ผลิตไฟฟ้าได้ทุกขนาด ไม่ว่าจะเล็กแบบเครื่องคิดเลข นาฬิกา หรือใหญ่ไปถึงระดับโรงงานไฟฟ้า สามารถผลิตกระแสไฟฟ้ามาใช้ได้ด้วยการใช้แผ่นโซล่าเซลล์ที่มีลักษณะเหมือนกัน |
4. ไม่จำเป็นต้องมีระบบส่ง เพราะโซล่าเซลล์สามารถเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้าในบริเวณที่จะใช้งานได้เลย แตกต่างจากการผลิตพลังงานไฟฟ้าในระบบปกติที่จะต้องนำส่ง เพราะแหล่งผลิตกับแหล่งใช้งานอยู่คนละที่กัน |
✘ ข้อเสีย |
1. ปริมาณไม่แน่นอน เนื่องจากกระบวนการผลิตขึ้นอยู่กับความเข้มของแสงอาทิตย์หรือสภาพอากาศโดยตรง ถ้าหากวันไหนอากาศดี ท้องฟ้าแจ่มใส จะได้ปริมาณไฟฟ้าเต็มที่ ถ้าหากวันไหนอากาศไม่ดี มีฝนหรือมีหมอก ก็จะได้ปริมาณไฟฟ้าน้อยลง |
2. พลังงานไม่ค่อยสูง เนื่องจากความเข้มของพลังงานดวงอาทิตย์ไม่สูงมากนัก ดังนั้น ถ้าหากที่ไหนต้องการปริมาณไฟฟ้ามาก ก็ต้องใช้จำนวนโซล่าเซลล์และพื้นที่ในการติดตั้งเพิ่มมากขึ้น |
3. เก็บสะสมไว้ใช้ได้ไม่นาน กระบวนการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้าจะเกิดขึ้นได้เมื่อมีแสงเท่านั้น ดังนั้น จึงต้องมีอุปกรณ์รองรับเพื่อสลับไปใช้ระบบไฟฟ้าปกติ หรือมีแบตเตอรี่เพื่อเก็บไว้ใช้ยามสำรองด้วย |
???? เลือกซื้อโซล่าเซลล์ อย่างไรดี?

✔ ควรเลือกชนิดให้เหมาะสม
โซล่าเซลล์แต่ละชนิดมีคุณสมบัติและราคาแตกต่างกัน โดย แผ่นโซล่าเซลล์แบบผลึกเดี่ยว จะมีประสิทธิภาพสูงที่สุด และราคาสูงมาก ส่วน แผ่นโซล่าเซลล์แบบผลึกรวม จะมีประสิทธิภาพรองลงมา และราคาจะถูกลง จึงทำให้ได้รับความนิยมมากที่สุด สำหรับแผ่นโซล่าเซลล์แบบฟิล์มบาง จะมีประสิทธิภาพน้อยที่สุด และมีอายุการใช้งานสั้น แต่จะทำงานได้ดีกว่าในพื้นที่ที่มีความเข้มของแสงต่ำ และพื้นที่ที่มีอุณหภูมิสูง และยังมีราคาถูกที่สุด
✔ ควรคำนึงถึง ขนาด, กำลังการผลิต และประสิทธิภาพ
ความสามารถในการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้าที่ระบุเป็นเปอร์เซ็นต์ไว้ เป็นสิ่งที่ต้องพิจารณา เพราะถ้าหากราคาเท่ากัน แต่โซล่าเซลล์อีกชนิดให้ประสิทธิภาพสูงกว่า จะถือว่าคุ้มค่ามากยิ่งกว่า อย่างไรก็ตาม โซล่าเซลล์ที่มีกำลังผลิตไฟฟ้ามาก จะมีขนาดใหญ่ขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นจึงต้องพิจารณาควบคู่กันไป ให้เหมาะสมกับความต้องการในการใช้ไฟฟ้าด้วย
✔ ควรเปรียบเทียบค่ากำลังไฟ
เลือกเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า หรืออินเวอร์เตอร์ ให้มีขนาดเหมาะสม คือ เลือกค่ากำลังไฟฟ้าของอินเวอร์เตอร์ให้มากกว่าค่ากำลังไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมดรวมกันประมาณ 30-40%
✔ เลือกใช้ของที่มีคุณภาพ
เลือกสายไฟและเบรกเกอร์ที่มีคุณภาพ โดยสำหรับสายไฟควรเลือกให้มีความทนทานต่ออุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียสขึ้นไป และต้องทนน้ำและทนความร้อนด้วย
✔ เลือกใช้อุปกรณ์เสริมให้เหมาะสม
ควรเลือกซื้ออุปกรณ์ป้องกันต่าง ๆ เพื่อช่วยให้เครื่องทำงานได้ต่อเนื่อง ไม่สะดุด แม้จะเกิดเหตุฉุกเฉินจนทำให้ความดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าสูงขึ้นอย่างรวดเร็วก็ตาม
✔ ราคา
ราคาของโซล่าเซลล์ไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจน ดังนั้น การเลือกซื้อโซล่าเซลล์ในราคาที่ถูกที่สุด ไม่ได้หมายความว่าจะดีที่สุด ควรดูปัจจัยอื่น ๆ ควบคู่กันไปด้วย เช่น ประเทศผู้ผลิต คุณภาพ และอุปกรณ์ที่นำมาใช้ประกอบ
✔ การรับประกัน
สิ่งสุดท้ายที่ควรพิจารณาก่อนซื้อ คือ ประกัน เพราะของถูกมักรับประกันในระยะเวลาสั้น ๆ ส่วนใหญ่จะรับประกันอุปกรณ์และความเสียหายที่เกิดจากการผลิต 10 ปี ในขณะที่บางบริษัทจะมีประกันกำลังการผลิตด้วย เช่น รับประกันกำลังการผลิต 80% ของกำลังการผลิตเริ่มต้นในปีที่ 25
นอกจากนี้ผู้ผลิตบางรายยังให้ประกันจากบริษัทประกันภายนอกอีกขั้นหนึ่ง เพื่อช่วยเพิ่มความเชื่อมั่น เนื่องจากธุรกิจโซล่าเซลล์มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีความเสี่ยงที่อาจจะทำให้หลายบริษัทเกิดการควบรวมหรือปิดกิจการ
???? ราคาโซลาร์เซลล์สำหรับบ้านเรือน ข้อมูลจากโครงการโซลาร์ภาคประชาชน กกพ. ได้มีการคาดการณ์งบประมาณในการติดตั้งโซล่ารูฟ หรือโซล่าเซลล์บนหลังคาสำหรับบ้านเรือนไว้ โดยระบุว่า ถ้าหากใช้พื้นที่ในการติดตั้งประมาณ 8-10 ตารางเมตร มีต้นทุนเฉลี่ยประมาณ 35,000 บาท ต่อการผลิตไฟฟ้า 1 กิโลวัตต์ หลังการติดตั้งและนำมาใช้เฉลี่ยแล้ว โซลาร์เซลล์ทุก ๆ 1,000 วัตต์ จะช่วยลดค่าไฟได้ 500-700 บาท แถมยังนำไฟฟ้าส่วนที่เหลือไปจำหน่ายต่อให้กับการไฟฟ้าฯ ได้อีกด้วย ????

โซลาร์ รูฟ (Solar Roof) คือ ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ติดตั้งบนหลังคา โดยใช้แผงเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Module) ที่ติดตั้งบนหลังคาที่พักอาศัยหรืออาคารต่าง ๆ รับพลังงานแสงเข้ามาเปลี่ยนเป็นไฟฟ้ากระแสตรง ก่อนส่งไปยังเครื่องแปลงไฟ (Inverter) เพื่อเปลี่ยนจากไฟฟ้ากระแสตรงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ แล้วนำพลังงานไฟฟ้าที่ได้ไปใช้งานต่อไป โดยจะใช้เองภายในครัวเรือนหรือนำไปจำหน่ายให้กับภาครัฐก็ได้ ซึ่งสามารถติดตั้งได้กับหลังคา ทุกประเภท ได้แก่ หลังคากระเบื้องซีแพคโมเนีย, หลังคาลอนคู่, หลังคาคอนกรีต, หลังคาเมทัลชีท, และหลังคากระเบื้องแบบเรียบ ยกเว้นหลังคาที่ใช้โครงไม้ หลังคาสังกะสี และหลังคาที่มีร่มเงาปกคลุมตลอดทั้งวัน
???? การกำจัดโซล่าเซลล์ เป็นแบบไหนกัน . . .
เนื่องจากการใช้โซล่าเซลล์ในประเทศไทยเพิ่งมีการเริ่มใช้ได้ไม่นาน ซึ่งโซล่าเซลล์แต่ละแผ่นจะมีอายุการใช้งานยาวนานถึง 20-25 ปี จึงทำให้ทุกวันนี้ยังไม่มีรูปแบบการกำจัดโซล่าเซลล์ที่แน่ชัด ดังนั้น จึงมุ่งเน้นไปที่การส่งต่อให้กับผู้ประกอบการที่รับจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์โดยตรงแทน โดยผู้ประกอบการแต่ละรายจะนำไปทำการรีไซเคิลให้เหมาะสมกับโซล่าเซลล์แต่ละชนิด เช่น การคัดแยกวัสดุด้วยความร้อนประมาณ 600 องศาเซลเซียส และกระบวนการทางเคมี เพื่อกำจัดสารเคลือบป้องกันการสะท้อน ก่อนจะนำไปหลอมเป็นแท่งผลึกซิลิคอน แล้วนำกลับมาผลิตเป็นโซลาร์เซลล์อีกครั้ง
❝ จะเห็นได้ว่า “โซล่าเซลล์” เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่น่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว เพราะนอกจากจะมีประโยชน์ในเรื่องของการใช้พลังงานทดแทนแทนพลังงานฟอสซิล และการใช้พลังงานสะอาด ไม่สร้างมลพิษ จนช่วยลดภาวะโลกร้อนแล้ว ยังมีประโยชน์ต่อตัวเราและครอบครัว และการติดแผ่นโซล่าเซลล์ไว้บนหลังคาช่วยลดความร้อนในบ้านได้ แถมการผลิตไฟฟ้าใช้เองยังช่วยประหยัดค่าไฟลงด้วย และอีกไม่กี่ปีข้างหน้าคงได้เห็นการใช้โซล่าเซลล์ในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นแน่นอน ???? ❞
เพื่อไม่ให้พลาดข่าวสารสำคัญ และโปรโมชั่นพิเศษมากมาย สามารถติดตามเราผ่านช่องทางต่างๆได้หลากหลายช่องทางตามด้านล่างนี้เลย
บทความที่เกี่ยวข้อง
พลาสติก PE คืออะไร? รู้จักประเภท คุณสมบัติ และการใช้งานที่ควรรู้
25 กรกฎาคม 2025
พลาสติก PP คืออะไร? รวมคุณสมบัติและการใช้งาน
14 กรกฎาคม 2025
มือใหม่ต้องรู้! หัวไขควงแบบต่างๆ มีอะไรบ้าง ใช้ต่างกันยังไง
30 มิถุนายน 2025
ไขข้อสงสัย! น็อตคืออะไร น็อตมีกี่ประเภท
30 มิถุนายน 2025
10 อุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม ที่ควรมีไว้ติดบ้านก่อนน้ำจะมา
9 มิถุนายน 2025
แม่แรงไฮดรอลิค คืออะไร มีแบบไหนบ้าง?
9 มิถุนายน 2025
บทความที่น่าสนใจ
พลาสติก PE คืออะไร? รู้จักประเภท คุณสมบัติ และการใช้งานที่ควรรู้
25 กรกฎาคม 2025
พลาสติก PP คืออะไร? รวมคุณสมบัติและการใช้งาน
14 กรกฎาคม 2025
มือใหม่ต้องรู้! หัวไขควงแบบต่างๆ มีอะไรบ้าง ใช้ต่างกันยังไง
30 มิถุนายน 2025
ไขข้อสงสัย! น็อตคืออะไร น็อตมีกี่ประเภท
30 มิถุนายน 2025
10 อุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม ที่ควรมีไว้ติดบ้านก่อนน้ำจะมา
9 มิถุนายน 2025
แม่แรงไฮดรอลิค คืออะไร มีแบบไหนบ้าง?
9 มิถุนายน 2025