
รู้จักกับ ตู้ไฟฟ้า ตู้คอนซูมเมอร์ คืออะไร? ข้อควรรู้ก่อนเลือกติดตั้ง ตู้ไฟบ้าน ในบ้าน
ตู้ไฟฟ้า หรือ ตู้คอนซูมเมอร์ยูนิต ถือเป็นหัวใจหลักของระบบไฟฟ้าในบ้าน เป็นด่านแรกในการป้องกันอุบัติเหตุจากไฟฟ้าต่าง ๆ ซึ่งเจ้าของบ้านหลาย ๆ คน อาจจะมองข้าม หรือไม่ค่อยให้ความสำคัญ และใส่ใจเหมือนกับอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดอื่น ๆ เพราะกังวลว่าจะยุ่งยาก และอันตรายหากเลือกไม่เหมาะสม
บทความนี้ KACHA จะพาไปรู้จักกับ ตู้ไฟฟ้า คืออะไร? วิธีการเลือก หรือข้อควรรู้ก่อนเลือก ตู้ไฟบ้าน จะมีอะไรบ้าง? ตามไปดูพร้อม ๆ กันเลย
ตู้ไฟฟ้า คืออะไร?

ตู้คอนซูมเมอร์ หรือบางคนก็เรียก ตู้ไฟบ้าน คือ เป็นตู้ที่ใช้ติดตั้งอุปกรณ์สำหรับควบคุมการจ่ายไฟฟ้าจากมิเตอร์สู่บ้าน หรืออาคารพาณิชย์ เป็นศูนย์รวมของระบบไฟฟ้า เพราะเป็นตัวเชื่อมโยงกับอุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งหมดในบ้าน และอาคาร อุปกรณ์ที่นิยมใช้ใส่ในตู้คอนซูมเมอร์ คือ
- เซอร์กิตเบรกเกอร์ (MCB) 2 ขั้ว
- เซอร์กิตเบรกเกอร์วงจรย่อย (BCB) 1 ขั้ว
- อุปกรณ์ป้องกันกระแสไฟฟ้ารั่ว (RCD: RCBO, RCCB) จะมีจำนวนเบรกเกอร์ย่อยตั้งแต่ 4-18 วงจร
- อุปกรณ์เสริมอื่น ๆ
ประเภทของตู้คอนซูมเมอร์
ตู้ไฟบ้าน ที่เห็นโดยทั่วไป มี 2 แบบ คือ แบบปลั๊กออน (Plug-on) และ แบบรางปีกนก (DIN-Rial)
- แบบปลั๊กออน (Plug-on)
เป็นแบบที่มีความปลอดภัยสูง ติดตั้งได้ง่าย เพราะไม่ต้องเดินสายไฟจากเมนเบรกเกอร์ ไปยังเบรกเกอร์ลูกย่อยแต่ละตัว เพียงนำเบรกเกอร์ไปติดที่บัสบาร์ (Busbar) ซึ่งจะติดตั้งอยู่ในตู้เรียบร้อยแล้ว ตัวเครื่องแบบปลั๊กออน อาจมีราคาสูงแต่ก็ช่วยประหยัดเวลา และค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง มีความเรียบร้อย ในกรณีที่เกิดไฟฟ้าลัดวงจรขึ้น ขาหนีบของเบรกเกอร์ จะถูกสนามแม่เหล็กนำให้ยึดเกาะแท่งบัสบาร์ให้แน่นยิ่งขึ้น เพื่อป้องกันการเกิดไฟอาร์ค หรือประกายไฟที่อาจนำไปสู่ไฟไหม้ได้
- แบบรางปีกนก (Din-Rail)
การติดตั้ง ตู้ไฟบ้าน ประเภทนี้ ติดตั้งโดยการใช้สายไฟเชื่อมต่อเบรกเกอร์ยึดกับรางเหล็ก แล้วเดินสายจากเมนเบรกเกอร์ ไปที่เบรกเกอร์ลูกย่อยแต่ละตัวจนครบ ซึ่งจะใช้เวลา และค่าใช้จ่ายในการติดตั้งมากกว่าแบบปลั๊กออน แต่จะมีราคาถูกกว่า มีความทนทาน และมีอายุการใช้งานมากกว่า อย่างไรก็ตาม ควรเดินสายดินให้ถูกต้องตามมาตรฐานการไฟฟ้า เพื่อป้องกันอันตรายจากไฟรั่วไฟดูดด้วย
นอกจากนี้ พื้นที่ในการติดตั้ง ควรเป็นพื้นที่ที่เข้าถึงได้ง่าย และห่างไกลจากความชื้น และน้ำ สามารถติดได้ทั้งแบบรวมไว้ในพื้นที่กลางที่เดียวในอาคาร เช่น ในตู้ไฟฟ้า หรือจะแยกไว้ในแต่ละห้อง เพื่อความสะดวกในการควบคุมก็ได้เช่นกัน

ข้อควรพิจารณาก่อนซื้อตู้ไฟฟ้า
- เลือกประเภทการติดตั้ง แบบปลั๊กออน (Plug-on) มีข้อดี คือไม่ต้องเดินสายไฟจากเมนเบรกเกอร์ไปยังเบรกเกอร์ลูกย่อย ทำให้ลดเวลาในการติดตั้ง แตกต่างจาก แบบรางปีกนก (DIN-Rial) ที่จะต้องเดินสายระหว่างเมนกับลูกย่อย แต่มีข้อดี คือ ราคาถูกกว่า และมีความยืดหยุ่นในงานติดตั้งมากกว่า
- จำนวนช่องลูกเบรคเกอร์ จะมีตั้งแต่ 4-20 ช่องต่อ 1 ตู้ 1 ช่อง จะรองรับลูกเบรคเกอร์ได้ 1 ชิ้น ลูกเบรคเกอร์ 1 ชิ้น สามารถรองรับเครื่องใช้ไฟฟ้าได้ทั้งแบบชิ้นเดียว เช่น แอร์ สำหรับหลายชิ้น เช่น ดวงไฟ ขึ้นอยู่กับการออกแบบวงจร ว่าเป็นแบบไหน
ข้อควรระวัง: ไม่ควรให้เครื่องใช้ไฟฟ้า ที่ใช้กระแสไฟมากต่อเข้าเบรคเกอร์ชิ้นเดียวกัน และอย่าลืมเผื่อช่องสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่อาจติดตั้งเพิ่มในอนาคตไว้ด้วย - เมนเบรคเกอร์ และลูกเบรคเกอร์ แบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ แบบ MCB ที่ไม่มีการตัดไฟดูด และราคาถูกกว่า และแบบ RCBO นิยมใช้กับปลั๊กออน /RCCB นิยมใช้กับรางปีกนก เป็นเบรคเกอร์ ที่มีความสามารถตัดไฟ เมื่อมีการลัดวงจรไฟรั่วในตัว
- คุณภาพ ความน่าเชื่อถือของแบรนด์ ก่อนตัดสินใจเลือกซื้อตู้ไฟ Consumer Unit คือ ความน่าเชื่อถือของแบรนด์ ควรเลือกซื้อสินค้าจากแบรนด์ที่ได้มาตรฐาน มั่นใจได้ถึงความปลอดภัยตลอดการใช้งาน ต้องมีมาตรฐาน มอก. และมาตรฐานสากล IEC
- เลือกตู้คอนซูมเมอร์ ที่แข็งแรง ทนทาน ไม่เป็นวัสดุลามไฟ หรือเป็นเชื้อเพลิง ควรเลือกใช้ตู้พลาสติกชนิดที่มีคุณสมบัติเป็นฉนวนไฟฟ้า เพื่อป้องกันอันตรายจากกระแสไฟฟ้าด้วย
- ตู้ไฟบ้าน ต้องหาซื้อได้ง่าย เพราะในกรณีที่เบรกเกอร์ชำรุด หรือต้องการเพิ่มวงจรภายในบ้าน จะต้องสามารถหาซื้อมาเปลี่ยนได้อย่างสะดวก
จบไปแล้วกับ ตู้ไฟฟ้า ตู้คอนซูมเมอร์ยูนิต ที่เรานำมาฝาก คงทำให้หลาย ๆ เข้าใจ และรู้จักกันมากขึ้น อย่างไรก็ตามก่อนจะติดตั้ง อย่าลืมศึกษาหาข้อมูล หรือปรึกษาหาคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญก่อนเสมอทุกครั้งด้วย เพื่อความปลอดภัยในการใช้งานด้วยนั่นเอง
บทความดี ๆ น่าอ่าน:
- วิธีต่อสายไฟ แบบพื้นฐานที่ควรรู้ มีอะไรบ้าง?
- วิธีต่อปลั๊กไฟ และ สวิตช์ ด้วยตัวเองง่าย ๆ ทำได้อย่างไร?
- สายไฟ มีกี่ประเภท? ใช้งานอย่างไรบ้าง?
- ตรวจ “ระบบไฟฟ้า” ด้วยตัวเอง ทำได้อย่างไร?
- ท่อร้อยสายไฟ ดีอย่างไร? เดินแบบไหนดีกว่ากัน…
- เลือก “มิเตอร์ไฟฟ้า” แบบไหนให้เหมาะสมกับบ้าน
KACHA ผู้จัดจำหน่าย เครื่องมือช่างราคาถูก และอุปกรณ์เสริม สำหรับช่างมืออาชีพ ราคาที่คุณจับต้องได้ รับรองสินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจอย่างแน่นอน!! ขอแนะนำ ที่แขวนเครื่องมือช่าง ตัวช่วยดี ๆ เหมาะสำหรับ เก็บอุปกรณ์ช่าง อะไหล่ต่าง ๆ ทำให้ประหยัดพื้นที่ในการใช้สอย สะดวกต่อการจัดเก็บ และหยิบใช้งานง่าย
เพื่อไม่ให้พลาดข่าวสารสำคัญ และโปรโมชั่นพิเศษมากมาย สามารถติดตามเราผ่านช่องทางต่างๆได้หลากหลายช่องทางตามด้านล่างนี้เลย
บทความที่เกี่ยวข้อง
พลาสติก PE คืออะไร? รู้จักประเภท คุณสมบัติ และการใช้งานที่ควรรู้
25 กรกฎาคม 2025
พลาสติก PP คืออะไร? รวมคุณสมบัติและการใช้งาน
14 กรกฎาคม 2025
มือใหม่ต้องรู้! หัวไขควงแบบต่างๆ มีอะไรบ้าง ใช้ต่างกันยังไง
30 มิถุนายน 2025
ไขข้อสงสัย! น็อตคืออะไร น็อตมีกี่ประเภท
30 มิถุนายน 2025
10 อุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม ที่ควรมีไว้ติดบ้านก่อนน้ำจะมา
9 มิถุนายน 2025
แม่แรงไฮดรอลิค คืออะไร มีแบบไหนบ้าง?
9 มิถุนายน 2025
บทความที่น่าสนใจ
พลาสติก PE คืออะไร? รู้จักประเภท คุณสมบัติ และการใช้งานที่ควรรู้
25 กรกฎาคม 2025
พลาสติก PP คืออะไร? รวมคุณสมบัติและการใช้งาน
14 กรกฎาคม 2025
มือใหม่ต้องรู้! หัวไขควงแบบต่างๆ มีอะไรบ้าง ใช้ต่างกันยังไง
30 มิถุนายน 2025
ไขข้อสงสัย! น็อตคืออะไร น็อตมีกี่ประเภท
30 มิถุนายน 2025
10 อุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม ที่ควรมีไว้ติดบ้านก่อนน้ำจะมา
9 มิถุนายน 2025
แม่แรงไฮดรอลิค คืออะไร มีแบบไหนบ้าง?
9 มิถุนายน 2025