ประเภทของ “Rack วางสินค้า” ในโกดัง คลังสินค้า มีอะไรบ้าง?

Rack วางสินค้า ไอเทมสำคัญในโกดัง คลังสินค้า และพื้นที่ขนถ่ายต่าง ๆ ตัวช่วยในการแยกหมวดหมู่ จัดเก็บสินค้าให้เป็นระเบียบ ตรวจเช็กข้อมูลได้ง่ายขึ้น ประเภทของชั้นวาง แต่ละประเภทเหมาะกับการใช้งานแบบไหน? มีข้อควรระวังหรือไม่? ตาม KACHA ไปหาคำตอบกัน!

ประเภท Rack วางสินค้า ในโกดัง คลังสินค้า 

1) ชั้นวางสินค้า Micro Rack

Rack วางสินค้า Micro Rack Medium Shelving

ชั้นวางอเนกประสงค์ Micro Rack สำหรับจัดเก็บสินค้าที่มีขนาดเล็ก-กลาง หรือสินค้าที่มีน้ำหนักได้ตั้งแต่ 150-250 กก. เช่น เครื่องมือช่าง อุปกรณ์สำนักงาน เฟอร์นิเจอร์ ชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กโทรนิก อุตสาหกรรมยา เป็นต้น เหมาะสำหรับการจัดเก็บสินค้าทั่วไปที่มีขนาดเล็กถึงกลาง จุดเด่นของชั้นวางสินค้าแบบนี้ คือ โครงสร้างเป็นแบบ Knock-Down ประกอบง่าย ไม่ใช้น็อต ง่ายต่อการติดตั้งและเคลื่อนย้าย สามารถปรับระดับชั้นวางให้สูง-ต่ำ ให้เหมาะสมกับขนาดสินค้าได้ ใช้พื้นที่น้อย สามารถใช้งานทั้งในบ้าน ออฟฟิศ คลังสินค้า และโรงงานอุตสาหกรรม

เลือกดูสินค้า ชั้นวางของ Kacha มีให้เลือกหลยแบบ

2) ชั้นวางสินค้า Medium Shelving

Rack วางสินค้า Medium Shelving

ชั้นวางสินค้าขนาดกลาง สำหรับจัดเก็บสินค้าที่มีขนาดกลาง หรือ สินค้าที่มีน้ำหนักได้ตั้งแต่  250-500 กก. เช่น กล่องลัง ชิ้นส่วนอะไหล่ แพ็คสินค้า พาเลทขนาดกลาง เป็นต้น ลักษณะของแผ่นชั้นวางจะยาว สามารถปรับความสูงให้เหมาะกับสินค้าได้ วัสดุที่ใช้ผลิตเป็นแผ่นชั้นวาง มีให้เลือกหลายแบบ เช่น ไม้อัด แผ่นเหล็ก ตะแกรง นิยมใช้วางโชว์ขายสินค้า จัดเก็บสินค้าทั่วไป และสต็อกสินค้าในโรงงาน โกดัง คลังสินค้าต่าง ๆ

3) ชั้นวางสินค้า Multi-Tier Shelving

Rack วางสินค้า Multi-Tier Shelving

ชั้นวาง Multi-Tier Shelving หรือ ชั้นวางซ้อนหลายชั้น เป็นชั้นวางสินค้าอุตสาหกรรมขนาดกลาง เหมาะกับการใช้งานในพื้นที่แนวสูง มีการเชื่อมโยงตะแกรงโดยรอบ และระหว่างชั้น มีราวกันตก ชานชาลา และบันไดสำหรับขึ้น-ลง โครงสร้างทั้งหมดสามารถถอดประกอบเพิ่มหรือลดชั้นได้ ช่วยประหยัดพื้นที่ในแนวราบได้เป็นอย่างดี

4) ชั้นวางสินค้า Selective Rack

Rack วางสินค้า Selective Rack

ชั้นวางสินค้า Selective Rack เป็นชั้นวางอุตสาหกรรม ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในโรงงาน และคลังสินค้าขนาดใหญ่ โครงสร้างแข็งแรง รับน้ำหนักได้ดี ปรับระยะห่างระหว่างชั้นได้ มีข้อดี คือ สามารถเลือกหยิบสินค้าที่ต้องการได้ทันที ใช้งานร่วมกับอุปกรณ์เคลื่อนย้ายได้หลากหลาย เหมาะกับการจัดเก็บพาเลทสินค้า ส่วนการติดตั้งใช้งานควรเว้นช่องทาง รถยก (Forklift)  ไม่น้อยกว่า 3.2 เมตร สำหรับวิ่งนำสินค้าเก็บหรือนำออก ข้อเสีย คือ ทำให้คลังสินค้าที่มีพื้นที่จำกัด ต้องเว้นเผื่อระยะทางเพื่อเดินรถ เหมาะกับการใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรม และคลังสินค้าขนาดใหญ่

5) ชั้นวางสินค้า Mobile Rack

Rack วางสินค้า Mobile Rack

Rack Mobile Rack เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ชั้นวางสินค้าแบบเคลื่อนที่ มีลักษณะเป็น Pallet Rack ชั้นวางตั้งอยู่บนฐานทั้งชุด ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าในการขับเคลื่อนให้ชั้นวางเลื่อนไปมาบนราง รองรับน้ำหนักได้ตั้งแต่ 500- 1,000 กก.ต่อชั้น นิยมใช้ในอุตสาหกรรมสารเคมี อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ สี ผลิตภัณฑ์ไฟฟ้า อุตสหกรรมห้องเก็บความเย็น เนื่องจากเป็นการจัดเก็บที่มีความหนาแน่นสูง ช่วยลดพื้นที่ในการจัดเก็บสินค้า รวมถึงลดการสูญเสียพลังงานได้

6) ชั้นวางสินค้า Cantilever Rack

Rack วางสินค้า Cantilever Rack

Rack แคนทีริเวอร์ หรือ แบบเสาเดียว ออกแบบเพื่อจัดเก็บสินค้าที่มีลักษณะเรียวยาว ท่อน หรือมีลักษณะเป็นวงแหวน เช่น ท่อนไม้ แผ่นกระดาษ ท่อ อะลูมิเนียมเส้น เหล็กรูปประภัณฑ์ เป็นต้น รับน้ำหนักได้ตั้งแต่ 200-2,000 กก.ต่อชั้น ช่วยจัดเก็บสินค้าให้เป็นระเบียบมากขึ้น ช่วยหาสินค้าได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยท่อนแขนชั้นวาง สามารถออกแบบให้รับน้ำหนักได้ตามต้องการ และสามารถปรับระดับขึ้น-ลงให้เหมาะกับชนิดสินค้าที่จัดเก็บได้

7) ชั้นวางสินค้า Drive-In / Drive Through Rack

Rack วางสินค้า Drive-In /Drive Through Rack

ชั้นวางสินค้าแบบไดร์ฟอิน มีลักษณะคล้ายอุโมงค์ ออกแบบให้วางสินค้าในแนวลึก เหมาะสำหรับ จัดเก็บสินค้าชนิดเดียวกัน แต่มีปริมาณมาก การจัดคลังสินค้าในระบบนี้ สินค้าที่เก็บก่อนจะออกก่อน (First In- Last Out) คือ การนำสินค้าที่เข้าคลังก่อนมาใช้งาน และหมุนเวียนก่อน เพื่อลดความเสื่อมสภาพ และรักษามูลค่าของสินทรัพย์โดยรวม Rack วางสินค้าแบบนี้ สามารถจัดเก็บได้ในทั้งในรูปแบบ One Way และ Flow Through เข้าด้านหน้า และออกด้านหลังได้ สามารถจัดเก็บสินค้าได้สูงถึง 10 เมตร ขึ้นอยู่กับประเภทของรถยก

8) ชั้นวางสินค้า FIFO Flow Rack

Rack วางสินค้า FIFO Flow Rack

Rack วางสินค้าระบบนี้จะมีลูกกลิ้งอยู่ใต้พาเลท สินค้าจะเคลื่อนที่เข้าไปจัดเก็บในแนวลึก และเบิกจ่ายทางด้านหลัง เหมาะสำหรับจัดเก็บสินค้าที่มีอายุในการเก็บรักษาหรือสินค้าที่ต้องมีการหมุนเวียน สินค้าที่มาก่อนต้องออกก่อน FIFO (First-In First-Out) เช่นเดียวกับ Drive In ข้อดี ของชั้นวางชั้นวางสินค้า FIFO Flow Rack คือ เคลื่อนย้ายสินค้ารวดเร็ว ตรวจเช็คได้ถูกต้อง และช่วยลดแรงงานคน

9) ชั้นวางสินค้า Push Back Rack

Rack วางสินค้า Push Back Rack

ชั้นวางสินค้าอุตสาหกรรมที่ผสมผสานระหว่างระบบ Drive-In Racking และ FIFO Racking ลักษณะเป็นชั้นวางขนาดใหญ่ และมีช่วงลึก (Multi-Deep) สามารถเก็บสินค้าได้เป็นจำนวนมาก สินค้าที่มาใหม่จะถูกจัดเก็บไว้ด้านหน้า สินค้าที่จัดเก็บก่อนจะถูกดันไปด้านหลัง (Push-Back) สินค้าจะเข้า-ออก ผ่านช่องทางเดียวกัน ทำให้ประหยัดพื้นที่ในโกดังสำหรับการเดินรถ Rack วางสินค้า ประเภทนี้ เหมาะกับสินค้าที่ไม่มีปัญหาการตกรุ่น หมดอายุ หรือเสื่อมสภาพ

10) ชั้นวางสินค้า Mezzanine Floor Rack

rack วางสินค้า ชั้นลอย Mezzanine Floor Rack

ชั้นวางสินค้า Mezzanine Floor Rack หรือ ชั้นลอย เป็นชั้นวางสินค้าอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ โครงสร้างเป็นแบบน็อคดาวน์ (knock-down) สามารถต่อเติม และรื้อถอนได้สะดวก มีบันไดขึ้น-ลง ช่วยเพิ่มพื้นที่ใช้สอยให้กับพื้นที่เดิมที่มีอยู่ โดยไม่ต้องต่อเติมอาคาร ออกแบบมา เพื่อคลังสินค้าที่มีพื้นที่จำกัด

เลือก Rack วางสินค้า ต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง?

  1. พาเลท โกดัง หรือคลังสินค้าขนาดใหญ่ มักเก็บสินค้าไว้บนพาเลท เพื่อให้ง่ายต่อการเคลื่อนย้าย ซึ่งประเภท และขนาดของพาเลท จะเป็นตัวกำหนดว่า ประเภทขชั้นวาง ที่จะติดตั้งควรมี “ความกว้าง” และ “ความลึก” เท่าไหร่
  2. สินค้าที่จัดเก็บ ขนาด และน้ำหนักของสินค้า เป็นตัวกำหนดประเภท ขนาด และน้ำหนักของพาเลท ส่วนชนิดสินค้ากำหนดการเลือก ประเภทของชั้นวาง เช่น สินค้าต้องเข้าก่อนออกก่อน หรือเข้าก่อนออกทีหลัง
  3. พื้นที่ในคลังสินค้า พื้นที่ และลักษณะของคลังสินค้า มีผลต่อการเลือกขนาด และโครงสร้างของ Rack วางสินค้า เพื่อให้ใช้พื้นที่คลังสินค้าให้เกิดประโยชน์สูงสุด
  4. ชนิดของรถยก พิจารณารถโฟล์คลิฟท์ว่า สามารถยกสินค้าที่วางอยู่บนชั้นวางได้สูงแค่ไหน หันหน้าเข้า หันหน้าออก ยกสินค้า หรือเบิกจ่ายสินค้าต่าง ๆ ได้สะดวกหรือไม่
  5. ระบบการหมุนเวียนสินค้า หากมีสินค้าจำนวนมาก จำเป็นต้องหมุนเวียนอย่างรวดเร็ว มีการนำเข้า และเบิกจ่ายสินค้าอยู่เกือบตลอดเวลา จำเป็นต้องใช้รถยกที่มีขีดความสามารถในการทำงานได้ตลอดเวลา รวมถึงควรใช้ ประเภทของชั้นวาง กึ่งอัตโนมัติ หรืออัตโนมัติได้

ข้อควรระวังในการใช้ Rack วางสินค้า ในอุตสาหกรรม

ข้อควรระวังในการใช้ Rack วางของในโกดัง
  • หมั่นตรวจเช็กสภาพชั้นวางสินค้าอย่างสม่ำเสมอ และไม่ควรใช้ชั้นวางสินค้าที่ชำรุด หรือมีความไม่สมบูรณ์
  • สินค้าที่จัดเก็บ ต้องมีความเหมาะสมกับ ประเภทของชั้นวาง ในคลังสินค้าแต่ละประเภท
  • ไม่ควรวางสินค้าที่น้ำหนักเกินกว่าค่าที่ชั้นวางของระบุไว้ เพราะอาจทำให้ Rack วางสินค้าพัง ล้ม หรือเสียหายได้
  • ชั้นวางสินค้าในคลังสินค้าที่มีขนาดใหญ่และสูงมาก ควรมีอุปกรณ์ช่วยอำนวยความสะดวก เพื่อความปลอดภัยในการจัดวาง และหยิบสินค้า

ขอบคุณข้อมูลจาก : PACKHAI

จะเห็นว่า Rack วางสินค้า ประเภทของชั้นวาง แบ่งออกหลายแบบ ผู้ประกอบการจึงควรศึกษาข้อมูลของอุปกรณ์ชิ้นนี้อย่างละเอียด เพื่อความเหมาะสมในการเก็บสินค้าแต่ละชนิด และอย่าลืมศึกษาข้อควรระวังในการใช้งาน รวมถึงฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานให้มีความชำนาญก่อนใช้งานร่วมกับอุปกรณ์เสริม เช่น รถยก หรืออุปกรณ์ Safety ต่าง ๆ เพื่อความปลอดภัยตลอดการใช้งาน