รวมเทคนิคจัดระเบียบ “คลังสินค้า” ให้มีประสิทธิภาพทำได้ไม่ยาก

เชื่อเลยว่าหลาย ๆ ธุรกิจ ตั้งแต่ขนาดเล็ก ขนาดกลาง ไปจนถึงขนาดใหญ่ จะต้องมีคลังสินค้าเป็นของตัวเองอย่างแน่นอน เอาไว้เก็บสินค้าต่าง ๆ เพื่อรอการกระจาย หรือการขนส่งนั่นเอง แต่หลาย ๆ ธุรกิจ ก็มักจะเจอปัญหา สินค้าไม่เป็นระเบียบ บทความนี้ KACHA จะพาไปจัดระเบียบ คลังสินค้า ให้ดูเป็นระเบียบ ดูมีประสิทธิภาพ จะทำได้อย่างไรบ้าง ไปดูกัน

รู้จักกับ คลังสินค้า

คลังสินค้า(Warehouse) คือ สถานที่เก็บรักษาสินค้าให้อยู่ในสภาพดี หรือพักสินค้า เพื่อรอการกระจายหรือการขนส่ง บางครั้งอาจเรียกชื่ออื่น ๆ เช่น โกดัง โรงเก็บสินค้า ศูนย์กระจายสินค้า เป็นต้น มักถูกใช้โดยผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก ผู้ค้าส่ง รวมไปถึงผู้ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจขนส่ง หรือโลจิสติกส์

230621-Content-รวมเทคนิคจัดระเบียบ-คลังสินค้า-02

คลังสินค้านั้น มักจะมีการออกแบบเฉพาะ คือ เป็นอาคารชั้นเดียว มีพื้นที่โล่งกว้าง ในบางแห่งอาจมีระบบควบคุมอุณหภูมิ ระบบป้องกันน้ำท่วม หรือระบบอื่น ๆ เพื่อให้สามารถจัดเก็บสินค้าโดยไม่ให้สินค้าเสื่อมสภาพ หรือเสียหาย มีทางลาดเอียง สำหรับลำเลียง และขนถ่ายสินค้าขึ้น-ลง

สินค้าที่นิยมจัดเก็บในคลังสินค้า จะเป็นสินค้าชนิดใดก็ได้ เช่น ชิ้นส่วนอะไหล่ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ วัตถุดิบ บรรจุภัณฑ์ สินค้าสำเร็จรูปต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และพาณิชยกรรม โดยจะมีระบบการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง เพื่อระบุชนิดของสินค้า จำนวนคงเหลือ และจำแนกหมวดหมู่อย่างชัดเจน

sponsored (โฆษณา)

เทคนิคจัดระเบียบคลังสินค้า ทำได้อย่างไร?

ขั้นตอนในการจัดระเบียบคลังสินค้า เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ที่จะทำให้ระบบจัดการภายในคลังสินค้าสามารถดำเนินไปได้อย่างไม่สะดุด ทำได้ดังนี้

  • จัดพื้นที่ให้เป็นระเบียบ

การออกแบบแผนผังภายในคลังสินค้า โดยจะต้องสร้างพื้นที่ที่มีความสมดุลกันระหว่าง การจัดหาพื้นที่ที่เพียงพอต่อการสต๊อกสินค้า กับพื้นที่ที่กว้างพอที่พนักงาน จะเคลื่อนย้ายสินค้าได้สะดวก ซึ่งสามารถแบ่งพื้นที่ออกเป็น โซนรับสินค้าเข้ามาใหม่ โซนเปิดสินค้า และจัดวางสินค้าใหม่ สำนักงานส่วนกลางภายในคลังสินค้า พื้นที่จัดเก็บสินค้าส่วนเกิน หรือสินค้าที่หมดอายุไปแล้ว โซนแพคสินค้า รวมถึงโซนสำหรับการเคลื่อนย้ายเพื่อขนส่ง

  • ติดป้ายกำกับสินค้า

การติดป้ายกำกับสินค้า เพื่อแยกประเภทสินค้าต่าง ๆ อย่างชัดเจน จะทำให้พนักงาน สามารถจดจำตำแหน่งการเก็บสต๊อกสินค้า และค้นหาสินค้าได้ง่ายขึ้น

  • การจัดเรียงสินค้า

การจัดเรียงสินค้าให้เป็นระเบียบมากขึ้น  โดยจัดเรียงสินค้าที่ขายดีที่สุด ไว้ในโซนแพคสินค้า เพราะจะช่วยลดเวลาการเดินของพนักงานในการหยิบสินค้าในคลังได้มากขึ้น ดังนั้นต้องดูให้แน่ใจว่าสินค้าชิ้นไหนที่สามารถหยิบมาวางในโซนเดียวกันได้บ้าง

  • หมั่นจัดเรียงสินค้าใหม่

หลาย ๆ คน อาจจะคิดว่า การจัดเรียงสินค้าใหม่เป็นเรื่องที่วุ่นวาย เสียเวลา แต่การที่คลังสินค้าที่ถูกจัดเรียงอย่างเหมาะสม และเป็นระเบียบแล้ว จะช่วยคุณประหยัดเวลาในภาพรวม และยังช่วยลดต้นทุนอย่างมากในการจัดการระบบภายในคลังสินค้าทั้งหมดด้วย

  • คุณภาพของอุปกรณ์เครื่องมือในคลังสินค้า

อุปกรณ์เครื่องมือที่ไม่มีคุณภาพ อาจจะส่งผลตามมาในเรื่องของความปลอดภัย ค่าใช้จ่าย และเวลา โดยอุปกรณ์หลัก ๆ ที่ควรมีในคลังสินค้า ได้แก่

  1. ชั้นวางของ เพื่อสต๊อกสินค้า จะต้องมีขนาดใหญ่ แข็งแรง รองรับน้ำหนักในปริมาณที่มากได้
  2. พาเลทวางสินค้า ใช้สำหรับวางกล่อง หรือลังสินค้า เพื่อให้ง่ายต่อการยกขึ้นลง
  3. รถเข็นสินค้า อีกหนึ่งตัวช่วยเพื่อทุ่นแรงการถือ และแบกสินค้าหนัก ๆ ตลอดเวลา
  4. Hand Lift หรือ รถ Xlift ลิฟท์ขากรรไกร ใช้สำหรับยกพาเลทสินค้า และกล่องสินค้าได้ทีละมาก ๆ ได้
  5. อุปกรณ์ในการแพ็คสินค้า สำหรับแพคเพื่อการขนส่ง
  6. เครื่องปริ้นท์ เพื่อปริ้นท์เอกสารต่าง ๆ ใบคำสั่งซื้อ ใบแจ้งหนี้ และใบเสร็จรับเงิน
  7. กล้องวงจรปิด เพื่อความปลอดภัยจากการโจรกรรม หรือสอดส่องหาสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้น (อ่านบทความ: ติดตั้งกล้องวงจรปิด ด้วยตัวเอง ทำได้อย่างไรบ้าง?)
230621-Content-รวมเทคนิคจัดระเบียบ-คลังสินค้า-03
  • การจัดการ Stock Keeping Unit (SKU)

การกำหนด SKU ให้กับสินค้าที่ขาย ให้มีความแตกต่างกันชัดเจน เพื่อความสะดวกสำหรับคนจัดสินค้า ให้สามารถจัดสินค้าที่ผู้ซื้อสั่งได้ถูกต้องตรงตามรายการสั่งซื้อ และช่วยให้การจัดการสต๊อกในระบบหลังร้าน มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย

  • ใช้ข้อมูลลูกค้า เพื่อปรับปรุง และพัฒนาคลังสินค้า

การรับ Feedback จากลูกค้า ทั้งความพึงพอใจในการบริการว่ามีด้านไหนโดดเด่นบ้าง ไปจนถึงสิ่งที่ควรปรับปรุง นอกจากนี้ ยังรวมไปถึงการจัดส่งอีกด้วย

  • กำหนดจำนวนสินค้าในคลังสินค้า

ระบุจำนวนสินค้าแต่ละประเภทที่มีในคลังสินค้าจริง เพื่อที่สามารถจัดส่งสินค้าที่มีในคลังได้รวดเร็ว ทำให้ตัวธุรกิจสามารถกำหนดระยะเวลาเตรียมสินค้า เพื่อจัดส่งในระบบได้เร็วขึ้น

  • หมั่นตรวจสอบคลังสินค้าเป็นประจำ

ควรกำหนดวันที่ต้องเช็คสต๊อกทุก ๆ วัน ทุก ๆ สัปดาห์ หรือทุก ๆ เดือน เพื่อตรวจสอบจำนวนสินค้าในคลัง เปรียบเทียบกับจำนวนสินค้าที่ขายได้ และนำมาคำนวณยอดรายได้ กำไร และวางแผนการสั่งซื้อสินค้าต่อไป

  • จัดเตรียมกล่องพัสดุล่วงหน้า

ควรเตรียมกล่องในหลาย ๆ ขนาดที่เพียงพอในการบรรจุสินค้าชิ้นเดียว และหลาย ๆ ชิ้นใน 1 รายการสั่งซื้อ โดยทำการประเมินจากรายการสั่งซื้อที่เคยเกิดขึ้น ข้อควรระวัง ห้ามเผื่อกล่องหลายขนาดจนเกินไป เพราะหากซื้อมาแล้วไม่ได้ใช้ อาจทำให้ต้นทุนจมอยู่ที่จุดนี้มากเกินไปได้

  • รู้ระยะเวลาจัดส่งสินค้าจากผู้ผลิต

กำหนดระยะเวลาในการสั่งสินค้าแต่ละชิ้น ในกรณีมีรายการสั่งซื้อเข้ามาเกินจำนวนสินค้าในคลังจริง และยังมีความต้องการของลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ร้านค้า สามารถปรับเพิ่มจำนวนสินค้าในคลังที่ระบบหลังร้าน เพื่อให้ลูกค้ายังสามารถสั่งซื้อได้ แต่ควรปรับเพิ่มระยะเวลาเตรียมสินค้า เพื่อจัดส่งให้สอดคล้องกับวันที่สินค้าจากผู้ผลิตจะมาส่งที่ร้านค้า เพื่อไม่ให้การจัดส่งสินค้าไปยังผู้ซื้อเกิดความล่าช้ากว่ากำหนดนั่นเอง

เป็นอย่างไรกันบ้าง การจัดระเบียบคลังสินค้า ให้ดูมีประสิทธิภาพ ใช้งานได้สะดวก ทำได้ไม่ยากเลยใช่ไหม ลองนำเทคนิคที่ได้มาแชร์นี้ ไปลองปรับใช้กันดูนะจ๊ะ รับรองว่า คลังสินค้าของคุณจะดูเป็นระเบียบ และหาของได้ง่ายขึ้นอย่างแน่นอน ติดตามบทความดี ๆ กันได้ใหม่ครั้งหน้านะจ๊ะ

บทความดี ๆ น่าอ่าน:

● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ●

สำหรับใครที่สนใจรถกระเช้า เราขอแนะนำ รถ Xlift ลิฟท์ขากรรไกร หรือ  เครนยกของ สินค้าคุณภาพจาก KACHA รับรองความปลอดภัย พร้อมให้บริการหลังการขายสุดประทับใจอย่างแน่นอน

Sponsered (โฆษณา)