รู้จักกับ เหล็กเส้น คืออะไร? นำไปใช้งานอย่างไร?

เหล็กเส้น (Rebar) คืออะไร? เหล็กเส้น มีความสำคัญต่องานก่อสร้างเป็นอย่างมาก หรือที่นิยมเรียกกันโดยทั่วไปคือ เหล็กเส้นก่อสร้าง บางท่านอาจเรียกเหล็กเสริม ใช้สำหรับรับแรงงานคอนกรีตเสริมเหล็ก และงานก่ออิฐทั่วไป

ประเภทของเหล็กเส้น

เหล็กเส้นนั้น แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ

เหล็กเส้นกลม (Round Bars)  

คือ เหล็กเส้นสำหรับงานก่อสร้าง หรือเรียกสั้น ๆ ว่า RB ตามมาตรฐานอุตสาหกรรม มอก.28/2529, 32/2532 ชั้นคุณภาพของเหล็กประเภทนี้ คือ SR24 ที่เป็นที่รู้จัก และนิยมใช้ คือ เหล็ก บลส. บกส. TSC และ NS

  • RB6 (เหล็กเส้นกลม 2 หุน) ใช้สำหรับงานก่อสร้างที่รับแรงไม่มาก นิยมใช้ทำปอกเสา และปอกคาน
  • RB9 (เหล็กเส้นกลม 3 หุน) ใช้สำหรับงานก่อสร้างที่รับแรงไม่มาก คล้ายกับเหล็กเส้นกลม 2 หุน
  • RB12 (เหล็กเส้นกลม 4 หุน) ใช้สำหรับงานก่อสร้างทั่วไป แต่ไม่เน้นงานยึดเกาะ เพราะเหล็กมีลักษณะเรียบมน ทำให้ยึดเกาะปูนไม่ดีเท่าที่ควร ส่วนมากนิยมใช้กับงานกลึง เช่น งานกลึงหัวน๊อตต่าง ๆ
  • RB19 ใช้สำหรับงานทำถนน
  • RB25 ใช้ทำเป็นเหล็กสตัท เกรียวเร่ง สำหรับงานยึดโครงป้ายขนาดใหญ่ สามารถรับแรง และน้ำหนักได้ดี
210524-Content-เหล็กเส้นคืออะไร--นำไปใช้งานอย่างไร-02
ข้อพิจารณาเมื่อเลือกซื้อเหล็กเส้นกลม
  • ผิวของเหล็กต้องเรียบ เกลี้ยง ไม่มีลูกคลื่น ไม่มีปีก ไม่มีรอยแตก หน้าตัดต้องกลม ไม่เบี้ยว
  • เส้นผ่าศูนย์กลาง และน้ำหนักต้องถูกต้อง เช่น SR24 ขนาด 9 มม. เมื่อวัดเส้นผ่าศูนย์กลางต้องได้ 9 มม. น้ำหนักต้องได้ 0.499 กก./ 1 เมตร ความยาวทั้งเส้นตามมาตรฐานต้องยาว 10 เมตร เป็นต้น
  • เมื่อดัดโค้งงอ ต้องไม่ปริแตก และหักง่าย
  • เหล็กต้องไม่เป็นสนิมกินเข้าไปในเนื้อเหล็ก แต่หากเป็นสนิมบ้างบนผิวเหล็ก อาจเป็นเรื่องของสภาพอากาศของเมืองไทย ไม่ต้องกังวล
ขนาดและน้ำหนักเหล็กเส้นกลม
ชื่อขนาด เส้นผ่านศูนย์กลาง
(มม.)
พื้นที่ตัดขวาง
(ตร.มม.)
มวล
(กก./ม.)
RB 6 6 28.30 0.222
RB 8 8 50.30 0.395
RB 9 9 63.60 0.499
RB 10 10 78.50 0.616
RB 12 12 113.10 0.888
RB 15 15 176.70 1.387
RB 19 19 283.50 2.226
RB 22 22 380.10 2.984
RB 25 25 490.90 3.853
RB 28 28 615.80 4.834
RB 34 34 907.90 7.127

เหล็กเส้นข้ออ้อย (Deformed Bar)

คือ เหล็กเส้นกลมที่มีบั้ง เพื่อเสริมกำลังยึด ระหว่างเนื้อคอนกรีตกับเหล็ก มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 10-40 มิลลิเมตร ขนาดความยาวที่ 10 และ 12 เมตร ใช้สำหรับงานก่อสร้างเสริมคอนกรีต ที่ต้องการความแข็งแรง เช่น อาคารสูง, คอนโดมิเนียม, ถนนคอนกรีต, สะพาน, เขื่อน เป็นต้น เหล็กข้ออ้อยแบ่งตามชั้นคุณภาพได้ 3 ประเภท คือ SD30, SD40, SD50

210524-Content-เหล็กเส้นคืออะไร--นำไปใช้งานอย่างไร-03
ข้อพิจารณาเมื่อเลือกซื้อเหล็กเส้นข้ออ้อย
  • เหล็กข้ออ้อย ต้องมีผิวเรียบเกลี้ยง ยกเว้นบริเวณที่เป็นบั้ง และต้องไม่ปริ ไม่แตกร้าว ไม่เป็นสนิมขุม
  • เหล็กข้ออ้อย ต้องมีบั้งเป็นระยะ ๆ เท่า ๆ กัน โดยสม่ำเสมอตลอดทั้งเส้น บั้งที่อยู่ตรงข้ามกัน ต้องมีขนาด และรูปร่างเหมือนกัน

ปัจจุบัน งานก่อสร้างส่วนใหญ่นิยมใช้เหล็กข้ออ้อยมากกว่าเหล็กเส้นกลม เหตุผลคือ มีคุณภาพสูงกว่าทั้งแรงดึง และแรงยึดเกาะ ซึ่งสัดส่วนในการใช้ SD50, SD40 ยังมากกว่า SD30 อีกด้วย

ขนาดและน้ำหนักเหล็กข้ออ้อย
ชื่อขนาด เส้นผ่านศูนย์กลาง
(มม.)
พื้นที่ตัดขวาง
(ตร.มม.)
มวล
(กก./ม.)
DB 10 10 78.54 0.616
DB 12 12 113.10 0.888
DB 16 16 201.06 1.578
DB 20 20 314.16 2.466
DB 22 22 380.13 2.984
DB 25 25 490.87 3.853
DB 28 28 615.75 4.834
DB 32 32 804.25 6.313
DB 36 26 1,017.88 7.990
DB 40 40 1,256.64 9.865

มาตรฐานของเหล็กเส้น เป็นอย่างไร?

เราสามารถแบ่งมาตรฐานของเหล็กเส้นออกเป็น 2 ประเภท คือ

  1. เหล็กเต็ม หรือเหล็กโรงใหญ่ คือ เหล็กที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง และน้ำหนักของเหล็กได้มาตรฐาน มอก. เลขที่ 24-2559
  2. เหล็กเบา หรือเหล็กโรงเล็ก คือ เหล็กที่ผลิตให้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง และน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐาน มอก. มักเป็นเหล็กรีดซ้ำ คือ นำเศษเหล็กที่ใช้งานแล้ว หรือเศษเหล็กเสียสภาพมารีดใหม่อีกครั้ง เหล็กเบา นั้น จะมีราคาต่ำกว่าเหล็กเต็มประมาณ 40 สตางค์ถึง 1 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย แต่อาจก่อให้เกิดอันตราย เพราะอาจจะไม่สามารถรับน้ำหนักตามที่ กำหนดได้
210524-Content-เหล็กเส้นคืออะไร--นำไปใช้งานอย่างไร-04

วิธีการเลือกเหล็กเส้น

วิธีการสังเกตว่าเหล็กเส้น ที่จะเลือกใช้มีคุณภาพตามมาตรฐานหรือไม่ ดังนี้

  1. ต้องมียี่ห้อ ขนาดระบุบนเหล็กเส้น
  2. เส้นผ่าศูนย์กลาง และน้ำหนักต้องถูกต้องตามมาตรฐาน
  3. ผิวเหล็กกลมต้องเรียบเกลี้ยงไม่เบี้ยว ไม่มีรอยปริแตก
  4. เหล็กข้ออ้อย ต้องมีบั้งระยะเท่ากัน สม่ำเสมอตลอดเส้น
  5. เมื่อดัดโค้ง งอ ต้องไม่ปริแตก หัก ง่าย
  6. เหล็กต้องไม่เป็นสนิมกินเข้าไปในเนื้อเหล็ก เป็นสนิมที่ผิวได้โดยขัดออก หรือใช้น้ำยาล้างสนิมเหล็ก ก่อนนำไปใช้ หรือหล่อคอนกรีตทับ

จบไปแล้วกับความรู้เรื่อง เหล็กเส้น ว่ามีกี่แบบ คงให้ประโยชน์แก่ผู้อ่านไม่มากก็น้อย และเลือกไปใช้งานได้อย่างถูกประเภทกันด้วยนะจ๊ะ บทความหน้าจะมีอะไรดี ๆ มาฝากกันอีกนั้น อย่าลืมติดตามกันเหมือนเดิมด้วยนะ

บทความดี ๆ น่าอ่าน:

● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ●

KACHA ผู้จัดจำหน่าย เครื่องมือช่างราคาถูก และอุปกรณ์เสริม สำหรับช่างมืออาชีพ ราคาที่คุณจับต้องได้ รับรองสินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจอย่างแน่นอน!!

เลือกดูสินค้าจาก KACHA คลิกเลย

อ้างอิงข้อมูลจาก : steellead.com