HOW TO ซ่อมมุ้งลวด ที่ขาดเสียหายด้วยตัวเอง ทำง่าย ไม่ง้อช่าง

มุ้งลวด ถือได้ว่า เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่แทบทุกบ้านจะต้องมี เพราะช่วยกันยุง กันแมลงต่าง ๆ กันลม กันละอองฝน ไม่ให้เข้ามาภายในบ้านได้ แต่เมื่อใช้ไปนาน ๆ อาจะขาด ชำรุด เสื่อมสภาพตามการใช้งาน ในบทความนี้ KACHA จะพาไปดูวิธี ซ้อมมุ้งลวด ที่สามารถทำเองได้ง่าย ๆ ไม่ต้องเรียกช่างมาให้เสียเวลา แถมยังประหยัดเงินในกระเป๋าได้อีกด้วย จะทำได้อย่างไรบ้างนั้น ตามไปดูกันเลย

ประเภทของมุ้งลวด

มุ้งลวดนั้น สามารถแบ่งออกได้ 3 แบบ คือ

230208-Content-HOW-TO-ซ่อมมุ้งลวด02
  • มุ้งลวดไฟเบอร์

มีเนื้อสัมผัสนุ่มลื่น มีความยืดหยุ่น ไม่คมและระคายผิว หน้ากว้างมาก สะท้อนแสง และเกิดสนิมได้ยาก เหมาะกับการนำมาใช้ทำมุ้งลวดหน้าต่าง โดยเฉพาะ บ้านพัก ที่ติดชายทะเล เพราะทนต่อการกัดกร่อนของน้ำเค็มได้ดี

  • มุ้งลวดอะลูมิเนียม

ทำจากอะลูมิเนียม มีความแข็งแรง ทนทาน สะท้อนแสงได้ดี จะเกิดสนิมและผุกร่อนได้ง่าย หากโดนความชื้น ผู้ใช้มุ้งลวดประเภทนี้จำเป็นต้องขึงขึ้นกรอบให้ดี เพื่อไม่ให้เสียรูปทรง และควรหมั่นทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อไม่ให้ตัวเส้นมุ้งกรอบแข็ง และยืดอายุการใช้งานไปได้อีกนาน

  • มุ้งลวดไนลอน

ทำจากไนลอน เนื้อวัสดุค่อนข้างหนา เหนียว ทนทาน และความตึงตัวสูง ถ่ายเทอากาศได้ดี แต่มองทะลุข้างนอกไม่ได้เท่าไหร่ จึงไม่เหมาะกับการนำมาใช้ติดขึงตรงหน้าต่าง

วิธีซ่อมมุ้งลวด ทำได้ไม่ยาก

มุ้งลวดขาด เราสามารถซ่อมได้ด้วยตัวเอง แบบง่าย ๆ ไม่ต้องง้อช่าง ได้ดังนี้

อุปกรณ์สำหรับซ่อมมุ้งลวด

  • ไขควง
  • เหล็กปลายแหลม (แบบที่ใช้เจาะหนังให้เป็นรู)
  • สว่าน แบบไร้สาย
  • กรรไกร
  • มุ้งลวด
  • มีดเอนกประสงค์
  • อิฐ
  • บล็อกไม้
  • Spline หรือร่องฟันของมุ้งลวด
  • ลูกกลิ้งมุ้งลวด

วิธีซ่อมมุ้งลวด

  1. เลาะมุ้งลวด ใช้เหล็กปลายแหลม หรือไขควงปลายแคบ ค่อย ๆ เลาะมุ้งลวดออกจาก Spline หรือร่องฟันของมุ้งลวดเดิมทิ้ง
  2. เลาะกรอบมุ้งลวด นำบล็อกไม้ที่เตรียมไว้ ใส่ลงไปตรงกรอบมุ้งลวดด้านที่ยาวที่สุดทั้ง 2 ด้านให้เท่ากัน โดยบล็อกไม้ จะช่วยพยุงทรงกรอบไม่ให้โย้เข้ามาข้างในเมื่อขึงมุ้งลวด
  3. นำมุ้งลวดแผ่นใหม่ ลองวางลงในกรอบมุ้งลวด วัดขนาดมุ้งลวด โดยกะขนาดให้ซ้อนเหลื่อมกันประมาณ 3 ใน 4 ของหนึ่งนิ้ว ตัดมุมของมุ้งลวดแต่ละด้านให้ได้มุม 45 องศา
  4. ใส่มุ้งลวดเข้ามุมตรงร่องฟันของกรอบมุ้งลวด ใช้ลูกกลิ้งมุ้งลวด หมุนกลิ้งให้มุ้งลวดเข้าร่องฟันตามกรอบ โดยกลิ้งไปตามแนวกรอบมุ้งลวดทั้งหมด  หากร่องฟันมุ้งลวดโผล่ขึ้น มาให้เล็มทิ้ง และกลิ้งมุ้งลวดให้เข้าที่ให้เรียบร้อย
  5. ใช้มีดเอนกประสงค์ตัดเล็มมุ้งลวดที่เกินออกมาจากกรอบให้เรียบร้อย เป็นอันเสร็จ
  6. หากพบปัญหาตอนเปลี่ยนมุ้งลวดว่า มุ้งลวดหย่อน หรือตึงเกินไป จนทำให้ตัวเส้นมุ้งลวดโค้งออกมา ไม่สวยงาม สามารถแก้ไขได้ คือ ใช้ลูกกลิ้ง กลิ้งไปตามแนวกรอบมุ้งลวดทั้ง 2 ด้าน แล้วให้นำก้อนอิฐวางทับตรงกลางมุ้งลวด เพื่อช่วยถ่วงไม่ให้มุ้งลวดเสียรูปทรง จากนั้น ค่อยวางมุ้งลวดลงในกรอบด้านที่เหลือ แล้วนำอิฐ ที่วางทับตอนแรกออก เพียงเท่านี้ก็จะได้มุ้งลวดเรียบตรงตามที่ต้องการ
230208-Content-HOW-TO-ซ่อมมุ้งลวด03

กรณีที่มุ้งลวด มีการเสียหาย เฉพาะจุด ไม่ได้ใหญ่มาก เราสามารถ ซ่อมมุ้งลวด ได้เอง โดยใช้ เทปกาวซ่อมมุ้งลวด ที่ทำมาเพื่อซ่อมมุ้งลวดโดยเฉพาะ เหมาะสำหรับซ่อมมุ้งลวดบริเวณที่ขาดเป็นแนวยาว หรือขอบที่ติดกับกรอบ ทำได้ดังนี้

  • ลอกฟิล์มกาว เทปกาวซ่อมมุ้งลวดออก จากนั้น ลองวัดตำแหน่ง ความยาว และใช้กรรไกรตัดเทปกาว ให้ได้ขนาดพอดีกับส่วนที่ต้องการซ่อม
  • ติดเทปกาวซ่อมมุ้งลวด ลงที่บริเวณที่ต้องการได้เลย
  • เพื่อให้เทปกาวยึดติดแน่นกับมุ้งลวด ให้ใช้มือกดด้านหลังมุ้งลวด เพื่อให้เทปกาว ยึดติดได้แน่นขึ้น เป็นอันเสร็จ

เป็นอย่างไรกันบ้างกับ วิธีซ่อมมุ้งลวด ที่เรานำมาฝากกัน ไม่ยากอย่างที่คิด หมดกังวลเรื่องมุ้งลวดขาด แล้วต้องคอยช่างมาซ่อมอีกต่อไป เพราะเราสามารถทำเองได้ง่าย ๆ ลองนำวิธี ซ่อมมุ้งลวด ที่มาฝากกันนี้ ไปลองทำกันดูนะจ๊ะ

บทความดี ๆ ที่น่าอ่าน:

● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ●

KACHA ผู้จัดจำหน่าย เครื่องมือช่างราคาถูก และอุปกรณ์เสริม สำหรับช่างมืออาชีพ ราคาที่คุณจับต้องได้ รับรองสินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจอย่างแน่นอน!!

เลือกดูสินค้า รถเข็นเครื่องมือช่าง คลิกเลย ????????

อ้างอิงข้อมูลจาก ddproperty.com