
วิธีดูมิเตอร์ไฟ แต่ละตัวเลขบอกอะไร? พร้อมวิธีคำนวณค่าไฟง่าย ๆ
KACHA แชร์ทริค วิธีดูมิเตอร์ไฟ ว่าตัวเลขแต่ละชุดหมายถึงอะไร? เราใช้ไฟไปกี่หน่วยแล้ว? พร้อมแจกวิธีคำนวณไฟฟ้าที่บ้านง่าย ๆ ด้วยตัวเอง ตามไปดูกันเลย!
วิธีดูมิเตอร์ไฟ : ตัวเลขหน้าปัดบอกอะไรบ้าง?

1. MEA / PEA No.
MEA / PEA No. คือ เลขรหัสเครื่องวัดแต่ละเครื่อง เมื่อได้รับใบแจ้งค่าไฟฟ้า หรือ ได้รับใบเสร็จ อย่าลืมตรวจสอบว่ารหัสเครื่องวัดของเราตรงกับในบิลไฟฟ้าหรือไม่ แม้ว่าจะมีโอกาสผิดพลาดน้อย แต่เราก็ควรเช็กอย่างสม่ำเสมอ เพื่อความมั่นใจว่าค่าไฟที่เราจ่ายไปนั้นเป็นของเราจริง ๆ
2. ตัวเลขแสดงหน่วยไฟฟ้า (กิโลวัตต์)
ค่านี้เป็นค่าที่แสดงถึง จำนวนหน่วยไฟฟ้าที่เราใช้งาน
มิเตอร์ไฟฟ้า ขนาด 5(45)A และ 15(45)A ให้นับเฉพาะตัวเลข 4 หลัก (ช่องที่ 5 เป็นทศนิยม ไม่ต้องอ่านค่า)
มิเตอร์ไฟฟ้า 30(100)A และ 50(100)A ให้นับเลขทั้งหมด 5 หลัก
3. ระบบไฟฟ้า (1เฟส/3เฟส)
ก่อนอื่นเราต้องรู้ก่อนว่าในประเทศไทยใช้ระบบไฟฟ้าอยู่ 2 แบบ คือ 1 เฟส (1 Phase) และ 3 เฟส (3 Phase) ระบบไฟฟ้า 1 เฟส เป็นระบบไฟฟ้าที่ใช้ในบ้านทั่วไป มีการจ่ายไฟที่เหมาะกับอุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้าน ส่วนระบบไฟฟ้า 3 เฟส จะจ่ายไฟได้เยอะกว่า เหมาะสำหรับเครื่องจักรขนาดใหญ่ที่ต้องใช้ไฟฟ้าเยอะ ส่วนมากระบบนี้จะถูกติดตั้งในโรงงานอุตสาหกรรมหรืออาคารที่ต้องเชื่อมต่อไฟฟ้าหลายจุดในพื้นที่เดียวกัน
- ระบบไฟฟ้า 1 เฟส แรงดันไฟฟ้าอยู่ที่ 220-230 โวลต์ ระบบไฟแบบนี้จะประกอบด้วยสายไฟ 2 สาย สังเกตจากเต้ารับจะมีช่องเสียบ 2 ช่อง (L Line และ N Line) ส่วนช่องที่สามที่เพิ่มมาเป็นตัวเสียบของสายดินป้องกันไฟฟ้ารั่ว เพื่อป้องกันอันตรายต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าและผู้ใช้งาน ติดตั้งง่าย ราคาไม่แพง ติดตั้งไม่ยุ่งยากเท่าเฟส 3
- ระบบไฟฟ้า 3 เฟส แรงดันไฟฟ้าอยู่ที่ 380 – 400 โวลต์ ประกอบด้วยสายไฟ 4 สาย สายไลน์แบบมีไฟ (L Line) จำนวน 3 เส้น และสายนิวทรอลไม่มีไฟ (N Line) จำนวน 1 เส้น ระบบนี้จะถูกติดตั้งในโรงงานมากกว่าใช้ในบ้าน เนื่องจากเครื่องจักรอุตสาหกรรมมีแรงดันไฟฟ้าสูง แต่ก็ใช่ว่าระบบนี้จะติดตั้งในบ้านไม่ได้ เพียงต้องแบ่งใช้ไฟฟ้า ออกเป็น 3 ชุด ชุดละ 1 เฟส เพื่อกระจายไปตามจุดต่าง ๆ เพื่อให้กระแสไฟฟ้ามีความสมดุล ประหยัดไฟขึ้น
4. แรงดันไฟฟ้าที่ใช้ (โวลต์)
ตัวเลขนี้สำคัญในแง่ของการซื้ออุปกรณ์ไฟฟ้า โดยทั่วไปเครื่องใช้ไฟฟ้าจะมีแรงดันอยู่ที่ 220 โวลต์ สามารถใช้กับไฟบ้านหรือไฟเฟส 1 ได้ตามปกติ แต่ถ้าเป็นเครื่องจักรขนาดใหญ่ ต้องใช้แรงดันสูง ตั้งแต่ 380 – 400 โวลต์ ถ้าใช้กับไฟบ้านจะทำให้ไฟขัดข้อง ไฟดับ หรืออาจทำให้เครื่องจักรเสียหายได้ ดังนั้น ก่อนซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้ามาใช้ อย่าลืมเปรียบเทียบแรงดันของเครื่องกับมิเตอร์ไฟที่บ้านว่ารองรับหรือไม่
5. ขนาดมิเตอร์ไฟฟ้า (แอมป์)
ขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าต้องสอดคล้องกับขนาดการใช้ไฟโดยรวมในบ้านของเรา ซึ่งขนาดมิเตอร์ที่ใช้ในบ้านส่วนมากจะเป็น 15(45)A รองรับการใช้ไฟฟ้าตั้งแต่ 15 – 45 แอมป์ (ไม่ควรเกิน 30 แอมแปร์) หากเป็นโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เราต้องเพิ่มขนาดมิเตอร์ให้ใหญ่ขึ้น ทั้งนี้ ควรเลือกขนาดของมอเตอร์ไฟฟ้าเผื่อไว้ด้วย เพราะในอนาคตเราอาจมีเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ เพิ่มเติม

สำหรับใครที่กำลังสงสัยว่าที่บ้านต้องใช้มิเตอร์ขนาดเท่าไหร่ สามารถคำนวณคร่าว ๆ ดังนี้
กำลังไฟฟ้า (วัตต์ ) x จำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้า ÷ 1000 x จำนวนชั่วโมงที่ใช้ใน 1 วัน = จำนวนหน่วยต่อวัน (ยูนิต)
วิธีดูมิเตอร์ไฟ : วิธีคำนวณค่าไฟฟ้าง่าย ๆ

ก่อนจะเข้าสู่กระบวนการคำนวณ เราต้องทราบจำนวนหน่วยไฟที่เราใช้ไปทั้งหมดก่อน ถึงจะนำไปคำนวณในแอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์ของการไฟฟ้าได้ ซึ่งจำนวนไฟฟ้าที่เราใช้ไปคิดได้ง่าย ๆ คือ ให้นำตัวเลขที่แสดงอยู่บนหน้าปัดมิเตอร์ไฟฟ้าไปเปรียบเทียบกับในบิลไฟฟ้าเดือนที่แล้ว เช่น รอบที่แล้วจดได้ 1249 กิโลวัตต์ วันนี้เพิ่มเป็น 1286 ให้นำเลขปัจจุบันมาลบออกก็จะได้เป็นหน่วยไฟฟ้าที่เราใช้งานจนถึงตอนนั้น
1286 (หน่วยไฟปัจจุบัน) – 1249 หน่วยไฟครั้งที่แล้ว) = 37 หน่วย
เมื่อรู้ว่าเราใช้ไฟไปกี่หน่วยแล้ว ขั้นตอนต่อไปง่ายมาก ให้นำข้อมูลไปกรอกตามเว็บไซต์ข้างล่าง แบ่งตามเขต คือ
- การไฟฟ้านครหลวง คลิก กรุงเทพฯ นนทบุรี และสมุทรปราการ
- การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค คลิก (จังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ)
แชร์เทคนิค ประหยัดไฟ ลดค่าใช้จ่าย

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้แนะนำ 6 วิธีอยู่บ้านอย่างไรให้ประหยัดไฟ ดังนี้
- รับลม รับแสง จากธรรมชาติ
การเปิดประตู หน้าต่าง รับลมและแสงจากธรรมชาติ จะทำให้บ้านสว่างและเย็นได้ โดยไม่ต้องเปิดไฟ แอร์ หรือพัดลมได้
- ถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าเมื่อไม่ใช้งาน
การเสียบปลั๊กอุปกรณ์ไฟฟ้าไว้แต่ไม่ได้ใช้งานก็มีกระแสไฟไหลเวียนอยู่ภายใน ทำให้เปลืองไฟได้เช่นกัน ดังนั้น เราควรปิดไฟทุกครั้งหลังการใช้งาน
- ใช้หลอดไฟ LED แทนหลอดไฟธรรมดา
หลอดไฟ LED มีอัตราการกินไฟน้อยกว่าและใช้ได้นานกว่าหลอดไฟธรรมดา แถมยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่เสี่ยงอันตรายจากรังสี UV หรือสารตะกั่วเหมือนหลอดไฟทั่วไป หากใครกำลังมองหาหลอดไฟสำหรับใช้งาน แนะนำให้ใช้หลอด LED
- ไม่ชาร์จโทรศัพท์มืหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าทิ้งไว้ เมื่อแบตเต็ม
การชาร์จโทรศัพท์ อุปกรณ์ไฟฟ้าทิ้งไว้ แม้แบตเตอรี่เต็มแล้วจะทำให้กินไฟ และเสี่ยงต่อการเกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้ เราจึงควรถอดปลั๊กออกทุกครั้งเพื่อความปลอดภัย ช่วยประหยัดไฟได้มากกว่า
- เปิดแอร์ในอุณหภูมิที่เหมาะสม 26 องศาเซลเซียส
ตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศที่ 26 องศาเซลเซียส ช่วยประหยัดค่าไฟได้มากกว่าการตั้งอุณหภูมิที่ต่ำลง นอกจากนี้การปิดเครื่องปรับอากาศเร็วขึ้น 1 ชั่วโมง ก่อนออกจากห้อง สามารถช่วยประหยัดไฟฟ้าได้เช่นกัน
- เลือกใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ติดฉลาก เบอร์ 5
ฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 เป็นเครื่องหมายที่แสดงว่าเครื่องใช้ไฟฟ้านั้ผ่านการทดสอบประสิทธิภาพการประหยัดพลังงาน ตามที่ กฟผ. และกระทรวงพลังงานกำหนด โดยฉลากประหยัดไฟจะมีระดับความประหยัด ตั้งแต่เบอร์ 1 ถึงเบอร์ 5 ซึ่งคือระดับที่ประหยัดไฟมากที่สุด
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้แนะนำ 6 วิธีอยู่บ้านอย่างไรให้ประหยัดไฟ ดังนี้
- รับลม รับแสง จากธรรมชาติ
การเปิดประตู หน้าต่าง รับลมและแสงจากธรรมชาติ จะทำให้บ้านสว่างและเย็นได้ โดยไม่ต้องเปิดไฟ แอร์ หรือพัดลมได้
- ถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าเมื่อไม่ใช้งาน
การเสียบปลั๊กอุปกรณ์ไฟฟ้าไว้แต่ไม่ได้ใช้งานก็มีกระแสไฟไหลเวียนอยู่ภายใน ทำให้เปลืองไฟได้เช่นกัน ดังนั้น เราควรปิดไฟทุกครั้งหลังการใช้งาน
- ใช้หลอดไฟ LED แทนหลอดไฟธรรมดา
หลอดไฟ LED มีอัตราการกินไฟน้อยกว่าและใช้ได้นานกว่าหลอดไฟธรรมดา แถมยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่เสี่ยงอันตรายจากรังสี UV หรือสารตะกั่วเหมือนหลอดไฟทั่วไป หากใครกำลังมองหาหลอดไฟสำหรับใช้งาน แนะนำให้ใช้หลอด LED
- ไม่ชาร์จโทรศัพท์มืหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าทิ้งไว้ เมื่อแบตเต็ม
การชาร์จโทรศัพท์ อุปกรณ์ไฟฟ้าทิ้งไว้ แม้แบตเตอรี่เต็มแล้วจะทำให้กินไฟ และเสี่ยงต่อการเกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้ เราจึงควรถอดปลั๊กออกทุกครั้งเพื่อความปลอดภัย ช่วยประหยัดไฟได้มากกว่า
- เปิดแอร์ในอุณหภูมิที่เหมาะสม 26 องศาเซลเซียส
ตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศที่ 26 องศาเซลเซียส ช่วยประหยัดค่าไฟได้มากกว่าการตั้งอุณหภูมิที่ต่ำลง นอกจากนี้การปิดเครื่องปรับอากาศเร็วขึ้น 1 ชั่วโมง ก่อนออกจากห้อง สามารถช่วยประหยัดไฟฟ้าได้เช่นกัน
- เลือกใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ติดฉลาก เบอร์ 5
ฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 เป็นเครื่องหมายที่แสดงว่าเครื่องใช้ไฟฟ้านั้ผ่านการทดสอบประสิทธิภาพการประหยัดพลังงาน ตามที่ กฟผ. และกระทรวงพลังงานกำหนด โดยฉลากประหยัดไฟจะมีระดับความประหยัด ตั้งแต่เบอร์ 1 ถึงเบอร์ 5 ซึ่งคือระดับที่ประหยัดไฟมากที่สุด
เพื่อไม่ให้พลาดข่าวสารสำคัญ และโปรโมชั่นพิเศษมากมาย สามารถติดตามเราผ่านช่องทางต่างๆได้หลากหลายช่องทางตามด้านล่างนี้เลย
บทความที่เกี่ยวข้อง
พลาสติก PE คืออะไร? รู้จักประเภท คุณสมบัติ และการใช้งานที่ควรรู้
25 กรกฎาคม 2025
พลาสติก PP คืออะไร? รวมคุณสมบัติและการใช้งาน
14 กรกฎาคม 2025
มือใหม่ต้องรู้! หัวไขควงแบบต่างๆ มีอะไรบ้าง ใช้ต่างกันยังไง
30 มิถุนายน 2025
ไขข้อสงสัย! น็อตคืออะไร น็อตมีกี่ประเภท
30 มิถุนายน 2025
10 อุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม ที่ควรมีไว้ติดบ้านก่อนน้ำจะมา
9 มิถุนายน 2025
แม่แรงไฮดรอลิค คืออะไร มีแบบไหนบ้าง?
9 มิถุนายน 2025
บทความที่น่าสนใจ
พลาสติก PE คืออะไร? รู้จักประเภท คุณสมบัติ และการใช้งานที่ควรรู้
25 กรกฎาคม 2025
พลาสติก PP คืออะไร? รวมคุณสมบัติและการใช้งาน
14 กรกฎาคม 2025
มือใหม่ต้องรู้! หัวไขควงแบบต่างๆ มีอะไรบ้าง ใช้ต่างกันยังไง
30 มิถุนายน 2025
ไขข้อสงสัย! น็อตคืออะไร น็อตมีกี่ประเภท
30 มิถุนายน 2025
10 อุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม ที่ควรมีไว้ติดบ้านก่อนน้ำจะมา
9 มิถุนายน 2025
แม่แรงไฮดรอลิค คืออะไร มีแบบไหนบ้าง?
9 มิถุนายน 2025