
สินค้าคงคลัง คืออะไร? มีกี่ประเภท? มีวิธีบริหารจัดการอย่างไร?
สินค้าคงคลัง (Inventory) สินค้าที่มีความสำคัญต่อความสมดุลทางการตลาด หากจัดการดีก็จะทำให้ธุรกิจนั้นเป็นไปอย่างราบรื่น
หากจัดการแย่ก็จะส่งผลให้ธุรกิจนั้นหยุดชะงักจนเกิดความเสียหายได้ ผู้ผลิตจึงต้องมีวิธีบริหารจัดการให้รอบคอบเพื่อให้ดำเนินธุรกิจต่อไปได้
สำหรับผู้ประกอบการมือใหม่ที่ยังไม่คุ้นเคยหรือกำลังสงสัยว่าสินค้าประเภทนี้คืออะไร? ส่งผลกระทบต่อธุรกิจอย่างไร?
KACHA จะพาไปทำความรู้จักสินค้าประเภทนี้ให้มากขึ้นกันว่าคืออะไรกันแน่?
รู้จัก สินค้าคงคลัง คืออะไร?

สินค้าคงคลัง (Inventory) คือ สินค้าหรือวัตถุดิบที่ถูกเก็บไว้เพื่อจัดจําหน่ายในอนาคต หรือเป็นสินค้าคงเหลือในโกดัง คลังสินค้า เพื่อการบริหาร การผลิต รวมถึงการเปลี่ยนจากสภาพหนึ่งไปเป็นสภาพหนึ่ง เพื่อเข้าสู่กระบวนการถัด ๆ ไป ส่วนใหญ่มักเป็นสินค้าที่มีมูลค่าในกระบวนการผลิต ดังนั้นแต่ละธุรกิจจำเป็นต้องมีการบริหารจัดการสินค้าคงคลังให้มีความเหมาะสม ไม่เยอะหรือไม่น้อยไป เพราะถ้าสินค้าคงคลังมีจำนวนมากเกินไปก็จะส่งผลให้มีต้นทุนการจัดเก็บและดูแลรักษาสินค้าสูง แต่หากสินค้าคงคลังมีน้อยเกินไปก็อาจทำให้ไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค ทำให้ธุรกิจเสียลูกค้าไปโดยเสียเปล่า แต่หากเป็นวัตถุดิบก็จะส่งผลให้ขั้นตอนการผลิตหยุดชะงัก รบกวนสมดุลตลาด สิ่งเหล่านี้ล้วนทำให้เกิดความเสียหายในระยะยาว ธุรกิจจึงต้องมีการวางแผน จัดทำรายงานสินค้า หรือวิธีต่าง ๆ ที่ช่วยรักษาความเหมาะสมของปริมาณสินค้าคงคลัง เพื่อให้ธุรกิจเป็นไปอย่างราบรื่น
ประเภทของ สินค้าคงคลัง

สินค้าคงคลัง มีหลายประเภท แบ่งได้เป็น 4 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้
1. สินค้าคงคลังประเภทวัตถุดิบ (Raw Materials: RM)
วัตถุดิบ คือ สิ่งที่ผู้ผลิตนำมาใช้ในกระบวนการผลิตหรือแปรรูปให้เป็นสินค้าสำเร็จรูป อาจจะอยู่ในรูปของวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนของสินค้า เพื่อนำไปแปรสภาพให้เป็นสินค้าสำเร็จรูป รวมไปถึงสิ่งของที่บริษัทเลือกซื้อมาจากแหล่งอื่นด้วยเช่นกัน
2. สินค้าคงคลังประเภทงานที่อยู่ในขั้นตอนผลิต (Work-in-process: WIP)
สินค้าคงคลังประเภทนี้เป็นวัตถุดิบหรือสินค้าที่ยังอยู่ในขั้นตอนผลิต แปรรูป ที่อยู่ในลักษณะที่ไม่สมบูรณ์ รอการแปรรูปอีกรอบเพื่อให้สินค้าพร้อมจำหน่าย หรือสินค้าที่ค้างอยู่ระหว่างกระบวนการผลิต จนกว่าสินค้าจะผลิตเสร็จพร้อมขาย
3. สินค้าคลังประเภทสินค้าสำเร็จรูป (Finish Good: FG)
สินค้าสำเร็จรูปเป็นสินค้าผ่านกระบวนการผลิตทุกขั้นตอนอย่างสมบูรณ์ ผ่านการเช็ก ตรวจสอบมาตรฐานของบริษัทแล้ว เรียกได้ว่าเป็นสินค้าพร้อมจัดจำหน่าย ส่งมอบให้ลูกค้า เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ตามหน้าที่ของสินค้า
4. สินค้าคลังประเภทวัสดุ/อุปกรณ์สำหรับซ่อมบำรุง
วัสดุและอุปกรณ์สำหรับซ่อมบำรุง เป็นสิ่งที่ไม่ได้ใช้ในกระบวนการสร้างหรือผลิตโดยตรง แต่จะถูกใช้ในการซ่อมแซมการผลิตสินค้า เช่น น้ำมันหล่อลื่นที่ถูกใช้งานกับเครื่องจักรในโรงงาน หรืออุปกรณ์ที่ใช้ในคลังสินค้า เป็นต้น
ประโยชน์ของสินค้าคงคลัง

ประโยชน์ของสินค้าคงคลัง ช่วยสำรองวัตถุดิบ ชิ้นส่วนในการผลิต และผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป สำหรับผลิตและจัดจำหน่ายให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค และช่วยให้กระบวนการผลิตทั้งหมดไม่หยุดชะงัก ช่วยรักษาฐานลูกค้า สินค้าคงคลังจึงมีความสำคัญมากในการทำธุรกิจ เพราะเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยสร้างความสมดุลให้กับห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) นอกจากนี้ยังเป็นสิ่งที่นำไปใช้คำนวณต้นทุนสินค้าคงคลังให้อยู่ระดับที่ต่ำสุดแบบไม่กระทบต่อการบริหารงานอีกด้วย การจัดการสินค้าคงคลังจึงเป็นสิ่งที่เจ้าของของธุรกิจไม่ควรมองข้ามเลยแม้แต่น้อย
ระบบการควบคุมสินค้าคงคลัง

ระบบควบคุมสินค้าคงคลัง มีหลายแบบให้เลือก ดังนี้
1. ระบบ ABC (Activity Based Costing) แบ่งออกตามมูลค่า (Value) ของสินค้าชนิดนั้น มี 3 ประเภทย่อย คือ
-
- สินค้าประเภท A (เข้มงวดมาก) มูลค่ากว่า 80 % ของราคาสินค้าคงคลังทั้งหมด ต้องใช้ระบบสินค้าคงคลังอย่างต่อเนื่องและต้องเก็บไว้ในสถานที่ที่ปลอดภัย ส่วนการจัดซื้อควรหาผู้ขายไว้หลาย ๆ ราย เพื่อลดความเสี่ยงเรื่องขาดแคลนสินค้า รวมถึงสร้างทางเลือกให้สามารถเจรจาต่อรองราคาได้
- สินค้าประเภท B (เข้มงวดปานกลาง) มูลค่าประมาณ 20% ของราคาสินค้าคงคลัง ใช้วิธีเหมือนสินค้า A แต่มีความถี่ในการตรวจนับจำน้อยกว่า
- สินค้าประเภท C (เข้มงวดน้อย) มูลค่าไม่เกิน 10% ของราคาสินค้าคงคลังทั้งหมด สินค้าคงคลังประเภทนี้จะวางให้ใช้ได้ตามสะดวก เนื่องจากเป็นของราคาถูกและมีปริมาณมาก
ข้อดี : บอกความเคลื่อนไหวของสินค้าในแต่ละกลุ่มได้ชัดเจน ช่วยให้การกระจายการซื้อสินค้าไปยัง supplier หลาย ๆ รายตามสายโซ่อุปทาน
2. ระบบสินค้าคงคลังอย่างต่อเนื่อง (Continuous Inventory System Perpetual System)
ใช้วิธีลงบัญชีทุกครั้งที่มีการรับและจ่ายของ สินค้าคงคลัง ทำให้บัญชีแสดงยอดคงเหลือแบบเรียลไทม์ของสินค้าคงคลังอยู่เสมอ
ข้อดี : มีสินค้าคงคลังเผื่อขาดมือน้อยกว่า นอกจากนี้ยังสามารถตรวจสินค้าแต่ละตัวอย่างอิสระแบบเจาะจงเข้มงวดเฉพาะรายการได้
3. ระบบสินค้าคงคลังเมื่อสิ้นงวด (Periodic Inventory System)
ใช้วิธีการลงบัญชีเฉพาะในช่วงเวลาที่กำหนดไว้เท่านั้น เช่น รายสัปดาห์ รายเดือน รายปี ฯลฯ เหมาะกับสินค้าที่มีการสั่งซื้อและเบิกใช้เป็นช่วงเวลาที่แน่นอน ส่วนมากมักจะมีระดับสินค้าคงคลังเหลือสูงกว่าระบบสินค้าคงคลังอย่างต่อเนื่อง เพราะมีการเผื่อสำรองการขาดมือสำหรับเหตุการณ์ไม่คาดคิดไว้ก่อนล่วงหน้า และสามารถปรับปริมาณการสั่งซื้อใหม่ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงไปด้วย
ข้อดี : ใช้เวลาน้อยกว่าและเสียค่าใช้จ่ายในการควบคุมน้อยกว่า ดีกับการสั่งซื้อจากผู้ขายรายเดียวกันหลายชนิด ช่วยลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับเอกสาร ลดค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อ และสะดวกต่อการตรวจนับยิ่ง นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายในการเก็บข้อมูลสินค้าคงคลังต่ำกว่า
เทคนิคจัดการ สินค้าคงคลัง

- แยกประเภทด้วยรหัสสินค้า (SKU)
วิธีนี้จะช่วยให้การจัดเก็บ การนับสต็อก และการขนส่งมีความสะดวกรวดเร็วมากขึ้น (มาก) สามารถทำได้โดยการติดป้ายหรือบาร์โค้ด (Barcode) เพื่อแยกประเภทสินค้าด้วยรหัสสินค้าให้ตรงกับเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ รวมถึงกำหนด Stock Keeping Unit (SKU) ให้สินค้าแต่ละประเภทมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน
- สังเกตระยะเวลาจัดหาสินค้าแต่ละชนิด
ผู้ผลิตต้องรู้ว่าสินค้าแต่ละชนิดนั้นมีระยะการผลิตหรือระยะการส่งเท่าไหร่ เพื่อวางแผนสำหรับเพิ่ม- ลดสต็อกสินค้า หรือจัดการ สินค้าคงคลัง ในระบบหลังบ้าน เพื่อให้ทันต่อการผลิตและความต้องการของลูกค้า
- เตรียมพร้อมล่วงหน้าสำหรับอีเวนต์และฤดูกาล
ในแต่ละช่วงของปีจะมีเทศกาล หรือ อีเวนต์ต่าง ๆ ที่เป็นช่วงเวลาทองคำ เช่น หน้าฝน จะขายร่มได้มากกว่าฤดูอื่น หรือวันวาเลนไทน์จะขายดอกกุหลาบหรือช็อกโกแลตได้ดีเป็นพิเศษ ดังนั้นผู้ผลิตจึงต้องสังเกตพฤติกรรมของลูกค้า เพื่อเตรียมสต็อกสินค้าให้เพียงพอ
- ตรวจสอบโกดัง / คลังสินค้าเป็นประจำ
ควรตรวจสอบคลังสินค้าประจำ อาจจะแบ่งช่วงตรวจเป็นรายวัน รายสัปดาห์ หรือรายเดือน เพื่ออัปเดตจำนวนสินค้าที่ขายได้และสินค้าคงเหลือ เพื่อคำนวณรายได้ กำไร และวางแผนการสั่งซื้อสินค้าในล็อตใหม่ต่อไป
- จัดระเบียบให้กับสถานที่เก็บสินค้า
การจัดระเบียบภายในโกดัง คลังสินค้า ที่ใช้สต็อกสินค้ามีความจำเป็นมาก เพราะช่วยให้สินค้าอยู่เป็นหมวดหมู่ ทำได้โดยการแบ่งสถานที่เก็บสินค้าเป็นสัดส่วนชัดเจนสำหรับสินค้าแต่ละประเภท และทำรายการสินค้า โดยระบุตำแหน่ง เลขที่ชั้นวางสินค้า พร้อมทำป้ายกำกับชั้นวางสินค้าทุกชั้น และมีอัปเดตจำนวณสินค้าที่นำเข้า-ออกตลอดเวลา เพื่อพัฒนาระบบคงคลังให้ตอบสนองการใช้มากที่สุด เช่น การเพิ่มชั้นวางสินค้า การขยายโกดัง หรือต่อเติมองค์ประกอบของโกดังให้แบ่งเป็นสัดส่วนมากขึ้น
จะเห็นว่าการจัดการ สินค้าคงคลัง นั้นมีรายละเอียดหลายอย่าง โดยเฉพาะในปัจจุบันที่มีเทคโนโลยีเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวก ส่งผลให้มีระบบต่าง ๆ เพิ่มขึ้นจำนวนมาก ผู้ประกอบการจึงต้องศึกษาและอัปเดตความรู้ใหม่ ๆ อยู่เสมอ เพื่อประสิทธิภาพในการบริหารระบบคลังสินค้าที่ดีที่สุด คุ้มค่าที่สุด และน่าลงทุนที่สุด
บทความที่น่าสนใจ
- FIFO คือ? เหมาะกับคลังสินค้าแบบไหน? สำคัญอย่างไรในอุตสาหกรรม?
- รู้จักกับ คลังสินค้ามีกี่ประเภท แบ่งตามลักษณะการใช้งานได้อย่างไรบ้าง?
- แชร์เคล็ดลับ วิธีนับสต๊อกสินค้า ในโกดัง คลังสินค้าให้มีประสิทธิภาพ
- ระบบ WMS คือ อะไร? มีประโยชน์อย่างไรต่อธุรกิจคลังสินค้า
- TPM คือ อะไร? มีประโยชน์อย่างไรต่อธุรกิจอุตสาหกรรม
ขอบคุณข้อมูลจาก : HOCCO
KACHA ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องมือช่าง อุปกรณ์ก่อสร้าง รับสร้างโกดังสำเร็จรูป ออกแบบโดยวิศวกร ช่างผู้เชี่ยวชาญ ดูแลให้คำปรึกษา พร้อมบริการที่ประทับใจ
เพื่อไม่ให้พลาดข่าวสารสำคัญ และโปรโมชั่นพิเศษมากมาย สามารถติดตามเราผ่านช่องทางต่างๆได้หลากหลายช่องทางตามด้านล่างนี้เลย
บทความที่เกี่ยวข้อง
พลาสติก PE คืออะไร? รู้จักประเภท คุณสมบัติ และการใช้งานที่ควรรู้
25 กรกฎาคม 2025
พลาสติก PP คืออะไร? รวมคุณสมบัติและการใช้งาน
14 กรกฎาคม 2025
มือใหม่ต้องรู้! หัวไขควงแบบต่างๆ มีอะไรบ้าง ใช้ต่างกันยังไง
30 มิถุนายน 2025
ไขข้อสงสัย! น็อตคืออะไร น็อตมีกี่ประเภท
30 มิถุนายน 2025
10 อุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม ที่ควรมีไว้ติดบ้านก่อนน้ำจะมา
9 มิถุนายน 2025
แม่แรงไฮดรอลิค คืออะไร มีแบบไหนบ้าง?
9 มิถุนายน 2025
บทความที่น่าสนใจ
พลาสติก PE คืออะไร? รู้จักประเภท คุณสมบัติ และการใช้งานที่ควรรู้
25 กรกฎาคม 2025
พลาสติก PP คืออะไร? รวมคุณสมบัติและการใช้งาน
14 กรกฎาคม 2025
มือใหม่ต้องรู้! หัวไขควงแบบต่างๆ มีอะไรบ้าง ใช้ต่างกันยังไง
30 มิถุนายน 2025
ไขข้อสงสัย! น็อตคืออะไร น็อตมีกี่ประเภท
30 มิถุนายน 2025
10 อุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม ที่ควรมีไว้ติดบ้านก่อนน้ำจะมา
9 มิถุนายน 2025
แม่แรงไฮดรอลิค คืออะไร มีแบบไหนบ้าง?
9 มิถุนายน 2025