ข้อควรรู้ ก่อนติดตั้ง EV Charger ในบ้าน ก่อนซื้อรถไฟฟ้า

เรียกได้ว่า กระแสการใช้รถยนต์ไฟฟ้า หรือรถ EV ก็มีมากขึ้นในปัจจุบันอย่างเห็นได้ชัด ด้วยความที่ประหยัดเชื้อเพลิง แถมยังใช้งานได้ดีเหมือนรถยนต์ปกติทั่วไป ในบทความนี้ KACHA จะพาไปรู้จักกับ EV Charger คืออะไร? และข้อควรรู้ก่อนติดตั้ง ไว้ในบ้าน เพื่อเป็นแนวทางสำหรับคนที่กำลังสนใจ ตามไปดูกันเลย

รู้จักกับ EV Charger

คือ สถานีชาร์จรถไฟฟ้า ทำหน้าที่ชาร์จไฟฟ้าให้กับแบตเตอรี่รถยนต์ รถยนต์พลังงานไฟฟ้า สามารถชาร์จไฟได้ในเวลาอันรวดเร็ว เป็นพลังงานสะอาด ไม่ทำให้โรคร้อน ไม่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ และยังเป็นมิตรกับธรรมชาติอีกด้วย โดยสามารถประเภทของEV Charger ได้ 3 แบบ คือ

230512-Content-ข้อควรรู้-ก่อนติดตั้ง-EV-Charger05
  • Quick Charge คือ การชาร์จด้วยตู้EV Charger แปลงไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) เป็นไฟกระแสตรง (DC) แล้วจ่ายไฟกระแสตรง เข้าที่แบตเตอรี่โดยตรง จะใช้เวลาชาร์จน้อยกว่าการชาร์จแบบ Normal Charge ตัวอย่างเช่น รถยนต์ไฟฟ้า แบตเตอรี่ขนาด 24KWh ชาร์จไฟโดยให้ตู้EV Charger แบบ Quick Charge ที่มีกำลังชาร์จอยู่ที่ 50Kw ระยะเวลาชาร์จจะอยู่ที่ประมาณ ครึ่งชั่วโมง
    หัวชาร์จของตู้EV Charger จะมีทั้งแบบ AC และ DC ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับมาตรฐานการผลิตหัวชาร์จของผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแต่ละรุ่นนั่นเอง
  • Normal Charger แบบ Wall Box เป็นการชาร์จด้วยไฟกระแสไฟฟ้าสลับ (AC) ส่วนใหญ่มักจะเห็นเครื่องชาร์จติดผนังตามห้างสรรพสินค้า หรือโรงแรม เป็นการชาร์จผ่านตัวแปลงไฟ ที่จะทำหน้าที่ในการแปลงไฟกระแสสลับ ไปเป็นไฟกระแสตรง ระยะเวลาในการชาร์จอาจมีได้ตั้งแต่ 4-9 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับขนาดของแบตเตอรี่ ยี่ห้อ และรุ่นรถยนต์
  • Normal Charger แบบต่อจากเต้ารับภายในบ้านโดยตรง ทำได้ต่อเมื่อ มิเตอร์ไฟของบ้าน สามารถรองรับกระแสไฟฟ้าขั้นต่ำ 15(45)A และเต้ารับไฟในบ้าน ต้องได้รับการติดตั้งใหม่ เป็นเต้ารับเฉพาะสำหรับการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า เนื่องจาก การชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าไม่สามารถใช้เต้ารับแบบธรรมดาได้ รถ EV จำเป็นต้องใช้กระแสไฟฟ้าสูงขณะทำการชาร์จ ควรตรวจสอบระบบไฟฟ้าในบ้านให้มีความเหมาะสมต่อปริมาณการใช้กระแสไฟฟ้า เช่น สะพานไฟ และขนาดของสายไฟว่าสามารถรองรับได้หรือไม่ อีกทั้งอุปกรณ์ชาร์จควรมีระบบตัดไฟฟ้าอัตโนมัติเมื่อชาร์จเต็ม หรือเกิดเหตุฉุกเฉินด้วย ระยะเวลาการชาร์จของรูปแบบนี้จะนานสุด คือ 12-15 ชั่วโมง

การติดมิเตอร์ไฟฟ้ารองรับEV Charger

มาตรฐานความปลอดภัยของระบบไฟฟ้า ได้กำหนดการติดตั้งมิเตอร์ เพื่อรองรับEV Charger ดังนี้

230512-Content-ข้อควรรู้-ก่อนติดตั้ง-EV-Charger03

ภาพจาก: การไฟฟ้านครหลวง

  1. เพิ่มขนาดมิเตอร์ไฟฟ้า ปรับปรุงระบบไฟฟ้าภายในบ้าน โดยปกติบ้านทั่วไป จะมีขนาดมิเตอร์ไฟฟ้า คือ Sigle-Phase 5(15)A  หรือ Sigle-Phase 15(45)A โดยให้เปลี่ยนขนาดมิเตอร์เป็น Sigle-Phase 30(100)A หรือ 3-Phase 14(45)A
  2. ขอติดตั้งมิเตอร์เครื่องที่ 2 สำหรับEV Charger โดยเฉพาะ เหมาะสำหรับบ้านที่ไม่สะดวกปรับปรุงระบบไฟฟ้าภายในบ้าน โดยดำเนินการเช่นเดียวกับการติดตั้งมิเตอร์ใหม่ ทั้งนี้มิเตอร์เครื่องที่ 1 และมิเตอร์เครื่องที่ 2 จะต้องเป็นประเภทผู้ใช้ไฟเดียวกัน เช่น มิเตอร์เครื่องที่ 1 เป็นผู้ใช้ไฟประเภทกิจการขนาดเล็ก มิเตอร์เครื่องที่ 2 ต้องเป็นประเภทกิจการขนาดเล็กด้วย แต่สามารถเลือกใช้คนละอัตราค่าไฟได้ (อัตราปกติกับอัตราค่าไฟฟ้าตามช่วงเวลาของการใช้: TOU)
    อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ อัตราค่าไฟฟ้า และการขอมิเตอร์ไฟ

วิธีตรวจสอบความพร้อมของบ้านเบื้องต้น

  • ขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าของบ้าน 

โดยสำหรับไฟ 1 เฟส ต้องมีขนาดมิเตอร์ 30 แอมป์ขึ้นไป ส่วนไฟ 3 เฟส ต้องมีขนาดมิเตอร์ 15/45 แอมป์

  • ขนาดสายไฟเมน 

ขนาดสายไฟที่ใช้เชื่อมมายังตู้ควบคุม ต้องมีขนาด 25 ตารางมิลลิเมตร ขนาดที่ใหญ่ขึ้น เป็นขนาดของเส้นทองแดง รวมไปถึงสำรวจตู้ Main Circuit Breaker (MCB) ควรใช้ตู้ที่รองรับกระแสไฟได้สูงสุดไม่เกิน 100 แอมป์

  • ตู้ควบคุมไฟฟ้า (MDB) 

ภายในตู้จะต้องมีช่องว่างสำหรับติดตั้ง Miniature Circuit Breaker, 1P ขนาด 16 A ที่ต้องแยกช่องจ่ายไฟออกจากส่วนอื่น และต้องมีขนาดสูงสุดไม่เกิน 100 A สำหรับมิเตอร์ขนาด 30(100)A เพื่อรองรับกระแสไฟของเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าได้

  • เครื่องตัดไฟรั่ว Earth-Leakage Circuit Breaker หรือ Residual Current Circuit Breaker (RCCB)

เพื่อความปลอดภัย แนะนำให้ติดตั้ง เครื่องตัดวงจร เมื่อมีค่ากระแสไฟฟ้าไหลเข้า-ออก ไม่เท่ากัน เครื่องทำหน้าที่ตรวจจับไฟฟ้ารั่ว เกิดจากการใช้ไฟเกินความพอดี หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้านมีสภาพเก่า เป็นสาเหตุการเกิดไฟฟ้าลัดวงจร ไฟดูด หรือไฟไหม้ได้ เครื่องตัดไฟรั่ว จะตัดไฟที่ไหลผ่าน ในกรณีที่พบว่ามีกระแสไฟฟ้าบางส่วนรั่วหายไป เช่น รั่วไหลลงไปในดิน ผ่านร่างกายมนุษย์ หรือรั่วผ่านฉนวนที่ชำรุดของอุปกรณ์ไฟฟ้า มีทั้งแบบตรวจจับแรงดัน และแบบตรวจจับกระแส โดยการไฟฟ้า แนะนำให้ติดตั้ง RCCB Type B เข้าไปเพิ่มเพื่อความปลอดภัย แต่ถ้าหากภายในเครื่องชาร์จ มีการติดตั้ง RCCB Type B หรือเทียบเท่าอยู่แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องติดตั้งเพิ่ม

หมายเหตุ เครื่องตัดไฟรั่ว มี 2 ประเภท คือ TYPE A สามารถตัดไฟรั่ว AC ที่ ≤ 30 mA. และ TYPE B สามารถตัดไฟรั่ว AC ที่ ≤30 mA. และมีฟังก์ชั่นการตรวจจับการรั่วไหลของ DC ที่ <6 mA.

  • เต้ารับ (EV Socket-Outlet)

สำหรับเสียบสายชาร์จ เป็นชนิด 3 รู ต้องทนต่อกระแสไฟฟ้าได้ต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 16 A ตาม มอก.166-2549 หรืออาจเป็นเต้าสำหรับอุตสาหกรรม ต้องมีหลักดิน ซึ่งแนะนำให้แยกออกจากหลักดิน ของระบบไฟเดิมของบ้าน โดยใช้สายต่อหลักดิน เป็นสายหุ้มฉนวน ที่มีขนาดไม่ต่ำกว่า 10 ตารางมิลลิเมตร ส่วนหลักดิน ควรมีขนาด 16 มิลลิเมตร ยาว 2.4 เมตร ตามมาตรฐาน และการต่อสายดินกับหลักดิน ควรเชื่อมต่อกันด้วยความร้อน

  • ตำแหน่งติดตั้งเต้ารับEV Charger 

ควรมีระยะห่างที่เหมาะสมกับความยาวของการชาร์จ แนะนำที่ระยะความยาว ไม่เกิน 5 เมตร แม้ว่าตัวเต้ารับ จะระบุเป็นใช้ภายนอกบ้านก็ตาม แต่ควรติดตั้งในที่ร่ม และกันแดดกันฝนได้ หากอาศัยในโครงการหมู่บ้านจัดสรร ต้องสำรวจระบบไฟฟ้าของหมู่บ้านก่อน โดยสอบถามจากโครงการว่าสามารถรองรับการติดตั้งEV Chargerได้หรือไม่ กระแสไฟฟ้าในโครงการตอบโจทย์การติดตั้งEV Charger ที่บ้านหรือไม่ และเราต้องเตรียมระบบไฟในบ้านอย่างไรบ้าง

230512-Content-ข้อควรรู้-ก่อนติดตั้ง-EV-Charger02

จบไปแล้วกับEV Charger และการเตรียมความพร้อมเบื้องต้น พอจะเป็นแนวทางให้ผู้ที่กำลังจะติดตั้งEV Charger ไว้ที่บ้าน อย่างไรก็ตาม ควรเลือกใช้บริการจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านระบบไฟฟ้าจะดีกว่า เพื่อขอคำปรึกษา และมีความสบายใจ ความปลอดภัยต่อการใช้ไฟฟ้าสูงสุดนั่นเอง

บทความดี ๆ น่าอ่าน:

KACHA ผู้จัดจำหน่าย เครื่องมือช่างราคาถูก และอุปกรณ์เสริม สำหรับช่างมืออาชีพ ราคาที่คุณจับต้องได้ รับรองสินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจอย่างแน่นอน!! ขอแนะนำ รถเข็นเครื่องมือช่าง ตัวช่วยดี ๆ เหมาะสำหรับ เก็บอุปกรณ์ช่าง อะไหล่ต่าง ๆ ทำให้ประหยัดพื้นที่ในการใช้สอย สะดวกต่อการจัดเก็บ และหยิบใช้งานง่าย

ขอบคุณข้อมูลจาก: การไฟฟ้านครหลวง, baanlaesuan.com