
“ไขควงวัดไฟ” ใช้อย่างไรให้ปลอดภัย
อีกหนึ่งอุปกรณ์ประจำบ้านที่หลายคนอาจคิดไม่ถึง คือ “ไขควงวัดไฟ” หรือ “ไขควงลองไฟ” ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำคัญในการตรวจสภาพเครื่องใช้ไฟฟ้า ว่าไฟรั่วหรือไม่ สำหรับลักษณะที่บ่งบอกว่าเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น มีไฟรั่วก็ต่อเมื่อนำไขควงวัดไฟไปแตะที่ตัวเครื่องใช้ไฟฟ้า หากมีแสงสว่างปรากฎขึ้นมา แสดงว่าเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นมีไฟรั่ว จะต้องถอดปลั๊กทิ้ง แล้วรีบให้ช่างดูทันที
บทความนี้ KACHA จึงอยากพาทุกคนไปรู้จักกับ ไขควงวัดไฟ ให้มากขึ้นกัน
ไขควงลองไฟ หรือ ไขควงวัดไฟ หน้าตาอย่างไร?
ไขควงวัดไฟมีอยู่ 2 แบบ ในท้องตลาดส่วนใหญ่จะแบ่งออกเป็น ไขควงวัดไฟแบบธรรมดา และไขควงวัดไฟแบบตัวเลขดิจิตอล ซึ่งแบบที่เป็นที่นิยมและคนส่วนใหญ่คุ้นหน้าคุ้นตาที่สุด คือ ไขควงวัดไฟแบบธรรมดา ที่มีหลอดไฟอยู่ที่ด้ามจับนั่นเอง

ไขควงวัดไฟแบบธรรมดานั้น เป็นไขควงเช็คไฟที่มีขนาดเล็ก มีปลายไขควงเป็นโลหะรูปร่างแบน ด้ามจับทำจากแก้ว หรือพลาสติกที่ไม่นำไฟฟ้า มีปุ่มโลหะอยู่บริเวณก้นด้าม ส่วนภายในด้ามจะบรรจุหลอดนีออน และตัวต้านทานต่ออนุกรม จากปลายไขควงเช็คไฟมาที่ปุ่มโลหะบริเวณก้นด้าม เพื่อทำหน้าที่แสดงผลแรงดัน
การทำงาน การใช้งานของไขควงวัดไฟ ไขควงลองไฟ เป็นแบบไหน?
หลักการทำงานของไขควงวัดไฟ คือ การอาศัยร่างกายของผู้ใช้งานเป็นสื่อ นั่นคือการอาศัยค่าความต่างศักย์ของกระแสไฟฟ้า ที่ตามหลักแล้วกระแสไฟฟ้าจะไหลจากจุดที่มีศักย์มากไปยังจุดที่มีศักย์น้อยกว่า เมื่อปลายไขควงวัดไฟสัมผัสกับตัวนำที่มีกระแสไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านตัวต้านทาน เพื่อทำการจำกัดกระแสให้ลดลง จนอยู่ในระดับที่ไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้งาน จากนั้น จึงไหลผ่านไปยังหลอดนีออน ก่อนจะไหลต่อเนื่องไปยังร่างกายของผู้ใช้งานแล้วไหลลงพื้นเป็นอันครบวงจร ทำให้หลอดนีออนสว่างขึ้นมาได้ และเป็นเหตุผลที่ระหว่างใช้งานไขควงวัดไฟต้องไม่ใส่รองเท้านั่นเอง

เมื่อต้องการทดสอบแรงดันไฟฟ้าโดยไขควงวัดไฟ ให้จับบริเวณด้ามของไขควงที่เป็นแก้ว หรือพลาสติก โดยระวังไม่ให้มือสัมผัสโดนส่วนปลายของไขควงเช็คไฟเด็ดขาด จากนั้นนำปลายไขควงเช็คไฟไปแตะที่ตัวนำ เต้ารับไฟฟ้า สายไฟ หรือบนโลหะที่ต้องการทดสอบ แล้วจึงใช้นิ้วหนึ่งแตะที่ปุ่มกดโลหะบริเวณก้นด้ามจับ หากหลอดนีออนในด้ามไขควงวัดไฟสว่างขึ้น แปลว่าบริเวณที่ทดสอบนั้น มีกระแสไฟฟ้าเป็นเส้นไลน์ หรือมีไฟฟ้ารั่วในระบบนั่นเอง
ข้อควรระวัง ในการใช้งานไขควงวัดไฟ ไขควงลองไฟ
เมื่อใช้ไขควงลองไฟ หรือไขควงวัดไฟ ต้องระวังอะไรบ้าง? เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งาน ดังนี้
- ควรเลือกไขควงวัดไฟ ที่มีขนาดเหมาะสมกับชนิดของไฟฟ้า โดยไฟฟ้ากระแสตรง DC คือ ไฟฟ้าที่ใช้ในรถยนต์ หรือไฟฟ้ากระแสสลับ AC จะใช้กับไฟที่มาจากการไฟฟ้า
- นอกจากชนิดของไฟฟ้า ขนาดแรงดันของไฟฟ้าก็ต้องพอเหมาะ ไม่สูงหรือต่ำเกินไป เช่น การวัดกระแสไฟฟ้าในบ้านซึ่งใช้ไฟ 200-250 โวลต์ ไม่ควรใช้ไขควงวัดไฟสำหรับแรงดัน 80-125 โวลต์ เป็นต้น และห้ามนำไขควงวัดไฟ ไปใช้ทดสอบกับไฟฟ้าที่ไม่รู้ค่าแรงดัน หรือไฟฟ้าแรงสูงเด็ดขาด
- การจับไขควงวัดไฟ ขณะใช้งาน ต้องระวังไม่ไปแตะบริเวณปลายไขควงส่วนที่เปลือยเด็ดขาด ควรใช้ไขควงวัดไฟที่ด้ามจับอยู่ในสภาพสมบูรณ์ หุ้มด้วยฉนวนที่ไม่นำไฟฟ้าอย่างแก้ว หรือพลาสติก และอาจใช้เทปพันสายไฟ พันให้รอบ เพื่อช่วยป้องกันการเกิดไฟฟ้าลัดวงจรจากการใช้งาน ที่ไม่ระมัดระวังเพียงพอด้วย
- การใช้ไขควงวัดไฟที่ถูกวิธี คือ การนำปลายไขควงเช็คไฟ ไปแตะที่ตัวนำที่ต้องการทดสอบก่อน แล้วจึงใช้นิ้วแตะปุ่มโลหะบริเวณด้ามจับ ในขณะที่ถอดรองเท้า และไม่ยืนอยู่บนพื้นฉนวน เพื่อให้ไฟฟ้าไหลครบวงจร และสามารถแสดงค่าแรงดันที่ถูกต้องได้

- ทุกครั้งที่ใช้งานไขควงวัดไฟ ให้ระมัดระวัง และนึกเสมอว่าอาจมีอันตราย เช่น ตัวไขควงวัดไฟอาจชำรุด หรือมีการลัดวงจรภายในได้ การใช้งานจึงต้องแตะพียงเล็กน้อยเท่านั้น
- เวลาแตะตัวนำไฟฟ้าต้องระมัดระวังไม่ให้ไขควงวัดไฟไปแตะโดนส่วนอื่น ที่เป็นขั้วไฟฟ้าคนละขั้วพร้อม ๆ กัน โดยเฉพาะในพื้นที่แคบ ๆ เช่น การแตะโดนขั้วไฟต่างเฟส หรือขั้วมีไฟแตะกับขั้วดิน เป็นต้น เพราะจะทำให้เกิดการลัดวงจร และประกายไฟพุ่งออกมาใส่ผู้ใช้งานจนอาจบาดเจ็บรุนแรงได้
- ในสถานการณ์ที่มีขั้วไฟฟ้าเปิดโล่ง หรือเปลือย เช่น บริเวณแผงสวิตช์ หรือเต้ารับที่เปิดฝาออก ต้องใช้ช่างไฟฟ้ามืออาชีพที่มีความชำนาญเฉพาะทางเป็นผู้ดำเนินการวัดไฟให้เท่านั้น
- สำหรับไขควงวัดไฟที่ไม่ได้ใช้งานมานาน หลอดนีออน หรือตัวต้านทานภายในอาจชำรุด ใช้การไม่ได้ จึงควรทดสอบก่อนการใช้งานจริง โดยทดสอบกับส่วนที่รู้ว่า มีไฟแน่นอนเสียก่อน เช่น การแตะปลายไขควงเช็คไฟ เข้าไปในรูเต้ารับผนัง จะมีรูหนึ่งเท่านั้นที่มีไฟ เป็นต้น
สุดท้ายนี้ เราคงรู้กันแล้วว่าไขควงวัดไฟ นั้นประโยชน์มากมายเลยทีเดียว สำหรับใคร ที่ยังไม่มีอุปกรณ์ช่างตัวนี้ อย่าลืมรีบไปหาซื้อติดบ้านเอาไว้ก็ดี เพราะเป็นอุปกรณ์ช่าง ชิ้นเล็ก ๆ แต่จำเป็นมาก ๆ ชิ้นหนึ่ง นอกจาก ไขควงวัดไฟ หรือ ไขควงลองไฟ แล้ว ทุกบ้านควรมี เครื่องมือช่าง ที่จำเป็นติดบ้านไว้ เพราะเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน จะได้สามารถแก้ไข และตรวจสอบได้ทันเวลานั่นเอง บทความหน้า จะมีอะไรดี ๆ มาฝากอีกนั้น อย่าลืม ติดตามกันด้วยนะจ๊ะ
บทความดี ๆ น่าอ่าน:
- “ไขควง” มีกี่ประเภท? ใช้งานอย่างไรบ้าง?
- ตรวจ “ระบบไฟฟ้า” ด้วยตัวเอง ทำได้อย่างไร?
- เลือก “มิเตอร์ไฟฟ้า” แบบไหนให้เหมาะสมกับบ้าน
- “10 อุปกรณ์ช่างประจำบ้าน” ที่ทุกบ้านต้องมี!
KACHA ผู้จัดจำหน่าย เครื่องมือช่างราคาถูก และอุปกรณ์เสริม สำหรับช่างมืออาชีพ ราคาที่คุณจับต้องได้ รับรองสินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจอย่างแน่นอน!! เลือกดูสินค้าจาก KACHA คลิกเลย ????????
เพื่อไม่ให้พลาดข่าวสารสำคัญ และโปรโมชั่นพิเศษมากมาย สามารถติดตามเราผ่านช่องทางต่างๆได้หลากหลายช่องทางตามด้านล่างนี้เลย
บทความที่เกี่ยวข้อง
พลาสติก PE คืออะไร? รู้จักประเภท คุณสมบัติ และการใช้งานที่ควรรู้
25 กรกฎาคม 2025
พลาสติก PP คืออะไร? รวมคุณสมบัติและการใช้งาน
14 กรกฎาคม 2025
มือใหม่ต้องรู้! หัวไขควงแบบต่างๆ มีอะไรบ้าง ใช้ต่างกันยังไง
30 มิถุนายน 2025
ไขข้อสงสัย! น็อตคืออะไร น็อตมีกี่ประเภท
30 มิถุนายน 2025
10 อุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม ที่ควรมีไว้ติดบ้านก่อนน้ำจะมา
9 มิถุนายน 2025
แม่แรงไฮดรอลิค คืออะไร มีแบบไหนบ้าง?
9 มิถุนายน 2025
บทความที่น่าสนใจ
พลาสติก PE คืออะไร? รู้จักประเภท คุณสมบัติ และการใช้งานที่ควรรู้
25 กรกฎาคม 2025
พลาสติก PP คืออะไร? รวมคุณสมบัติและการใช้งาน
14 กรกฎาคม 2025
มือใหม่ต้องรู้! หัวไขควงแบบต่างๆ มีอะไรบ้าง ใช้ต่างกันยังไง
30 มิถุนายน 2025
ไขข้อสงสัย! น็อตคืออะไร น็อตมีกี่ประเภท
30 มิถุนายน 2025
10 อุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม ที่ควรมีไว้ติดบ้านก่อนน้ำจะมา
9 มิถุนายน 2025
แม่แรงไฮดรอลิค คืออะไร มีแบบไหนบ้าง?
9 มิถุนายน 2025