อัปเดต ใบ รง 4 ต้องมีเอกสารอะไรบ้าง ต้องต่ออายุไหม 2023
รง 4 คือ ขอ ใบ รง 4 ต้องมีเอกสารอะไรบ้าง ต้องต่ออายุไหม Kacha มีคำตอบ ใครเป็นผู้ประกอบการ เจ้าของโรงงาน
แล้วอยากรู้เกี่ยวกับการขอใบ ร.ง. 4 สำหรับประกอบกิจการโรงงานแล้วละก็ ห้ามพลาด !
รง 4 คือ
ใบ รง 4 คือ ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน ที่ผู้ประกอบการ เจ้าของ โรงงานจำพวกที่ 3 คือ โรงงานที่ใช้เครื่องจักรเกิน 75 แรงม้าขึ้นไป หรือ ใช้คนงานเกิน 75 คนขึ้นไป ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหามลพิษ หรือ เหตุเดือดร้อน รำคาญ หรือ เหตุอันตรายต้องควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด จะต้องยื่นขออนุญาตต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม หรือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ ควบคู่กับ ใบ ร.ง. 3 ถึงจะตั้งโรงงานได้ กล่าวง่าย ๆ คือ เมื่อโรงงานจำพวกที่ 3 ได้ ใบ ร.ง. 3 แล้ว จะต้องขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน คือ ใบ ร.ง. 4 ด้วย ซึ่งถ้าหากผู้ใดประกอบกิจการโรงงานโดยไม่ได้รับใบอนุญาต หรือ ตั้งโรงงานโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ต้องระวางโทษจำคุก 2 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
โรงงานที่จะต้องขอใบ ร.ง. 4 มีอะไรบ้าง
เนื่องจากโรงงานจำพวกที่ 3 เป็นโรงงานที่ประกอบกิจการ ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหามลพิษ หรือ เหตุเดือดร้อน รำคาญ หรือ เหตุอันตรายต้องควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด ทำให้นอกจากจะต้องได้ ใบ ร.ง. 3 แล้ว ยังจะต้อง ใบ รง 4 ด้วย โดยตัวอย่างโรงงานที่จะต้องขอใบ รง 4 ได้แก่
- โรงงานอุตสาหกรรมยานยนต์โรงงานในกลุ่มนี้ผลิตรถยนต์และส่วนประกอบที่เกี่ยวข้อง ซึ่งนอกจากจะใช้กระบวนการที่ซับซ้อนและใช้เทคโนโลยีสูง จะมีเครื่องจักรและเครื่องมือที่ใช้ในการประกอบรถยนต์ทั้งในส่วนของการผลิตและการทดสอบคุณภาพด้วย
- โรงงานผลิตเทคโนโลยีสารสนเทศโรงงานที่ผลิตเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น โรงงานผลิตคอมพิวเตอร์ โรงงานผลิตโทรศัพท์มือถือ หรือโรงงานผลิตอุปกรณ์เกมคอนโซล
- โรงงานผลิตอุปกรณ์การแพทย์โรงงานที่ผลิตอุปกรณ์หรือเครื่องมือทางการแพทย์ เช่น โรงงานผลิตเครื่องมือการทำหัตถการ โรงงานผลิตอุปกรณ์การตรวจสอบสุขภาพ หรือ โรงงานผลิตเครื่องมือช่วยเหลือการกำหนดยา
- โรงงานผลิตพลังงานโรงงานที่ผลิตพลังงานหรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน เช่น โรงงานผลิตโซลาร์เซลล์ โรงงานผลิตเครื่องกำเนิดไฟฟ้า หรือ โรงงานผลิตอุปกรณ์การอนุบาลพลังงาน
ขอใบ รง 4 ต้องมีเอกสารอะไรบ้าง
ในการขอ ใบ รง 4 แนะนำให้ติดต่อ กรมโรงงานอุตสาหกรรม ตามแต่ละเขตจังหวัดที่โรงงานของท่านตั้งอยู่ เพื่อทำการข้อคำแนะนำเพิ่มเติม ด้านเอกสาร และ วิธีการดำเนินการขอ เพื่อให้การจัดเตรียมเอกสาร เป็นไปอย่างครบถ้วนมากที่สุด โดยเอกสารทุกอย่าง ควรเตรียมไว้อย่างน้อย 3 ชุด ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่อาจมีเรียกขอเอกสารประกอบเพิ่มเติม แล้วแต่ประเภทของโรงงานด้วย เช่น รายงานประเมินความเสี่ยง เป็นต้น ดังนั้น จึงควรเตรียมใจ และ เตรียมความพร้อมในส่วนนี้เอาไว้ด้วย
รายการเอกสาร หลักฐานประกอบ สำหรับขออนุญาตประกอบกิจการโรงงาน
- คำขออนุญาตประกอบกิจการโรงงาน/ขยายโรงงาน ร.ง. 3 (ฉบับจริง 2 ฉบับ สำเนา 0 ฉบับ)
- บัตรประจำตัวประชาของผู้มายื่นคำขอฯ (ฉบับจริง 1 ฉบับ สำเนา 0 ฉบับ)
- หนังสือรับรองนิติบุคคล (กรณียื่นเอกสารในนามนิติบุคคล) คัดสำเนาไม่เกิน 3 เดือน
- หนังสือมอบอำนาจให้กระทำการแทนผู้ขออนุญาต (ฉบับจริง 1 ฉบับ 0 ฉบับ)
- เอกสารแสดงการมีสิทธิ์ใช้ที่ดิน (โฉนดที่ดิน นส.4 นส.3 นส.3ก)
- แผนผังรวมโฉนด จากสำนักงานที่ดินในท้องที่ที่จะตั้งโรงงาน หรือ ที่ผู้ยื่นคำขอจัดทำด้วยตัวเอง (ฉบับจริง 1 ฉบับ สำเนา 0 ฉบับ)
- เอกสารรับรองอาคารโรงงาน (ฉบับจริง 2 ฉบับ สำเนา 0 ฉบับ)
- แผนที่แสดงบริเวณที่ตั้งโรงงาน สิ่งปลูกสร้างในพื้นที่ใกล้เคียง และ สิ่งปลูกสร้างภายในโรงงาน
- แผนผังแสดงการติดตั้งเครื่องจักร
- แผนภูมิแสดงรายละเอียดขั้นตอนการผลิต ปริมาณและจุดที่เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม ได้แก่ น้ำเสีย อากาศเสีย และ มลพิษอื่น ๆ (ฉบับจริง 2 ฉบับ สำเนา 0 ฉบับ)
- รายการคำนวณการออกแบบ คุณลักษณะของมลพิษที่ใช้ในการออกแบบ ชนิดของระบบบำบัด วิธีการป้องกันเหตุเดือดร้อนรำคาญ ความเสียหายอันตราย และ การควบคุมการปล่อยของเสีย น้ำเสีย อากาศเสีย และ มลพิษอื่น ๆ (ฉบับจริง 2 ฉบับ สำเนา 0 ฉบับ)
- เอกสารแสดงคำอธิบายถึงรายละเอียดชนิด วิธีการกำจัด จัดเก็บและป้องกันเหตุเดือดร้อนรำคาญ ความเสียหายอันตราย และ การควบคุมกากอุตสาหกรรม
- รายการคำนวณการออกแบบ คุณลักษณะของมลพิษที่ใช้ในการออกแบบ ชนิดของระบบบำบัด วิธีการป้องกันเหตุเดือดร้อนรำคาญ และ ความเสียหายอันตราย จากมลพิษทางเสียง แสง ความร้อน ความสั่นสะเทือน (ฉบับจริง 2 ฉบับ สำเนา 0 ฉบับ)
- รายละเอียดเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัยในโรงงาน (ฉบับจริง 2 ฉบับ สำเนา 0 ฉบับ)
- รายงานการวิเคราะห์ความเสี่ยงจากอันตรายที่เกิดจากการประกอบกิจการโรงงาน (ฉบับจริง 2 ฉบับ สำเนา 0 ฉบับ)
- รายงงานการศึกษาและมาตรการป้องกันแก้ไข ผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย (ESA) (ฉบับจริง 1 ฉบับ สำเนา 3 ฉบับ)
- เอกสารแสดงผลการพิจารณาเห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA/EHIA) (ฉบับจริง 1 ฉบับ สำเนา 0 ฉบับ)
- รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA/EHIA) ฉบับล่าสุด ที่ได้รับความเห็นชอบ (ฉบับจริง 0ฉบับ สำเนา 1 ฉบับ)
ทั้งนี้ สามารถยื่นขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง. 4) แบบออนไลน์ ได้ที่ ระบบยื่นคำขอ รง 4 แบบดิจิตอล
ขอ รง 4 ใช้เวลากี่วัน
ขั้นตอนการขอใบ ร.ง. 4 มีหลัก ๆ 3 ขั้นตอน คือ การตรวจสอบเอกสาร ใช้เวลา 1 วันทำการ จากนั้น จึงเข้าสู่การพิจารณาความถูกต้องเชิงวิศวกรรมและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะใช้เวลา 12 วันทำการ และเข้าสู่ขั้นตอนสุดท้าย คือ การลงนาม ใช้เวลา 2 วันทำการ เบ็ดเสร็จ จะใช้เวลาทั้งหมด 15 วันทำการ หรือ อาจนานถึง 30 วันทำการก็ได้ โดยหากเกิดปัญหาไม่ได้รับการอนุมัติจากเจ้าหน้าที่ ผู้ประกอบการมีเวลา 30 วันในการยื่นเรื่องอุทธรณ์ให้พิจารณาใหม่
ใบ รง 4 ต้องต่ออายุไหม
เดิม พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 กำหนดให้ ใบ รง 4 มีอายุ 5 ปี เมื่อครบกำหนด เจ้าของโรงงานจะต้องไปต่ออายุทุก ๆ 5 ปี และ เสียค่าธรรมเนียม 1,500 – 60,000 บาทด้วย ซึ่งนอกจากจะทำให้ผู้ประกอบการต้องแบกรับต้นทุน และ เสียเวลาในการจัดเตรียมเอกสารสำหรับขอใบอนุญาตแล้ว ยังเป็นสาเหตุให้เกิดการเรียกรับสินบน จนเป็นปัญหาคอร์รัปชั่นอีกด้วย
เมื่อมีการแก้ไขและเพิ่มเติม พระราชบัญญัติโรงงาน (ฉบับที่ 2) และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 ออกมา เพื่อให้กฎหมายมีความสอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบัน ลดระยะเวลาการทำเรื่องขอใบอนุญาตแบบเดิม และ เพิ่มความโปร่งใสมากขึ้น จึงได้มีการยกเลิกอายุใบอนุญาต และ การต่ออายุใบอนุญาต รง 4 เป็นการถาวร ทำให้ ใบ ร.ง. 4 ที่ออกตามพรบ.ฉบับนี้ จะไม่มีวันหมดอายุ และ ไม่ต้องต่ออายุใบอนุญาตอีกต่อไป เพียงแค่ชำระค่าธรรมเนียนการประกอบกิจการโรงงาน และ ต้องรับรองข้อมูลการประกอบกิจการตนเองเป็นประจำทุกปี เพียงแค่นี้ก็สามารถทำกิจการต่อไปได้แล้ว เท่ากับว่า จะช่วยให้ผู้ประกอบการขอใบอนุญาตเพียงครั้งเดียวแล้ว ก็จะใช้ได้ตลอดไป ไม่มีวันหมดอายุ จนกว่าจะเลิกกิจการเลยทีเดียว
เพราะ พรบ โรงงาน มีการอัปเดตใหม่ ซึ่งจะช่วยให้ ใบ ร.ง. 4 มีอายุยาวนานถาวร และ ไม่ต้องขออนุญาตอีกต่อไป ดังนั้น หากใครคิดจะสร้างโรงงาน ตั้งโรงงานแล้วละก็ อย่าลืมเตรียมเอกสารให้ครบถ้วน และ ศึกษากฎข้อบังคับต่าง ๆ ให้ดี จะได้สามารถตั้งโรงงานได้อย่างราบรื่น และ ประกอบกิจการได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายได้ในท้ายที่สุด
สำหรับใครที่อยากสร้างโรงงาน ไว้เก็บสินค้า หรือ เพื่อให้ผู้ประกอบการธุรกิจเช่าแล้วละก็ ปรึกษา KACHA ได้เลย เพราะเรามีบริการ รับสร้างโกดัง ครบวงจร ราคาโรงงาน ถูกที่สุดในไทย พร้อมช่วยคุณสร้างโกดัง คลังสินค้าทุกรูปแบบได้ตามที่ต้องการ ออกแบบโดยทีมวิศวกรมืออาชีพ มีรับประกันยาวนานถึง 10 ปี หากใครสนใจ คลิกดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.kacha.co.th/รับสร้างโกดัง-โกดังสำเร/ หรือ สอบถามเพิ่มเติมทาง โทรศัพท์ Line ของเราได้เลย
บทความที่น่าสนใจ