
เครื่องหมาย มอก. คืออะไร? มีความสำคัญแค่ไหน?
หลาย ๆ คน คงเคยได้ยินคำว่า “มาตรฐานสินค้า”กันอยู่แล้ว โดยเฉพาะกับผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตและความปลอดภัย ซึ่งประเทศไทย มีหน่วยงานสำคัญอย่าง สมอ. ทำหน้าที่ดูแลเรื่องนี้โดยตรง ก่อนให้การรับรองภายใต้ตราสัญลักษณ์ “มอก.” แต่ผู้บริโภค ก็ยังมีความเข้าใจผิดว่า ทุกสินค้าที่ผลิต หรือนำเข้ามาขายในประเทศ มีมอก. แต่ในความจริงแล้ว ไม่ใช่ทุกสินค้าที่มีมอก.นั่นเอง วันนี้ KACHA จะพาไปรู้จักกับมอก. ให้มากขึ้นกัน
มอก. คืออะไร?
มอก.ย่อมาจาก “มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม” (Thai Industrial Standard) หมายถึงข้อกำหนดทางวิชาการที่ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมได้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้ผลิตในการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพในระดับที่เหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุด สินค้าที่กำหนดเป็นมาตรฐานปัจจุบัน ครอบคลุมสินค้าที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวันหลาย ๆ ประเภท ได้แก่ ประเภทอาหาร เครื่องใช้ไฟฟ้า ยานพาหนะ สิ่งทอ วัสดุก่อสร้าง เป็นต้น

ข้อกำหนดที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้กำหนดขึ้น เพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้ผลิตในการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพ ซึ่งจะต้องระบุอยู่บนตัวสินค้ามอก. มีส่วนประกอบดังนี้
- โลโก้มอก.
- ลำดับที่ในการออกเลขมอก.
- ปี พ.ศ. ที่ออกเลข
สินค้าที่มีตรามอก.คือสินค้าที่มีคุณภาพได้มาตรฐานตามที่กำหนด มีความปลอดภัยในการอุปโภค บริโภค มีประสิทธิภาพในการใช้งาน และมีคุณภาพสมราคา
เครื่องหมายมอก. มีความสำคัญอย่างไร?
สำหรับมอก.นั้น มีประโยชน์ต่อผู้เกี่ยวข้องในหลายด้านด้วยกัน ดังนี้
ประโยชน์ต่อผู้ผลิต
- ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต
- ลดรายจ่าย ลดเครื่องจักร ลดขั้นตอนการทำงานที่ซ้ำซ้อน
- ช่วยให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพสม่ำเสมอ
- ทําให้สินค้ามีคุณภาพดีขึ้น และมีราคาถูกลง
- เพิ่มโอกาสทางการค้า ในการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานราชการที่มีการกําหนดให้สินค้านั้น ๆ ได้รับมอก.
ประโยชน์ตอผู้บริโภค
- ช่วยในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า
- สร้างความปลอดภัยในการนำไปใช้
- ในกรณีสินค้าเกิดการชํารุด เสียหาย สามารถหาอะไหล่ได้ง่าย เพราะสินค้ามีมาตรฐานเดียวกันใช้ทดแทนกันได้
- วิธีการบํารุงรักษาใกล้เคียงกันไม่ต้องหัดใช้สินค้าใหมทุกครั้งที่ซื้อ
- ได้สินค้าคุณภาพดีขึ้นในราคาที่เป็นธรรม คุ้มค่ากับการใช้งาน
ประโยชน์ต่อเศรษฐกิจส่วนรวมหรือประโยชน์ร่วมกัน
- ช่วยเป็นสื่อกลางเป็นบรรทัดฐานทางการค้า ทําให้ผู้ผลิตและผู้บริโภคมีความเข้าใจที่ตรงกัน
- ก่อให้เกิดความยุติธรรมในการซื้อขาย
- ประหยัดการใช้ทรัพยากรของชาติทําให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด
- สร้างโอกาสทางการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการไทย
- ป้องกันสินค้าคุณภาพต่ำเข้ามาจําหน่ายในประเทศ
- สร้างความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมและเศรษฐกกิจของประเทศ
หมายเลขมอก. คือ หมายเลขที่กำหนดขึ้นเพื่อระบุลำดับที่ของการออกมาตรฐานและปีที่สมอ.ประกาศเป็นมาตรฐาน ซึ่งจะระบุอยู่บนตัวสินค้า ตัวอย่างเช่น เครื่องหมายมาตรฐานที่แสดงว่าสินค้าได้รับมาตรฐานอะไร
เครื่องหมายมอก. มีอะไรบ้าง?
เครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ที่แสดงเครื่องหมายมาตรฐาน หมายถึงผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการตรวจสอบรับรองสมอ. แล้วว่ามีคุณภาพได้มาตรฐานที่กำหนด มีความปลอดภยในการอุปโภคบริโภค มีประสิทธิภาพในการใช้งานและมีคุณภาพสมราคา ปัจจุบันสมอ.ได้อนุญาตในแสดงเครื่องหมายมอก.กับผลิตภัณฑ์ 5 เครื่องหมาย คือ

1. เครื่องหมายมาตรฐานทั่วไป
เป็นเครื่องหมายรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่สมอ. กำหนดมาตรฐานของผลิตภัณฑ์นั้นไว้ ซึ่งผู้ผลิตสามารถยื่นขอการรับรองคุณภาพโดยสมัครใจ (มาตรฐานทั่วไป) เพื่อการพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้เป็นไปตามเกณฑ์กำหนดในมาตรฐานและหลักประกันให้กับผู้บริโภคหรือผู้ซื้อผลิตภัณฑ์นั้นมีคุณภาพ มีความปลอดภัยคุ้มค่าและเหมาะสมกับราคา เช่น ผลิตภัณฑ์อาหาร, วัสดุก่อสร้าง, วัสดุสำนักงาน, เครื่องใชไฟฟ้า เป็นต้น
2. เครื่องหมายมาตรฐานบังคับ
เป็นเครื่องหมายรับรองผลิตภัณฑ์ที่กฎหมายกำหนดให้ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน (มาตรฐานบังคับ) ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคและป้องกันความเสียหายอันอาจจะเกิดต่อเศรษฐกิจและสังคมโดยส่วนรวม โดยกฎหมายบังคับผู้ผลิตผู้นำเข้าและผู้จำหน่ายจะต้องผลิตนำเข้าและจำหน่ายแต่ผลิตภัณฑ์จะต้องมีเครื่องหมายมาตรฐานบังคับ ติดแสดงไว้ทุกหน่วยเพื่อแสดงว่าผลิตภัณฑ์นั้นได้ผ่านการตรวจสอบรับรองแล้วตามกฎหมาย เช่น ไม้ขีดไฟ, สายไฟฟ้า, บัลลาสต์, ผงซักฟอก, ท่อพีวีซี, ผลิตภัณฑ์เหล็ก, ถังดับเพลิง, ของเล่นเด็ก, หมวกกันน๊อค เป็นต้น
3. เครื่องหมายมาตรฐานเฉพาะด้านความปลอดภัย
เป็นเครื่องหมายรับรองผลิตภัณฑ์ที่ต้องมีความปลอดภัยในการใช้งาน ซึ่งอมส.จะกำหนดมาตรฐานโดยเน้นเฉพาะเรื่องความปลอดภัยเป็นสำคัญ เพื่อให้การคุ้มครองแก่ผู้บริโภคด้านความปลอดภัยในการใช้งาน เช่น เตารีด พัดลมไฟฟ้า เป็นต้น เครื่องหมายที่มีทั้งแบบบังคับและไม่บังคับ หากเป็นแบบบังคับต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่ต้องทำผลิตภัณฑ์ให้ได้ตามมาตรฐานที่กำหนดทั้งผู้ทำ ผู้นำเข้าและผู้จำหน่าย
4. เครื่องหมายมาตรฐานเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม
เป็นเครื่องหมายรับรองผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติในการรักษาสิ่งแวดล้อม เช่น การประหยัดน้ำและการไม่ก่อให้เกิดมลพิษในอากาศ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนและการรักษาสิ่งแวดล้อมโดยรวมของประเทศ เช่น เครื่องซักผ้า ที่ประหยัดน้ำ, ตู้เย็นที่ไม่ใช้สาร CFC เป็นต้น เครื่องหมายนี้มีทั้งแบบบังคับและไม่บังคับ หากเป็นแบบบังคับก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่ต้องทำผลิตภัณฑ์ให้ได้ตามมาตรฐานที่กำหนดทั้งผู้ทำ ผู้นำเข้าและผู้จำหน่าย
5. เครื่องหมายมาตรฐานเฉพาะด้านความเข้ากันได้ทางแม่เหล็กไฟฟ้า
เป็นเครื่องหมายรับรองผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติของความเข้ากันได้ทางแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถทำงานร่วมกับผลิตภัณฑ์อื่นหรือใช้พร้อมกันได้และไม่ส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้ในระดับหนึ่ง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น โทรศัพท์, โทรสาร, เครื่องรับ-ส่งวิทยุและเครื่องมือทางการแพทย์ เป็นต้น เครื่องหมายนี้มีทั้งแบบบังคับและไม่บังคับ หากเป็นมาตรฐานบังคับผู้ผลิต ผู้นำเข้าและผู้จำหน่ายจะต้องผลิตนำเข้าและจำหน่ายแต่ผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานเท่านั้น
6. เครื่องหมายมาตรฐานสำหรับผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.)
เป็นเครื่องหมายที่ให้การรับรองผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยชุมชนเพื่อช่วยพัฒนาและยกระดับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ชุมชน ตามโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของรัฐบาล ในการรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) นั้นผู้รับรอง คือสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(สมอ.) จะเป็นผู้ให้การรับรองโดยจะมีเงื่อนไขการรับรองไม่ยุ่งยากซับซ้อน และต่างจากการให้การรับรองเครื่องหมายมอก. ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองคุณภาพตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนของสมอ.จะแสดงเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ไว้ที่ผลิตภัณฑ์
เมื่อเราได้รู้เรื่องเกี่ยวกับมาตรฐาน และสัญลักษณ์มอก. ต่าง ๆ แล้ว หวังว่าผู้อ่านทุกท่าน จะเข้าใจ แล้วนำไปสังเกตุ พิจารณาในการเลือกซื้อสินค้าไม่มากก็น้อยด้วย บทความหน้า จะมีอะไรดี ๆ มาฝากอีกนั้น อย่าลืมติดตามกันด้วยนะจ๊ะ
บทความดี ๆ น่าอ่าน:
- ระบบ ISO 9000 มีที่มาและประโยชน์อย่างไรในอุตสาหกรรม?
- ทำความรู้จัก ISO14001 และ ISO50001 ที่เราได้ยินคืออะไร?
- คลังสินค้าทัณฑ์บน (Bonded Warehouse) คืออะไร?
- มาตรฐาน GMP โรงงาน คืออะไร? มีความสำคัญอย่างไรบ้าง?
- รู้จักกับ ระบบ HVAC คืออะไร? มีความสำคัญอย่างไรในโรงงาน
- “กฎหมายควบคุมอาคาร” รู้ไว้ก่อนสร้างโรงงาน โกดัง และคลังสินค้า
- รู้จักกับ มาตรฐานโรงงาน มีอะไรบ้าง?
KACHA ผู้จัดจำหน่าย เครื่องมือช่างราคาถูก เช่น รอกโซ่ รอกโซ่มือสาว เครนยกของ และอุปกรณ์เสริม สำหรับช่างมืออาชีพ ราคาที่คุณจับต้องได้ รับรองสินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจ นอกจากนี้ บริษัทของเรา ยังมีบริการรับ สร้างโกดัง สร้างโรงงาน สร้างคลังสินค้าต่าง ๆ จากช่างมืออาชีพที่มีประสบการณ์ การันตีผ่านมาตรฐานก่อสร้าง และความปลอดภัยต่าง ๆ เข้าชมเว็บไซต์ www.kacha.co.th
อ้างอิงข้อมูล : https://www.tisi.go.th/
เพื่อไม่ให้พลาดข่าวสารสำคัญ และโปรโมชั่นพิเศษมากมาย สามารถติดตามเราผ่านช่องทางต่างๆได้หลากหลายช่องทางตามด้านล่างนี้เลย
บทความที่เกี่ยวข้อง
พลาสติก PE คืออะไร? รู้จักประเภท คุณสมบัติ และการใช้งานที่ควรรู้
25 กรกฎาคม 2025
พลาสติก PP คืออะไร? รวมคุณสมบัติและการใช้งาน
14 กรกฎาคม 2025
มือใหม่ต้องรู้! หัวไขควงแบบต่างๆ มีอะไรบ้าง ใช้ต่างกันยังไง
30 มิถุนายน 2025
ไขข้อสงสัย! น็อตคืออะไร น็อตมีกี่ประเภท
30 มิถุนายน 2025
10 อุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม ที่ควรมีไว้ติดบ้านก่อนน้ำจะมา
9 มิถุนายน 2025
แม่แรงไฮดรอลิค คืออะไร มีแบบไหนบ้าง?
9 มิถุนายน 2025
บทความที่น่าสนใจ
พลาสติก PE คืออะไร? รู้จักประเภท คุณสมบัติ และการใช้งานที่ควรรู้
25 กรกฎาคม 2025
พลาสติก PP คืออะไร? รวมคุณสมบัติและการใช้งาน
14 กรกฎาคม 2025
มือใหม่ต้องรู้! หัวไขควงแบบต่างๆ มีอะไรบ้าง ใช้ต่างกันยังไง
30 มิถุนายน 2025
ไขข้อสงสัย! น็อตคืออะไร น็อตมีกี่ประเภท
30 มิถุนายน 2025
10 อุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม ที่ควรมีไว้ติดบ้านก่อนน้ำจะมา
9 มิถุนายน 2025
แม่แรงไฮดรอลิค คืออะไร มีแบบไหนบ้าง?
9 มิถุนายน 2025