รู้จักกับ มาตรฐานโรงงาน มีอะไรบ้าง?

สิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการ เจ้าของโรงงาน อุตสาหกรรม โกดังสินค้าต่าง ๆ ที่ต้องทำความเช้าใจ และศึกษาข้อมูล เพื่อยกระดับคุณภาพโรงงาน คือ มาตรฐานโรงงาน นั่นเอง ตาม KACHA ไปรู้จักกับ มาตรฐานโรงงาน ว่ามีอะไรบ้าง?

รู้จักกับ มาตรฐานโรงงาน

โรงงานอุตสาหกรรม เป็นพื้นที่ผลิตสินค้าอุปโภค บริโภค เพื่อให้สินค้า มีความปลอดภัยมากที่สุดก่อนส่งถึงมือผู้บริโภค จึงต้องมีหลักเกณฑ์ ข้อกำหนดในการผลิตสินค้ามากมาย จึงต้องมีการรับรองมาตรฐานโรงงาน ตามที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้วางไว้ เป็นการการันตีว่า สินค้าที่ผลิตออกจากโรงงานนั้นปลอดภัย และได้มาตรฐานทุกชิ้นนั่นเอง

230720-Content-รู้จักกับ-มาตรฐานโรงงาน-02

มาตรฐานโรงงานสำคัญ ที่ควรรู้

มาตรฐานโรงงานที่สำคัญ ที่ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม จำเป็นต้องศึกษาอย่างละเอียด รอบคอบ มีรายละเอียด ดังนี้

  • มาตรฐาน ISO 9000

มาตรฐาน ISO 9000 มาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ คือ การจัดการที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ การบริการ เน้นให้องค์กรมีการวางแผน และการควบคุมคุณภาพ โดยการควบคุมที่กระบวนการดำเนินงานขององค์กร และการติดตามตรวจสอบดูความพึงพอใจของลูกค้าเมื่อส่งมอบ ได้รับผลิตภัณฑ์ หรือบริการไปแล้ว จากนั้นต้องมีการทบทวน และปรับปรุงระบบบริหารคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

  • มาตรฐาน ISO 14000

ISO 14000 คือ มาตรฐานการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการ ปัญหาสิ่งแวดล้อมขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อม การป้องกันมลพิษ และการดำเนินธุรกิจขององค์กร ภายใต้หลักเกณฑ์ PDCA (Planning, Doing, Checking, Action) ดังนั้น ISO 14000 จึงเป็นมาตรฐานสากลที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาองค์กรให้ก้าวหน้า และเป็นที่ยอมรับทั้งในเชิงพาณิชย์และสังคม เนื่องจากการดำเนินการของระบบ จะช่วยให้องค์กรสามารถวางนโยบาย และวัตถุประสงค์ ข้อกำหนด กฎระเบียบต่าง ๆ ด้านสิ่งแวดล้อม

  • มาตรฐาน ISO 17025

ISO 17025 คือ มาตรฐานการประเมินความสามารถทางวิชาการของห้องปฏิบัติการ ซึ่งทางห้องปฏิบัติการ (LAB) จะสอบเทียบตามมาตรฐานทั้งทางภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ เพื่อตรวจสอบว่า เครื่องมือยังอยู่ในมาตรฐาน และคุณภาพตามมาตรฐานสากลอยู่หรือไม่ สิ่งที่เราจะได้รับจากการส่งสอบเทียบทุกครั้ง ลูกค้าจะได้รับเครื่องมือ พร้อมเอกสารสอบเทียบ และสามารถใช้งานเครื่องมือนั้น ได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ ซึ่งเอกสารสอบเทียบนี้ จะบอกถึงมาตรฐานของเครื่องมือ ว่ายังได้คุณภาพอยู่ไหม มีค่าความคลาดเคลื่อนบ้างหรือเปล่า

  • มาตรฐาน ISO 18000

ISO 18000 คือ มาตรฐานการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย กำหนดขึ้นโดยใช้ BS 8800 เป็นแนวทางและอาศัยหลักการของระบบการจัดการตามอนุกรมมาตรฐาน มอก. 9000/ISO 9000 และ มอก. 14000/ISO 14000 เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการจัดทำระบบการจัดการชีวอนามัย และความปลอดภัยขององค์กร รวมถึงพัฒนาปรับปรุงระบบให้ดียิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่องในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ลดความเสี่ยงต่ออันตรายและอุบัติเหตุต่าง ๆ ของพนักงานและผู้เกี่ยวข้อง การปรับปรุงการดำเนินการของธุรกิจให้เกิดความปลอดภัย ซึ่งปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมของไทยยังคงมีการใช้แรงงานที่เสี่ยงอันตรายมากขึ้น ความปลอดภัยและสุขภาพของผู้ใช้แรงงานในการทำงานจึงเป็นสิ่งสำคัญที่เราทุกคนควรตระหนักและใส่ใจตลอดเวลา

  • มาตรฐาน ISO 22000

ISO 22000 คือ มาตรฐานการจัดการความปลอดภัยของอาหาร ระบบการจัดการความปลอดภัยที่มีมาตรฐานเกี่ยวข้องกับเรื่องของอาหาร การวิเคราะห์ถึงเรื่องอันตราย และจุดวิกฤตที่จำเป็นต้องได้รับการควบคุมในขั้นตอนการผลิตอาหาร ที่เรียกว่า HACCP (Hazard Analysis and Critical Point System) เป็นระบบการจัดการที่ช่วยให้อาหารเกิดความปลอดภัยต่อผู้บริโภค โดยการเข้าคุมจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมในการผลิต (CCP) ในระบบนี้ ผู้ประกอบการเกี่ยวกับอาหารจะต้องนำไปใช้ทุกกระบวนการที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อาหาร เริ่มตั้งแต่ผู้ผลิตเบื้องต้น คือ Primary Producer ไปจนถึงผู้บริโภค

เครื่องหมายมาตรฐานโรงงาน มีอะไรบ้าง?

  • เครื่องหมาย มอก.

มอก. หรือ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ด้านการผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เป็นข้อกำหนดทางวิชาการ ที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กำหนดขึ้น เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ผลิตสินค้ามีคุณภาพในระดับที่เหมาะสมกับการใช้งาน ครอบคลุมตั้งแต่ คุณภาพของวัตถุที่นำมาผลิต คุณสมบัติที่สำคัญ เทคนิคและกรรมวิธี วิธีการทดสอบ และประสิทธิภาพของการนำไปใช้

230720-Content-รู้จักกับ-มาตรฐานโรงงาน-03

ปัจจุบันมีสินค้าที่กำหนดมาตรฐานมอก. กว่า 2,000 รายการ ครอบคลุมหลากหลายประเภทสินค้า เช่น อาหาร เครื่องใช้ไฟฟ้า ยานพาหนะ สิ่งทอ วัสดุก่อสร้าง เป็นต้น อย่างไรก็ตามหากผู้ประกอบการคนไหนต้องการจะเปิดโรงงาน อย่าลืมศึกษาดูว่า สินค้าที่จะผลิตนั้น ต้องผ่านมาตรฐาน มอก. หรือไม่ จะได้วางแผนยื่นขอมาตรฐานก่อนผลิตให้ถูกต้องนั่นเอง

อ่านบทความ: มอก. คืออะไร? มีความสำคัญแค่ไหน?

  • เครื่องหมาย GMP

ย่อมาจากคำว่า Good Manufacturing Practice เป็นกฎเกณฑ์ที่ป้องกันอันตราย ที่อาจเกิดขึ้นกับผู้บริโภค ซึ่งผู้ผลิตผลิตภัณฑ์อาหาร จะต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด จึงจะได้รับรองมาตรฐาน GMP จะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคว่า อาหารนั้นปลอดภัย ซึ่งมาตรฐาน GMP เป็นมาตรฐานสากลที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก โดยจะกำหนดครอบคลุมตั้งแต่สถานที่ผลิต เครื่องจักร อุปกรณ์ กระบวนการผลิต ความสะอาด สุขอนามัย และสุขาภิบาล เพื่อให้มั่นใจว่าสินค้าอาหารนั้น มีความปลอดภัยนั่นเอง

230720-Content-รู้จักกับ-มาตรฐานโรงงาน-04
  • เครื่องหมาย HACCP

ย่อมาจากคำว่า Good Manufacturing Practice เป็นกฎเกณฑ์ที่ป้องกันอันตราย ที่อาจเกิดขึ้นกับผู้บริโภค ซึ่งผู้ผลิตผลิตภัณฑ์อาหาร จะต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด จึงจะได้รับรองมาตรฐาน GMP จะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคว่า อาหารนั้นปลอดภัย ซึ่งมาตรฐาน GMP เป็นมาตรฐานสากลที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก โดยจะกำหนดครอบคลุมตั้งแต่สถานที่ผลิต เครื่องจักร อุปกรณ์ กระบวนการผลิต ความสะอาด สุขอนามัย และสุขาภิบาล เพื่อให้มั่นใจว่าสินค้าอาหารนั้น มีความปลอดภัยนั่นเอง

  • เครื่องหมาย มาตรฐานอาหารฮาลาล

เป็นมาตรฐานสินค้าที่แสดงว่า ชาวมุสลิม สามารถบริโภค และใช้ประโยชน์จากสินค้านั้น ๆ ได้ มีลักษณะเป็นสากลได้รับการยอมรับทั่วโลก โดยมาตรฐานฮาลาล จะกำหนดมาตรฐานตั้งแต่สถานที่ผลิต วัตถุดิบ ขั้นตอนการผลิต และแปรสภาพว่าต้องไม่ขัดต่อบัญญัติของศาสนา เพื่อให้ชาวมุสลิมสามารถบริโภคสินค้านั้น ๆ ได้อย่างมั่นใจ

  • เครื่องหมาย มาตรฐาน Q

เป็นมาตรฐานรับรองสินค้าเกษตร เพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจในคุณภาพ และความปลอดภัย สามารถบริโภคได้อย่างสบายใจไร้กังวล ผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าเกี่ยวกับเกษตรและธรรมชาติหากได้รับสัญลักษณ์นี้ จะสร้างความน่าเชื่อถือให้กับสินค้ามากขึ้นนั่นเอง

230720-Content-รู้จักกับ-มาตรฐานโรงงาน-05
  • เครื่องหมาย ISO

ย่อมาจาก International Organization for Standardization เป็นมาตรฐาน เพื่อรับรองระบบการบริหารและการดำเนินงานของอุตสาหกรรม มีความเป็นสากลเป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก ซึ่งมาตรฐาน ISO มีมาตรฐานย่อยอีกหลายประเภท เช่น ISO 9000 เป็นมาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 14000 มาตรฐานการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 18000 มาตรฐานการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย เป็นต้น

  • เครื่องหมาย มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.)

มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน หรือ มผช. เป็นข้อกำหนดของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ออกมากำหนดกฎเกณฑ์คุณลักษณะของสินค้าชุมชน ที่ผลิตกันแบบวิสาหกิจชุมชน SME หรือผู้ประกอบการรายย่อยในท้องถิ่น เพื่อบ่งบอกมาตรฐานของสินค้าว่าได้มาตรฐานทั้งวัตถุดิบ และกรรมวิธีการผลิต

230720-Content-รู้จักกับ-มาตรฐานโรงงาน-06
  • เครื่องหมาย มาตรฐานผลิตภัณฑ์อินทรีย์

เป็นมาตรฐานที่กำหนดโดยกรมวิชาการเกษตร รับรองให้กับโรงงานที่ผลิตสินค้าและอาหารแบบอินทรีย์ หรือออร์แกนิก ปราศจากการใช้สารเคมีปรุงแต่ง เป็นมิตรต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าออร์แกนิก ควรยื่นขอรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อินทรีย์ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคว่า ปลอดภัย ปราศจากสารเคมี 100%

จบไปแล้ว มาตรฐานโรงงานที่ควรรู้ เรียกได้ว่า การจะเปิดโรงงานอุตสาหกรรมผลิตสินค้าออกจำหน่ายนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย แต่ยังต้องใส่ใจกับคุณภาพและความปลอดภัยด้วยการยื่นขอรับรองมาตรฐาน เพื่อการันตีว่าโรงงาน ที่ผลิตสินค้าของเรานั้นผ่านมาตรฐานด้วย หวังว่าบทความนี้จะให้ข้อมูลสาระ ความรู้ดี ๆ แก่ผู้อ่านนะจ๊ะ

บทความดี ๆ น่าอ่าน:

KACHA ผู้จัดจำหน่าย เครื่องมือช่างราคาถูก เช่น รอกโซ่ รอกโซ่มือสาว เครนยกของ และอุปกรณ์เสริม สำหรับช่างมืออาชีพ ราคาที่คุณจับต้องได้ รับรองสินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจ หากคุณกำลังมองหา ผู้รับเหมา ออกแบบก่อสร้างโรงงาน โกดังสินค้าต่าง ๆ บริษัทของเรา มีบริการรับ สร้างโกดัง สร้างโรงงาน สร้างคลังสินค้าต่าง ๆ จากช่างมืออาชีพที่มีประสบการณ์ การันตีผ่านมาตรฐานก่อสร้าง และความปลอดภัยต่าง ๆ อย่างแน่นอน เข้าชมเว็บไซต์ KACHA คลิกเลย

อ้างอิงข้อมูล tf-cons.com, ofm.co.th

Sponsered (โฆษณา)