คุณสมบัติของ กระจกเทมเปอร์ หรือ กระจกนิรภัย มีอะไรบ้าง?

กระจกเทมเปอร์ (Tempered Glass) คืออะไร?

กระจกเทมเปอร์ กระจกนิรภัย หรือที่เรียกทั่วไปว่ากระจกอบ เป็นกระจกที่นิยมใช้เป็นกระจกนิรภัย เพราะเมื่อกระจกเทมเปอร์แตกมันจะแตกเป็นเกล็ดเล็ก ๆ คล้ายเม็ดข้าวโพด และไม่มีคม จึงเกิดอันตรายน้อย ซึ่งต่างจากการแตกของกระจกธรรมดาที่แตกเป็นเสี่ยง จึงแหลมคมทำให้เป็นอันตรายมากกว่า นอกจากนี้กระจกเทมเปอร์ยังแข็งกว่ากระจกธรรมดาหลายเท่า

ประเภทของกระจกเทมเปอร์

กระจกเทมเปอร์ (Tempered Glass) เป็นกระจกชนิดหนึ่งที่ถูกจัดให้เป็นกระจกประเภทนิรภัย โดยกระจกเทมเปอร์ ถือเป็นกระจกนิรภัยชนิดแรกที่คนส่วนใหญ่นั้นนิยมใช้กัน เนื่ิิองมาจากความคงทน แข็งแรง และปลอดภัยกว่ากระจกธรรมดา ซึ่งกระจกเทมเปอร์ถูกทำขึ้นโดยการนำกระจกแผ่นธรรมดามาแปรรูปให้เป็นกระจกนิรภัย ซึ่งขั้นตอนนี้ จะต้องเป็นขั้นตอนสุดท้ายก่อนที่จะนำกระจกไปใช้งาน กรรมวิธี คือ การนำกระจกธรรมดาอบด้วยความร้อนประมาณ 650 องศาเซลเซียส แล้วทำให้เย็นลงทันดีด้วยการเป่าลม ผิวนอกของกระจกก็จะแข็งเร็วกว่ากระจกด้านใน ก่อให้เกิดการเรียงตัวของโมเลกุลที่แตกต่างกัน และเกิดความเครียดในเนื้อกระจก ผลของความเครียดที่ว่าจะทำให้เกิดเส้นแรงสองชนิด เส้นแรก คือ เส้นแรงรอบกระจก เส้นที่สอง คือ เส้นแรงในเนื้อกระจกที่ดันออกมาด้านนอก จึงทำให้กระจกนี้มีความพิเศษ นั่นเอง

กระจกเทมเปอร์ 210615-Content-กระจกเทมเปอร์-หรือ-กระจกนิรภัย-มีคุณสมบัติอย่างไร02_result

มาตรฐานการผลิต กระจกนิรภัยเทมเปอร์ (Tempered Glass)  กระจกนิรภัยเทมเปอร์ โดยผ่านกระบวนการผลิตตามมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก. TIS965-2537)

ประโยชน์และการนำไปใช้งาน

เนื่องด้วยกระจกนิรภัยเทมเปอร์ มีความทนทานต่อแรงกระแทก แรงกด แรงอัด และเมื่อแตกจะมีอันตรายน้อยกว่ากระจกธรรมดา กระจกนิรภัยเทมเปอร์จึงจำเป็นสำหรับกระจกที่ต้องใช้อุปกรณ์จับยึดต่าง ๆ (Fitting) เช่น ชุดประตูบานเปลือย, กระจกตู้อาบน้ำ (Shower Door), ราวกันตกที่ยึดด้วยฟิตติ้ง, แผงกระจกที่ยึดด้วยฟิตติ้ง เป็นต้น สำหรับบริเวณที่ต้องรับแรงกระแทกสูง หรือรับแรงลมสูง จำเป็นต้องใช้กระจกนิรภัยเทมเปอร์เช่นกัน เช่น ห้องเล่นสค็อช (Squash Room), ผนังกันระหว่างผู้ชมกับสนามแข่งกีฬาต่าง ๆ เช่น สนามบาสเกตบอล, สนามฮ็อคกี้น้ำแข็ง, ลานสเก็ตน้ำแข็ง เป็นต้น สำหรับบริเวณที่มีประชาชนเดินผ่านไปมาเยอะ ๆ และมีโอกาสเกิดการกระแทกกระจก กฎหมายกำหนดให้ใช้กระจกนิรภัยเทมเปอร์ด้วย เช่น ศูนย์การค้าต่าง ๆ, ธนาคาร, โชว์รูมรถ เป็นต้น

กระจกเทมเปอร์ 210615-Content-กระจกเทมเปอร์-หรือ-กระจกนิรภัย-มีคุณสมบัติอย่างไร03_result

???? ประโยชน์และการนำไปใช้งานได้ มีดังนี้

  1. ใช้เป็นประตูบานเปลือย ฉากกั้นอาบน้ำ, ผนังกั้นภายใน, ผนังกระจกทั้งสองหน้า ภายในตัวอาคาร, หน้าต่าง, ผนังอาคาร, ผนังกระจก (Curtain Wall) ของอาคารในบริเวณ ที่มีแรงลมสูง บริเวณหน้าคานของอาคารหน้าต่าง, ตู้อบไฟฟ้า หรือบริเวณที่ต้องเผชิญกับความร้อนสูงกว่าปกติ
  2. ใช้ทำเป็นตู้โทรศัพท์, ห้องโชว์, ตู้สินค้าอัญมณีที่ต้องการความโปร่งแสง แต่ทนต่อแรงกระแทก
  3. ใช้ทำเป็นกระจกงานเฟอร์นิเจอร์ เช่น ชั้นวางของ ชั้นโชว์สินค้า เป็นต้น
  4. มีความแข็งแรงกว่ากระจกทั่วไปประมาร 4-5 เท่า ทำให้รับแรงกระแทก กด บีบ ได้ดี
  5. ทนความร้อนได้สูงถึง 290 องศาเซลเซียส
  6. ทนความเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอย่างฉับพลันได้ถึง 150 องศาเซลเซียส
  7. เมื่อแตก กระจกจะแตกตัวเป็นเม็ดข้าวโพด ซึ่งอันตรายน้อยกว่ากระจกปกติที่แตกเป็นปากฉลาม

เนื่องด้วยคุณสมบัติที่พิเศษต่าง ๆ ของกระจกชนิดนี้นั้น ทำให้กระจกเทมเปอร์ ถูกใช้ในสินค้าต่าง ๆ มากมาย เช่น ฟิล์มกระจกมือถือ, เคสกระจกสำหรับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล เป็นต้น

ขนาดเเละคุณสมบัติเฉพาะของกระจกนิรภัยเทมเปอร์

ค่าความแข็งแรงต่อแรงดึง และแรงที่ทำให้หักงอ (Bending Strength) เมื่อเปรียบเทียบระหว่าง กระจกธรรมดากับกระจกนิรภัยเทมเปอร์ ที่ความหนา 5 มม. กระจกธรรมดามีค่าความแข็งแรงต่อแรงดึง และแรงที่ทำให้กระจกหักงอ 500- 600 กก./ซม.2 ส่วนกระจกนิรภัยเทมเปอร์มีค่าสูงถึง 1,500 กก./ซม.2

กระจกเทมเปอร์ 210615-Content-กระจกเทมเปอร์-หรือ-กระจกนิรภัย-มีคุณสมบัติอย่างไร04_result

สำหรับคุณสมบัติเรื่องการทนความร้อนถึง 290 ºC และทนการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิถึง 150 ºC จึงสามารถใช้กระจกนิรภัยเทมเปอร์สำหรับโคมไฟสปอร์ตไลท์, กั้นบริเวณใกล้เตาไฟ, ใช้เป็นฐานของเตาแก๊ส, ใช้รองหม้อร้อน แต่กระจกนิรภัยเทมเปอร์ไม่ใช่กระจกทนไฟ จึงไม่สามารถใช้เป็นช่องส่องมองในเตาที่มีความร้อนสูงกว่า 290 ºC ได้ รวมทั้งไม่สามารถใช้กันไฟในกรณีเกิดเพลิงไหม้ได้

ขนาด และความหนา
  • ความหนาสุด ที่สามารถผลิตได้  คือ 4, 5, 6, 8, 10, 12, 15, 19 มิลลิเมตร
  • ขนาดเล็กสุด ที่สามารถผลิตได้ คือ 180 X 180 มิลลิเมตร
  • ขนาดใหญ่สุด ที่สามารถผลิตได้ คือ 2,438 X 5,100 มิลลิเมต

ข้อดี-ข้อเสีย ของกระจกเทมเปอร์

ข้อดี

  • มีความแข็งแรงกว่ากระจกโฟลท 4-5 เท่า ทำให้สามารถรับแรงกระแทก แรงกด แรงบีบ ได้ดี
  • ทนความร้อนได้สูงถึง 290ºC โดยกระจกไม่แตก
  • ทนการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอย่างฉับพลัน ได้ถึง 150ºC
  • เมื่อกระจกแตก จะแตกเป็นชิ้นเล็ก ๆ คล้ายเม็ดข้าวโพดทั่วทั้งแผ่น ไม่เป็นปากฉลามแบบเดียวกับการแตกของกระจกธรรมดา
  • ตัดกระจกบนโต๊ะตัดที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ความเที่ยงตรงสูง ตัดได้หลากหลายรูปแบบ
  • สามารถ เจียร เจียรปลี เจาะ กระจกรูปร่างใด ๆ ก็ได้ โดยเครื่องตัด และเครื่องเจียรระบบ CNC

ข้อเสีย

  • กระจกเทมเปอร์ ไม่สามารถ ตัด เจีย บาก เจาะ ได้
  • เนื่องด้วยกระจกเทมเปอร์ เป็นกระจกที่ผ่านกระบวนการความร้อนสูงจนทำให้กระจกนิ่ม และกลิ้งไปกับลูกกลิ้ง จึงทำให้กระจกเกิดการเป็นคลื่น และมีความโก่งตัวเล็กน้อย
  • กระจกเทมเปอร์ มีโอกาสแตกตัวด้วยตัวเอง  หากกระจกที่เป็นวัตถุดิบ มีสารปนเปื้อน คือ สารนิเกิลซัลไฟล์ (NiS) ในกระบวนการผลิตกระจกโพลี โดยมีอัตราการแตกด้วยตัวเองเฉลี่ย 8 แผ่นใน 1,000 แผ่น ซึ่งสามารถดูที่ลักษณะการแตกได้ว่า การแตกด้วยตัวเองหรือไม่
กระจกเทมเปอร์ 210615-Content-กระจกเทมเปอร์-หรือ-กระจกนิรภัย-มีคุณสมบัติอย่างไร05_result

???? ข้อควรระวังในการใช้งาน

  • กระจกนิรภัย กระจกเทมเปอร์ ไม่สามารถ ตัด เจาะ เจีย บาก ได้ หลังการผลิตเป็นกระจกนิรภัยเทมเปอร์ ดังนั้น การวัดพื้นที่ จำเป็นต้องวัดอย่างระมัดระวัง และควรใช้เป็นหน่วยมิลลิเมตรในการวัด เพื่อความแม่นยำ
  • ไม่ควรใช้กระจกเทมเปอร์เดี่ยว ๆ เป็นหลังคา เป็นผนังภายนอกอาคารบริเวณชั้นสูง ๆ เพราะหากกระจกแตก จะร่วงลงมาเป็นอันตรายต่อคนข้างล่างได้
  • ไม่ควรใช้กระจกเทมเปอร์เดี่ยว ๆ เป็นพื้น หรือ เป็นขั้นบันได เพราะหากกระจกแตก ผู้เดินจะได้รับอันตรายพลัดตกลงมาได้
  • ห้ามใช้กระจกเทมเปอร์ทดแทนกระจกกันไฟ เพราะกระจกนิรภัยเทมเปอร์ไม่สามารถกันไฟ เพื่อความปลอดภัยต่อผู้อาศัยตามข้อกำหนดของการกันไฟได้

???? วิธีการทำความสะอาดกระจก

  • วัสดุที่ใช้ทำความสะอาด ควรเป็น ผ้าสะอาด, ผ้าดูปองท์ (ผ้าทำความสะอาดรถยนต์), กระดาษหนังสือพิมพ์  เป็นต้น หรือ อุปกรณ์ทำความสะอาดกระจกที่มีวัสดุเป็น พลาสติก ทำความสะอาด
  • น้ำยาที่ใช้ทำความสะอาด ควรเป็นน้ำยาเช็ดกระจกเท่านั้น
  • ครีมขัด ควรเป็นครีมขัดกระจกเท่านั้น

อ้างอิงข้อมูลจาก :  wazzadu.com