หลาย ๆ คนคงเคยได้ยิน “ถังบำบัดน้ำเสีย หรือ ถังแซท” ใช้สำหรับกำจัดจุลินทรีย์ และบำบัดน้ำเสีย บางครั้งการเลือกขนาดนั้นอาจจะเป็นเรื่องที่หลายคนมองข้ามไป แต่อย่าลืมว่า ใช้ถังใหญ่ไปก็คงไม่ดี เล็กไปก็คงจะใช้ไม่ได้ วันนี้ KACHA จึงอยากพาไปแนะนำให้รู้จักระบบถังบำบัดน้ำเสียว่าทำงานอย่างไร? เลือกใช้แบบไหนให้เหมาะสม พร้อมทั้งวิธีบำบัดน้ำเสียแบบอื่น ๆ ที่ควรรู้ 


ถังบำบัดน้ำเสีย คืออะไร?

ถังบําบัดน้ำเสียสำเร็จรูป หรือ ถังแซท (Sats) มีหลักการใช้การบำบัดโดย ใช้จุลินทรีย์กำจัดจุลินทรีย์กากของ ๆ เสียซึ่งไหลลงสู่ถังบําบัดน้ำเสียสำเร็จรูป หรือถังแซท จะตกตะกอนอยู่ก้นถังที่เต็มไปด้วยจุลินทรีย์คอยย่อยสลาย  ทำให้ไม่มีกลิ่น ไม่มีตะกอนตกค้างในถัง สำหรับน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้ว สามารถทิ้งลงสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะได้ ทั้งนี้ ตัวถังบําบัดน้ำเสียหรือ เป็นอุปกรณ์ที่ฝังอยู่ใต้ดิน ซึ่งยากต่อการดูแลรักษา เราจึงควรสอบถามผู้ขายให้ดี และคารเลือกซื้อ รวมถึงอุปกรณ์ ที่มีความทนทาน มีคุณภาพตามมาตรฐาน มอก. ด้วยเช่นกัน


ถังบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูปนั้น จะรวมระบบบ่อเกรอะและบ่อซึมไว้ในถังเดียวกัน จึงสะดวกและใช้งานได้ง่ายกว่า น้ำที่ผ่านกระบวนการในถังบำบัดน้ำเสียจะมีความสะอาดเพียงพอที่จะปล่อยลงสู่รางระบายน้ำสาธารณะได้ แทนการซึมลงสู่ดิน ซึ่งมักก่อปัญหาขึ้นอยู่บ่อยๆ ถังบำบัดน้ำเสียมีให้เลือกใช้งานทั้งแบบไม่เติมอากาศ และแบบเติมอากาศ (Aerobic Bacteria) ซึ่งจะใช้ออกซิเจนเข้าไปเลี้ยงแบคทีเรียเพื่อช่วยเร่งปฏิกิริยาทางชีวเคมี ทำให้กระกวนการย่อยสลายสารอินทรีย์มีประสิทธิภาพมากกว่าระบบธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม ระบบบ่อเกรอะบ่อซึมยังสามารถใช้งานได้ หากเป็นพื้นที่ตามชนบทที่มีสภาพดินตามธรรมชาติ


ประเภทของถังบำบัดน้ำเสียในเมืองไทย เป็นแบบไหน?

จะประกอบไปด้วย 2 ส่วนหลัก คือ ถังเกรอะ และถังกรอง โดยถังเกรอะจะมีหน้าที่ในการให้สิ่งสกปรกตกตะกอนไว้ โดยถังสำเร็จรูป จะเป็นถังเดี่ยวแต่ด้านในมีแยกออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่

  • ถังบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ มีการติดตั้งปั๊ม เพื่อเติมอากาศ โดยจะมีราคาสูงกว่า แต่กลิ่นจะน้อยกว่า
  • ถังบำบัดน้ำเสียแบบไม่เติมอากาศ ไม่มีการเติมอากาศ มีราคาที่ต่ำกว่า
210519-Content-ถังบำบัดน้ำเสียถังแซท-เลือกให้เหมาะสมกับการใช้งาน03


ขนาดถังบําบัดน้ำเสียสำเร็จรูปหรือถังแซทที่เหมาะสม

โดยทั่วไปผู้ผลิตถังบําบัดน้ำเสียสำเร็จรูปหรือถังแซท มักจะระบุขนาดที่เหมาะสมไว้ในรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ หากต้องการคำนวณ สามารถคำนวนเองได้โดยนำจำนวนผู้อาศัย คูณกับ ปริมาณน้ำเสีย (คิดเป็น ร้อยละ 80 ของปริมาณน้ำใช้ต่อวัน) จากนั้นคูณเข้ากับ เวลาที่ใช้ในการบำบัด (ประมาณ 1.5 วัน) ได้ตามสูตรดังนี้

ขนาดถังบําบัดน้ำเสียสำเร็จรูปหรือถังแซท (ลิตร) = จำนวนผู้อยู่อาศัย x 0.8 x ปริมาณน้ำใช้ต่อคนต่อวัน (ลิตร) x 1.5 

Example : ใช้น้ำเฉลี่ยต่อคน วันละ 200 ลิตร ถ้ามีคนอาศัยในบ้าน 5 คน ควรเลือกถังบําบัดน้ำเสียสำเร็จรูปหรือถังแซท ขนาด (5×0.8x200x1.5) = 1,200 ลิตร


การติดตั้งถังบำบัดน้ำเสีย

การติดตั้งถังบำบัดน้ำเสีย ไม่ยากอย่างที่คิด เพียงแค่มีประสบการณ์สำหรับติดตั้งถังแซท ที่นานพอสมควร เพราะดินแต่ละพื้นที่ ในแต่ละจังหวัด มีความแตกต่างกัน วิธีติดตั้งเบื้องต้น มีดังนี้

  • ดูพื้นที่สำหรับ ติดตั้งถังบำบัดน้ำเสีย ว่าแคบไปมั้ย เพราะต้องขุดหลุมให้กว้างกว่าถัง 1 เมตร คือ ด้านละ50 เซ็นติเมตร x 2
  • ดูสเปคถังบำบัดว่า ขนาดความ กว้าง สูง สามารถวางในหลุมได้ไหม เข้าพื้นที่ หน้างานได้หรือไม่
  • ขุดดินให้กว้างกว่า ขนาดของถังบำบัด
  • ตอกเข็ม ขนาดของเข็ม ควรเหมาะสมที่สามารถจะรับน้ำหนักตัวถัง ได้อย่างดี
  • เทฐานราก ด้วยซีเมนต์ผสมเสร็จ
  • เคลียร์เศษปูน เศษหิน และเศษวัสดุก่อสร้างทุกอย่าง ที่อาจจะไปทิ่มแทงให้ ถังบำบัด แตก ร้าว รั่ว ซึมได้
  • นำถังบำบัดน้ำเสีย ค่อยๆหย่อนลงหลุง โดยให้ช่างผู้มากประสบการณ์ ดูแลทุกขั้นตอน
  • เติมน้ำลงในถังบำบัดให้เต็ม ห้ามกลบทรายก่อน โดยที่ยังไม่เติมน้ำ เพราะถังต้องมีน้ำอยู่เต็มใบ เพื่อรับแรงดันจากดินที่บีบเข้ามา
  • สั่งทรายหยาบ กลบลงหลุม แล้วต้องเป็นทรายหยาบล้วนเท่านั้น เพราะ หากเอาดินที่ขุดขึ้นมา ผสมกับทรายเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย ถังใบนี้ อาจจะแตกได้ เพราะมีดินเหนียวที่แข็งมาก และอาจมีเศษหินเศษไม้ ปนเข้ามา


การเลือกซื้อถังบำบัดน้ำเสีย

หากอยากจะเลือกซื้อ ถังบำบัดน้ำเสียถังแซท จะซื้อถังบำบัดน้ำเสียยี่ห้อไหนดี คำถามนี้คงเกิดขึ้นในใจใครหลายคน เพราะถ้าได้เดินเข้าไป สำรวจตลาด ตามร้านวัสดุก่อสร้างแล้ว มักจะเจอถังบำบัดสีดำ ตั้งเรียงกันหลายใบเต็มไปหมด มีหลักในการซื้อง่าย ๆ ดังนี้

  • เลือกซื้อกับบริษัทขายถังโดยตรง ราคาถูกกว่า ต่อรองง่ายกว่า 
  • บริษัทที่สามารถแจ้งราคาได้เลยทันที่ ทำใบเสนอราคาได้ไว
  • วัสดุที่ใช้ในการผลิต ได้มาตรฐานอุตสาหกรรม มอก. นั่นเอง
  • มีสเปค แบบถังบำบัดน้ำเสียให้ลูกค้า ดูง่ายชัดเจน
  • สามารถให้ Sales ออกแบบ ขนาดของถังบำบัด ให้เหมาะกับการใช้งาน ในแต่ละประเภทได้ โดยไม่ต้องรอนาน
  • มีบริการจัดส่งถึงที่ รวดเร็ว ตรงต่อเวลา
  • ดูระยะเวลารับประกันให้ชัดเจน และสามารถโทรสอบถามได้ตลอดเวลา แม้จะหมดประกันแล้วก็ตาม
210519-Content-ถังบำบัดน้ำเสียถังแซท-เลือกให้เหมาะสมกับการใช้งาน04


ทิ้งท้าย!
 ระบบบำบัดน้ำเสียแบบอื่น ๆ มีอะไรบ้าง?

สมัยก่อนถังบำบัดน้ำเสียที่รู้จัก และใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วไป คือ ระบบบ่อเกรอะบ่อซึม  ซึ่งมีลักษณะเป็นบ่อคอนกรีต 2 ถัง ขึ้นรูปจากปลอกวงแหวนซีเมนต์มาเรียงซ้อนกัน บ่อแรกเราจะเรียกว่า บ่อเกรอะ จะเป็นด่านแรกที่รับสิ่งปฏิกูลจากภายในบ้านโดยตรง มีหน้าที่กักเก็บสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ เพื่อให้เกิดกระบวนการย่อยสลาย และตกตะกอนตามธรรมชาติ กากปฏิกูลจะตกตะกอนไปอยู่ที่ก้นบ่อ ส่วนน้ำที่อยู่ตอนบนของบ่อจะไหลลงสู่ บ่อซึม ซึ่งเป็นบ่อที่อยู่ถัดมา โดยน้ำที่ผ่านจากบ่อเกรอะมาแล้ว จะค่อย ๆ ซึมลงไปในดิน และชั้นหินด้านล่างอย่างช้า ๆ การทำงานของทั้ง 2 บ่อนี้จะต่อเนื่องกันไป เพื่อย่อยสลายของสิ่งโสโครกจากน้ำทิ้งภายในบ้านนั่นเอง