หลาย ๆ คน คงไม่ถนัดกับงานช่าง กันสักเท่าไร ยิ่งเรื่องการเจาะ การตอก คงเป็นเรื่องที่น่ากังวล สำหรับบางคนที่ไม่มีความรู้ด้านงานช่างอย่างแน่นอน โดยเฉพาะคุณแม่บ้านทั้งหลาย บทความนี้ KACHA จะพาไปดูเคล็ดลับ เจาะผนังปูน วิธีเจาะผนังปูน ไม่ให้แตกร้าว กับขั้นตอนที่สามารถทำได้เอง ไม่ต้องใช้เครื่องมือช่างให้วุ่นวาย แม่บ้านสามารถทำได้อีกด้วย จะทำได้อย่างไรบ้างนั้น ไปดูกัน test test
ผนังปูน มีแบบไหนบ้าง?
ประเภทของผนังปูน ผนังปูนแต่ละประเภทจะมีลักษณะข้อดี-ข้อเสีย ที่แตกต่างกันออกไป อาจจะมีทั้งแบบที่แข็งกว่า หรือบางกว่า หลัก ๆ ผนังปูนมีทั้งหมด 2 ประเภท ได้แก่
1. ผนังปูนเปลือย
เป็นการหล่อปูนใส่ไม้ หรือเหล็กที่ทำขึ้นมา เมื่อใส่ปูนเข้าไปเรียบร้อยแล้ว จากนั้น จะรอให้แห้ง และถอดแบบออกมา อาจมีทิ้งร่องรอยเอาไว้กับผนังปูนบ้าง แต่นั่นก็เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของผนังปูนเปลือย ที่ทำให้ได้รับความนิยม โชว์ความดิบของผนังปูน ที่ไม่ต้องตกแต่งให้สมบูรณ์แบบ และเรียบเนียนมาก
ผนังปูนเปลือย เป็นแบบที่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ช่างทั่วไป จึงมักลดต้นทุนด้วยการก่ออิฐ และฉาบปูนธรรมดา แล้วค่อยมาตกแต่งผนังปูนตามแบบที่ต้องการอีกที
ทั้งนี้ การใช้วิธีดังกล่าว ผนังปูน จะออกมาสวยหรือไม่ ขึ้นอยู่กับเทคนิค และฝีมือของช่างว่า จะสามารถโชว์ความสวยงามแบบดิบ ๆ ของเนื้อผนังปูนออกมาได้มากน้อยแค่ไหนนั่นเอง
อ่านบทความ: เรื่องน่ารู้ ผนังปูนเปลือย ผนังลอฟท์ เป็นแบบไหนกัน?
2. ผนังปูนขัดมัน
ผนังปูนขัดมัน มีลักษณะคล้ายคลึงกับผนังปูนเปลือย เพียงแต่เพิ่มขั้นตอนการขัดผนังปูนจนมีผิวสัมผัสที่มันเท่านั้นเอง เป็นการฉาบปูนชั้นบน ในขณะที่ช่วงล่างเริ่มจะแห้งหมาด ๆ จากนั้น ใช้เกรียงฉาบ และขัดจนเรียบเนียนเสมอกัน โดยใช้ผงปูนซีเมนต์โรยจบ เป็นขั้นตอนสุดท้าย หลังจากนั้น จึงพรมน้ำ และขัดบนผนังปูนจนเกิดความมัน
ช่างที่ทำผนังปูนประเภทนี้ จะต้องอาศัยความชำนาญ และเชี่ยวชาญเป็นอย่างมาก ไม่อย่างนั้นนั้น ผนังจะไม่เรียบเนียนสม่ำเสมอกัน หรือที่แย่กว่านั้น คือ อาจเกิดเป็นรอยด่างบนกำแพง ซึ่งจะแก้ไขได้ยากมาก
อ่านบทความ: ผนังขัดมัน คืออะไร? วิธีฉาบปูนผนังขัดมัน ทำง่ายๆด้วยตัวเอง
วิธีเจาะผนังปูน ไม่ให้แตกร้าว ทำได้อย่างไรบ้าง?
1. สำรวจผนังที่จะทำการเจาะเป็นลำดับแรก เพื่อตรวจสอบว่ามีการเดินท่อน้ำ สายไฟ หรืออื่น ๆ ภายในผนังหรือไม่ เพราะถ้าหากเจาะเข้าไป จะก่อให้เกิดอันตราย และความเสียหายต่อผู้ปฏิบัติงาน ดังนั้น จึงควรทำการสำรวจพื้นที่ก่อนดำเนินงานทุกครั้ง
2. วัดและทำเครื่องหมายตำแหน่งที่ต้องการเจาะ โดยอาจจะใช้ปากกาเคมีจุด หรือกากบาทตำแหน่งที่ต้องการ เพื่อป้องกันความผิดพลาดจากการคาดคะเน โดยใช้สายตาเพียงอย่างเดียว
3. ติดเทปกาว กระดาษตรงตำแหน่งที่ทำเครื่องหมาย เป็นอีกหนึ่งเทคนิค ที่ช่วยให้การเจาะนั้นเรียบขึ้น หัวสว่าน จะไม่กระโดด และรูเจาะ จะเป็นไปในแนวทางที่ตรง
4. ทำการเจาะผนังตามเครื่องหมาย และเทปกาวที่ได้แปะไว้ พร้อมถุงพลาสติกรองใต้ตำแหน่งการเจาะ จากนั้น ทำการเจาะ โดยใช้ดอกสว่านเจาะคอนกรีต และเจาะด้วยโหมดกระแทก
5. นำพุกตอกเข้ากับผนัง ซึ่งควรขันสกรูลงในพุกก่อนตอกเข้าไป เพื่อทำให้การตอกนั้นง่ายขึ้น พุกที่ตอกนั้นไม่บี้ และเมื่อตอกเสร็จ ให้ทำการคลายสกรูออกจากผนัง
6. ตรวจสอบ และทำความสะอาดหลังเสร็จงาน เพื่อตรวจสอบให้มั่นใจว่างานนั้นเรียบร้อย ไม่มีรอยแตกร้าว และไม่มีฝุ่นหลงเหลืออยู่
เพียงเท่านี้ ก็สามารถนำสิ่งของที่ท่านต้องการยึดหรือแขวนกับผนังได้ตามที่ท่านต้องการ ซึ่งขั้นตอนต่างๆ ก็ไม่ได้ยากอย่างที่คิด สามารถทำเองได้โดยตนเอง แถมไม่ต้องง้อช่างให้เสียเวลา
เคล็ดลับ! อีกหนึ่งวิธีการเจาะผนังปูน เมื่อไม่มีสว่านเป็นตัวช่วย ทำได้อย่างไร?
เราอาจะคุ้นเคยกับการใช้ สว่าน เป็นตัวช่วยในการเจาะผนังบ้าน ซึ่งหากบ้านไหน ที่ไม่มีสว่าน และไม่รู้ว่าสามารถใช้วิธีการตอกตะปูในการเจาะผนังแทนได้ เทคนิคในการเจาะปูนแข็งให้มีรูได้โดยไม่ต้องใช้สว่าน และไม่เกิดรอยร้าวบนผนัง ทำได้ดังนี้
- เลือกความสูงให้เหมาะสมต่อการเจาะผนัง
- กำหนดตำแหน่ง ที่จะเจาะให้ชัดเจน เพื่อป้องกันความผิดพลาด
- นำกระดาษแข็ง หรือกระดาษลัง มาพับให้หนาพอประมาณ แล้ววางรองที่ปลายแหลมของตะปู จากนั้น ตอกตะปูลงไปด้วยค้อน จะช่วยลดการแตกร้าวของผนังได้ในระดับนึง อาจมีเศษปูนหล่นออกมาบ้าง แต่จะมีในปริมาณที่น้อยมาก ๆ
- เทปใส เทปกาว อีกหนึ่งตัวช่วยลดการแตกร้าวของผนัง หากที่บ้านไม่มีกระดาษแข็ง หรือกระดาษลัง สามารถใช้เทปใสติดไปที่ตำแหน่งที่ต้องการเจาะผนัง ประมาณ 2 แผ่น จะช่วยลดรอยแตกร้าว และเศษปูนที่หลุดร่วงได้เช่นเดียวกับกระดาษลัง และกระดาษเเข็งนั่นเอง
ลักษณะของผนังปูนแตกร้าว เป็นแบบไหนบ้าง?
ลักษณะของรอยแตกร้าวแบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ
- รอยแตกร้าวลายงา ลักษณะเหมือนแตกออกมาเป็นกิ่งก้าน ซึ่งปัญหานี้ สาเหตุหลักมาจากช่างที่ขาดความชำนาญ หรือขั้นตอนในการผสมปูน ส่งผลให้เกิดรอยแตกร้าวในภายหลัง
- รอยแตกร้าวแนวดิ่ง ลักษณะเเตกเป็นเส้นตรงดิ่ง ไม่ส่งผลใด ๆ ต่อโครงสร้างบ้าน แต่เกิดจากคานรับน้ำหนักที่มากเกินไป จนเกิดเป็นรอยร้าวขึ้น หรือเกิดขึ้นระหว่างการก่อสร้าง บางทีการอุดรอยรั่วด้วยตัวเอง อาจจะยังไม่พอ ควรให้สถาปนิก หรือช่างผู้เชี่ยวชาญเข้ามาตรวจสอบรอยแตกร้าว เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้เกิดจากโครงสร้างภายในบ้าน
- รอยแตกร้าวแนวทะแยง ลักษณะรอยแตกร้าวแนวทะแยงมุม อาจทำให้เกิดรอยร้าวขนาดใหญ่ หรือผนังชิ้นส่วนบางอย่างยุบลงไป สาเหตุอาจจะมาจากระหว่างการก่อสร้าง เมื่อเกิดรอยร้าวชนิดนี้ ควรย้ายออกจากที่พักทันที เพราะถือเป็นปัญหาใหญ่ ไม่สามารถแก้ไขเองได้ อย่านิ่งนอนใจว่าเป็นปัญหาเล็กน้อย ควรเรียกช่างผู้เชี่ยวชาญ หรือวิศวกรให้เข้ามาตรวจสอบ และดำเนินการซ่อมแซมในอันดับต่อไป
การรักษา ผนังปูน ที่แตกร้าว
- การตรวจสอบระดับความรุนแรงของรอยแตกในส่วนนั้น ๆ ก่อนเป็นอันดับแรก
- ขูดสีเก่าบริเวณโดยรอบผนังที่แตกร้าว
- ผสมปูนมาฉาบใหม่ หรือสามารถใช้ปูนกาวปกปิดรอยแตกร้าวได้เช่นกัน โดยอัดให้เต็มผนังรอยแตกที่ใหญ่ที่สุดก่อน
- เมื่ออัดปูนตามรอยแตกต่าง ๆ แล้วทิ้งไว้ให้แห้งเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง
- หลังจากนั้น ขัดผนังที่ฉาบปูนใหม่ให้เรียบเนียนเสมอกัน
- ทาสีทับ และตกแต่งให้สวยงามเหมือนเดิมก็เป็นอันเสร็จ
- หมั่นตรวจสอบหลังแก้ไขอัดปูนทับรอยแตกร้าวที่เกิดขึ้นอยู่เป็นระยะ
อ่านบทความ: รอยแตกร้าว ซ่อมง่าย ๆ ด้วยตัวเอง ไม่ต้องง้อช่าง!
เป็นอย่างไรกันบ้างกับ วิธีเจาะผนังปูน สามารถทำเองได้ที่บ้าน ได้ไม่ยากเลย ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการจ้างช่างมาซ่อมแซมให้ หวังว่าบทความนี้ จะเป็นประโยชน์ และทำให้การเจาะผนังปูนไม่ใช่เรื่องยาก และไกลตัวอีกต่อไป ลองนำเทคนิคนี้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันกันดูนะจ๊ะ ^^
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง : รวมเทคนิค ฉาบปูน ที่ช่างปูนควรรู้ ผนังแข็งแรง ไม่แตกร้าว
● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ●
KACHA ผู้จัดจำหน่าย เครื่องมือช่างราคาถูก และอุปกรณ์เสริม สำหรับช่างมืออาชีพ ราคาที่คุณจับต้องได้ รับรองสินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจอย่างแน่นอน!!
เลือกดูสินค้า ที่แขวนเครื่องมือช่าง คลิกเลย ????????