
เคยสงสัยไหมว่า? เสาเข็มเหล็ก เสาเข็มไมโครไพล์ คืออะไร? และใช้กับงานประเภทไหนบ้าง ตาม KACHA ไปทำความรู้จักกับเสาเข็มทั้ง 2 ชนิดนี้กัน ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร?
เสาเข็มไมโครไพล์ คืออะไร?
เสาเข็มไมโครไพล์ คือ เสาเข็มในจำพวกเสาเข็มตอก มีจุดเด่น คือ เป็นเสาเข็มขนาดเล็ก สามารถเข้าทำงานในที่แคบได้ มีแรงสั่นสะเทือนแต่น้อยมาก และเป็นเสาเข็มที่ตอกได้จนถึงชั้นดินดานตามที่วิศวกรต้องการ โดยวิธีการเชื่อมเหล็กหัวและท้ายเสาเข็มระหว่างท่อน เสาเข็มไมโครไพล์ มีหลายรูปแบบ เช่น เสาเข็มรูปตัวไอ เสาเข็มกลมตัน และเสาเข็มกลมกลวง (สปันไมโครไพล์) โดยมีข้อดี-ข้อเสียต่างกัน ดังนี้

(ภาพจาก SCGHOME)
ประเภทของเสาเข็มไมโครไฟล์
-
เสาเข็มไมโครไพล์แบบตัวไอ
หน้าตัดเป็นรูปตัวไอ มีความยาวประมาณ 1-2 เมตร และมีขนาดหน้าตัด 18, 22, 25 เซนติเมตร เป็นคอนกรีตและมีเหล็กอยู่ภายใน แล้วแต่ผู้ผลิตกำหนด
ข้อดี: ราคาถูกที่สุดในกลุ่มไมโครไพล์ และมีการใช้อย่างแพร่หลายในหลาย ๆ หน่วยงาน
ข้อเสีย: การตอกเสาเข็มตัวไอ อาจจะทำให้หัวและท้ายเข็มเสียหายได้ เนื่องจากขนาดปีกเสาเข็มเล็ก จึงอาจจะทำให้การตอกในท่อนต่อไปไม่ตรงตามจุดศุนย์กลางที่วิศวกรต้องการ และทำให้เข็มทั้งต้นศูนย์เบี้ยวได้
-
เสาเข็มไมโครไพล์แบบตัวกลม
หน้าตัดเป็นรูปวงกลมตัน มีความยาวประมาณ 1-2 เมตร และ มีขนาดหน้าตัด 18, 22, 25 เซนติเมตร เป็นคอนกรีตและมีเหล็กอยู่ภายใน แล้วแต่ผู้ผลิตกำหนด
ข้อดี: ช่างผู้รับเหมา ทำงานได้ง่าย การเชื่อมตามแนววงกลมหัวท้ายของเสาเข็ม ง่ายกว่าเสาเข็มตัวไอ
ข้อเสีย: มีน้ำหนักมาก ถึงแม้จะเป็นทรงกลม แต่เมื่อทำการตอกด้วยปั้นจั่นหัวและท้ายเสาเข็ม ก็มีโอกาสแตกได้ และถ้าคอนกรีตบ่มไม่ได้อายุ ก็อาจจะทำให้เกิดรอยร้าวภายในเสาเข็มได้
-
เสาเข็มไมโครไพล์แบบกลมกลวง (สปันไมโครไพล์)
เสาเข็มสปันไมโครไพล์เป็นเสาเข็มที่มีวิธีการผลิตที่แตกต่างจากรูปแบบอื่น คือ ใช้วิธีการอัดแรงเหวี่ยง เพื่อให้คอนกรีตมีการอัดตัว จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เสาเข็มสปันไมโครไพล์ มีรูกลวงตรงกลาง หน้าตัดเป็นรูปวงกลมกลวง มีความยาวประมาณ 1-2 เมตร และมีขนาดหน้าตัด 17, 18, 20, 22, 25 เซนติเมตร เป็นคอนกรีตและมีเหล็กอยู่ภายใน แล้วแต่ผู้ผลิตกำหนด
ข้อดี: มีน้ำหนักที่เบาแต่แข็งแรง เมื่อทำการตอกด้วยปั้นจั่น มีโอกาสแตกร้าวน้อย เป็นคนกรีตที่มีแรงอัด การเชื่อมหัวและท้ายเสาเข็มง่าย ทำให้ศูนย์เสาเข็มตรงตามที่วิศวกรต้องการ
ข้อเสีย: มีราคาที่แพงกว่าชนิดอื่น และด้วยการผลิตที่ยุ่งยาก และต้นทุนสูงจึงมีผู้ผลิตน้อย

(ภาพจาก wazzadu)
เข็มเหล็กมีลักษณะเป็นแท่ง และมีอัตลักษณ์พิเศษด้วยใบเกลียวรูปทรงกรวย หรือที่เรียกว่า FIN ซึ่งจะช่วยยึดเกาะพื้นดิน และสร้างความสมดุลในการรับน้ำหนัก รวมไปถึงเพิ่มแรงกด และแรงถอนให้กับ เสาเข็ม โดยตัวเข็มเหล็ก จะทำหน้าที่คอยยึดระหว่างโครงสร้างอาคารกับผิวดินเหนือชั้นดินดานเป็นหลัก
ประเภทเสาเข็มเหล็ก
เสาเข็มเหล็กประเภท N คือ เสาเข็มเหล็กขนาดเล็ก เหมาะสำหรับงานโครงสร้างลักษณะเบา เช่น การประกอบติดตั้งระบบท่อวางบนพื้น, งานปรับความสูงพื้นที่, รั้ว, โซล่าฟาร์ม, เสาไฟขนาดเล็ก, ป้ายบอกทาง หรือเฉลียง ฯลฯ จุดเด่น: เสาเข็มเหล็กประเภท N มีน้ำหนักเบา ขนาดกะทัดรัด สามารถเคลื่อนย้ายไปติดตั้งในพื้นที่แคบ ๆ ได้ด้วยคนเพียง 2-3 คน ในเวลาที่รวดเร็วเพียง 30 นาที ข้อมูลจำเพาะของเสาเข็มเหล็กประเภท N (Specific Data)
|
เสาเข็มเหล็กประเภท FS คือ เสาเข็มเหล็กขนาดกลาง โดยรวมจะมีลักษณะใกล้เคียงเสาเข็มเหล็กประเภท F แต่จะมีรูปแบบเพลทหัวเสาที่แตกต่าง อีกทั้งยังมีประสิทธิภาพในด้านการรับแรงผลัก และแรงถอนได้ดีกว่า เหมาะสำหรับงานโครงสร้างที่มีฟุตติ้งในตัว หรือเหมาะสำหรับงานที่ขึ้นโครงสร้างต่อจากเสาเข็มเหล็กได้ทันที เช่น บ้าน หรืออาคารน็อคดาวน์, โครงสร้างอาคารสูงไม่เกิน 2 ชั้น, งานเสาไฟ, เสา CCTV ฯลฯ จุดเด่น: เสาเข็มเหล็กประเภท FS มีเพลทหัวเสาแบบสี่เหลี่ยมแบน ที่สามารถยกโครงสร้างมาตั้ง หรือขึ้นโครงสร้างต่อได้ทันที นอกจากนี้ ยังมีศักยภาพในการรับแรงผลัก และแรงถอนที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ข้อมูลจำเพาะของเสาเข็มเหล็กประเภท FS (Specific Data)
|
เสาเข็มเหล็กประเภท D คือ เสาเข็มเหล็กขนาดใหญ่ เหมาะสำหรับงานโครงสร้างขนาดใหญ่ (ตั้งแต่ 4 ชั้นลงมา) เช่น บ้าน, อาคารประเภทต่าง ๆ, โรงงาน, เสาไฟขนาดใหญ่ หรือป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ ฯลฯ จุดเด่น: เสาเข็มเหล็กประเภท D มีเพลทหัวเสาแบบทรงกลมแบน พร้อมครีบที่ช่วยเพิ่มความแข็งแรงในการรับแรงกด ทำให้สามารถรองรับโครงสร้างที่ใหญ่กว่าเดิมได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถขึ้นโครงสร้างต่อจากเพลทหัวเสาเข็มได้ทันที และมีขีดความสามารถในการรับน้ำหนักได้มากถึง 100 ตันต่อต้น และมีความยาวสูงสุด 34 เมตร (ความยาวลงลึกไปถึงชั้นดินดาน) ข้อมูลจำเพาะของเสาเข็มเหล็กประเภท D (Specific Data)
|
คุณสมบัติเด่นของเสาเข็มเหล็ก
- เข็มเหล็กเป็นระบบฐานรากที่ติดตั้งได้อย่างรวดเร็วทั้งในพื้นที่ปกติ และในพื้นที่แคบ โดยใช้เวลาเจาะ 30-60 นาทีต่อต้น จึงทำให้การดำเนินงานเสร็จเร็วกว่าการติดตั้งเสาเข็มแบบทั่วไปถึง 5 เท่า โดยสามารถดำเนินงานโครงสร้างต่อจากงานฐานรากได้ทันที
- งานติดตั้งฐานรากเข็มเหล็กนั้น ใช้ทรัพยากรแรงงานในการติดตั้งเพียง 2-3 คน เท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้แรงคน หรือเครื่องจักรในการติดตั้ง
- เข็มเหล็กเป็นระบบฐานรากที่ติดตั้งด้วยวิธีการเจาะลงไปในชั้นดินได้เลย ซึ่งจะช่วยลดขั้นตอนที่ยุ่งยากของระบบเสาเข็มแบบทั่วไป เช่น การเปิดหน้าดิน, การเข้าแบบหล่อปูน, การใช้เหล็กเส้น หรือการทำความสะอาดหน้างาน จึงทำให้ไม่มีค่าใช้จ่ายส่วนนี้เพิ่ม
- ไร้แรงสั่นสะเทือนในระหว่างการติดตั้ง นอกจากนี้ มลภาวะทางเสียง และมลภาวะทางอากาศในขณะที่ติดตั้ง อยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับเสาเข็มแบบทั่วไป
เสาเข็มไมโครไพล์ กับ เสาเข็มเหล็ก เลือกแบบไหนต่อเติมบ้าน?
เมื่อเทียบระหว่าง เสาเข็มเหล็กทั่วไป ยาวไม่เกิน 2 เมตร กับเสาเข็มไมโครไพล์ จะเห็นว่ามีการใช้งานที่ต่างกัน แม้ในภาพรวมเสาเข็มเหล็ก จะติดตั้งสะดวก ง่าย และเร็วกว่าเสาเข็มไมโครไพล์ เข้าถึงพื้นที่แคบมากได้ มีหน้างานสะอาดเรียบร้อยไม่เกิดแรงสั่นสะเทือน และยังสามารถรื้อถอนออกมาใช้ใหม่ได้ก็ตาม แต่เสาเข็มเหล็กทั่วไป มักใช้ในงานต่อเติมบ้านแบบลงเข็มสั้น ในขณะที่เสาเข็มไมโครไพล์ จะใช้ต่อเติมบ้านแบบลงเข็มยาวลึกถึงชั้นดินแข็ง ดังนั้น ในการตัดสินใจเลือกใช้ ก็ต้องดูว่าพื้นที่ที่จะต่อเติมนั้น จะยอมให้ทรุดตัวเร็วกว่าตัวบ้านได้หรือไม่ โดยดูจากการใช้งานตามที่กล่าวไปข้างต้น ควบคู่กับค่าใช้จ่าย เพื่อเทียบความคุ้มค่า
เป็นอย่างไรกันบ้างกับเสาเข็มไมโครไพล์ กับเสาเข็มเหล็ก ที่เรานำมาฝากกัน คงทำให้ มีหลายคนเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างเสาเข็ม 2 ชนิดนี้ บทความหน้าจะมีอะไรมาฝากอีกนั้นอย่าลืมติดตามกันด้วยนะจ๊ะ ☺️
>>สามารถติดตามบทความต่าง ๆ ของ KACHA ได้ตามนี้เลย<<
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง :
- งาน ฐานราก และเสาเข็ม มีความสำคัญอย่างไร?
- รวมวิธีสำรวจ โครงสร้างบ้าน รู้ก่อน ป้องกันก่อนบ้านทรุดตัว
- คานทับหลัง-เสาเอ็น คืออะไร?
- รวมวิธีสำรวจ โครงสร้างบ้าน รู้ก่อน ป้องกันก่อนบ้านทรุดตัว
- โครงสร้างเหล็ก vs โครงสร้างปูน เลือกสร้างแบบไหนดีและต่างกันอย่างไร?
- “เสา” คืออะไร? มีกี่ประเภทกันนะ?
KACHA ผู้จัดจำหน่าย เครื่องมือช่างราคาถูก และอุปกรณ์เสริม สำหรับช่างมืออาชีพ ราคาที่คุณจับต้องได้ รับรองสินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจอย่างแน่นอน!!
เพื่อไม่ให้พลาดข่าวสารสำคัญ และโปรโมชั่นพิเศษมากมาย สามารถติดตามเราผ่านช่องทางต่างๆได้หลากหลายช่องทางตามด้านล่างนี้เลย
บทความที่เกี่ยวข้อง
พลาสติก PE คืออะไร? รู้จักประเภท คุณสมบัติ และการใช้งานที่ควรรู้
25 กรกฎาคม 2025
พลาสติก PP คืออะไร? รวมคุณสมบัติและการใช้งาน
14 กรกฎาคม 2025
มือใหม่ต้องรู้! หัวไขควงแบบต่างๆ มีอะไรบ้าง ใช้ต่างกันยังไง
30 มิถุนายน 2025
ไขข้อสงสัย! น็อตคืออะไร น็อตมีกี่ประเภท
30 มิถุนายน 2025
10 อุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม ที่ควรมีไว้ติดบ้านก่อนน้ำจะมา
9 มิถุนายน 2025
แม่แรงไฮดรอลิค คืออะไร มีแบบไหนบ้าง?
9 มิถุนายน 2025
บทความที่น่าสนใจ
พลาสติก PE คืออะไร? รู้จักประเภท คุณสมบัติ และการใช้งานที่ควรรู้
25 กรกฎาคม 2025
พลาสติก PP คืออะไร? รวมคุณสมบัติและการใช้งาน
14 กรกฎาคม 2025
มือใหม่ต้องรู้! หัวไขควงแบบต่างๆ มีอะไรบ้าง ใช้ต่างกันยังไง
30 มิถุนายน 2025
ไขข้อสงสัย! น็อตคืออะไร น็อตมีกี่ประเภท
30 มิถุนายน 2025
10 อุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม ที่ควรมีไว้ติดบ้านก่อนน้ำจะมา
9 มิถุนายน 2025
แม่แรงไฮดรอลิค คืออะไร มีแบบไหนบ้าง?
9 มิถุนายน 2025