❝ ไม่มีใครไม่รู้จัก ถังเก็บ ที่เกือบทุกบ้านต้องมี น้ำมีหน้าที่สำรองน้ำไว้ใช้ตอนน้ำไม่ไหล สามารถใช้ร่วมกับระบบจ่ายน้ำทั้งแบบจ่ายขึ้น และจ่ายลง (Up feed & Down feed) แต่สำหรับบางบ้านที่ไม่ได้มีปริมาณการใช้น้ำภายในบ้านมากนัก และไม่ได้ต้องการใช้ปั๊มน้ำ ก็สามารถใช้น้ำจากระบบประปาได้โดยตรงโดยไม่จำเป็นต้องติดตั้งถังเก็บน้ำก็ได้ เพียงแต่อาจจะต้องประสบปัญหาไม่มีน้ำใช้เวลาที่น้ำไม่ไหลเท่านั้นเอง ❞
วันนี้ตาม KACHA ไปรู้จักเคล็ดลับการเลือก ถังเก็บน้ำกัน ว่าเป็นอย่างไร?
สำหรับการเลือกขนาดถังเก็บน้ำ จะพิจารณาจากจำนวนผู้อยู่อาศัยภายในบ้าน และระยะเวลาในการกักเก็บสำรองน้ำเอาไว้ใช้ โดยจากข้อมูลของการประปานครหลวง ผู้ที่พักอาศัยในเขตนครหลวงจะใช้น้ำเฉลี่ย 200 ลิตรต่อคนต่อวัน
ข้อมูลของการประปาส่วนภูมิภาค : ผู้ที่พักอาศัยในเขตเทศบาลจะใช้น้ำเฉลี่ย 120 ลิตรต่อคนต่อวัน และผู้ที่พักอาศัยแถบชานเมืองจะใช้น้ำเฉลี่ย 70 ลิตรต่อคนต่อวัน ดังนั้น ปริมาณน้ำดีที่จะกักเก็บสำรองไว้ใช้จะเท่ากับ จำนวนผู้พักอาศัย X ปริมาณการใช้น้ำเฉลี่ยต่อคนต่อวัน X ระยะเวลาที่ต้องการสำรองน้ำไว้ใช้ (ประมาณ 3 วัน)
ชนิดของถังเก็บน้ำ มีแบบไหนบ้าง?
-
ถังเก็บน้ำคอนกรีตเสริมเหล็ก (ค.ส.ล.)
เป็นถังที่มีความแข็งแรง สามารถสร้างได้ทั้งแบบอยู่บนดิน และใต้ดิน แต่มีน้ำหนักมาก และต้องระวังเรื่องการรั่วซึม ดังนั้น ต้องทำระบบกันซึม และต้องเลือกชนิดที่ไม่เป็นพิษต่อร่างกาย
-
ถังเก็บน้ำสเตนเลส
เป็นถังน้ำสำเร็จรูปโดยใช้สเตนเลสเกรดสูงที่ไม่เป็นสนิม มีความทนทานต่อการใช้งาน ผิวมันวาว หรูหรา ดูสวยงาม ทำความสะอาดภายในถังได้ง่าย เนื่องจากมีรูถ่ายน้ำอยู่บริเวณก้นถัง มีขาตั้งบริเวณก้นถัง เพื่อป้องกันสนิมที่จะเกิดขึ้นจากการสัมผัสความชื้นของดิน แต่มีข้อจำกัด คือ ควรใช้กับน้ำสะอาด หรือน้ำประปาเท่านั้น ไม่เหมาะกับน้ำกร่อย หรือน้ำบาดาล เนื่องจากวัสดุไม่ทนต่อกรด และด่าง ควรระมัดระวังสนิมที่อาจเกิดขึ้นได้ตามรอยเชื่อม
-
ถังเก็บน้ำไฟเบอร์กลาส
เป็นถังเก็บน้ำสำเร็จรูปมีราคาค่อนข้างสูง ใช้วัสดุไฟเบอร์กลาสที่มีความยืดหยุ่นสูง ไม่แตกหักง่าย มีน้ำหนักเบา ไม่เกิดสนิม รับแรงดันได้ดี และไม่เป็นพิษกับน้ำ ใช้ได้กับทั้งน้ำสะอาด และน้ำกร่อย สามารถติดตั้งได้ทั้งบนดิน และใต้ดิน แต่ถังชนิดนี้จะไม่มีขาตั้ง ดังนั้น อาจไม่ค่อยสะดวกในการทำความสะอาด
-
ถังเก็บน้ำ PE (โพลิเมอร์ชนิดไม่ทึบแสง)
ถังชนิดนี้เป็นพลาสติกที่ไม่ทึบแสง ทำให้แสงสามารถส่องผ่านตัวถึงได้ ดังนั้น จึงไม่เหมาะสำหรับการใช้งานกลางแจ้ง หรือที่ที่มีแสงส่อง มีโอกาสเกิดตะไคร่น้ำภายในถังได้ สามารถรับแรงดัน ได้ดีมีน้ำหนักเบา ใช้ติดตั้งได้ทั้งบนดิน และใต้ดิน แต่เป็นถังที่เหมาะกับการใช้งานแบบชั่วคราว อายุการใช้งานไม่นาน แต่ก็มีราคาไม่แพง
ตำแหน่งในการติดตั้งถังเก็บน้ำ
โดยทั่วไป สามารถแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ คือ ติดตั้งถังเก็บน้ำบนดิน และใต้ดิน
-
การติดตั้งถังเก็บน้ำบนดิน
วิธีนี้เหมาะสำหรับบ้านหรืออาคารที่มีพื้นที่เพียงพอสำหรับกับการติดตั้ง อาจติดตั้งบนพื้นดิน หรือบนอาคาร หรือติดตั้งบนหอสูง เพื่อใช้ประโยชน์ ในการใช้แรงดันน้ำ สำหรับแจกจ่ายให้ส่วนต่างๆ ของอาคาร วิธีนี้มีข้อดีคือ การดูแลรักษา การซ่อมบำรุง และการเคลื่อนย้ายสามารถทำได้ง่าย แต่ก็มีข้อเสียคืออาจทำให้ดูไม่เรียบร้อยและไม่สวยงามนัก
สำหรับชนิดของถังน้ำที่เหมาะสมกับการติดตั้งแบบนี้คือ ถังเก็บน้ำสเตนเลส และถังเก็บน้ำพลาสติกชนิดติดตั้งบนดิน
-
การติดตั้งถังเก็บน้ำใต้ดิน
ใช้ในกรณีที่บ้านหรืออาคารมีพื้นที่จำกัด และต้องการให้ดูเรียบร้อยสวยงาม โดยอาคารนั้นต้องมีโครงสร้างที่สามารถรับน้ำหนักได้เพื่อป้องกันการทรุดตัวที่อาจเกิดขึ้น ดังนั้น การก่อสร้างและการเลือกชนิดของถังต้องมีความละเอียดรอบคอบ และศึกษาคู่มือการติดตั้งก่อนการติดตั้ง สำหรับเรื่องการบำรุงดูแลรักษาต้องระวังมากกว่าการติดตั้งบนดิน และทำความสะอาดได้ยากกว่า รวมทั้งวิธีการของการติดตั้งวิธีค่อนข้างสูง
สำหรับชนิดของถังน้ำที่เหมาะสมกับการติดตั้งแบบนี้คือ ถังเก็บน้ำคอนกรีต และถังเก็บน้ำพลาสติกชนิดฝังดินผลิตจากไฟเบอร์กลาส
เคล็ดลับการเลือก ถังเก็บน้ำ ให้เหมาะกับบ้าน
การเลือกขนาดถังเก็บน้ำ แท้งค์น้ำ หรือถังสำรองน้ำ โดยทั่วไปจุดประสงค์หลักในการซื้อนั้นเพื่อ เก็บน้ำไว้ใช้เวลาที่น้ำประปาไม่ไหล หรือน้ำประปาไหลอ่อนในบางพื้นที่ ดังนั้น การพิจารณาขนาดให้เหมาะสม จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก วิธีการในการเลือกถังเก็บน้ำ มีดังนี้
|
|
|
|
สุดท้ายนี้ จะเห็นได้ว่าการเลือกพื้นที่ที่จะวางถังเก็บน้ำ ก็จะแตกต่างกันตามขนาดบ้าน เช่น บ้านเดี่ยว บ้านทาวน์โฮม หรืออาคารพานิช เนื่องจากหมู่บ้านจัดสรรในปัจจุบัน ขนาดของบ้านมีแนวโน้มที่มีขนาดเล็กลงเมื่อเทียบกับราคาซื้อขาย การเลือกถังเก็บน้ำ สำหรับบ้านทาวน์โฮม ที่มีข้อจำกัดในเรื่องข้องพื้นที่ ดังนั้นการพิจารณาเลือกสถานที่ตั้ง จึงมีความสำคัญมากทีเดียว ????