❝ การป้องกัน แก้ไขปัญหา “บล็อกคอนกรีต หรือ บล็อกปูพื้น” ที่ยุบ คือ การติดตั้งอย่างถูกวิธี อย่างไรก็ตาม ก่อนจะตัดสินใจใช้บล็อกคอนกรีต ควรพิจารณาถึงสภาพพื้นที่การใช้งาน และการติดตั้งที่เหมาะสมด้วย ❞
วันนี้ KACHA จะพามาหาสาเหตุ และวิธีแก้ไข เพื่อให้พื้นผิวบล็อกกลับมาเรียบสม่ำเสมอดังเดิม ตามไปดูกันเลย
บล็อกปูพื้น คืออะไร?
บล็อกคอนกรีต หรือที่เรียกกันว่า บล็อกปูพื้น เป็นอีกวัสดุปูพื้นที่นิยมเลือกใช้สำหรับพื้นนอกบ้าน ด้วยรูปลักษณ์ที่แข็งแกร่ง ติดตั้งง่าย มีรูปแบบ และสีสันหลากหลาย และยังสามารถเล่นลวดลายต่าง ๆ ได้มากมาย แต่พอใช้งานไป บางครั้งพื้นเกิดการทรุดตัวลงทำให้บล็อกยุบตามจนเรียงตัวไม่สม่ำเสมอ ซึ่งอาจจะดูไม่สวยงาม และเสี่ยงต่อการสะดุดหกล้ม เป็นอันตรายอีกด้วย
สาเหตุที่พื้นบล็อกยุบตัวลงอย่างรวดเร็วนั้น โดยทั่วไปมักเกี่ยวเนื่องกับการติดตั้ง โดยเฉพาะการบดอัดดินใต้บล็อกที่ไม่แน่นพอ ทำให้พื้นยุบตัวง่าย หรือไม่ได้ทำขอบคันกั้นรอบพื้นที่ที่ปูบล็อก ทำให้น้ำหนัก และแรงที่เกิดขณะใช้งาน ดันเอาบล็อก และทรายไหลเลื่อนไหลออกไปจากตำแหน่งเดิม ดังนั้น หากเจ้าของบ้านต้องการชะลอการยุบตัวของบล็อก ควรติดตั้งให้ถูกต้อง และครบถ้วนตามขั้นตอนในคู่มือ โดยเน้นการบดอัดดินให้แน่นมากที่สุด รวมถึงการทำขอบคันหิน เพื่อป้องกันบล็อก หรือทรายไหลออกด้านข้างด้วย
บล็อกปูพื้นคอนกรีต กับกระเบื้องคอนกรีต ต่างกันอย่างไร?
บล็อกคอนกรีต หรือบล็อกปูพื้น กับกระเบื้องคอนกรีต เป็นวัสดุปูพื้นภายนอก และพื้นรอบบ้าน ที่ผลิตจากคอนกรีต ซึ่งแม้จะดูคล้ายกันแต่ก็มีรูปแบบ วิธีใช้งาน และการติดตั้งที่ต่างกันอยู่บ้าง ในการเลือกใช้ มีหลักการพิจารณา ดังนี้
- สำหรับบล็อกคอนกรีต ส่วนใหญ่จะหนา 6 ซม. มีรูปทรงสีสันให้เลือกมาก และเล่นแพทเทิร์นได้หลากหลาย มีตั้งแต่ก้อนขนาดเล็ก 8 x 8 ซม. ไปจนถึงแผ่นใหญ่ขนาด 60 x 30 ซม. และ 50 x 50 ซม. ทั้งยังมีรุ่นพิเศษให้เลือกใช้ เช่น บล็อกสนามหญ้า ปลูกหญ้าแซมได้, บล็อกรุ่น Porous Block มีเนื้อพรุนจึงน้ำระบายได้เร็ว ช่วยลดปัญหาน้ำขัง, บล็อกรุ่นคูลพลัส ช่วยลดความร้อน เป็นต้น บล็อกคอนกรีตสามารถติดตั้งบนพื้นดินได้โ ดยไม่จำเป็นต้องมีพื้นคอนกรีตรองรับ เพียงแค่เตรียมพื้นที่ตามขั้นตอนที่ถูกต้อง หลังติดตั้งเสร็จควรลงน้ำยาประสานทราย เพื่อให้ทรายคงรูป ลดปัญหาทรายไหลซึ่งจะทำให้บล็อกทรุดตัว รวมถึงลงน้ำยาเคลือบเงาผิวคอนกรีต เพื่อลดปัญหาคราบซึมเปื้อน เชื้อรา ตะไคร่ และจะให้ดีควรลงน้ำยาเคลือบผิวซ้ำทุกปี หรือตามระยะเวลาที่เหมาะสมตามสภาพพื้นที่ใช้งาน
- สำหรับกระเบื้องคอนกรีต มีลักษณะเป็นแผ่นบางกว่าบล็อกคอนกรีต ส่วนใหญ่จะมีขนาดประมาณ 40×40 ซม. หนา 3.5 ซม. มีสีสัน และรูปแบบให้เลือกน้อยกว่าบล็อกคอนกรีต ในการติดตั้ง หากเป็นพื้นทางเท้าทั่วไป เช่น สวนในบ้าน สามารถปูทับบนพื้นดินได้ โดยจะต้องบดอัดพื้นดิน พร้อมลงทรายทับบดให้แน่น กรณีเป็นพื้นที่ต้องรับน้ำหนักเยอะ จะต้องเทหล่อพื้นคอนกรีตก่อน จึงค่อยปูกระเบื้องคอนกรีตทับด้วยปูนมอร์ตาร์ (ปูนทราย) โดยพื้นคอนกรีต อาจเป็นพื้นคอนกรีตหยาบธรรมดา (สำหรับรับน้ำหนักพอประมาณอย่างทางเดิน ทางเท้าริมถนนหน้าบ้าน) หรือพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก ในกรณีรองรับน้ำหนักมาก ๆ เช่น จอดรถ หรือลานอเนกประสงค์ที่มีรถวิ่งผ่าน ตามความเหมาะสม หลังจากติดตั้งกระเบื้องคอนกรีตแล้ว ควรลงน้ำยาเคลือบเงาผิวคอนกรีต โดยลงซ้ำทุกระยะ 1 ปี หรือตามความเหมาะสมเช่นเดียวกับบล็อกคอนกรีตปูพื้น
- สำหรับพื้นระเบียง หรือพื้นรอบบ้านแต่ละส่วน การตัดสินใจว่าจะเลือกใช้บล็อกคอนกรีต หรือกระเบื้องคอนกรีตนั้น อาจกล่าวโดยรวมเป็นแนวทาง คือ หากเป็นพื้นทางเดินในสวนง่าย ๆ สามารถใช้บล็อก หรือกระเบื้องคอนกรีตปูทับพื้นดินได้ โดยไม่ต้องเทพื้นคอนกรีต แต่จะต้องเตรียมพื้นที่และติดตั้งอย่างถูกวิธี ส่วนพื้นที่ต้องรับน้ำหนักเยอะ อย่างที่จอดรถ หรือถนนในบ้าน จะแบ่งเป็น 2 กรณี กรณีเป็นพื้นดิน บล็อกคอนกรีตปูพื้น จะสะดวกกว่าเพราะปูทับพื้นดินได้โดยตรง ส่วนกรณีเป็นพื้นคอนกรีต ใช้กระเบื้องคอนกรีตจะง่ายกว่า เพราะติดตั้งด้วยปูนมอร์ตาร์ได้เลย (แต่หากต้องการใช้บล็อกเนื่องด้วยลวดลาย หรือการใช้งานเฉพาะที่ตรงใจกว่า สามารถทำได้โดยจะต้องหล่อขอบกั้นด้านข้างของพื้นคอนกรีต แล้วลงทรายอัดให้แน่นก่อน จึงค่อยปูบล็อกทับพื้นคอนกรีตอีกที) ทั้งนี้ สำหรับพื้นที่มีอัตราการทรุดตัวมาก แนะนำให้ใช้บล็อกคอนกรีตปูพื้น เนื่องจากสามารถรื้อออกมา เพื่อปรับระดับพื้นก่อนจะปูทับใหม่ได้ ในขณะที่พื้นคอนกรีต โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่ไม่มีเสาเข็มรองรับ ซึ่งปูกระเบื้องทับโดยใช้ปูนทรายนั้น หากพื้นทรุดตัวมักทำให้กระเบื้องแตกร้าวจนต้องทุบทิ้งทำใหม่ทั้งหมด ซึ่งจะสิ้นเปลืองกว่า
ข้อดีและข้อเสียของบล็อกปูพื้น
ข้อดี |
|
ข้อเสีย |
|
ปัญหาพื้นยุบ แก้ได้อย่างไร?
สำหรับกรณีที่เกิดปัญหาบล็อกปูพื้นยุบ สามารถแก้ไขได้โดยการรื้อออก แล้วทำการปรับระดับหน้าดิน พร้อมบดอัดให้แน่น ก่อนนำบล็อกชุดเดิมมาปูใหม่ตามขั้นตอนที่ถูกต้องครบถ้วน แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากพื้นผิวดินที่รองรับบล็อกปูพื้นนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นชั้นดินอ่อน ทำให้ตัวบล็อกซึ่งปูบนพื้นดินโดยตรง เมื่อใช้งานไปนานย่อมมีการยุบตัวได้ โดยเฉพาะจุดรับน้ำหนักมากเป็นพิเศษ เช่น พื้นที่จอดรถ ตำแหน่งที่สัมผัสล้อรถโดยตรง มักจะยุบตัวง่ายกว่าจุดอื่น จนเกิดเป็นร่องหลุมบนพื้นได้ หรืออาจใช้อีกทางเลือกซึ่งให้ภาพลักษณ์ที่คล้ายกัน คือ การติดตั้งกระเบื้องคอนกรีต โดยจะต้องเทพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กให้เรียบร้อย และปรับระดับพื้นด้วยปูนทรายก่อน จึงค่อยติดตั้งกระเบื้องคอนกรีตทับ แนะนำให้ลงเสาเข็มแบบปูพรมก่อนเทพื้นด้วยเพื่อช่วยชะลอการทรุดตัว
จะเห็นได้ว่าการชะลอการยุบของบล็อกปูพื้น คือ การติดตั้งภายใต้ขั้นตอนที่ถูกต้องครบถ้วน รวดเร็ว และสามารถรื้อใหม่ได้นั้น บล็อกปูพื้น จึงเหมาะจะเป็นอีกทางเลือกสำหรับงานที่ไม่ต้องการทำพื้นโครงสร้างหล่อคอนกรีต เนื่องจากประหยัดทั้งเวลา และค่าใช้จ่ายมาก เช่น พื้นที่ถนน หรือทางเดินขนาดใหญ่ ซึ่งไม่คุ้มค่าที่จะทำโครงสร้างรองรับ หรือบริเวณที่พื้นยุบ หรือทรุดตัวบ่อย ซึ่งหากหล่อพื้นคอนกรีต อาจแตกหักจนต้องทุบรื้อทิ้ง และเทใหม่เป็นประจำนั่นเอง หวังว่าบทความนี้จะให้ความรู้แก่ผู้อ่านไม่มากก็น้อย >>สามารถติดตามบทความต่าง ๆ ของ KACHA ได้ตามนี้เลย<<