เมื่อพูดถึงอุบัติเหตุต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้า เป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา  โดยเฉพาะอย่างยิ่งบ้านเก่าที่ระบบไฟฟ้าเริ่มเสื่อมสภาพตามกาลเวลา จนกลายเป็นเหตุให้เกิด ไฟช็อต ไฟดูด ไฟรั่ว หรือเกิดเพลิงไหม้ได้แบบไม่คาดฝัน แต่อันตรายจากไฟฟ้า สามารถป้องกันได้ ถ้าเราใส่ใจและไม่ประมาท ทั้งนี้ก็เพื่อความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินของเรานั่นเอง

วันนี้ KACHA มีวิธีป้องกัน ไฟช็อต ไฟดูด และไฟรั่วในบ้านแบบง่าย ๆ มาฝากกัน


ไฟช็อต ไฟดูด ไฟรั่ว คืออะไร?

???????? ไฟช็อต หรือไฟฟ้าลัดวงจร เกิดจากการที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่านจากสายไฟเส้นหนึ่งไปยังเส้นอื่น ๆ โดยที่ไม่ได้ผ่านอุปกรณ์โหลด หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าใด ๆ เลย สาเหตุที่พบส่วนใหญ่เกิดจากการที่ฉนวนของตัวสายไฟชำรุด หรือเกิดการแตะกันโดยบังเอิญ

???????? ไฟดูด คือ การที่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกาย ทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้อเกร็ง หัวใจทำงานผิดจังหวะ และเต้นอ่อนลงจนหยุดเต้น และเสียชีวิตในที่สุด ไฟดูด เกิดขึ้นได้หลายกรณี เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้ามีการชำรุด ทำให้มีกระแสไฟรั่วออกมา เมื่อมีการสัมผัส กระแสไฟฟ้าก็จะไหลผ่านเข้ามาที่ร่างกายลงสู่พื้นดิน หรือเกิดจากการสัมผัสกับสายไฟที่มีการรั่วของกระแสไฟฟ้า ดังนั้น เมื่อเกิดเหตุไฟฟ้าดูดขึ้น สิ่งแรกที่ควรทำ คือ ตัดกระแสไฟฟ้าให้เร็วที่สุด เช่น ถอดปลั๊ก ปิดเมนสวิตช์ ปฐมพยาบาลผู้ได้รับบาดเจ็บ และนำส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด

???????? ไฟรั่ว คือ การที่กระแสไฟฟ้าได้รั่วไหลจากวงจรไฟฟ้าไปที่ผิวของสายไฟ หรือโครงโลหะของเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ เช่น เครื่องซักผ้า ตู้เย็น เป็นต้น หากเราไปสัมผัสอาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ ทั้งนี้กระแสไฟฟ้ารั่วเกิดได้หลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการเดินสายไฟที่ไม่ได้มาตรฐาน รวมถึงการเสื่อมสภาพของฉนวนอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้มาเป็นเวลานาน


วิธีป้องกันไฟช็อต ไฟดูด ไฟรั่ว ในบ้านแบบง่าย ๆ ทำได้อย่างไร?

1. ตรวจเช็คมิเตอร์ไฟฟ้า

ควรตรวจเช็คอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ภายในบ้านให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานอยู่เสมอ เบื้องต้นให้ทดสอบมิเตอร์ไฟฟ้าก่อน โดยปิดสวิตช์ไฟทุกจุด รวมทั้งถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ออกให้หมด จากนั้นไปดูมิเตอร์ที่หน้าบ้านว่าเฟืองเหล็กยังหมุนอยู่หรือไม่ หากยังหมุนอยู่แสดงว่ามีกระแสไฟรั่ว ให้รีบแก้ไขโดยด่วน

210830-Content-ไฟช็อตไฟดูดไฟรั่ว-ภัยใกล้ตัว-ป้องกันได้-ปลอดภัยในช่วงหน้าฝน02


นอกจากนี้ให้ลองตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดอื่น ๆ เช่น เครื่องตัดไฟรั่วว่ายังทำงานดีอยู่หรือเปล่า ด้วยการกดปุ่มทดสอบหรือ Test (ควรกดปุ่มทดสอบนี้เป็นประจำทุก ๆ 1-3 เดือน) ถ้ายังใช้ได้ดีสวิตช์ หรือคันโยกจะตกลงมาทันที เพื่อตัดกระแสไฟฟ้า รวมถึงเบรกเกอร์ลูกย่อยยังสามารถใช้ปลดวงจรไฟฟ้าได้หรือไม่ หากพบอุปกรณ์ชำรุดหรือเสียหายก็หามาเปลี่ยนใหม่ให้เรียบร้อย

2. ตรวจเช็คสายไฟฟ้า

ตรวจสอบสายไฟฟ้าดูว่ามีส่วนใดชำรุดเสียหายบ้าง โดยเฉพาะสายไฟที่ซ่อนอยู่บนฝ้าเพดาน อาจเปื่อยกรอบ เนื่องจากผ่านการใช้งานมานาน หรือถูกพวกหนูกัดแทะฉนวนจนสายขาดได้ ในกรณีที่ไม่ได้หุ้มสายไว้ด้วยท่อร้อยสายไฟ ถ้าพบก็ต้องเปลี่ยนใหม่

210830-Content-ไฟช็อตไฟดูดไฟรั่ว-ภัยใกล้ตัว-ป้องกันได้-ปลอดภัยในช่วงหน้าฝน03


3. ตรวจเช็คเต้ารับไฟฟ้า

ตรวจสอบเต้ารับไฟฟ้าดูว่าหลวม มีรอยแตกร้าวหรือรอยไหม้บ้างหรือไม่ ถ้าเต้ารับหลวมก็ขันสกรูให้แน่นดังเดิม แต่ถ้ามีการแตกร้าว หรือพบรอยไหม้ก็ควรเปลี่ยนใหม่ และควรทดสอบเต้ารับทุกจุดว่ามีไฟหรือเปล่า โดยใช้ไขควงวัดไฟ ทดสอบดูก็ได้

4. ตรวจเช็คเครื่องไฟฟ้า

ตรวจสอบเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการจับต้องขณะใช้งาน เช่น เครื่องซักผ้า โดยดูว่ามีกระแสไฟฟ้ารั่วหรือไม่ ด้วยการใช้ไขควงวัดไฟแตะที่ตัวเครื่อง ในส่วนที่เป็นโลหะ ถ้าหลอดไฟติด หรือเรืองแสงแสดงว่ามีไฟรั่วเกิดขึ้น ให้หยุดใช้งานทันที และตรวจเช็คว่ามีการติดตั้งสายดินถูกต้องหรือไม่ ถ้าไม่มีให้ติดตั้งสายดินให้เรียบร้อย เพื่อช่วยให้ผู้ใช้ไม่เกิดอันตรายจากไฟฟ้าดูดนั่นเอง


สิ่งที่ ไม่ควร ทำเพื่อไม่ให้เกิดไฟดูด

  1. ห้ามแตะสัมผัสอุปกรณ์ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าในขณะที่ร่างกายเปียกชื้น หรือยืนอยู่ในบริเวณที่ชื้นแฉะ เพราะหากมีกระแสไฟฟ้ารั่ว อาจถูก ไฟดูด ได้
  2. หากไม่มีความเชี่ยวชาญ ควรหลีกเลี่ยงการซ่อมแซมอุปกรณ์ไฟฟ้าด้วยตนเอง เพราะอาจเกิดอันตรายได้
  3. หลีกเลี่ยงการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ได้มาตรฐาน (มอก.)
  4. หากกรณีบ้านถูกน้ำท่วม ให้ปิดสวิตซ์ไฟฟ้าทุกตัว และเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ไฟฟ้าให้พ้นจากบริเวณที่มีน้ำท่วม
210830-Content-ไฟช็อตไฟดูดไฟรั่ว-ภัยใกล้ตัว-ป้องกันได้-ปลอดภัยในช่วงหน้าฝน04


???? รู้หรือไม่?

ขณะที่ร่างกายเปียกชื้น เราไม่ควรสัมผัสกับอุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ภายในบ้าน หากเครื่องใช้ไฟฟ้าชิ้นนั้นเกิดกระแสไฟรั่ว ซึ่งถ้าไฟรั่วเพียงเล็กน้อย เราอาจรู้สึกเจ็บเล็กน้อย แต่ถ้าไฟรั่วเกิน 30 มิลลิแอมป์ขึ้นไป ก็อาจทำให้ร่างกายได้รับบาดเจ็บรุนแรง และเสียชีวิตได้ ส่วนกรณีที่ต้องใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีโครงเป็นโลหะ และใช้งานในบริเวณพื้นที่เปียกเป็นประจำ เช่น เครื่องซักผ้า นอกจากจะต้องมีระบบสายดินแล้ว เราควรสวมรองเท้าทุกครั้งที่ใช้งาน เพื่อช่วยป้องกันไฟดูดได้อีกทางหนึ่ง

ถ้าเครื่องตัดไฟรั่วไม่ทำงาน และแก้ไขเบื้องต้นแล้ว ยังพบปัญหาอยู่ แนะนำให้เรียกช่างไฟฟ้ามืออาชีพมาช่วยแก้ไข และในขณะที่ปลดเมนสวิตช์ เพื่อการซ่อมแซมนั้น ให้เขียนป้ายเตือนไว้ว่า ห้ามสับไฟ! ช่างไฟฟ้ากำลังทำงาน แขวนไว้ที่เมนสวิตช์ทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน


วิธีปฐมพยาบาลช่วยเหลือคนที่ถูกไฟช็อต ไฟดูด

  1. ถ้าผู้ที่ถูกไฟฟ้าดูดอยู่ติดกับสายไฟฟ้า ควรเอาผ้าพันมือ สวมรองเท้า หรือเหยียบบนผ้าแห้งที่มีความหนา แล้วถอดปลั๊กออก หรือหากอยู่ใกล้คัทเอาท์ ให้รีบสับคัทเอาท์เพื่อตัดการนำจ่ายกระแสไฟฟ้าโดยเร็วที่สุด
  2. หากไม่ทราบว่าแหล่งกำเนิดไฟฟ้าดูด ไฟฟ้ารั่ว อยู่ตรงไหน ให้ใช้วัสดุที่ไม่นำไฟฟ้า เช่น ไม้ ผ้า ผลัก หรือฉุดผู้ที่โดนไฟฟ้าดูดออกมาโดยเร็ว อาจต้องใช้แรงมากกว่าปกติเล็กน้อย เพื่อให้เขาหรือเธอหลุดออกมาจากกระแสไฟฟ้าที่รั่ว (แต่ไม่ต้องแรงมากจนเกินไป อาจเกิดอุบัติเหตุที่ทำให้บาดเจ็บขึ้นได้) แล้วรีบสับคัทเอาท์ต่อ เพื่อป้องกันกระแสไฟฟ้ารั่วมาทำร้ายเรา หรือผู้ที่เข้าไปช่วยเหลือ
  3. ตรวจสอบดูที่ร่างกายของผู้ที่โดดไฟฟ้าดูดว่ายังมีสติอยู่หรือไม่ หัวใจยังเต้นเป็นปกติหรือเปล่า ถ้าหัวใจไม่เต้น หรือไม่หายใจ ให้รีบปั้มหัวใจ หรือนวดหัวใจ ทำ CPR แล้วรีบนำส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด


การใช้ประโยชน์จากไฟฟ้าควรใช้งานอย่างระมัดระวัง และต้องเรียนรู้วิธีการป้องกันที่ถูกต้อง ควรเลือกเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ได้รับมาตรฐาน และไม่นำตัวเองไปอยู่ในที่ที่มีความเสี่ยงต่อการรั่วไหลของกระแสไฟ หากคุณทำตามคำแนะที่เราบอกไป ก็จะช่วยลดอัตราเสี่ยงจากการถูกไฟฟ้าดูดได้ ????????

>>สามารถติดตามบทความต่าง ๆ ของ KACHA ได้ตามนี้เลย<<

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง :

???? ตรวจ “ระบบไฟฟ้า” ด้วยตัวเอง ทำได้อย่างไร?

???? เลือก “มิเตอร์ไฟฟ้า” แบบไหนให้เหมาะสมกับบ้าน

???? สายไฟ มีกี่ประเภท? ใช้งานอย่างไรบ้าง?

???? “สีสายไฟ” แต่ละสี มีความหมายอย่างไรบ้าง?

???? ท่อร้อยสายไฟ ดีอย่างไร? เดินแบบไหนดีกว่ากัน…

???? เครื่องปั่นไฟ มีประโยชน์อย่างไร?