สปริงเกอร์ คืออะไร? ข้อดี-ข้อเสีย ก่อนติดตั้งต้องรู้อะไรบ้าง?

ในปัจจุบันมี สปริงเกอร์ หลายแบบให้เลือกสรร แต่จะเลือกยังไงให้เหมาะกับการใช้งาน

แล้วระบบสปริงเกอร์ มีข้อดี ข้อเสียยังไง? คุ้มค่าหรือไม่ในการติดตั้ง ตาม KACHA ไปดูกันเลย!

สปริงเกอร์ คืออะไร?

สปริงเกอร์ คืออะไร

สปริงเกอร์ คือ ระบบรดน้ำที่ทำงานด้วยการบีบอัดน้ำ แล้วฉีดให้แตกเป็นสายกระจายเป็นวงกว้าง หมุนเหวี่ยงไปบริเวณพื้นที่โดยรอบ ส่วนมากนำไปใช้ประโยชน์ในด้านการเกษตร เช่น รดน้ำพืชผักผลไม้ หรือฉีดเพื่อลดอุณหภูมิของพื้นที่ให้เย็นลง สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายชนิด ขึ้นอยู่กับปริมาณของน้ำ พื้นที่ และรัศมีใกล้ไกลของบริเวณเพาะปลูก

ประเภทและการใช้งาน

ประเภท สปริงเกอร์

แบ่งตามจ่ายน้ำ

  1. หัวมินิสปริงเกอร์ (Mini Sprinkler) หัวชนิดนี้จะจ่ายน้ำในอัตราที่ไม่สูงมากนัก (ไม่เกิน 500 ลิตร/ชม.) มีให้เลือกทั้งแบบน้ำหยด และแบบหัวเหวี่ยงที่กระจายน้ำเป็นละอองขนาดเล็ก โดยสามารถจ่ายน้ำได้ในรัศมี 0.5 – 4 เมตร เหมาะสำหรับรดน้ำในพื้นที่แคบ ๆ หรือไม้พุ่ม
  2.  หัวสเปรย์ (Spray) หรือ หัวพ่นฝอย มีลักษณะการจ่ายน้ำเป็นรูปพัดหรือครึ่งวงกลม รัศมีการจ่ายน้ำไม่เกิน 1-2.5 เมตร เหมาะสำหรับพื้นที่ที่ไม่กว้างมากนัก เช่น แปลงผัก พุ่มไม้เล็กในบ้าน ไม้ผล หรือไม้ยืนต้นที่ทรงพุ่มไม่ใหญ่ ฯลฯ
  3. หัวโรเตเตอร์ (Rotor) ลักษณะการจ่ายน้ำของหัวฉีดประเภทนี้ คือ ฉีดออกจากหัวจ่ายและหมุนรอบตัวหรือองศาที่กำหนดไว้ ในรัศมี 6 -20 เมตร เหมาะกับพื้นที่ขนาดใหญ่ เช่น สนามหญ้า สวนสาธารณะ เป็นต้น

แบ่งตามการติดตั้ง

  1. หัวฝังอยู่ใต้ดิน (Underground) หรือ หัวป๊อบอัพ (Pop Up) การติดตั้งรูปแบบนี้ ตัวสปริงเกอร์จะถูกฝังอยู่ใต้ดินและจะโผล่ออกมาเฉพาะเวลาทำงาน เหมาะสำหรับงานจัดสวน สนามฟุตบอล สนามกอล์ฟ หรือสนามที่จัดกรรมต่าง ๆ เป็นประจำ ติดตั้งด้วยการซ่อนไว้บริเวณสนามหญ้า หรือพื้นที่โล่ง เพื่อความแนบเนียน สวยงาม และไม่กีดขวางพื้นที่
  2. หัวอยู่เหนือดิน (Aboveground) วิธีนี้จะติดตั้งง่ายกว่าแบบแรก คือ สามารถสวมต่อกับท่อพีอี (PE) หรือ พีวีซี (PVC) โดยตรงได้เลย นิยมใช้ในการเกษตร เหมาะกับการรดน้ำพืชผัก

สิ่งที่ควรรู้ก่อนติดตั้ง

ติดตั้ง สปริงเกอร์

องค์ประกอบหลักของสปริงเกอร์

  • หัวจ่ายน้ำ (Sprinkler Head) เลือกให้เหมาะสมกับลักษณะของพื้นที่ ชนิดของดิน และพืช
  • คอนโทรลเลอร์ (Controller) อุปกรณ์ควบคุมวาล์วไฟฟ้าให้เปิด-ปิดตามเวลาที่กำหนด
  • วาล์วไฟฟ้า (Solenoid Valve) ใช้ไฟฟ้าความต่างศักย์ต่ำ ประมาณ 24 โวลต์ ในการสั่งการให้วาล์วเปิดหรือปิด
  • เครื่องสูบน้ำ (Pump) ใช้กับระบบสปริงเกอร์ที่ใช้แรงดันน้ำค่อนข้างสูง ควรเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งาน

วิธีวางแผนการติดตั้ง

  • ศึกษาธรรมชาติของพืชผักว่าต้องการปริมาณน้ำเยอะเพียงใด
  • คำนวณพื้นที่ที่จะติดตั้งสปริงเกอร์ให้แม่นยำที่สุด
  • เลือกประเภทหรือหัวสปริงให้เหมาะกับพื้นที่
  • เลือกปั๊มที่มีประสิทธิภาพให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำและระบบสปริงเกอร์
  • เลือกขนาดของท่อลำเลียงน้ำ ถ้าพื้นที่กว้างมากควรใช้ท่อที่ทนแรงดันน้ำสูง

ข้อดีและข้อเสียของ สปริงเกอร์

วิธีติดตั้ง สปริงเกอร์

ข้อดี

  • ตั้งเวลารดน้ำได้ สะดวกสำหรับคนที่ไม่มีเวลา
  • ช่วยประหยัดน้ำ เนื่องจากควบคุมเวลาและปริมาณน้ำได้
  • รดน้ำได้ทั่วถึง ใช้ได้ทั้งพื้นที่ที่มีพืชผักเบาบางและหนาแน่น
  • กระจายน้ำได้อย่างรวดเร็ว ช่วยประหยัดเวลาและแรงกาย
  • เพิ่มความชื้นในอากาศได้ดี ช่วยให้อุณหภูมิเย็นขึ้น
  • มีหัวฉีดหลายประเภท เลือกให้เหมาะกับการใช้งานง่าย

ข้อเสีย

  • งบประมาณในการติดตั้งสูงกว่าระบบรดน้ำด้วยสายยางแบบปกติ
  • อาศัยแรงดันน้ำในการใช้งาน อาจต้องมีการติดตั้งปั๊มน้ำ เพื่อสร้างแรงดันให้ระบบสปริงเกอร์
  • ถ้าติดตั้งสปริงเกอร์แบบหัวอยู่เหนือพื้นดิน จะกีดขวางและรบกวนพื้นที่ในการทำสวน
  • มีระบบการติดตั้ง การกำหนดพื้นที่ รัศมี และการเคลื่อนย้ายที่ยุ่งยาก

หวังว่าทุกคนจะได้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสปริงเกอร์มากขึ้น จนสามารถนำไปประยุกต์หรือปรับใช้ได้อย่างเหมาะสม หากท่านใดสนใจที่จะติดตั้ง อย่าลืมศึกษาข้อมูลให้ละเอียดและปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อน เพื่อความมั่นใจและความปลอดภัยในการใช้งานด้วยน้าา..

ขอบคุณข้อมูลจาก : สปริงเกลอร์ไทยแลนด์

KACHA ผู้จัดจำหน่าย เครื่องมือช่างราคาถูก และอุปกรณ์เสริม สำหรับช่างมืออาชีพ ราคาที่คุณจับต้องได้ รับรองสินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจอย่างแน่นอน!!