
How to เปลี่ยนกระเบื้องหลังคา ด้วยตัวเองแบบง่ายๆ ประหยัดงบค่าแรงช่าง
การเปลี่ยน หลังคาบ้าน โดยรื้อกระเบื้องหลังคามุงใหม่ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ จะลดปัญหา หลังคารั่ว หลังคาเสื่อมสภาพ แต่บางที การเปลี่ยนใหม่ทั้งหมด อาจจะทำให้เสียค่าใช้จ่ายมาก บทความนี้ KACHA จะพาไปดูวิธีการ เปลี่ยนกระเบื้องหลังคา ที่สามารถทำด้วยตัวเอง แบบง่าย ๆ ประหยัดค่าแรงช่าง มาฝากกัน จะมีขั้นตอนอย่างไรบ้างนั้น ไปดูกันเลย
วิธีการ เปลี่ยนกระเบื้องหลังคา
การเปลี่ยนกระเบื้องหลังคา ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุ รอยแตกร้าว น้ำรั่วซึม เราสามารถแก้ไข เปลี่ยนกระเบื้อง ที่ทำได้ด้วยตัวเอง แบบง่าย ๆ ดังนี้
- เตรียมแผ่นกระเบื้องหลังคา เช่น กระเบื้องใส หรือกระเบื้องทึบ
- จุกยึดกระเบื้องส่วนใหญ่ จะยึดด้วยขาเหล็ก 2 ขาต่อ 1 แผ่น โดยขาเหล็กจะเกี่ยวยึดติดกับคานไม้ คานหลังคาอยู่แล้ว
- วิธีการยืนบนกระเบื้อง ควรพาดไม้ระหว่างรอยต่อด้านบน ด้านล่างกระเบื้อง และให้ยืนเหนือรอยต่อของ กระเบื้องหลังคา จะอยู่ในช่วงของคานหลังคาพอดี
- หากต้องการจะเปลี่ยนกระเบื้องแผ่นไหน ให้ใช้คีมงัดขาเหล็กยึดกระเบื้องแผ่นนั้นออก 1 แผ่นมี 2 ขา และยัดขาเหล็กยึดของกระเบื้องที่วางทับกันอีกแผ่นนึงด้วย เพื่อเวลาใส่กระเบื้องแผ่นไหม่เข้าไปจะได้มีช่องว่างในการใส่กระเบื้องได้
- ทำการยกกระเบื้องที่ต้องการจะเปลี่ยนออก โดยยกขึ้นตรง ๆ แล้วดึงถอยหลังออก จากนั้นก็นำ กระเบื้องหลังคาแผ่นใหม่เข้ามาใส่แทนที่ ทำแบบเดียวกับที่ดึงหลังคาออก เมื่อใส่หลังคาแผ่นใหม่เข้าไปแล้ว ก็ทำการล๊อกขาเหย็ดยึดเหมือนเดิม ให้ครบทั้ง 2 ฝั่ง เป็นอันเสร็จ
ข้อควรระวัง: ข้างใต้รอยต่อของกระเบื้อง จะมีคานรับ 2 คาน ให้เอาไม้พาดทั้ง 2 คาน แล้วเยียบตอนขึ้น เพื่อนรองรับน้ำหนักตัว จะได้ไม่เกิดอุบัติเหตุตามมานั่นเอง

เลือกกระเบื้องหลังคาแบบไหนดี
การเลือกกระเบื้องหลังคาบ้าน ควรคำนึงถึงคุณสมบัติการป้องกันความร้อนเป็นหลัก ควรเลือก กระเบื้องเซรามิก เพราะเนื้อกระเบื้องกักเก็บความร้อนน้อย คลายความร้อนได้เร็วกว่า และมีอีกหนึ่งวัสดุมุงหลังคา ที่นิยมมาก คือ กระเบื้องไฟเบอร์ซีเมนต์ เป็นวัสดุที่มีค่าการนำความร้อนต่ำคล้าย ๆ กระเบื้องเซรามิก สามารถป้องกันความร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยกันทั้งคู่
นอกจากชนิดของกระเบื้องที่เลือกใช้มุงหลังคาแล้ว การเลือกสีเคลือบผิว ก็ช่วยป้องกันความร้อนได้เช่นกัน ควรเลือกใช้สีเคลือบแบบเซรามิก หรือสีทาหลังคาโทนอ่อน ผิวมันวาว เพราะดูดซับรังสีไว้น้อยกว่า และป้องกันความร้อนได้ดีกว่าสีมืดเข้มถึง 50% เลยทีเดียว

วิธีดูแลรักษากระเบื้องหลังคา
- เดินสำรวจตรวจเช็คการปูกระเบื้องบนหลังคา การวางระยะห่างระหว่างกระเบื้องต้องเท่ากันเรียบร้อยดีหรือไม่ หากมีกระเบื้องที่เหลื่อมทับซ้อนกัน หรือชำรุด ควรรีบแก้ไขโดยทันที เพราะอาจจะทำให้หลังคารั่ว หรือหล่นลงมาได้
- กระเบื้องหลังคา จะต้องไม่มีรอยแตกร้าวบนแผ่น
- ใต้ครอบมุมหลังคา มักจะมีช่องว่างอยู่ ควรทำการอุดช่องว่างนี้ ด้วยปูน เพราะ นก และแมลงบางชนิด อาจจะเข้าไปทำรังในนั้นได้
- ตรวจเช็กดูคราบสกปรก รอยด่างต่าง ๆ ที่ติดอยู่ตามกระเบื้อง หากมีคราบฝังแน่น ให้หาทางขจัดออกให้มากที่สุด หลังคาจะได้ดูใหม่ขึ้น
- ลองขึ้นไปตรวจหลังคาด้านนอกด้วยความระมัดระวัง แล้วใช้สายตากวาดดูรอบ ๆ ว่ามีกระเบื้องหลังคาแผ่นไหนแตก เป็นรูรั่ว หรือกระเบื้องหลังคาหายไปบ้าง เพื่อจะได้ซ่อมแซม เปลี่ยนใหม่ให้ตรงจุด
- ควรตรวจเช็คดูความเรียบร้อยของหลังคาให้ครอบคลุม เช่น ตรงห้องน้ำ ห้องครัว และตรงช่องระบายอากาศให้เรียบร้อยด้วย เมื่อเจอจุดเสียหาย ควรรีบแก้ไขทันที
จบไปแล้วกับ วิธีการ เปลี่ยนกระเบื้องหลังคา ที่สามารถทำเองได้ไม่ยาก อย่างไรก็ตาม ก่อนจจะทำการเปลี่ยนกระเบื้อง อย่าลืมคำนึงถึง ความปลอดภัยต่าง ๆ ให้ดีด้วย เพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ที่สำคัญ ควรศึกษาหาข้อมูล และศึกษาวิธีการเปลี่ยนหลังคาให้ละเอียด ก่อนทำการรื้อถอน รื้อเปลี่ยนกระเบื้องหลังคา บทความหน้า จะมีสาระดี ๆ อะไรน่าสนใจ มาฝากอีกนั้น อย่าลืมติดตามกันด้วยนะจ๊ะ
บทความดี ๆ ที่น่าสนใจ:
- วิธีซ่อมหลังคารั่ว ทำได้ด้วยตัวเอง ไม่ง้อช่าง
- วัสดุมุงหลังคา เลือกแบบไหนให้เหมาะสม?
- ข้อดี หลังคาเมทัลชีท ดีกว่า หลังคากระเบื้อง จริงหรือ?
- ข้อดี-ข้อเสีย หลังคากระเบื้องลอนคู่ กับ หลังคาเมทัลชีท
- หลังคาไวนิล และ หลังคาสเตนเลส ข้อดี-ข้อเสียอย่างไร?
- โครงหลังคา องค์ประกอบสำคัญในการสร้างบ้านที่ต้องรู้!
● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ●
KACHA ผู้จัดจำหน่าย เครื่องมือช่างราคาถูก และอุปกรณ์เสริม สำหรับช่างมืออาชีพ ราคาที่คุณจับต้องได้ รับรองสินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจอย่างแน่นอน!!
อ้างอิงข้อมูลจาก: dsignsomething.com
เพื่อไม่ให้พลาดข่าวสารสำคัญ และโปรโมชั่นพิเศษมากมาย สามารถติดตามเราผ่านช่องทางต่างๆได้หลากหลายช่องทางตามด้านล่างนี้เลย
บทความที่เกี่ยวข้อง
พลาสติก PE คืออะไร? รู้จักประเภท คุณสมบัติ และการใช้งานที่ควรรู้
25 กรกฎาคม 2025
พลาสติก PP คืออะไร? รวมคุณสมบัติและการใช้งาน
14 กรกฎาคม 2025
มือใหม่ต้องรู้! หัวไขควงแบบต่างๆ มีอะไรบ้าง ใช้ต่างกันยังไง
30 มิถุนายน 2025
ไขข้อสงสัย! น็อตคืออะไร น็อตมีกี่ประเภท
30 มิถุนายน 2025
10 อุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม ที่ควรมีไว้ติดบ้านก่อนน้ำจะมา
9 มิถุนายน 2025
แม่แรงไฮดรอลิค คืออะไร มีแบบไหนบ้าง?
9 มิถุนายน 2025
บทความที่น่าสนใจ
พลาสติก PE คืออะไร? รู้จักประเภท คุณสมบัติ และการใช้งานที่ควรรู้
25 กรกฎาคม 2025
พลาสติก PP คืออะไร? รวมคุณสมบัติและการใช้งาน
14 กรกฎาคม 2025
มือใหม่ต้องรู้! หัวไขควงแบบต่างๆ มีอะไรบ้าง ใช้ต่างกันยังไง
30 มิถุนายน 2025
ไขข้อสงสัย! น็อตคืออะไร น็อตมีกี่ประเภท
30 มิถุนายน 2025
10 อุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม ที่ควรมีไว้ติดบ้านก่อนน้ำจะมา
9 มิถุนายน 2025
แม่แรงไฮดรอลิค คืออะไร มีแบบไหนบ้าง?
9 มิถุนายน 2025