เหล็กรูปพรรณ คืออะไร? คุณสมบัติที่ควรรู้ ก่อนนำไปใช้งาน

เหล็ก โลหะสีเงินสีขาวหรือสีเทา เป็นเงา มีความต้านทานแรงดึงสูง อีกทั้งยังนำไฟฟ้า นำความร้อนได้ดี และใช้ประโยชน์ต่าง ๆ ได้อีกมากมาย สามารถใช้ในการโค้ง งอ ม้วน ดัดเป็นรูปร่างรูปแบบ และอื่น ๆ เพื่อนำมาประดิษฐ์เป็นสิ่งของ ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน หรือนำมาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม

บทความนี้ KACHA จะพาไปรู้จักกับกับ เหล็กรูปพรรณ ว่าคืออะไร? และนำไปใช้งานแบบไหนบ้าง?

เหล็กรูปพรรณ คืออะไร?

เป็นคำเรียกเหล็กชนิดหนึ่ง ที่ผ่านกระบวนการผลิต และแปรรูปเป็นรูปทรงต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับการงานแต่ละประเภท และช่วยให้เกิดความสะดวกสบายในด้านการใช้งาน มีลักษณะ รูปทรงที่ไม่ชัดเจน แต่จะปรับเปลี่ยนรูปทรงให้เหมาะสมกับการใช้งานต่าง ๆ  เช่น ใช้ทำงานเฟอร์นิเจอร์ งานโครงสร้าง หรืองานศิลป์ เป็นต้น

221122-Content-เหล็กรูปพรรณ02

ประเภทของเหล็กรูปพรรณ

สำหรับเหล็กรูปพรรณ ที่ใช้กันทั่วไป ในวงการก่อสร้าง งานอาคารที่พักอาศัย เช่น งานโครงสร้างอาคาร ที่มีขนาดเล็ก ไปจนถึงขนาดใหญ่ มีขนาด และรูปร่างที่หลากหลาย สามารถจำแนกออกเป็น 3 ประเภท คือ

เหล็กรูปพรรณขึ้นรูปเย็น (Cold formed structural steel)

เป็นเหล็กรูปพรรณ ที่ผ่านกระบวนการผลิตขึ้นรูปเหล็กกล้า มีรูปทรงเป็นแผ่น ในอุณภูมิระดับปกติ ใช้วัตถุดิบในการผลิตจากเหล็กแผ่นรีดร้อน หรือเหล็กแผ่นชุบสังกะสี นำมาพับ ม้วนงอแผ่นเหล็กม้วน และเชื่อมปิดรอยต่อแผ่นยาวตลอดแนว ให้มีขนาดรูปทรงตามการใช้งาน เหมาะสำหรับ งานโครงสร้าง เสา และโครงหลังคา แบ่งออกได้คร่าว ๆ ดังนี้

  • เหล็กรางพับ ใช้กับงานโครงสร้างบ้าน อาคาร หลังคาตามโรงงาน หรืองานบันได มีขนาดหน้าตัดเป็นรูปคล้ายตัวยู (U)
  • เหล็กตัวซี มีรูปทรงหน้าตัดเป็นรูปคล้ายตัวซี (C) มีความแข็งแรง ทนทาน ใช้กับงานโครงสร้างบ้านพักอาศัย โครงป้ายประชาสัมพันธ์ขนาดใหญ่ เสาไฟฟ้าขนาดใหญ่ และงานหลังคาตามโรงงาน เป็นต้น
  • เหล็กฉาก ใช้ในงานโครงสร้าง เช่น หลังคา งานแปโรงงาน และงานก่อสร้าง ที่ต้องใช้ขนาดเหล็กตามแบบฉากพับ
  • เหล็กกล่องเหลี่ยม มีรูปทรงหน้าตัด เป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ผิวเรียบ ใช้ในงานก่อสร้างขนาดเล็ก จนถึงกลาง เช่น โครงหลังคา เสา คาน นั่งร้าน งานก่อสร้างที่ไม่ต้องรับน้ำหนักมาก
  • เหล็กกล่องแบน มีรูปทรงหน้าตัด เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ผิวเรียบ ใช้กับงานโครงสร้างขนาดเล็ก จนถึงกลาง เหมาะกับงานที่ไม่ต้องรับน้ำหนักมาก สามารถนำไม้ก่อสร้าง และคอนกรีต มาใช้ทดแทนได้
  • เหล็กท่อกลมดำ มีรูปทรงหน้าตัด เป็นวงกลม ผลิตโดย นำเหล็กแผ่นรีดร้อน เป็นม้วนมาตัดตามขนาดที่ต้องการ ขึ้นรูปเชื่อมกันด้วยความร้อนสูง แข็งแรง ทนทาน  ใช้ในงานก่อสร้างอาคาร งานประปา ที่มีความดันสูง และท่อร้อยสายไฟ ตามขนาดที่เหมาะสมของแต่ละงาน

เหล็กรูปพรรณรีดร้อน (Hot rolled structural steel)

เหล็กรีดร้อน ถูกรีดในขณะที่เหล็ก มีอุณหภูมิสูง มีกำลัง และความเหนียวสูง เหล็กที่ได้ จะมีหน้าตัดใหญ่ มีความแข็งแรง และคงทนกว่า เหมาะสำหรับนำไปใช้ในงานโครงสร้างหลัก เช่น เสา-คานหลัก เพื่อรับน้ำหนักพื้น รับโครงหลังคาช่วงพาดกว้าง หรือโครงหลังคาดาดฟ้า ที่ต้องรับคอนกรีต ซึ่งมีน้ำหนักมาก ๆ เป็นต้น แบ่งออกได้คร่าว ๆ ดังนี้

  • เหล็กฉาก ใช้ในงานก่อสร้างโครงหลังคา เสา และ คาน
  • เหล็กเพลาขาว คือ เหล็กกล้ากลม รูปทรงตัน ผิวมีความเงามัน สวยงาม มักใช้สำหรับ อุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น
  • เหล็กสี่เหลี่ยมตัน เพลาเหลี่ยม หรือที่เรียกว่า Square Bar เหล็กเกรด A เนื้อผิวค่อนข้างตรง และทนทาน ใช้กับงานโครงสร้างเหล็กทั่วไป เช่น งานหน้าต่าง รั้ว ระเบียงกันตก และงานชิ้นส่วนเครื่องจักรทั่วไป
  • เหล็กเพลาแข็ง หรือ เหล็กเพลาดำ การผลิตคล้ายกับเหล็กเส้นกลม แต่มีข้อแตกต่างคือลักษณะของผิวที่มีความเงา มัน สวยงาม มีความกลม เหมาะกับงานที่เน้นไปในด้านของการประกอบ งานตกแต่ง เป็นต้น
  • เหล็กรางน้ำ ใช้กับงานประเภท รับน้ำหนักของส่วนต่าง ๆ เช่น บันได คานขอบด้านนอก
  • เหล็กไอบีม ใช้งานงานโครงสร้างค้ำเสาอาคารสูง เสาส่งไฟฟ้า โรงงาน งานเครื่องจักร และ รางเครน เป็นต้น
  • เหล็กไวด์แฟรงค์ เหมาะสำหรับงานโครงสร้างที่ต้องใช้ความแข็งแรง ความทนทาน เช่น ตึก อาคารสูง คอนโด โรงงาน และบ้านขนาดใหญ่ เป็นต้น
  • เหล็กเอชบีม หรือเหล็กปีกไอ เสาบีม เหล็กตัวเอช เสาเอช มีคุณสมบัติรับน้ำหนักได้มาก ทนทานสูง ใช้ในงานก่อสร้างขนาดใหญ่ เช่น โครงหลังคา เสา บ้านพักอาศัย หรือ โครงการขนาดใหญ่

เหล็กรูปพรรณเชื่อมประกอบ (Welded Structural Steel)

เป็นเหล็กโครงสร้าง ที่เกิดจากการนำแผ่นเหล็ก หรือเหล็กรูปพรรณ ที่มีความหนามากกว่า 3 มิลลิเมตร มาเชื่อมเป็นหน้าตัดต่าง ๆ ตามแบบ และขนาดที่ต้องการ ซึ่งต้องใช้ความรู้ในการออกแบบ และความชำนาญในการเชื่อมเหล็ก เพื่อให้วัสดุออกมาแข็งแรง เหมาะสมกับการใช้งานในแต่ละโปรเจค

ข้อดีของเหล็กรูปพรรณ

  • สามารถปรับเปลี่ยน ต่อเติม รื้อถอนได้ง่าย
  • มีความทนทานแข็งแรง สามารถรองรับต่อการสั่นสะเทือนได้ดีกว่าวัสดุโครงสร้างอื่น ๆ
  • ประหยัดเวลา ลดระยะเวลาในการก่อสร้าง ลดการใช้แรงงาน เพราะสามารถวางแผน และเตรียมการจากโรงงานผลิตได้เลย
  • เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพราะไม่มีมลพิษด้านฝุ่นละออง สามารถใช้งานในพื้นที่แคบได้สะดวก
  • ควบคุมมาตรฐาน และคุณภาพได้ง่าย การบำรุงรักษาง่ายกว่าวัสดุก่อสร้างโครงสร้างอื่น ๆ

ข้อจำกัดของเหล็กรูปพรรณ

  • เกิดการโก่งเดาะได้ง่ายในโครงสร้างอาคารขนาดใหญ่ ที่ต้องรับน้ำหนักแรงกดทับ แรงอัด และมีความชะสูดในระดับสูง
  • มีต้นทุนในเรื่องค่าใช้จ่าย การบำรุงรักษาค่อนข้างสูง หากออกแบบไม่เหมาะสมกับการใช้งาน
  • หากออกแบบโครงสร้างไม่เหมาะสม ถูกแรงกระทำซ้ำเกินค่ามาตรฐาน หรือใช้งานในอุณภูมิต่ำกว่าปกติ อาจเกิดการเสียหายจากการล้าของเหล็กได้
  • มีต้นทุนค่าใช้จ่ายในการพ่นสารกันกันไฟ เนื่องจากหากเหล็กถูกไฟเผา จะทำให้ค่ากำลังของเหล็กลดลง อีกทั้งเหล็กยังเป็นสื่อนำความร้อนที่ดีมากอีกด้วย

จบไปแล้วกับ เหล็กรูปพรรณ ข้อมูลดี ๆ ที่เรานำมาแชร์กัน คงทำให้หลาย ๆ คน รู้จักกับเหล็กชนิดนี้กันมากขึ้นแล้วใช่ไหม อย่างไรก็ตาม ก่อนนำไปใช้งาน อย่าลืมเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงานด้วยนะจ๊ะ บทความหน้าจะมีสาระดี ๆ อะไรมาฝากกันอีกนั้น อย่าลืมติดตามกันด้วยนะจ๊ะ

บทความดี ๆ ที่น่าสนใจ :

● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ●

KACHA ผู้จัดจำหน่าย เครื่องมือช่างราคาถูก และอุปกรณ์เสริม สำหรับช่างมืออาชีพ ราคาที่คุณจับต้องได้ รับรองสินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจอย่างแน่นอน!!

เลือกดูสินค้า สินค้าจาก KACHA  คลิกเลย ????????

อ้างอิงข้อมูลจาก builk.com, hbeamconnect.com