ห้องใต้ดิน ถือเป็นห้องที่ใครหลายคนไฝ่ฝัน ซึ่งหลายคนมักจะคิดว่าที่ดิน มีพื้นที่จำกัด จึงต้องการเพิ่มพื้นที่ใช้สอยให้กับบ้าน โดยการสร้างห้องใต้ดินขึ้นมา อีกทั้งยังถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นความลับ หรือเป็นห้องสำหรับเก็บสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ของบ้าน วันนี้ KACHA รู้จักกับ “ห้องใต้ดิน” ข้อควรรู้ และปัญหาที่เจอก่อนจะสร้างห้องใต้ดิน จะมีอะไรบ้าง? ไปดูกัน
อยากสร้างห้องใต้ดิน ต้องคำนึงถึงอะไรก่อนเป็นลำดับแรก?
หลักการสร้างห้องใต้ดินที่เหมาะสม คือ สำหรับใครที่อยากมีห้องลับแบบส่วนตัว ที่เต็มไปด้วยความเงียบสงบ ไม่มีเสียงดังรำคาญ หรือเสียงข้างบ้านที่ทำเอาปวดหัวอยู่บ่อย ๆ แนะนำให้สร้างห้องใต้ดิน รับรองว่ามีความเป็นส่วนตัวแบบสุด ๆ เหมาะสำหรับไว้นั่งทำงาน นั่งอ่านหนังสือ หรือจะนั่งดูหนังฟังเพลง ก็พร้อมตอบโจทย์ได้อย่างตรงใจ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น หากไม่อยากพบเจอกับปัญหาภายหลัง ก่อนตัดสินใจสร้างห้องใต้ดินควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการก่อสร้างที่เหมาะสมอย่างละเอียดเสียก่อน รวมถึงต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
- ต้องสามารถรับแรงดันดินได้ รวมถึงต้องมีการก่อสร้างที่ถูกต้องได้มาตรฐาน พื้นต้องมีความหนากว่าพื้นทั่วไป เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหารั่วซึมภายหลัง
- ต้องระบายอากาศได้ดี มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่มีปัญหาอับชื้น โดยสามารถติดตั้งพัดลมดูดอากาศ หรือช่องระบายอากาศ ถือเป็นตัวช่วยที่ดีอย่างมาก
- วัสดุที่ใช้สร้างห้องใต้ดิน ต้องมีคุณสมบัติที่ทนต่อความชื้นได้ดี
- หากสร้างห้องใต้ดินที่ภายในบริเวณลักษณะชั้นเดียว น้ำหนักของตัวบ้านไม่มากพอที่จะถ่วงกับแรงลอยตัวจากน้ำใต้ดิน อาจทำให้เกิดปัญหาตามมาภายหลัง
สิ่งควรรู้เกี่ยวกับห้องใต้ดิน
-
ห้องใต้ดิน มักจะได้รับปัญหาจากความชื้นมากที่สุด
เนื่องจากสภาพแวดล้อมเป็นดินที่อุ้มน้ำ ดังนั้น หากก่ออิฐสร้างปูนแล้ว เมื่อระยะเวลาผ่านไปนาน ๆ ก็อาจมีตะไคร่น้ำเกิดขึ้นตามความชื้น ตามมาด้วยเชื้อรา แต่ก็ใช้ผลิตภัณฑ์จระเข้ 3 อย่างเพื่อป้องกันการเกิดปัญหานี้ได้ เช่น
- ทำระบบกันซึมด้วยการฉาบซีเมนต์ ป้องกันการรั่วซึมของน้ำหลังจากก่ออิฐ
- ยาแนวกระเบื้อง ป้องกันเชื้อรา
- หากไม่ปูกระเบื้องก็ทาสีมอร์ต้าที่มีสารยับยั้งการเกิดเชื้อรา ป้องกันความชื้น
หมายเหตุ : อย่างไรก็ตาม ต้องทำทั้งหมด 6 ด้านของห้อง ด้านบนที่เป็นฝ้าก็ต้องฉาบทากันซึมด้วยเช่นกัน
-
ห้องใต้ดินมักเจอปัญหาจากแมลง
หากใช้ปูนไม่ดีก่ออิฐ พวกตัวอ่อนแมลงต่าง ๆ จะเจาะพื้นเข้ามาในห้องได้ และฝังตัวเป็นคราบตามผนัง วิธีการแก้ปัญหา คือ ฉาบด้วยปูนที่มีเนื้อละเอียดกว่ารูโพรงที่แมลงจะรอดออกมาได้นั่นเอง
หลักการสร้างห้องใต้ดินที่เหมาะสม
???? สร้างห้องใต้ดินเหนือระดับ
การสร้างห้องใต้ดินที่มีความลึกว่า 150 ซม. มีความเสี่ยงทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมจากน้ำใต้ดิน เพราะฉะนั้น ควรลดระดับลง หรือสร้างห้องใต้ดินที่เหนือระดับ |
???? วางรากฐาน
วางแผนการจัดวางท่อ และสายไฟให้เรียบร้อย และวางรากฐานของคอนกรีตให้เข้ากับองค์ประกอบ สามารถรองรับตัวอาคารเสริมแรงได้ดี |
???? ขุดหลุมขนาดพอเหมาะ
การขุดหลุมสร้างห้องใต้ดิน ต้องไม่เกิน 50 ซม. โดยบริเวณด้านล้างของอุโมงค์ ให้พรมด้วยเศษหิน หรืออิฐ รวมถึงวางแผ่นคอนกรีตบริเวณชั้นนี้ |
???? ติดตั้งผนังคอนกรีตที่เหมาะสม
การเทลงในดินต้องขุดคลองที่มีความลึกประมาณ 150-200 ซม. ความกว้างอยาที่ 50-70 ซม. ส่วนการติดตั้งผนังคอนกรีต ต้องวางไว้ด้านล่างของคูน้ำ แล้วเทลงบนคอนกรีต โดยคอนกรีต จะเกิดการแข็งตัวเป็นผนัง และสามารถป้องกันการรั่วซึมได้ดี เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาตามมาภายหลัง แนะนำให้สร้างห้องใต้ดินบริเวณใต้ส่วนของอาคาร ผนังจะได้ไม่เชื่อมกัน |
???? ติดตั้งช่องระบายอากาศในตำแหน่งที่เหมาะสม
อีกสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรละเลย คือ การระบายอากาศได้ดีภายในบริเวณห้องใต้ดิน โดยควรติดตั้งช่องสำหรับระบายอากาศ เพื่อให้มีอากาศถ่ายเทสะดวก โดยให้ติดจำนวน 2 ช่อง ซึ่งส่วนแรกให้ติดตั้งช่องระบายอากาศที่ออกมาจากท่อ ที่มีความสูงจากพื้นครึ่งเมตรนับจากพื้น ส่วยช่องที่สอง แนะนำให้ติดตั้งบริเวณตรงข้ามเพดาน ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ช่วยให้อากาศภายในห้องหมุนเวียนได้ดี |
???? ยับยั้งการรั่วซึม
ควรเลือกใช้วัสดุที่ช่วยป้องกันการรั่วซึมในการก่อสร้าง และมีควรมีส่วนผสมที่เป็นกันซึมชนิดพิเศษ รวมถึงสร้างผลึก เพื่อป้องกันการซึมผ่านของความชื้น พร้อมทั้งป้องกันการรั่วซึมภายในใน แล้วให้อากาศชื้นออกไปยังบริเวณด้านนอก |
???? มีแสงแดดส่องถึง
ภายในห้องใต้ดิน ควรออกแบบให้มีแสงสว่างส่องเข้าถึง เพื่อจะได้ไม่เกิดความอับชื้น และสามารถช่วยประหยัดค่าไฟได้อีกด้วย |
สร้างห้องใต้ดิน มีข้อดี-ข้อเสีย อย่างไร?
การสร้างบ้าน ไม่ได้จบเพียงเข้าอยู่เท่านั้น หลายคนต่างก็มีบ้านที่ต้องเองไฝ่ฝัน บางคนต้องการให้บ้านมีสระว่ายน้ำกลางบ้าน บางคนชอบบ้านที่เป็นกระจกรอบด้าน บางคนชอบบ้านที่มีชั้นใต้ดิน ข้อดี – ข้อเสีย ของการสร้างห้องใต้ดิน สำหรับผู้ที่ต้องการมีชั้นใต้ดิน อาจจะด้วยที่พื้นที่ไม่เพียงพอต่อการปลูกสร้าง จึงต้องการทำชั้นใต้ดินเพื่อเพิ่มพื้นที่ให้กับบ้าน
ข้อดีของการสร้างห้องใต้ดิน
- การสร้างห้องใต้ดิน ช่วยเพิ่มพื้นที่ให้บ้าน
- ห้องใต้ดินมอบความเป็นส่วนตัวให้แก่ผู้อาศัย
- ลดปัญหาเสี่ยงรบกวนจากภายนอก
ข้อเสียของการสร้างห้องใต้ดิน
- ห้องใต้ดินจะก่อสภาวะอับชื้น เพราะไม่มีช่องให้ลมได้พัดผ่านเข้ามา
- ห้องใต้ดินทำให้ฐานบ้าน มีช่อง มีรู ก่อสภาพการเคลื่อนไหวบ้านไม่มั่นคง
- ไม่เหมาะสำหรับใช้นอน เพราะมีอากาศ และอุณภูมิที่ไม่ปกติ
- บ้านเกิดรอยแตกร้าว เพราะการมีห้องใต้ดิน อาจทำให้เกิดบ้านร้าว เนื่องจากเป็นห้องที่อยู่ใต้ดินอุณภูมิย่อมไม่เหมือนกับด้านบนอยู่แล้ว
- เสี่ยงต่อการเกิดน้ำซึม น้ำท่วม หากสร้างไม่ได้มาตรฐาน
ปัญหาเกี่ยวกับห้องใต้ดินที่ต้องเตรียมรับมือ
แน่นอนว่าทุกหลังคาเรือนต้องเผชิญปัญหาเกี่ยวกับบ้านที่หลากหลายวต่างกันออกไป การสร้างห้องใต้ดินก็เช่นกัน ปัญหาเกี่ยวกับห้องใต้ดินที่ต้องเตรียมรับมือมาแชร์ ดังนี้
- ปัญหาน้ำรั่วซึม
ถือเป็นปัญหายอดฮิตที่พบได้ทุกหนทุกแห่งภายในบริเวณบ้าน ซึ่งห้องใต้ดินก็เช่นกัน เนื่องจากคอนกรีตที่ใช้สร้างรูพรุน จึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงการรั่วซึมได้
- ปัญหารอยแตกร้าว
มักเกิดจากสาเหตุการก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน จึงส่งผลให้โครงสร้างทรุดตัว โดยสามารถซ่อมแซมด้วยน้ำยาประสาน ประเภทซิลิโคน หรือการทำระบบกันซึมภานใน ด้วยการเพิ่มระบบระบายน้ำ
- ปัญหาความชื้นสะสม
นอกจากจะทำให้ภายในห้องมีความเสื่อมโทรมแล้ว ยังก่อให้เกิดเชื้อรา รวมถึงเชื้อโรคสะสม ที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพของผู้อยู่อาศัย และผนังห้องเกิดปัญหา รวมถึงสีลอก โดยสามารถแก้ไขได้ด้วยการติดตั้งระบบระบายอากาศ เพื่อจะได้ลดปัญหาความชื้นสะสมภายในห้องใต้ดิน
อย่างไรก็ตาม อย่างที่ทราบกันดีว่า ห้องใต้ดิน ไม่ได้สร้างง่าย ๆ แถมยังมีปัญหามากมายที่ต้องเผชิญ หากมีการวางแผน หรือสร้างไม่ดี อาจส่งผลไปถึงปัญหาใหญ่เลยก็ได้ เพราะฉะนั้นหากต้องการมีห้องใต้ดินต้องคิดดี ๆ ก่อนตัดสินใจสร้างกันด้วย
ขอแนะนำสินค้าจาก KACHA
เลือกซื้อสินค้า รอกไฟฟ้า รอกยกของ ???? คลิกเลย รับรองสินค้าดี มีคุณภาพอย่างแน่นอน