
เบรกเกอร์ (Circuit Breaker) คืออะไร? มีกี่ประเภท?
หลาย ๆ คนคงรู้จักกับ เบรกเกอร์(Circuit Breaker) กันอยู่แล้ว คือ อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ทำหน้าที่เปิด-ปิดวงจรไฟฟ้า เพื่อความปลอดภัย กล่าวคือเบรกเกอร์จะทำหน้าที่ควบคุม และป้องกันอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากไฟฟ้าลัดวงจรนั่นเอง แล้ว เบรกเกอร์ที่ว่านี้ หน้าจะตาเป็นอย่างไร? มีกี่ประเภท?
ในบทความนี้ KACHA จะพาไปรู้จักกับ เบรกเกอร์ (Circuit Breaker) ให้มากขึ้นกัน
เบรกเกอร์คืออะไร?
เบรกเกอร์เป็นอุปกรณ์ทำหน้าที่ในการตัดวงจรไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ เมื่อเกิดความผิดปกติในระบบ เพื่อเป็นการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับสายไฟ โหลด Load เช่น มอเตอร์ Generator หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า ช่วยจำกัดความเสียหายที่เกิดขึ้นกับสายไฟ มอเตอร์ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า และอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ภายในบ้าน หรือสำนักงาน

ตามปกติแล้ว เบรกเกอร์จะทำงานผ่านความร้อน และสนามแม่เหล็กไฟฟ้า เมื่อพบความผิดปกติที่เกิดขึ้นในวงจร หรือระบบไฟฟ้า เบรกเกอร์จะทำงาน เพื่อตัดกระแสไฟฟ้าทันที เพื่อลดโอกาสที่เครื่องใช้ไฟฟ้าจะได้รับผลกระทบจากไฟฟ้าลัดวงจร ซึ่งอาจนำไปสู่ความเสียหาย และอัคคีภัยได้
ประเภทของเบรกเกอร์
ปัจจุบัน เบรกเกอร์แบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ๆ โดยประกอบไปด้วย ดังนี้
1. เบรกเกอร์ลูกย่อย (Miniature Circuit Breaker: MCB)
เป็นเบรกเกอร์ที่นิยมใช้ภายในที่พักอาศัย เนื่องจากมีค่ากระแสไม่สูงมากนัก น้อยกว่าหรือเท่ากับ 100 A มักมีการติดตั้งภายในตู้ Consumer หรือ Load Center บริเวณที่ช่างไฟฟ้าสามารถตรวจสอบได้อย่างสะดวก
2. โมลเคสเซอร์กิตเบรกเกอร์ (Moulded Case Circuit Breaker: MCCB)
เป็นเบรกเกอร์ที่ทำจากวัสดุฟีโนลิค (Phenolic) ห่อหุ้มด้วย Mold 2 มีลักษณะเป็นฉนวนไฟฟ้า สามารถทนแรงดันได้ดี มีค่ากระแสน้อยกว่า หรือเท่ากับ 1600A โดยเบรกเกอร์ชนิดนี้ จะทำงานอัตโนมัติ และสามารถเปิด-ปิดได้ด้วยมือ
3. แอร์เซอร์กิจเบรกเกอร์ (Air Circuit Breaker: ACB)
เบรกเกอร์ชนิดนี้ มีขนาดใหญ่มากกว่าเบรกเกอร์ทั้ง 2 ข้างต้น โดยมีจุดเด่นที่ความแข็งแรงทนทาน เปี่ยมประสิทธิภาพในการยับยั้ง และป้องกันการลัดวงจรสูง โดยมีค่ากระแสน้อยกว่า หรือเท่ากับ 6300 A เป็นเบรกเกอร์แบบแรงดันไฟฟ้าต่ำ ที่นิยมติดตั้งไว้ในตู้ MDB สามารถแต่งเติม หรือติดตั้งอุปกรณ์เสริมเข้าไป เพื่อเพิ่มศักยภาพได้ ทั้งนี้มักนิยมใช้ในโครงสร้างขนาดใหญ่ และงานที่จำเป็นต้องใช้แรงดันสูง ๆ เนื่องจากสามารถรองรับและตรวจจับกระแสไฟฟ้าลัดวงจรจำนวนมากได้อย่างเต็มขีดความสามารถ
การเลือกซื้อเบรกเกอร์ เลือกอย่างไรให้เหมาะสม
การเลือกซื้อเบรกเกอร์มาติดตั้งเพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร หรือไฟฟ้ากระแสเกิน จะต้องพิจารณาความเหมาะสมสอดคล้องกับระบบไฟฟ้าในปลายทาง ที่ต้องการติดตั้งเบรกเกอร์เป็นสำคัญ ซึ่งโดยปกติแล้ว อาคารส่วนใหญ่ในประเทศไทย จะใช้ระบบไฟฟ้าแบบ 1 เฟส (Single Phrase) ในอาคารที่พักอาศัย และ 3 เฟสในโรงงาน หรืออาคารพาณิชย์ ดังนั้น การเลือกใช้เบรกเกอร์ จึงต้องเลือกให้มีความสัมพันธ์กับโครงสร้างของอาคาร ที่ปกติแล้วมักจะมีแรงดันต่ำไม่เกิน 400V โดยสามารถสรุปแนวทางในการเลือกซื้อเบรกเกอร์ผ่าน 2 ปัจจัย ได้แก่ จำนวน Pole และค่าพิพัดกระแส ดังนี้
-
จำนวน Pole
ในการเลือกซื้อเบรกเกอร์ สิ่งสำคัญอันดับแรกที่ต้องทำความเข้าใจ คือ Pole ซึ่งเป็นสิ่งที่บ่งชี้ว่าเบรกเกอร์ที่ต้องการใช้งานมีชนิด 1 เฟส หรือ 3 เฟส ประกอบด้วย
- Pole คือ เซอร์กิตเบรกเกอร์สำหรับระบบไฟฟ้า 1 เฟส นิยมใช้ร่วมกับตู้ Consumer Unit บ้าน คอนโด และที่พักอาศัยทั่วไป
- Pole คือ เซอร์กิตเบรกเกอร์สำหรับระบบไฟฟ้า 1 เฟสรวมเข้ากับสาย Neutral นิยมใช้เป็น Main Breaker ในตู้ Consumer Unit
- Pole คือ เซอร์กิตเบรกเกอร์สำหรับระบบไฟฟ้า 3 เฟส ใช้สำหรับการป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรจากสาย Line เพียงประการเดียว นิยมใช้ในร้านค้า อาคารพาณิชย์ และโรงงานอุตสาหกรรม
- Pole คือ เซอร์กิตเบรกเกอร์สำหรับระบบไฟฟ้า 3 เฟสรวมเข้ากับสาย Neutral เป็นระบบป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรที่มีความปลอดภัยสูงสุด เนื่องจากสามารถป้องกันสายไฟฟ้าหลักได้ทั้ง 4 เส้น หากตรวจพบความผิดปกติ ก็จะสามารถตัดไฟได้โดยทันที

-
ค่าพิกัดกระแส
การใช้งานเซอร์กิตเบรกเกอร์แต่ละชนิด จะต้องพิจารณาค่าพิกัดกระแสเป็นสำคัญ เนื่องจากเป็นสิ่งที่ใช้ในการบ่งบอกขีดความสามารถ และข้อจำกัดของเบรกเกอร์แต่ละชนิด ซึ่งค่าพิกัด มีหลักการง่าย ๆ ในการอ่าน ดังนี้
- Interrupting Capacitive (IC) คือ พิกัดขีดความสามารถในการทนทานต่อกระแสไฟฟ้าลัดวงจรสูงที่สุดของเบรกเกอร์ดังกล่าว
- Amp Trip (AT) คือ ขนาดของกระแสไฟฟ้าที่ต้องการใช้งาน เป็นดัชนีที่บ่งบอกว่า เบรกเกอร์มีความทนทานต่อกระแสไฟฟ้าปกติได้มากเท่าไหร่
- Amp Frame (AF) คือ พิกัดกระแสโครง หรือขนาดการทนทานของกระแสเปลือกหุ้มเบรกเกอร์ต่อไฟฟ้าลัดวงจร โดยเบรกเกอร์ดังกล่าว จะมีขนาดเท่ากัน และสามารถเปลี่ยนพิกัด AMP Trip ได้โดยขนาดไม่เปลี่ยนแปลง
เบรกเกอร์กับคัทเอาท์ ต่างกันไหม?
- เบรกเกอร์ คือ อุปกรณ์ตัดต่อไฟฟ้า หรือสะพานไฟ เมื่อโหลดช๊อต หรือมีกระแสไหลเกินกว่าค่าที่กำหนด หน้าคอลเทค จะเด็งขึ้น เพื่อแยกวงจรไฟฟ้าออกจากกัน เมื่อเราแก้ไขวงจรด้านโหลดเรียบร้อยแล้ว ก็กดหรือโยกสวิตช์ให้วงจรทำงานได้ต่อไป
- คัทเอาท์ คือ อุปกรณ์ตัดต่อไฟฟ้า หรือสะพานไฟ ที่ข้างในมีฟิวส์อยู่ เมื่อโหลดช๊อต หรือมีกระแสไหลเกินกว่าค่าที่กำหนด ฟิวส์จะขาด ต้องเปลี่ยนฟิวส์วงจร จึงจะกลับมาใช้งานได้เหมือนเดิม
เบรกเกอร์รับว่าเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่จะขาดไปเสียไม่ได้จากอาคารที่พักอาศัย และอาคารพาณิชย์ทุกแห่ง เนื่องจากเป็นกลไกสำคัญในการระงับเหตุไฟฟ้าลัดวงจร สร้างความปลอดภัยให้กับผู้พักอาศัย และคนที่ทำงานภายในอาคาร อย่างไรก็ตาม เบรกเกอร์ก็มีอยู่มากมายหลายชนิด จึงจำเป็นที่จะต้องพิจารณาองค์ประกอบหลายประการ ทั้งค่ากระแสไฟฟ้า หรือจำนวน Pole เพื่อให้ได้เบรกเกอร์ที่เหมาะสมแก่การใช้งาน และมีความปลอดภัย 100% นั่นเอง
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง:
- ไฟตก สาเหตุเกิดจากอะไร? แก้ไขได้อย่างไร?
- ตรวจ “ระบบไฟฟ้า” ด้วยตัวเอง ทำได้อย่างไร?
- เลือก “มิเตอร์ไฟฟ้า” แบบไหนให้เหมาะสมกับบ้าน
- เรื่องที่ต้องรู้! ก่อนซื้อ ปลั๊กไฟ
- สายดิน คืออะไร? ทำไมต้องติดตั้ง!
- เครื่องปั่นไฟ มีประโยชน์อย่างไร?
ขอแนะนำสินค้าจาก KACHA เลือกซื้อสินค้า กล่องใส่อะไหล่ ชั้นวางเครื่องมือช่าง รับรองสินค้าดี มีคุณภาพอย่างแน่นอน
เพื่อไม่ให้พลาดข่าวสารสำคัญ และโปรโมชั่นพิเศษมากมาย สามารถติดตามเราผ่านช่องทางต่างๆได้หลากหลายช่องทางตามด้านล่างนี้เลย
บทความที่เกี่ยวข้อง
พลาสติก PE คืออะไร? รู้จักประเภท คุณสมบัติ และการใช้งานที่ควรรู้
25 กรกฎาคม 2025
พลาสติก PP คืออะไร? รวมคุณสมบัติและการใช้งาน
14 กรกฎาคม 2025
มือใหม่ต้องรู้! หัวไขควงแบบต่างๆ มีอะไรบ้าง ใช้ต่างกันยังไง
30 มิถุนายน 2025
ไขข้อสงสัย! น็อตคืออะไร น็อตมีกี่ประเภท
30 มิถุนายน 2025
10 อุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม ที่ควรมีไว้ติดบ้านก่อนน้ำจะมา
9 มิถุนายน 2025
แม่แรงไฮดรอลิค คืออะไร มีแบบไหนบ้าง?
9 มิถุนายน 2025
บทความที่น่าสนใจ
พลาสติก PE คืออะไร? รู้จักประเภท คุณสมบัติ และการใช้งานที่ควรรู้
25 กรกฎาคม 2025
พลาสติก PP คืออะไร? รวมคุณสมบัติและการใช้งาน
14 กรกฎาคม 2025
มือใหม่ต้องรู้! หัวไขควงแบบต่างๆ มีอะไรบ้าง ใช้ต่างกันยังไง
30 มิถุนายน 2025
ไขข้อสงสัย! น็อตคืออะไร น็อตมีกี่ประเภท
30 มิถุนายน 2025
10 อุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม ที่ควรมีไว้ติดบ้านก่อนน้ำจะมา
9 มิถุนายน 2025
แม่แรงไฮดรอลิค คืออะไร มีแบบไหนบ้าง?
9 มิถุนายน 2025