หนึ่งในการต่อเติมบ้านพักอาศัยที่คนนิยมทำกันมาก คือ การติดตั้งกันสาด หรือสร้างโรงรถแบบมีหลังคา ซึ่งช่วยเพิ่มพื้นที่ใช้สอยภายในบ้าน ทำให้มีร่มเงาเกิดขึ้น สามารถตกแต่งเป็นมุมพักผ่อนต่างๆ ได้ โดยการสร้างโรงจอดรถนั้น จะต้องมีโครงสร้างให้แข็งแรง มีการตอกเสาเข็ม ปรับพื้นให้เรียบ และมุงหลังคา ซึ่งในปัจจุบันมี หลังคาโรงรถ มีให้เลือกมากมายหลายประเภท บทความนี้ KACHA จะพาไปรู้จักกับ หลังคาโรงรถ” ว่ามีกี่แบบ เลือกใช้อย่างไรให้เหมาะสม

วัสดุมุง หลังคาโรงรถ มีอะไรบ้าง?

ไม่ว่าจะเป็นบ้านเดี่ยว หรือทาวน์เฮ้าส์ ส่วนที่มักจะถูกติดตั้งเพิ่ม หรือต่อเติมออกมาโดยขาดไม่ได้เลยนั่นก็คือ “หลังคาโรงรถ” เพื่อเพิ่มพื้นที่ใช้สอยให้กับบ้าน และกันแดดกันฝนให้กับรถที่เรารัก วัสดุสำหรับทำหลังคาโรงรถนั้น มีหลากหลายให้เลือกใช้ ซึ่งวัสดุแต่ละประเภท ก็มีความสวยงาม และมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป หากแบ่งวัสดุมุงหลังคาโรงรถเป็น 2 กลุ่มหลัก คือ กลุ่มที่มีความโปร่งแสง และกลุ่มทึบแสง ทั้งสองกลุ่มนี้มีความโดดเด่นที่ต่างกันออกไป ดังนี้

วัสดุแบบทึบแสง

  • หลังคาเหล็กรีดลอน หรือหลังคาเมทัลชีท (Metal Sheet)

ข้อดี คือ ติดตั้งง่าย ราคาถูก มีความทนทานสูง เคลือบสารทนการกัดกร่อน และสารกันสนิม อีกทั้งยังดัดโค้งได้ง่าย สามารถทำหลังคากว้าง ๆ ได้ โดยที่มีรอยต่อน้อย จึงไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องการรั่วซึม แต่จะร้อนในช่วงเวลากลางวัน และหากฝนตกจะมีเสียงดัง

บทความที่เกี่ยวข้อง : 

211230-Content-'หลังคาโรงรถ'มีอะไรบ้าง-ข้อดี-ข้อเสียเป็นอย่างไร-02
  • หลังคาไวนิล

ข้อดี คือ ติดตั้งง่ายเพราะมีลิ้นเข้าล็อกกันระหว่างแผ่น กันรังสียูวี และความร้อนได้ดี ช่วยซับเสียง หากฝนตกเสียง จะไม่ดังเท่าเมทัลชีท มีอายุการใช้งานยาวนาน แต่มีสีให้เลือกน้อย และสีอาจจะหมองลงตามอายุการใช้งาน

บทความที่เกี่ยวข้อง : หลังคาไวนิล และ หลังคาสเตนเลส ข้อดี-ข้อเสียอย่างไร?

  • uPVC / APVC / SPVC

มีลักษณะเป็นแผ่นลอน รูปลอนใกล้เคียงกับลอนเมทัลชีท เนื้อวัสดุแข็งแรง เหนียว ดัดโค้งได้ และมีน้ำหนักเบา อีกทั้งยังมีความหนา สี และรูปลอนให้เลือกใช้หลากหลาย เมื่อฝนตกเสียงไม่ดังรบกวนมากนัก แต่เมื่อใช้ไปนาน ๆ สีของวัสดุอาจเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพอากาศ และตัวแผ่นอาจแอ่นตัวตกท้องช้างได้เนื่องจากความร้อน ขึ้นอยู่กับคุณภาพ และความหนาของแต่ละยี่ห้อ 

วัสดุแบบโปร่งแสง

  • อะคริลิก (Acrylic)

คุณสมบัติเด่น คือ มีความใสเทียบเท่ากระจกแต่น้ำหนักเบากว่ามาก เนื้อเหนียว ดัดโค้งได้ ไม่กรอบ หรือแตกลายงา ไม่เป็นฝ้า มีทั้งรุ่นธรรมดาที่กรองแสงแดดได้ระดับหนึ่ง และรุ่นที่กรองรังสี UV และรังสีอินฟาเรดได้มากขึ้น แผ่นโปร่งแสงอะคริลิก ราคาจะค่อนข้างสูง และมีข้อควรระวัง คือ ต้องติดตั้งตามมาตรฐานตามระยะโครงสร้างที่บริษัทกำหนดเท่านั้น และควรระวังรอยขีดข่วนจากของมีคมช่วงการติดตั้งด้วย

211230-Content-'หลังคาโรงรถ'มีอะไรบ้าง-ข้อดี-ข้อเสียเป็นอย่างไร-03
  • ไฟเบอร์กลาส (Fiberglass)

มีน้ำหนักเบา และมีความยืดหยุ่น สามารถดัดโค้งได้ มีทั้งแผ่นแบบลอนลูกฟูก และแบบเรียบ มีสีสันหลากหลายทั้งสีใส และสีขุ่น แสงส่องผ่านพอสบายตา บางรุ่นมีการเคลือบด้วยฟิล์มป้องกันรังสี UV เพื่อให้ใช้งานได้ยาวนาน และยังมีรุ่นที่ช่วยป้องกันความร้อนเป็นพิเศษด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม อาจมีเสียงฝนตกกระทบรบกวนอยู่บ้าง และสีอาจซีดจางได้ตามกาลเวลา

  • กระจกลามิเนต

กระจกลามิเนต จะประกอบด้วยกระจก 2 แผ่น ประกบกันแบบแซนวิสโดยมีฟิล์มกัน UV อยู่ตรงกลาง หากเกิดการกระแทกจนกระจกแตก กระจกจะเกาะกับชั้นฟิล์ม ไม่ร่วงหล่นลงมาทำอันตราย ข้อดี คือ เวลาฝนตกจะไม่ค่อยมีเสียงรบกวนมากนัก มีหลายสีให้เลือกใช้ เนื้อกระจกใสมองเห็นบรรยากาศภายนอกชัดเจน แต่ก็ควรหมั่นทำความสะอาดเป็นประจำ เพราะจะสกปรกได้ง่าย สิ่งสำคัญ คือ ต้องติดตั้งให้ถูกวิธี โดยช่างผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ มีโครงสร้างรองรับที่แข็งแรง ใช้ยาแนวซิลิโคนให้ถูกประเภท และมีคุณภาพ

211230-Content-'หลังคาโรงรถ'มีอะไรบ้าง-ข้อดี-ข้อเสียเป็นอย่างไร-04
  • โพลีคาร์บอเนต (Polycarbonate)

จะมีน้ำหนักเบา มีความยืดหยุ่น สามารถขึ้นรูปดัดโค้งได้ตามทรงที่ต้องการ หากนำมามุงหลังคา ควรเลือกรุ่นที่ผ่านการเคลือบผิวกันแสง UV ด้วย ปัจจุบันมีหลายเกรด หลายราคา ตามคุณภาพ และความแข็งแรง สำหรับแผ่นโพลีคาร์บอเนตแบบลอนลูกฟูก ซึ่งมีช่องว่าง และแบบลอน ซึ่งมีช่วงที่แต่ละแผ่นซ้อนทับกัน จึงเป็นจุดที่น้ำ หรือความชื้นสะสม จนทำให้เกิดตะไคร่ และคราบสกปรกได้ง่าย เมื่อใช้งานไปนาน ๆ พื้นผิวแผ่นจะขุ่นมัว และสีอาจซีดจางไปตามอายุการใช้งาน และด้วยความบางและแข็งของแผ่น จึงมีเสียงดังพอสมควรเมื่อฝนตก

  • uPVC (Unplasticized Polyvinyl Chloride)

จะมีคุณสมบัติหมือน uPVC แบบทึบแสงที่กล่าวไปแล้วข้างต้น แต่สำหรับแบบโปร่งแสง จะมีสีขาวขุ่นเพียงสีเดียว และแสงสามารถผ่านได้

ทิ้งท้ายสักนิด! ต่อเติมหลังคาโรงรถแบบไหนดี? ต้องมีเสารับไหม?

???????? ต่อเติมหลังคาโรงรถและกันสาด แบบไม่มีเสา

เจ้าของบ้านบางท่านอาจสงสัยว่า หลังคาโรงรถที่มีลักษณะเป็นหลังคากันสาดยื่นออกมาจากตัวบ้าน โดยปราศจากเสารองรับนั้น จะแข็งแรงพอหรือไม่ ความเป็นจริง คือ หากวิศวกรคำนวณแล้วพบว่า หลังคาโรงรถที่จะต่อเติมสามารถยึดกับโครงสร้างบ้านอย่าง คาน เสาได้แข็งแรงพอ ก็ไม่จำเป็นจะต้องมีเสารองรับ กรณีนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นการต่อเติมหลังคาโรงรถที่ยื่นออกมาจากตัวบ้านไม่เกิน 2 เมตร เหมาะกับบ้านที่มีโรงรถอยู่บ้างแล้ว แต่ต้องการขยับขยายพื้นที่โดยต่อเติมหลังคาโรงรถ ให้ยื่นยาวเพิ่มขึ้นด้วยวัสดุมุงน้ำหนักเบา เช่น เมทัลชีท ไวนิล UPVC รวมถึงวัสดุโปร่งแสงแบบต่าง ๆ

อย่างไรก็ตาม หลังคาโรงรถที่ต่อเติมออกมาในลักษณะกันสาด แม้จะไม่มีเสารองรับก็จริง แต่บางครั้ง ก็อาจมีตัวช่วยรับน้ำหนักแบบอื่นแทน ไม่ว่าจะเป็นค้ำยันใต้หลังคา หรือแท่งเหล็กเหล็กรับแรงดึง (Tension Rod) ช่วยยึดจากด้านบน

???????? ต่อเติมหลังคาโรงรถและกันสาด แบบมีเสา

หลังคาโรงรถ และกันสาดบ้านไหนที่ต่อเติมออกมายื่นยาวเกิน 2 เมตร มักต้องมีเสารองรับ แนะนำให้ทำเสาอีกชุดอย่างน้อย 4 ต้น เพื่อแยกโครงสร้างต่างหากกับตัวบ้าน หรือถ้าฝากหลังคาไว้กับตัวบ้าน ควรทำรอยต่อให้แกว่งตัวได้ สำหรับเสาที่มารองรับ อาจเป็นรูปแบบเรียบง่ายธรรมดา บางบ้านเลือกตกแต่งเสาให้มีลูกเล่นประดับในตัว ดูสวยงามไม่ซ้ำใคร

สินค้าแนะนำจาก KACHA

เครื่องผูกเหล็ก เครื่องผูกลวด อัตโนมัติ ไร้สาย คุณภาพสูง จะทำให้ธุรกิจของคุณทำงานได้เร็วขึ้น ที่ช่วยให้ผู้ประกอบการประหยัดเวลา และค่าใช้จ่ายในการจ้างแรงงานคนสำหรับงานผูกลวด และที่สำคัญ ต้องผูกแน่น จึงนิยมนำมาใช้ในงานก่อสร้างโครงสร้างฐานราก เสา คาน ถนน และพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก เป็นต้น 

แม้ว่าจะมีวัสดุหลังคาโรงรถ ให้เลือกใช้อย่างหลากหลาย และคุณสมบัติแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับหลาย ๆ ปัจจัยประกอบกัน เช่น การออกแบบพื้นที่ สภาพภูมิอากาศ รวมถึงการใช้งาน และดูแลรักษาของเจ้าของบ้านด้วย ดังนั้น จึงไม่ควรมองข้าม และเลือกใช้ให้ถูกต้องตามความเหมาะสม

>>สามารถติดตามบทความต่าง ๆ ของ KACHA ได้ตามนี้เลย<<

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง :