รู้จักกับ บ้านเล่นระดับ (Split-level house) คืออะไร?

บ้านเล่นระดับ (Split-level house) คือ บ้านที่ออกแบบโดยใช้ รูปแบบการเล่นระดับของพื้นที่ ซึ่งสามารถทำได้ทั้งการออกแบบภายในและภายนอก ส่วนมากการออกแบบบ้านเล่นระดับ จะใช้รูปแบบของบันได มาเป็นตัวช่วยในการสร้างสเต็ปของพื้นที่ โดยนิยมใช้ห้องนั่งเล่นเป็นพื้นที่หลัก และสร้างระดับไปสู่ห้องอื่น ๆ อย่างเช่น ห้องครัว ห้องนอน ห้องน้ำ เป็นต้น

220829-Content-รู้จักกับบ้านเล่นระดับ02

บ้านเล่นระดับเกิดขึ้นในช่วงปี 1930 ในสหรัฐอเมริกา เพราะความต้องการพื้นที่ใช้สอยเพิ่มขึ้น ในบ้านขนาดจำกัด จึงทำชั้นใต้ดินให้ครึ่งบนอยู่เหนือพื้นดิน และเจาะช่องหน้าต่าง เพื่อรับแสงสว่างจากภายนอก แล้วค่อยไต่ระดับสู่แต่ละห้องทีละครึ่งชั้น จำนวนห้องจึงเพิ่มขึ้นในขนาดที่ดินเท่าเดิม เป็นการใช้พื้นที่ทางราบ และทางดิ่งอย่างคุ้มค่ามากที่สุด

ส่วนในประเทศไทย จะไม่ได้นิยมทำห้องใต้ดิน เหมือนในต่างประเทศ แต่จะออกแบบภายใน โดยใช้รูปแบบการออกแบบบ้านเล่นระดับ นำมาปรับใช้ได้เช่นกัน เหมาะกับ บ้านชั้นเดียว ห้องที่มีพื้นที่ขนาดกลางไปถึงใหญ่ การแบ่งพื้นที่โดยใช้เทคนิคนี้ จะช่วยให้พื้นที่โดยรวมดูมีสัดส่วนที่ชัดเจน เป็นสัดส่วน ไม่รู้สึกอึดอัด เพราะทั้งบ้านนั้นดูเชื่อมต่อเป็นบริเวณเดียวกัน

บ้านเล่นระดับมีกี่รูปแบบ?

บ้านเล่นระดับกับโครงสร้าง

การทำบ้านเล่นระดับ ต้องวางแผนงานโครงสร้างให้ดี เพราะต้องวางแนวคาน สำหรับรองรับพื้นที่ต่างระดับกัน โดยมีข้อควรคำนึงถึง คือ ความสูงจากพื้นถึงฝ้าเพดานของทุกห้อง และบริเวณบันได ต้องสูงพอให้ผู้ใช้งานเดินผ่านได้สบาย หัวไม่ชน การแบ่งระดับบ้านอาจแบ่งได้แบบซ้าย-ขวา ด้านหน้า-ด้านหลัง หรือมีโถงกลาง สำหรับแจกจ่ายไปสู่แต่ละชั้น ขึ้นอยู่กับรูปร่างของที่ดิน และรูปทรงของบ้านด้วย

บ้านเล่นระดับกับบันได

เส้นทางสัญจรภายในบ้านเล่นระดับ เป็นส่วนสำคัญในการเชื่อมต่อ พื้นที่ทุกส่วนเข้าหากันผ่านบันได ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนระหว่างสองพื้นที่ โดยบันได จะมีความสูงในระดับประมาณครึ่งชั้น จึงไม่เหนื่อยมาก เมื่อเทียบกับการเดินขึ้นบันไดยาว ๆ ของบ้านทั่วไปที่มีหลายชั้น ผู้สูงอายุ จึงใช้งานได้สะดวก ส่วนรูปแบบของบันได เป็นได้ทั้งบันไดแบบโปร่ง และแบบทึบ ขึ้นอยู่กับความชอบ และพื้นที่ใช้งาน เช่น หากติดตั้งบันไดโปร่งในชั้นบน ก็สามารถมองลงมาเห็นถึงชั้นล่าง ช่วยให้สเปซภายในบ้าน ดูโปร่งโล่งมากขึ้น และอากาศไหลเวียนทั่วถึงด้วย

บ้านเล่นระดับกับสเปซภายใน

ข้อดีอีกอย่างของบ้านเล่นระดับ คือ สเปซภายในบ้าน สามารถยืดหยุ่นได้ตามใจชอบ และดัดแปลงได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นการกั้นผนังทึบ เพื่อแบ่งห้องอย่างชัดเจน การสร้างผนังให้พอมองเห็นกันได้บางส่วน โดยใช้วัสดุโปร่งแสง หรือกระจกใส สำหรับพื้นที่ ที่ยังต้องการความต่อเนื่องกันแต่สามารถควบคุมขอบเขตปรับอากาศได้ หรือจะเปิดโล่งทั้ง 2 ฝั่ง ก็ทำให้รู้สึกว่า บ้านกว้าง มองเห็นกันได้ทุกมุม และเมื่อบวกรวมกับการออกแบบช่องเปิด อย่างเหมาะสม จะทำให้ลมพัดผ่านได้ทั่วถึง มีการไหลเวียนอากาศที่ดีขึ้นในบ้าน

บ้านเล่นระดับกับหน้าตาภายนอก

เป็นบ้านเล่นระดับ ที่มีรูปร่างหน้าตาหลากหลาย สามารถเลือกได้ว่า ต้องการยกพื้นตั้งแต่เข้าสู่ส่วนประตูบ้าน หรือเข้าประตูบ้านในระดับพื้นดิน แล้วค่อยไปเล่นระดับต่อภายใน การติดตั้งหน้าต่างขนาดใหญ่ขึ้น ก็ช่วยให้บ้านดูโปร่งขึ้น รวมทั้งยังได้บ้านหลายระดับ ที่มีหน้าตาเหมือนบ้านชั้นเดียว หรือ 2 ชั้น โดยไม่ต้องสร้างบ้านสูงมาก ทำให้ตัวบ้าน มีน้ำหนักไม่มากด้วย

เปรียบเทียบ บ้านชั้นเดียว เล่นระดับกับบ้านสองชั้น?

เมื่อพูดถึงเรื่องค่าใช้จ่ายระหว่างบ้านชั้นเดียวเล่นระดับ กับบ้านสองชั้น กรณีใช้วัสดุเกรดเดียวกัน แบ่งเป็น 2 แบบดังนี้

  • แบบที่ 1: ถ้าบ้านชั้นเดียวเล่นระดับโครงสร้าง กับบ้านสองชั้น บ้านสองชั้นจะถูกกว่า
  • แบบที่ 2: ถ้าบ้านชั้นเดียวเล่นระดับสเปซภายใน กับบ้านสองชั้น บ้านชั้นเดียวเล่นระดับจะถูกกว่า

อย่างไรก็ตาม ค่าใช้จ่ายการก่อสร้างทั้ง 2 แบบ แทบไม่แตกต่างกันมากนัก ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ด้วย เช่น ถ้าเป็นผู้พักอาศัย การใช้ภายในบ้าน ไลฟ์สไตล์ของผู้พัก ถ้ามีผู้สูงอายุพักอาศัยอยู่ด้วย บ้านเล่นระดับ คงไม่เหมาะสักเท่าไร ควรเป็นบ้านสองชั้น แล้วทำชั้นล่าง ให้มีห้องสำหรับผู้สูงอายุ อาจจะดีกว่านั่นเอง

ข้อดี-ข้อเสีย บ้านเล่นระดับชั้นเดียว

ข้อดี

  • ช่วยพื้นที่ภายในบ้านโปร่งโล่ง ไม่ทึบตัน และอากาศไหลเวียนได้สะดวก
  • บ้านดูมีลูกเล่นสนุกสนานมากยิ่งขึ้น และยังดูสวย ทันสมัยอีกด้วย
  • พื้นที่เก็บของเพิ่มขึ้น ส่วนที่ยกระดับขึ้นมาจะมีพื้นที่ว่าง แบบบ้านที่ยกพื้นไล่ระดับบางหลังจะนิยมทำช่องเก็บของบ้านชั้นเดียว ต่างระดับ

ข้อเสีย

  • ไม่เหมาะสำหรับที่มีเด็ก และผู้สูงอายุอาศัยอยู่ เพราะอาจเกิดอันตรายในการเดินมาภายในบ้านได้ แต่สามารถแก้ได้ โดยใช้การเล่นระดับกับบันได เพราะรูปแบบบันได จะแบ่งพื้นที่ให้เห็นชัดเจนกว่า และมีความสูงแค่เพียงครึ่งชั้น จึงสะดวกสบายกว่าการขึ้นบันไดยาว ๆ เหมือนหลายชั้นแบบปกติ
  • การแบ่งโซน อาจไม่ชัดเจนเท่าบ้านสองชั้น เช่น พื้นที่ส่วนตัว ถ้าบ้านสองชั้น ชั้นล่างอาจเป็นพื้นที่รับแขก ส่วนชั้นบน อาจเป็นเป็นห้องนั่งเล่น และห้องนอน ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนตัว

ข้อดี-ข้อเสีย บ้านบ้านสองชั้น

ข้อดี

  • ถ้าจำนวนคนในบ้านอาศัยอยู่เยอะ บ้านสองชั้น ตอบโจทย์การอยู่อาศัยได้ดีกว่า
  • การแบ่งสัดส่วนห้องได้สะดวก และมีพื้นที่ใช้สอยเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับบ้านชั้นเดียวในขนาดพื้นที่เดียวกัน
  • มีความเป็นส่วนตัว เช่น ห้องที่อยู่ชั้นบน จะไม่ค่อยถูกรบกวน จากสภาพแวดล้อมภายนอกเท่าไรนัก

ข้อเสีย

  • สำหรับผู้สูงอายุ บ้านสองชั้นส่วนใหญ่ มีห้องนอนอยู่ชั้นบน อาจทำให้ผู้สูงอายุต้องลำบาก และเสี่ยงต่ออุบัติเหตุในการขึ้นลงบันได จึงควรทำห้องนอนไว้ชั้นล่าง สำหรับผู้สูงอายุด้วย

เป็นอย่างไรกันบ้างกับ บ้านเล่นระดับ ที่เรานำมาฝากกัน หลาย ๆ คน คนได้เข้าใจ และรู้จักกับบ้านเล่นระดับกันมากขึ้นแล้วใช่ไหม อย่างไรกฌตาม ก่อนจะสร้างบ้าน ควรศึกษาหาแบบบ้านที่เหมาะสมกับผู้อยู่อาศัย และการใช้งานในบ้านด้วย 

● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● 

KACHA ผู้จัดจำหน่าย เครื่องมือช่างราคาถูก และอุปกรณ์เสริม สำหรับช่างมืออาชีพ ราคาที่คุณจับต้องได้ รับรองสินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจอย่างแน่นอน!!

เลือกดูสินค้า สินค้าจาก KACHA  คลิกเลย ????????

อ้างอิงข้อมูลจาก: baanlaesuan.com, ช่างประจำบ้าน