
เครื่องดูดควัน มีกี่แบบ เลือกแบบไหนให้เหมาะกับครัวในบ้าน
เครื่องดูดควัน เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ช่วยกำจัดกลิ่น ควัน ละอองไขมัน ขณะทำอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวช่วยดี ๆ สำหรับผู้ที่ชอบประกอบอาหาร ไม่ว่าเมนูไหนก็ทำได้อย่างสบายใจ
มีวิธีเลือกยังไงให้เหมาะกับห้องครัว ตาม KACHA มาดูกันเลย!!
ประเภทของเครื่องดูดควัน
แบ่งตามระบบการทำงาน
1) ระบบต่อท่อดูดอากาศออกสู่ภายนอก (DUCT-OUT)
เป็นระบบที่นิยมใช้ภายในบ้านมากที่สุด เนื่องจากประสิทธิภาพการทำงานสูง และทำงานเสียงเบา หลักการทำงาน คือ ดูดกลิ่นและเขม่าควันออกนอกตัวอาคารผ่านท่อ เหมาะสำหรับห้องครัวที่เป็นบ้านเดี่ยว เพราะต้องเจาะผนังหรือเพดาน เพื่อต่อท่อออกภายนอก
2) ระบบหมุนเวียนอากาศ (RECIRCULATING)
เครื่องดูดควันประเภทนี้จะดูดอากาศที่เต็มไปด้วยเขม่า กลิ่นเหม็น และไขมันขณะที่เราทำอาหาร ผ่านฟิลเตอร์คาร์บอนและแผ่นกรองไขมันในเครื่องดูดอากาศ แล้วนำอากาศที่ผ่านการกรองแล้วหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ นิยมติดตั้งในคอนโดหรือบ้านที่มีพื้นที่จำกัด เพราะไม่จำเป็นต้องเจาะผนังหรือหลังคา

แบ่งตามรูปลักษณ์และการดีไซน์
1) เครื่องดูดควันกระโจมกลางห้อง ( ISLAND HOOD)
เป็นเครื่องดูดควันที่มีประสิทธิภาพการดูดสูง ดีไซน์สวยงาม ระบบโครงสร้างแข็งแรง ออกแบบมาสำหรับห้องครัวที่มีเคาน์เตอร์ประกอบอาหารอยู่กลางห้อง ผู้ปรุงอาหารมีความสะดวกสบายในการเคลื่อนที่ เหมาะสำหรับห้องครัวที่มีพื้นที่กว้าง หรือห้องครัวที่มีการปรุงอาหารหนัก ๆ เป็นประจำ
2) เครื่องดูดควันกระโจมติดผนัง (CHIMNEY HOOD)
เหมาะสำหรับห้องครัวที่มีส่วนปรุงอาหารอยู่ติดผนัง ประสิทธิภาพและแรงดูดเทียบเท่ากับเครื่องดูดควันกระโจมกลางห้อง วัสดุไม่แตกต่างกันมาก ส่วนมากมักราคาต่ำกว่า แต่อาจมีข้อจำกัดเรื่องดีไซน์บ้างเล็กน้อย การติดตั้งไม่กินพื้นที่ใช้สอย เหมาะสำหรับห้องครัวที่มีขนาดเล็ก-ปานกลาง เป็นเครื่องดูดควันที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน

3) เครื่องดูดควันมาตรฐาน / สลิมไลน์ (SLIMLINE HOOD)
เครื่องดูดควันมาตรฐานหรือสลิมไลน์จะมีแรงดูดไม่เท่ากับประเภทอื่น ส่วนใหญ่นิยมใช้ระบบหมุนเวียนที่ใช้ระบบกรองกลิ่นด้วยแผ่นฟิลเตอร์และแผ่นคาร์บอน นิยมติดตั้งไว้ใต้ตู้ลอยเหนือเตา เหมาะสำหรับห้องครัวที่มีพื้นที่จำกัด เช่น อพาร์ตเมนต์ คอนโด หรือห้องครัวที่ไม่ได้ประกอบอาหารเป็นประจำ
4) เครื่องดูดควันดาวน์ดราฟท์ (DOWNDRAFT HOOD)
ถือเป็นนวัตกรรมใหม่ของเครื่องดูดควัน เพราะมีดีไซน์ที่ทันสมัยและมีลูกเล่นในการทำงานที่แปลกใหม่ คือ สามารถดูดควัน กลิ่นอาหาร คราบเขม่า ควันต่าง ๆ ได้โดยตรงจากปากภาชนะ และสามารถจัดเก็บตัวเองให้กลืนเข้ากับเคาน์เตอร์ครัวได้เลย นอกจากจะใช้สำหรับดูดควันแล้ว บางห้องครัวยังติดตั้งไว้เป็นเฟอร์นิเจอร์สำหรับตกแต่งพื้นที่ให้ดูเรียบหรูทันสมัยขึ้นอีกด้วย
วิธีเลือก เครื่องดูดควัน ให้เหมาะกับการใช้งาน

- ประเภทของเครื่องดูดควัน
ทุกคนคงพอทราบกันไปแล้วว่า เครื่องดูดควัน แต่ละแบบมีการทำงานยังไง เพราะฉะนั้น ข้อนี้ทำได้ไม่ยาก เพียงสังเกตลักษณะของห้องครัวที่บ้าน แล้วนำมาเปรียบเทียบกับจุดเด่นของเครื่องดูดควันในแต่ละแบบ จากนั้นเลือกตามความเหมาะสม เช่น ถ้าเป็นบ้านเดี่ยวหรืออาคารที่สามารถเจาะผนังหรือหลังคาได้ ควรใช้เครื่องดูดควันแบบต่อท่อออก เพราะมีประสิทธิภาพการทำงานสูง แต่ถ้าเป็นคอนโดที่ไม่อนุญาตให้เจาะผนัง ควรใช้เครื่องดูดควันประเภทหมุนเวียนแทน เพราะเหมาะกับพื้นที่จำกัดมากกว่า
- ขนาดของเครื่องดูดควัน
เมื่อมีประเภทของเครื่องดูดควันที่ต้องการแล้ว ขั้นต่อไปคือการเลือกขนาดที่เหมาะสมกับพื้นที่ของห้องครัว โดยปกติแล้วขนาดเครื่องดูดควันที่นิยมใช้ในปัจจุบัน มี 3 ขนาด คือ 60, 90 และ 120 ซม. ถ้าต้องการขนาดที่เล็กหรือใหญ่กว่า ต้องหาบริษัทที่ผลิตเครื่องดูดควันขนาดนั้น ๆ หรือสั่งทำพิเศษเฉพาะ ซึ่งจะมีราคาสูงกว่าที่ขายในท้องตลาดถึงประมาณ 2-3 เท่า ถ้าใครไม่ได้มีความจำเป็น แนะนำให้เลือกไซซ์ที่นิยมขายและหาได้ทั่วไปจะดีกว่า ส่วนการเลือกนั้นให้เลือกตามขนาดของเตาแก๊สหรือเตาไฟฟ้าที่อยู่ในห้องครัว
- กำลังดูดอากาศ
กำลังดูดอากาศ ถือเป็นหัวใจหลักของการตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องดูดควัน เนื่องจากส่งผลต่อประสิทธิภาพในการใช้งานโดยตรง คือ ยิ่งมีแรงดูดอากาศสูงเท่าไหร่ ยิ่งดูดกลิ่นและควันออกจากห้องได้ดีเท่านั้น สามารถสังเกตกำลังดูดได้จากข้อมูลตัวเครื่องที่มีหน่วยวัดเป็น “ลูกบาศก์เมตร/ชั่วโมง” ถ้าเป็นห้องครัวที่ต้องทำอาหารหลากหลายประเภท ทั้งต้ม ผัด แกง ทอด หรือทำอาหารกลิ่นแรง ควรใช้เครื่องดูดควันที่มีแรงดูดอย่างน้อย 1500 ลบ.ซม. ขึ้นไป ถึงจะสามารถกำจัดกลิ่นและควันออกได้อย่างหมดจด แต่ถ้าห้องครัวไหนที่ประกอบอาหารนาน ๆ ครั้ง หรือเป็นเมนูที่ไม่หนักมาก แนะนำให้เลือกเครื่องที่มีแรงดูดประมาณ 1,000 ลบ.ซม. ส่วนห้องครัวที่มีการทำอาหารน้อยครั้ง หรือเมนูที่กลิ่นไม่แรง สามารถใช้เครื่องที่มีแรงดูดต่ำกว่านี้ได้เลย
วิธีคำนวณกำลังดูดอากาศที่เหมาะสม = ปริมาตรของห้องครัว (กว้าง x ยาว x สูง) x 10 หน่วยเป็นลูกบาศก์เมตร/ชั่วโมง
- ชนิดของมอเตอร์ภายในเครื่องดูดควัน มอเตอร์ที่มีในเครื่องดูดควันทั่วไป มี 3 ชนิด ดังนี้
- มอเตอร์ที่ทำจากอัลลอยด์ เป็นมอเตอร์ที่ทนความร้อนได้ดีที่สุด ทำงานได้อย่างต่อเนื่องและยาวนาน
- มอเตอร์ที่ทำจากเหล็กชุบกัลวาไนซ์ ข้อดีคือไม่ทำให้เหล็กเป็นสนิม ช่วยยืดอายุของมอเตอร์ให้ใช้ได้ยาวนาน แต่มีความคงทนน้อยกว่ามอเตอร์แบบอัลลอยด์
- มอเตอร์ที่ทำจากพลาสติกกิลล่อน เป็นพลาสติกคุณภาพที่สามารถทนความร้อนได้ดีระดับหนึ่ง แต่ไม่สามารถใช้งานได้ต่อเนื่องนาน ๆ เพราะจะทำให้มอเตอร์เสื่อมคุณภาพเร็ว

- ฟิลเตอร์คาร์บอน
เครื่องดูดควันแบบหมุนเวียนอากาศภายในจำเป็นต้องมีฟิลเตอร์คาร์บอน เพราะฟิลเตอร์คาร์บอนจะทำหน้าที่ในการดูดซับกลิ่น ควัน ไขมัน และสารเคมีจากการประกอบอาหาร รวมถึงฟอกอากาศให้บริสุทธิ์ก่อนปล่อยควันออกไปหมุนเวียนอากาศภายในห้อง ซึ่งคาร์บอนที่ใช้ในเครื่องดูดควันจะมีอยู่ 2 ชนิด คือ
- คาร์บอนแบบตลับ มีประสิทธิภาพในการดูดซับกลิ่นและควันได้ดี มีอายุการใช้งานยาวนาน
- คาร์บอนแบบแผ่น เหมาะสำหรับเครื่องดูดควันแบบสลิมไลน์ เพราะเป็นแผ่นฟิลเตอร์ที่มีขนาดเล็ก ใช้งานและทำความสะอาดง่าย แต่ประสิทธิภาพในการดูดซับกลิ่นและควันจะไม่ดีเท่าแบบตลับ
- ฟิลเตอร์กรองน้ำมัน
เครื่องดูดควันที่ผลิตมาสำหรับครัวที่ต้องประกอบอาหารหนัก ๆ เช่น ครัวไทย จำเป็นต้องมีฟิลเตอร์กรองน้ำมัน หรือถ้วยรองน้ำมันภายในตัวเครื่อง ถ้าเป็นห้องครัวที่ต้องประกอบอาหารหนักหน่วง เช่น ร้านขายกับข้าว แนะนำให้ใช้แบบที่มีฟิลเตอร์กรองน้ำมันโดยเฉพาะหรือมีถ้วยรองน้ำมันแยกต่างหาก เพื่อให้ง่ายต่อการทำความสะอาด รวมถึงยืดอายุการใช้งานของมอเตอร์ให้ยาวนานขึ้นด้วย
- วัสดุที่ใช้ผลิตเครื่องดูดควัน
แนะนำให้เลือกตัวเครื่องที่ผลิตจาก สแตนเลส AISI304 เพราะเป็นสแตนเลสคุณภาพสูง ไม่เป็นสนิม และทำความสะอาดง่าย นอกจากนี้ยังมีความปลอดภัย เพราะมีความคงทนต่อการกัดกร่อน ต่างจากสแตนเลสประเภทอื่นที่อาจเกิดการกัดกร่อนจนทำให้ปลิวลงไปในอาหารได้ เมื่อเรารับประทานเข้าไป สารเคมีเหล่านั้นก็จะถูกสะสมภายในร่างกาย ซึ่งมีความเสี่ยงในการเกิดโรคที่ร้ายแรงในอนาคต
- ฟังก์ชันและการดีไซน์
ในปัจจุบันมีการผลิตเครื่องดูดควันออกมาอย่างหลากหลาย นอกจากจะออกแบบมาเพื่อตอบสนองการใช้งานแล้ว ยังมีการดีไซน์ตัวเครื่องให้สวยงาม เรียบหรู เพื่อให้เข้ากับห้องครัวที่หลากสไตล์ การเลือกก็ขึ้นอยู่กับความชอบส่วนตัวของแต่ละคน ส่วนฟังก์ชันที่ออกแบบมาก็ขึ้นอยู่กับความจำเป็นและความต้องการของผู้ซื้อ ซึ่งแน่นอนว่าราคาเครื่องดูดควันก็จะเพิ่มขึ้นตามฟังก์ชันที่เพิ่มขึ้นไปด้วย ตัวอย่างฟังก์ชันที่ช่วยอำนวยความสะดวกในเครื่องดูดควัน คือ ฟังก์ชันการตั้งเวลาการทำงานล่วงหน้า และตั้งเวลาการปิดเครื่องอัตโนมัติ, ฟังก์ชันให้เครื่องทำงานอัตโนมัติเมื่อมีกลิ่นและควันจากการประกอบอาหาร, ฟังก์ชันการควบคุมการทำงานด้วยรีโมทคอนโทรล และยังมีฟังก์ชันอีกมากมาย ซึ่งทั้งหมดก็ขึ้นอยู่กับผู้เลือกซื้อว่าต้องการความสะดวกสบายขนาดไหน
จบไปแล้วสำหรับบทความเรื่อง เครื่องดูดควัน หวังว่าทุกคนจะได้ข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดนี้เพิ่มมากขึ้น หากใครต้องการติดตั้ง อย่าลืมพิจารณาคุณสมบัติที่เรานำมาฝากกัน รับรองว่า ทุกคนจะได้เครื่องดูดควันที่เหมาะกับห้องครัวในบ้านอย่างแน่นอน!
ขอบคุณข้อมูลจาก : KITCHENFORM
บทความดี ๆ ที่น่าสนใจ:
KACHA ผู้จัดจำหน่าย เครื่องมือช่างราคาถูก และอุปกรณ์เสริม สำหรับช่างมืออาชีพ ราคาที่คุณจับต้องได้ รับรองสินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจอย่างแน่นอน!!
เพื่อไม่ให้พลาดข่าวสารสำคัญ และโปรโมชั่นพิเศษมากมาย สามารถติดตามเราผ่านช่องทางต่างๆได้หลากหลายช่องทางตามด้านล่างนี้เลย
บทความที่เกี่ยวข้อง
พลาสติก PE คืออะไร? รู้จักประเภท คุณสมบัติ และการใช้งานที่ควรรู้
25 กรกฎาคม 2025
พลาสติก PP คืออะไร? รวมคุณสมบัติและการใช้งาน
14 กรกฎาคม 2025
มือใหม่ต้องรู้! หัวไขควงแบบต่างๆ มีอะไรบ้าง ใช้ต่างกันยังไง
30 มิถุนายน 2025
ไขข้อสงสัย! น็อตคืออะไร น็อตมีกี่ประเภท
30 มิถุนายน 2025
10 อุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม ที่ควรมีไว้ติดบ้านก่อนน้ำจะมา
9 มิถุนายน 2025
แม่แรงไฮดรอลิค คืออะไร มีแบบไหนบ้าง?
9 มิถุนายน 2025
บทความที่น่าสนใจ
พลาสติก PE คืออะไร? รู้จักประเภท คุณสมบัติ และการใช้งานที่ควรรู้
25 กรกฎาคม 2025
พลาสติก PP คืออะไร? รวมคุณสมบัติและการใช้งาน
14 กรกฎาคม 2025
มือใหม่ต้องรู้! หัวไขควงแบบต่างๆ มีอะไรบ้าง ใช้ต่างกันยังไง
30 มิถุนายน 2025
ไขข้อสงสัย! น็อตคืออะไร น็อตมีกี่ประเภท
30 มิถุนายน 2025
10 อุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม ที่ควรมีไว้ติดบ้านก่อนน้ำจะมา
9 มิถุนายน 2025
แม่แรงไฮดรอลิค คืออะไร มีแบบไหนบ้าง?
9 มิถุนายน 2025