“เลื่อย” (Saw) เป็นเครื่องมือพื้นฐานอีกอย่างหนึ่งสำหรับงานช่างในบ้าน ประโยชน์หลัก ๆ คือ ใช้ตัดหรือซอยชิ้นงานให้ได้ขนาดตามต้องการ ปัจจุบันมีให้เลือกมากมายหลายชนิดสามารถแบ่งได้ตามวัสดุที่นำมาตัด เช่น เลื่อยไม้ หรือเลื่อยโลหะ เป็นต้น

ดังนั้น การเลือกใช้เลื่อยให้เหมาะกับงานจึงเป็นเรื่องที่เราไม่ควรมองข้าม รวมถึงความชำนาญงานที่ต้องหมั่นฝึกปรับฝีมืออยู่เสมอ ตลอดจนเทคนิคต่าง ๆ เพื่อให้เราสามารถใช้เลื่อยได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ในบทความนี้ KACHA จะขอนำเสนอเลื่อยที่นิยมใช้งานกันทั่วไป ว่ามีอะไรบ้าง? ใช้งานแบบไหนบ้าง? มาฝากกัน ตามไปดูได้เลย . . .


ประเภทของเลื่อย เลือกอย่างไรให้เหมาะกับงานช่าง

เลื่อยลันดา (Hand Saw)

เป็นเลื่อยที่แทบทุกบ้านต้องมีติดบ้านไว้ใช้สอย ด้วยลักษณะของเลื่อยลันดาที่มีลักษณะเป็นแผ่น โคนใหญ่ปลายเรียว และมีซี่ฟันที่เรียงกันเป็นระเบียบตลอดความยาวของใบเลื่อย และมีมือจับ จึงทำให้เหมาะกับงานช่างไม้ และงานช่างก่อสร้าง 

210206-Content-เลื่อย-มีกี่แบบ-ใช้งานแบบไหนบ้าง-02


โดยใช้สำหรับเลื่อยตัดซอยแปรรูปไม้ได้อย่างสะดวกสบาย ส่วนใหญ่แล้วเลื่อยลันดาจะมีความยาวให้เลือกใช้ตั้งแต่ 16-24 นิ้ว ตามความเหมาะสม เช่น

เลื่อยลันดาชนิดตัด เลื่อยลันดาชนิดโกรก
 มีความถี่ของฟันประมาณ 8-12 ซี่ ใช้สำหรับไม้ตามขวางของเสี้ยนไม้  ใช้สำหรับโกรกหรือผ่าไม้ ความเอียงของฟันเลื่อยจะมีองศาที่เอียงมากกว่าเลื่อยตัด มีจำนวนฟันประมาณ 5-8 ซี่

▾▾▾▾▾▾▾▾▾▾▾▾▾▾▾

เลื่อยหางหนู (Wallboard Saw)

210206-Content-เลื่อย-มีกี่แบบ-ใช้งานแบบไหนบ้าง-03


สำหรับใครที่ชอบทำงาน DIY ประเภทงานฉลุ หรือเลื่อยส่วนโค้งที่มีความยาวไม่มากนัก อย่างการเลื่อยส่วนโค้งเพื่อประกอบรูปทรงเฟอร์นิเจอร์ หรือใช้เจาะฝ้า ผนังยิปซัม เลื่อยหางหนู หรือหลาย ๆ คนเรียกว่าเลื่อยฉลุฝ้า สามารถใช้งานได้ เพราะด้วยลักษณะของตัวเลื่อยที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก มีใบเลื่อยยาวไปจนถึงด้ามจับ ปลายเรียวแหลมและคมมาก โดยสามารถถอดเก็บและเปลี่ยนใบเลื่อยได้ จึงทำให้งานเลื่อยสะดวกสบายในการใช้งาน หรือบางบ้านอาจจะนำไปเป็นเครื่องมือตัดแต่งกิ่งไม้เลื้อยได้อีกด้วย

▾▾▾▾▾▾▾▾▾▾▾▾▾▾▾

➧ เลื่อยตัดเหล็ก หรือเลื่อยมือ (Hack Saw)


เลื่อยชนิดนี้เหมาะสำหรับงานเลื่อย หรืองาน DIY ที่เน้นตัดโลหะเป็นส่วนมาก
เช่น น็อตและสกรู, ตะปู, เหล็ก หรือท่อพีวีซี การใช้งานเลื่อยไม่เหมาะกับงานไม้ เพราะฟันของเลื่อยค่อนข้างละเอียด ใบเลื่อยทำด้วยเหล็กกล้ามีความเหนียวมาก ปลายสุดของใบเลื่อยมีรูสำหรับยึดกับตัวเลื่อย เพื่อบังคับให้เลื่อยมีความแน่นยิ่งขึ้น โดยส่วนใหญ่แล้วเลื่อยชนิดนี้จะมีขนาดความยาว 12 นิ้ว และสามารถถอดเก็บหลังการใช้งานได้

▾▾▾▾▾▾▾▾▾▾▾▾▾▾▾

➧ เลื่อยฉลุ (Coping Saw)


หากต้องการสร้างงานด้วยลวดลายบนไม้
เลื่อยฉลุเป็นตัวเลือกที่ดีที่นิยมใช้กันมาก ส่วนใหญ่จะนำมาใช้ฉลุไม้ งานตัดมุมโค้ง มุมแคบ เหมาะกับงานชิ้นไม่ใหญ่ เพราะลักษณะของเลื่อยมีขนาดบาง และเล็ก ใบเลื่อยมีความอ่อนตัว เหมือนเส้นลวด การใช้งานเลื่อยต้องขึงใบเลื่อยกับด้าม และคันเลื่อยให้ตึงก่อนใช้งานทุกครั้ง และเมื่อใช้งานเสร็จแนะนำให้คลายความตึงของใบเลื่อยทันทีก่อนเก็บเข้าที่

▾▾▾▾▾▾▾▾▾▾▾▾▾▾▾

➧ เลื่อยคันธนู (Bow Saw)

210206-Content-เลื่อย-มีกี่แบบ-ใช้งานแบบไหนบ้าง-06


สำหรับพ่อบ้านแม่บ้านที่ชอบทำสวน ไม่ควรมองข้ามงานเลื่อยและควรมีเลื่อยคันธนูไว้ติดบ้าน เพื่อใช้สำหรับเลื่อยตัดกิ่งไม้ ทั้งไม้สดและไม่แห้ง หรือจะใช้ตัดลำต้นไม้ขนาดเล็ก เพื่อตกแต่ง รวมถึงใช้ทำเป็นไม้ฟืน ลักษณะของตัวเลื่อยมีความคล้ายกับคันธนู ใบเลื่อยมีความแกร่ง และความคมเป็นพิเศษเพราะผลิตจากเหล็กกล้า และชุบแข็งที่ฟันเลื่อย ขนาดกะทัดรัด น้ำหนักเบา พกพาได้สะดวก มีให้เลือกใช้หลากหลายขนาดขึ้นกับความต้องการใช้งาน เช่น 12 นิ้ว 21 นิ้ว 24 นิ้ว และ 30 นิ้ว

▾▾▾▾▾▾▾▾▾▾▾▾▾▾▾

➧ เลื่อยพลูซอ (Pull Saw)


เลื่อยพลูซอ เป็นเลื่อยอเนกประสงค์ที่สามารถพกพาไว้ในกระเป๋าสำหรับเดินทางไปแคมป์ปิ้ง และใช้งานสำหรับตกแต่งกิ่งไม้ งานพลาสติก และงาน PVC ที่มีขนาดไม่หนามาก หรือใช้กับงานเฟอร์นิเจอร์ ลักษณะของเลื่อยมีขนาดเล็ก สามารถพับเก็บได้ ตัวฟันเลื่อยเป็นแบบฟันดึง แม้ใบเลื่อยจะสั้น แต่มีความคมของใบเลื่อยสูง ทำให้ตัดแต่งกิ่งไม้ได้อย่างรวดเร็ว ถือเป็นเลื่อยอีกประเภทหนึ่งที่ควรมีไว้ติดบ้าน และทำงาน DIY หรืองานเลื่อยได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว

หากต้องการตัดแต่งกิ่งไม้ในที่สูง การใช้งานเลื่อยพลูซอ ก็ง่ายนิดเดียวเพียงต่อด้ามเลื่อยเข้ากับลำไม้ไผ่ ก็ช่วยให้สะดวกสบาย และไม่เป็นอันตรายระหว่างใช้งานอีกด้วย ????

▾▾▾▾▾▾▾▾▾▾▾▾▾▾▾

➧ เลื่อยบังตอ หรือเลื่อยลอ (Dovetail Saw)

210206-Content-เลื่อย-มีกี่แบบ-ใช้งานแบบไหนบ้าง-08


สำหรับงานที่ใช้ความประณีต การใช้เลื่อยบังตอจะช่วยให้งานมีความละเอียดเป็นพิเศษมากขึ้น ลักษณะของเลื่อยคล้ายคลึงกับเลื่อยสันแข็ง แต่ด้ามจับจะเป็นด้ามยาว ใบเลื่อยมีให้เลือกความยาวหลายขนาดขึ้นอยู่กับความต้องการส่วนใหญ่แล้ว นิยมใช้ 10 นิ้ว มากกว่า 8 นิ้ว และ 12 นิ้ว การใช้งานแนะนำให้ใช้ร่วมกับปากกาจับชิ้นงานเพื่อให้ใช้งานได้สะดวกยิ่งขึ้น หรือใช้ร่วมกับกล่องตัดปรับมุมก็ได้


การดูแลรักษา

  • ขณะเลื่อยอย่าออกแรงกดใบเลื่อยมากเกินไป เพราะจะทำให้ใบและฟันเลื่อยบิดเบี้ยว และไม่ควรใช้เลื่อยผิดประเภท เช่น นำเลื่อยลันดาไปตัดแผ่นไม้ที่มีตะปูฝังอยู่ เพราะจะทำให้ฟันเลื่อยเสียหายได้ กรณีนี้ควรถอนตะปูออกก่อน
  • เลื่อยที่ผ่านการใช้งานมาแล้ว ควรทำความสะอาดด้วยการใช้ผ้าแห้งเช็ดเบา ๆ เพื่อเอาฝุ่นออกให้หมด และทาน้ำมันอเนกประสงค์เพื่อป้องกันสนิม (แต่อย่าให้ชุ่มมากเกินไป) และไม่ควรใช้น้ำยาที่มีฤทธิ์เป็นกรด-ด่าง ในการทำความสะอาด จากนั้นเก็บเข้าแผงเครื่องมือ โดยเก็บให้พ้นมือเด็กด้วย

หากต้องการให้เลื่อยคมอยู่เสมอ แนะนำให้ใช้ตะไบตกแต่งฟันเลื่อยให้คม โดยเลือกตะไบที่พอดีกับฟันเลื่อย ที่สำคัญไม่ควรเก็บไว้ในที่ชื้น เพื่อป้องกันการเกิดสนิม


เมื่อทราบความต้องการและรายละเอียด การใช้งานเลื่อยแต่ละประเภทแล้ว คงไม่ใช่เรื่องยากในการสร้างสรรค์งานช่าง งานเลื่อย งานไม้ งานก่อสร้าง หรืองาน DIY ที่สามารถทำได้ด้วยตนเองที่บ้าน ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นเลื่อยประเภทไหน สิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามเลยคือ การบำรุงรักษาเลื่อย หลังการใช้งานเลื่อยทุกครั้งด้วย เพื่ออายุการใช้งานที่ยาวนานนั่นเอง