
ทำความรู้จัก “ลิฟท์” มีกี่ประเภท? การใช้งานเป็นอย่างไรบ้าง?
อีกหนึ่งเครื่องทุ่นแรง ที่เรามักจะเห็นกันบ่อย ๆ นั่น คือ ลิฟต์ นั่นเอง ใช้เป็นตัวช่วยในการเคลื่อนที่ขึ้นลงระหว่างนั้นต่าง ๆ ภายในอาคาร ซึ่งลิฟท์นั้น ก็มีหลายแบบตามการใช้งาน บทความนี้ KACHA จะพาไปทำความรู้จักกับ “ลิฟท์” ว่ามีกี่ประเภท และการใช้งานเป็นอย่างไร? ตามไปดูพร้อม ๆ กันเลย
ลิฟท์ คือ?
ลิฟต์ (Elevation หรือ Lift) เครื่องทุนแรงชนิดหนึ่ง เป็นพาหนะเคลื่อนที่ขึ้น-ลง ในทางแนวดิ่งด้วยพลังงานไฟฟ้า มีโครงสร้างเป็นแท่งเหล็ก หรือแผ่นเหล็ก ที่มีประสิทธิภาพในการเคลื่อนย้ายผู้คน หรือสิ่งของขนาดใหญ่ที่มีน้ำหนักมาก ทำให้มีความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย และยังช่วยเบาแรงในการขนส่งได้เป็นอย่างดี
ส่วนใหญ่นิยมนำมาใช้ในกการยกของ ยกสินค้าในโรงงานอุตสาหกรรม รวมถึงภายในอาคารที่เป็นตึกสูง ๆ เช่น บ้าน คอนโด ตึกระฟ้า เป็นต้น นอกจากนี้ การเลือกใช้งาน ลิฟต์ ขึ้นอยู่กับผู้เลือกใช้งาน เลือกตามประเภทของลิฟท์ ที่มีความเหมาะสมกับการใช้งาน เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งานนั่นเอง
ประเภทของ ลิฟต์ มีอะไรบ้าง?
สามารถแยก ลิฟท์ ตามประเภทของ Diving System ได้ 2 ประเภท ดังนี้
1. ลิฟท์ระบบไฮดรอลิค
เป็นลิฟท์ที่ส่วนใหญ่นิยมใช้ยกของที่มีขนาดใหญ่ และมีน้ำหนักมาก ภายในกระบอก จะบรรจุสารของเหลวอยู่ โดยมีมอเตอร์ใช้ในการควบคุมระบบในการเคลื่อนที่ขึ้น-ลง และหยุดตามความสูงที่ผู้ใช้งานต้องการ ซึ่งลิฟท์ประเภทนี้ จะมีระบบไม่ซับซ้อน ใช้งานง่าย และสามารถมองเห็นระบบการทำงานของตัวเครื่องได้ชัดเจน

ข้อเสีย คือ ตัวอุปกรณ์มีขนาดใหญ่ ไม่เหมาะกับการยก หรือเคลื่อนย้ายสิ่งของที่ใช้ความสูงมาก ๆ หรือเป็นลิฟท์ที่จำกัดความสูงในการใช้งานนั่นเอง เพราะประสิทธิภาพการทำงาน และความแข็งแรงจะน้อยลง ทำให้สิ้นเปลืองพลังงานมากจากการหมุนของตัวมอเตอร์ และลูกสูบที่ใช้ปั๊มได้
2. ลิฟท์ระบบสลิง
เป็น ลิฟต์ ที่มีสายเคเบิ้ลในการเคลื่อนที่ขึ้น-ลง สามารถใช้งานได้หลากหลายกว่าลิฟท์ระบบไฮโดรลิก ห้องลิฟท์ จะมีการยกขึ้นโดยผ่านรอกไฟฟ้าต่อเข้ากับมอเตอร์ไฟฟ้า จะมีระบบเกียร์ในการควบคุมความสมดุลในการเคลื่อนที่ สามารถช่วยให้ประหยัดพลังงาน เพราะมอเตอร์ จะใช้แรงขับเคลื่อนแค่เพียงเล็กน้อย ก็สามารถยกห้องขึ้นมาได้แล้ว นอกจากนี้ ห้องบรรทุก กับน้ำหนักที่ไว้ถ่วง ทำให้การเคลื่อนที่สามารถอยู่ในรางเลื่อน เพื่อไม่ให้น้ำหนักเลื่อนเหวี่ยงไปมาได้อีกด้วย

ลิฟท์ระบบสลิง ถือได้ว่าเป็นลิฟต์ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าลิฟต์ประเภทอื่น ๆ ทั้งเรื่องการใช้งาน สามารถใช้ขึ้นชั้นสูงแค่ไหนก็ได้ กินไฟน้อยกว่า ระบบไฮโดลิค เพราะมีระบบ Electronic เข้ามาช่วยนั่นเอง
สินค้าแนะนำ : รอกไฟฟ้า | รอกโซ่มือสาว
ส่วนประกอบของลิฟท์
- เครื่องจักรขับลิฟท์ (Traction Machine) เป็นอุปกรณ์หลักของระบบลิฟท์ ทำหน้าที่ขับเคลื่อนลิฟท์ขึ้น-ลง
- ชุดลูกถ่วง (Counterweight) เป็นโครงเหล็ก ซึ่งบรรจุก้อนน้ำหนักที่ทำด้วยเหล็กหล่อ ทำหน้าที่ถ่วงดุลกับน้ำหนักของลิฟท์ และจำนวนผู้โดยสาร เพื่อให้มอเตอร์ลิฟท์ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ
- รางลิฟท์ (Guide Rail) เป็นเหล็กรูปตัว T ทำหน้าที่นำร่องให้ลิฟท์วิ่งขึ้น-ลงในแนวที่กำหนด รักษาตำแหน่งตัวลิฟท์ให้ทรงตัว และได้ศูนย์ตลอดเวลา รางลิฟท์มีหลายขนาดขึ้นอยู่กับขนาดของตัวลิฟท์ น้ำหนักบรรทุก ความเร็วลิฟท์ เป็นต้น โดยทั่วไประบบลิฟท์ จะมีรางขนาดใหญ่สำหรับนำร่องตัวลิฟท์ และรางขนาดเล็กกว่า สำหรับนำร่องชุดลูกถ่วง
- ตู้โดยสาร (Lift Car) เป็นห้องโดยสาร ที่ยึดกับโครงเหล็กกล้าที่แข็งแรง พร้อมอุปกรณ์นิรภัย ป้องกันไม่ให้ลิฟท์ตกเมื่อสลิงขาด ตู้โดยสารมีขนาดแตกต่างกันขึ้นอยู่กับประเภท และน้ำหนักบรรทุกของลิฟท์
- บัฟเฟอร์ (Buffer) เป็นอุปกรณ์ป้องกันไม่ให้ตัวลิฟท์กระแทกกับพื้นบ่อลิฟท์ กรณีลิฟท์วิ่งเลยชั้นล่างสุด บัฟเฟอร์จะผ่อนแรงกระแทก เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อผู้โดยสาร
- ตู้คอนโทรล (Controller) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของลิฟท์ทั้งระบบ เช่น ควบคุมความเร็ว ควบคุมการเปิดปิดประตู จัดคิวการวิ่งรับส่งผู้โดยสาร เป็นต้น และชนิดของคอนโทรล แยกย่อยออกตามประเภทระบบขับเคลื่อนด้วย เช่น VVVF, DC Drive เป็นต้น
- ประตูหน้าชั้น (Landing Door) ระบบลิฟท์ทั่วไปจะมีประตู 2 ส่วน คือ ประตูในลิฟท์ (Car Door) และประตูหน้าชั้นต่าง ๆ ตามจำนวนชั้นจอดของลิฟท์ ปกติประตูหน้าชั้นจะเปิด-ปิดได้ต่อเมื่อตัวลิฟท์จะต้องจอดอยู่ที่ชั้นนั้น และประตูที่ชั้นอื่นจะเปิดไม่ได้ เพื่อให้การใช้งานมีความปลอดภัยสูงสุด ประตูลิฟท์มีหลายแบบ โดยทั่วไปจะมี เปิดจากกึ่งกลาง (Center Opening) และ เปิดจากด้านข้าง (Slide Opening)
- สลิงลิฟท์ (Wire Rope) ใช้สำหรับแขวนตัวลิฟท์ และชุดลูกถ่วง ฉุดให้ลิฟท์ขึ้นลงด้วยแรงเสียดทานของลวดสลิงกับร่องของมู่เล่ย์
- ปุ่มกด (Button) ใช้สำหรับเรียกลิฟท์รับ-ส่งไปยังชั้นต่าง ๆ ที่ต้องการ แผงปุ่มกดมีอยู่ 2 ส่วน คือ
- แผงปุ่มกดในลิฟท์ (Car Operating Panel) ประกอบด้วย ปุ่มเรียกไปตามชั้นต่าง ๆ, ปุ่มปิด-เปิดประตู, ปุ่มแจ้งเหตุ และอินเตอร์คอม
- แผงปุ่มกดหน้าชั้น (Hall Button) ประกอบด้วย ปุ่มเรียกลิฟท์มารับ ขาขึ้น-ขาลง อย่างละปุ่ม
- สายเคเบิล (Travelling Cable) เป็นสายไฟที่วิ่งขึ้นลงพร้อมกับตัวลิฟท์ ทำหน้าที่เชื่อมสัญญาณ เช่น ปุ่มกดและสวิทซ์ต่าง ๆ ที่ตู้ลิฟท์กับตู้คอนโทรลในห้องเครื่อง
แบ่งประเภทของลิฟท์ตามการใช้งาน
เราสามารถแยกลิฟท์ตามประเภทของของการใช้งานได้เป็นหลายประเภท เช่น
1) ลิฟท์บ้าน
เป็นลิฟท์ที่ใช้ติดตั้งภายในตัวอาคารของบ้าน มีขนาดเล็ก มีการระบุพื้นที่สำหรับติดตั้งอย่างเหมาะสมกับพื้นที่จำกัด จะมีลักษณะเป็นห้องด้านหนึ่งติดกับตัวบ้าน และอีกด้านหนึ่งสามารถ เปิด-ปิด ระหว่าง เข้า-ออกได้ เพื่อขนส่ง หรือเคลื่อนย้ายสิ่งของต่าง ๆ แทนการขึ้น-ลงทางบันได เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกสำหรับบ้านที่มีคนชรา คนท้อง และเด็ก นอกจากนี้เป็นลิฟท์ที่จะมีระบบความปลอดภัยในระหว่างการใช้งานด้วย

2) ลิฟท์โดยสาร
เป็นลิฟท์ที่ใช้สำหรับขนส่งผู้โดยสารทั่วไป มักนิยมใช้ตามอาคารสำนักงาน หรือที่อยู่อาศัย
3) ลิฟท์รถยนต์
ใช้ยกรถยนต์ขึ้นบนตึก หรืออาคารที่มีทางเข้าแคบ เพื่อความสะดวก รวดเร็วในการเคลื่อนย้าย

4) ลิฟท์ยกของ หรือ X-Lift
เป็นลิฟท์ที่นิยมใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อช่วยผ่อนแรงในการยก ขน ลากสิ่งของที่มีขนาดใหญ่ และน้ำหนักมาก ๆ การออกแบบลิฟท์ประเภทนี้ จะต้องมีความเหมาะสมกับการใช้งาน เพื่อให้ปลอดภัย และประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะลิฟท์ขนของในโรงงาน จะต้องมีความแข็งแรงที่พอเหมาะกับการใช้งาน
สินค้าแนะนำ : รถ X-Lift ไฟฟ้า ลิฟท์ขากรรไกร
การบำรุงรักษา และตรวจเช็คลิฟท์
- ตรวจเช็คระบบเบรคและอุปกรณ์อย่างสม่ำเสมอ
- ตรวจเช็คชุดเซฟตี้ Governor อย่างสม่ำเสมอ
- ทำความสะอาดอุปกรณ์ลิฟท์ทุกส่วน อย่างสม่ำเสมอ
- ตรวจเช็คชุดประตู ชานพัก ประตูนอก ประตูใน อย่างสม่ำเสมอ
- ตรวจเช็คน้ำมันราง ชุดข้อต่อ จุดหมุนต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ
- ตรวจเช็คการทำงานของไฟแสงสว่างฉุกเฉิน อินเตอร์คอม กระดิ่ง แบตเตอรี่ อย่างสม่ำเสมอ
- ตรวจเช็คสัญญาณชั้น ลูกศรการขึ้น-ลง และสัญญาณเสียงแจ้งเตือน อย่างสม่ำเสมอ
- ตรวจเช็คเส้นผ่าศูนย์กลางของลวดสลิงขับลิฟท์ อย่างสม่ำเสมอ
- ตรวจเช็คระดับชั้น การจอดเสมอระดับชั้นหรือไม่
- ตรวจเช็คสภาพความตึงของลวดสลิงขับลิฟท์
- ตรวจเช็คผ้าเบรก ทำความสะอาด อย่างสม่ำเสมอ
- ตรวจเช็คชิ้นส่วนอุปกรณ์ ที่มีการเคลื่อนที่ทั้งหมด และทำความสะอาด อย่างสม่ำเสมอ
เป็นอย่างไรกันบ้างกับความรู้เรื่อง ลิฟต์ ไม่ว่าจะเป็นลิฟท์ประเภทไหน เวลาใช้งานควรศึกษาให้ดีก่อนทุกครั้ง เพื่อการใช้งานที่ปลอดภัยนั่นเอง นอกจากนี้ เราขอแนะนำ รถ Xlift ลิฟท์ขากรรไกร และ เครนยกของ รวมถึงสินค้าคุณภาพอื่น ๆ จาก KACHA รับรองความปลอดภัย พร้อมให้บริการหลังการขายสุดประทับใจอย่างแน่นอน
บทความดี ๆ น่าอ่าน:
- รถยก คืออะไร? มีกี่ประเภท? นิยมใช้งานแบบไหน?
- ประเภทของ “เครน” เลือกใช้งานให้เหมาะสม!
- รอก คืออะไร แยกได้กี่ประเภท?
- “ลวดสลิง” คืออะไร? รูปแบบและการใช้งาน เป็นอย่างไรบ้าง?
- วิธีใช้รอกยกของ ข้อควรระวัง และการใช้งาน มีอะไรบ้าง?
KACHA ผู้จัดจำหน่าย รอกโซ่ รอกโซ่มือสาว เครนยกของ และอุปกรณ์เสริมสำหรับงานช่าง ต่าง ๆ ราคาจับต้องได้ สินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจ นอกจากนี้ บริษัทของเรา ยังมีบริการรับ สร้างโกดัง สร้างโรงงาน สร้างคลังสินค้าต่าง ๆ จากช่างมืออาชีพที่มีประสบการณ์ การันตีผ่านมาตรฐานก่อสร้าง และความปลอดภัยต่าง ๆ เข้าชมเว็บไซต์ www.kacha.co.th
เพื่อไม่ให้พลาดข่าวสารสำคัญ และโปรโมชั่นพิเศษมากมาย สามารถติดตามเราผ่านช่องทางต่างๆได้หลากหลายช่องทางตามด้านล่างนี้เลย
บทความที่เกี่ยวข้อง
พลาสติก PE คืออะไร? รู้จักประเภท คุณสมบัติ และการใช้งานที่ควรรู้
25 กรกฎาคม 2025
พลาสติก PP คืออะไร? รวมคุณสมบัติและการใช้งาน
14 กรกฎาคม 2025
มือใหม่ต้องรู้! หัวไขควงแบบต่างๆ มีอะไรบ้าง ใช้ต่างกันยังไง
30 มิถุนายน 2025
ไขข้อสงสัย! น็อตคืออะไร น็อตมีกี่ประเภท
30 มิถุนายน 2025
10 อุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม ที่ควรมีไว้ติดบ้านก่อนน้ำจะมา
9 มิถุนายน 2025
แม่แรงไฮดรอลิค คืออะไร มีแบบไหนบ้าง?
9 มิถุนายน 2025
บทความที่น่าสนใจ
พลาสติก PE คืออะไร? รู้จักประเภท คุณสมบัติ และการใช้งานที่ควรรู้
25 กรกฎาคม 2025
พลาสติก PP คืออะไร? รวมคุณสมบัติและการใช้งาน
14 กรกฎาคม 2025
มือใหม่ต้องรู้! หัวไขควงแบบต่างๆ มีอะไรบ้าง ใช้ต่างกันยังไง
30 มิถุนายน 2025
ไขข้อสงสัย! น็อตคืออะไร น็อตมีกี่ประเภท
30 มิถุนายน 2025
10 อุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม ที่ควรมีไว้ติดบ้านก่อนน้ำจะมา
9 มิถุนายน 2025
แม่แรงไฮดรอลิค คืออะไร มีแบบไหนบ้าง?
9 มิถุนายน 2025