แนะนำ “อุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม” ที่ควรเตรียมไว้ก่อนน้ำจะมา
ประเทศไทยเจอปัญหาน้ำท่วมเกือบทุกปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนหรือกรณีที่ฝนตกหนักติดต่อกันหลายวัน บ้านเรือน ร้านค้า หรือโกดังสินค้า จึงควรมี “อุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม” ไว้เตรียมพร้อมเสมอ เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นทั้งต่อทรัพย์สินและชีวิต มาดูกันว่าอุปกรณ์อะไรบ้างที่ควรมีติดบ้าน

1. กระสอบทราย (Sandbags)
กระสอบทรายคืออุปกรณ์คลาสสิกที่ใช้วางกั้นหน้าบ้าน ประตู หรือทางน้ำไหล ตัวทรายจะดูดซับและชะลอน้ำได้ระดับหนึ่ง ช่วยป้องกันน้ำเบื้องต้น
- เหมาะกับน้ำท่วมระดับต่ำถึงปานกลาง
- ใช้งานง่าย แต่ต้องมีแรงงานช่วยวางเรียง
- ใช้งานซ้ำไม่ได้

2. กระสอบทรายพองตัวอัตโนมัติ (Water-Activated Flood Bags)
รุ่นใหม่ ใช้ง่าย ไม่ต้องแบก กระสอบชนิดนี้ผลิตจากวัสดุดูดซับน้ำ เมื่อสัมผัสน้ำจะพองตัวภายในไม่กี่นาที พร้อมกั้นน้ำได้ทันที
- น้ำหนักเบา (ขณะแห้ง)
- เหมาะสำหรับบ้านที่ไม่มีพื้นที่เก็บทราย
- มีอายุการจัดเก็บหลายปีหากยังไม่ใช้
3. แผ่นกั้นน้ำ / กำแพงกั้นน้ำท่วม (Flood Barrier Panel)
สะดวก ติดตั้งและถอดเก็บง่าย ใช้งานซ้ำได้หลายครั้ง แผ่นกั้นน้ำหรือกำแพงกันน้ำ สามารถติดตั้งบริเวณทางเข้า ประตู หน้าต่าง โรงรถ หรือจุดที่น้ำสามารถไหลเข้าบ้านได้ ใช้งานสะดวกและสามารถถอดเก็บได้ ดูราคากำแพงกั้นน้ำท่วม ใช้ซ้ำได้ 10 ปี
- ทนแรงดันน้ำได้มากกว่ากระสอบทราย
- ใช้ซ้ำได้หลายครั้ง ประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาว
- น้ำหนักเบา คนเดียวก็สามารถติดตั้งได้
- ติดตั้งได้ทั้งในพื้นที่แคบ พื้นที่กว้าง และตามแนวโค้งต่าง ๆ
- ไม่ทำให้หน้าบ้านดูรกหรือขัดกับสไตล์ของตัวอาคาร

4. แผ่นป้องกันน้ำท่วมสำหรับประตู/หน้าต่าง
แผ่นป้องกันน้ำท่วม หรือที่บางครั้งเรียกว่า Flood Shield / Flood Panel คือ อุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อกั้นไม่ให้น้ำไหลเข้าทางประตูหรือหน้าต่าง โดยเฉพาะในกรณีน้ำท่วมฉับพลันหรือฝนตกหนัก มักทำจากวัสดุอย่างอะลูมิเนียม, พีวีซี (PVC), พลาสติกเกรดอุตสาหกรรม หรือโลหะเคลือบกันสนิม
- สามารถติดตั้งได้ด้วยตัวเองในไม่กี่นาทีเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
- เหมาะสำหรับอาคารบ้านเรือนที่ต้องการป้องกันเฉพาะบริเวณประตูหรือหน้าต่าง
- ไม่เหมาะกับน้ำท่วมสูงหรือรุนแรง ถ้าน้ำท่วมสูง อาจต้องใช้ร่วมกับอุปกรณ์อื่น

5. เครื่องสูบน้ำ (Water Pump)
เครื่องสูบน้ำเป็นอุปกรณ์สำคัญในกรณีที่น้ำเริ่มเข้าบ้าน การมีเครื่องสูบน้ำขนาดเล็กไว้ในบ้าน จะช่วยระบายน้ำออกจากบ้านหรือพื้นที่ต่ำได้รวดเร็ว
- เลือกเครื่องที่ทนแรงดันน้ำและสิ่งปนเปื้อน
- ควรมีสายต่อกับปลั๊กสำรองหรือเครื่องปั่นไฟ

6. พลาสติกคลุมของ / ผ้าใบกันน้ำ (Waterproof Tarp)
ป้องกันของใช้ เครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ ของใช้ภายในบ้าน เช่น โซฟา ทีวี ตู้เย็น ฯลฯ หากไม่สามารถย้ายขึ้นที่สูงได้ ควรใช้พลาสติกหรือผ้าใบกันน้ำคลุมไว้
- กันน้ำ กันฝุ่น กันชื้น
- พับเก็บง่าย ใช้ซ้ำได้หลายครั้ง

7. ถุงกันน้ำสำหรับของใช้ไฟฟ้า / เอกสารสำคัญ
ปกป้องของมีค่าจากความชื้น ไม่ว่าจะเป็นเอกสารสำคัญ เครื่องใช้ไฟฟ้าเล็ก ๆ หรือแบตเตอรี่ ควรแยกเก็บไว้ในถุงกันน้ำ หรือกล่องพลาสติกที่มีซีลปิดแน่น เคล็ดลับการจัดเก็บแบ่งเป็นกล่องฉุกเฉิน แยกหมวด เช่น ของกิน, ยา, ไฟฉาย, เครื่องมือ, เอกสาร
8. อุปกรณ์วางของขึ้นที่สูง (Shelf / Pallet / แท่นไม้)
ป้องกันน้ำกัดเซาะและความเสียหายภายใน จัดเตรียมแท่นยกหรือพาเลทไว้รองของใช้หนัก เช่น ตู้เย็น เครื่องซักผ้า หรือกล่องเก็บของ เพื่อไม่ให้น้ำสัมผัสโดยตรง เลือกชั้นวางของที่ยกสูงอย่างน้อย 30 ซม. รับน้ำหนักได้มาก ดูราคาชั้นวางของเหล็ก รับน้ำหนักได้ 100-200 กิโลกรัม

9. เทปกันน้ำ (Waterproof Tape / Seal Tape)
ของเล็ก ๆ ที่จำเป็นในสถานการณ์คับขัน ใช้ปิดรอยรั่วเล็ก ๆ หรือซีลประตู หน้าต่างชั่วคราว เทปชนิดนี้สามารถกันน้ำได้และยืดหยุ่น เหมาะกับการใช้งานแบบฉุกเฉิน
- เลือกแบบที่มีคุณสมบัติทน UV และติดแน่นแม้ในสภาพเปียก
- เลือกแบบที่ใช้ติดได้ทั้งโลหะ พลาสติก กระเบื้อง ยาง ไม้ หรือแม้กระทั่งผ้าใบกันน้ำ

10. แอปเตือนภัย / กล้องดูน้ำแบบเรียลไทม์
แจ้งเตือนน้ำท่วมล่วงหน้า ติดตั้งกล้องวงจรปิดบริเวณหลังบ้าน หรือใช้แอปพลิเคชันของกรมอุตุนิยมวิทยา และหน่วยงานท้องถิ่น เพื่อรับการแจ้งเตือน
- แอปแนะนำ ThaiWater, WMSC, DPM Reporter
- บางพื้นที่มีเซนเซอร์น้ำแบบเรียลไทม์จากเทศบาล
อุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม ไม่ได้จำเป็นแค่ “บ้านที่เคยโดนน้ำท่วม” เท่านั้น แต่เป็นของที่เตรียมไว้ล่วงหน้าในทุกบ้าน เพราะน้ำมาไวเสมอ และมักไม่ทันตั้งตัว การมีอุปกรณ์พร้อมใช้งาน จะช่วยลดความเสียหายทั้งทางร่างกาย จิตใจ และทรัพย์สิน แม้ว่าเราจะไม่สามารถควบคุมธรรมชาติได้ แต่สิ่งหนึ่งที่เราทำได้คือ “เตรียมตัวให้พร้อม” เพราะน้ำท่วมไม่ได้เลือกเวลา และไม่รอให้เราพร้อมก่อนเสมอไป และอย่าลืมศึกษาวิธีป้องกันน้ำท่วม พร้อมเตรียมรับมือก่อนน้ำเข้าบ้านด้วยน้าาา