ข้อควรรู้ “แถบสี” ในโรงงาน เพื่อความปลอดภัย มีความหมายอะไรบ้าง?

หลาย ๆ คนอาจจะเคยคุ้นหน้าคุ้นตากับ แถบสีที่เห็นในโรงงานกันมาบ้างแล้ว ยกตัวอย่างเช่น แถบสีเหลืองดำ ที่เรามักจะเห็นใช้กั้นเขตพื้นที่ต่าง ๆ เมื่อมีเหตุการณ์ฉุกเฉิน หรือเกิดอันตราย หรือใช้กั้นพวกเครื่องจักรอันตรายต่าง ๆ ในโรงงาน แล้วรู้ไหมว่า แถบสี ที่อยู่ในโรงงานนั้น แต่ละสีมีความหมายอย่างไรบ้าง ในบทความนี้ KACHA จะพาไปดูว่า แถบสี ที่ใช้ในโรงงานนั้น มีอะไรบ้าง ตามไปอ่านในบทความนี้กันเลย

แถบสี ในโรงงาน มีอะไรบ้าง?

แถบสีในโรงงาน แถบสีความปลอดภัย ที่เรามักเห็นกันบ่อย ๆ นั้น ไม่ว่าจะเป็นสีเหลืองดำ แดง ฟ้า เหลือง และเขียว ต่างก็มีความหมายแตกต่างกัน โดยสีและสัญลักษณ์ในโรงงาน ส่วนใหญ่ที่นิยมทำ คือ การแบ่งเขตพื้นที่ โดยข้อมูลจาก สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน) ได้กำหนดแถบสีไว้ว่า ในแถบสีที่ใช้แถบสีนั้น จะต้องมีความกว้าง และมีขนาดเท่ากัน ต้องเอียงทำมุม 45 องศา สามารถจำแนกได้ 4 สีด้วยกัน ดังนี้

230802-Content-ข้อควรรู้-แถบสี-ในโรงงาน-02

1) แถบสีเหลืองดำ

คือ กำหนดให้เป็นแถบที่แสดงพื้นที่อันตราย หรือพื้นที่ ที่อาจจะก่อให้เกิดอันตราย ให้ผู้ที่อยู่ในพื้นที่นี้ระมัดระวังเป็นพิเศษ

2) แถบสีขาวแดง

คือ กำหนดให้เป็นแถบที่แสดงพื้นที่ ที่เป็นเขตหวงห้าม ซึ่งเป็นพื้นที่เฉพาะ หรือต้องได้รับอนุญาตก่อนการเข้าพื้นที่นี้เท่านั้น

3) แถบสีขาวฟ้า

คือ กำหนดให้เป็นแถบที่แสดงพื้นที่บังคับให้ปฏิบัติ เช่น ในโรงงานนั้น มีการก่อสร้าง จึงได้กำหนดจุดก่อนที่พนักงานเข้าทำงาน ให้มีการสวมหมวกนิรภัยทุกครั้ง

4) แถบสีขาวเขียว

คือ กำหนดให้เป็นแถบให้แสดงเกี่ยวกับพื้นที่ ที่มีสภวะปลอดภัย เช่น ในพื้นที่นั้น มีพื้นที่โล่งแจ้ง สำหรับการอพยพ ก่อนการเกิดเหตุอัคคีภัย

สีและความหมายการเตือน มีอะไรบ้าง?

230802-Content-ข้อควรรู้-แถบสี-ในโรงงาน-03
  • สีแดง คือ หยุด/ ห้าม หรือบางที่อาจจะเป็นสัญลักษณ์เกี่ยวกับไฟ และอันตราย ซึ่งทั้ง 2 เครื่องหมายนี้มีความแตกต่างกัน โดยเครื่องหมายหยุด / ห้าม จะมีลักษณะเป็นวงกลม มีสีแดงพาด ส่วนสัญลักษณ์เกี่ยวกับไฟ จะเป็นรูปสี่เหลี่ยม นั่นเอง
  • สีฟ้า คือ บังคับ หรือต้องปฏิบัติ สัญลักษณ์ จะเป็นรูปวงกลม เช่น สัญลักษณ์รูปคนใส่หมวก หมายความว่า “ต้อง” สวมใส่หมวกนิรภัยในพื้นที่ในการทำงานก่อสร้างนั่นเอง
  • สีเหลือง คือ เตือน เป็นป้ายแจ้งเตือนก่อนเกิดอันตราย เพื่อให้ระมัดระวังอันตรายที่จะเกิดขึ้น ส่วนใหญ่จะเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า สีเหลืองตัดขอบด้วยสีดำ เช่นพื้นที่นั้น มีการล้างห้องน้ำใหม้โดยพื้นยังไม่แห้ง ก็จะเป็นป้ายสัญลักษณ์เตือนว่า ระวังพื้นลื่น เพื่อป้องกันอันตรายให้กับผู้พบเห็นสัญลักษณ์นี้ ให้ระมัดระวังเพิ่มมากขึ้นนั่นเอง
  • สีเขียว คือ ปลอดภัย โดยสัญลักษณ์ เป็นรูปสี่เหลี่ยม เช่น ในพื้นที่นั้นมีจุดไว้กลางแจ้งในการอพยพคนจากที่เกิดอุบัติเหตุไฟไหม้ ซึ่งอาจจะเห็นจากการซ้อมหนีไฟ กล่าวคือจุดรวมพลที่เป็นป้ายสีเขียวนั่นเอง

หลักกการใช้สีตีเส้นในโรงงานอุตสาหกรรมมีอะไรบ้าง?

230802-Content-ข้อควรรู้-แถบสี-ในโรงงาน-04
  • เส้นสีเหลือง – เส้นแบ่งพื้นที่ทางเดินบริเวณทำงาน พื้นที่ทั่วไป ทางเข้าออก โดนเส้นสีจะต้องหนา 5-10 เซนติเมตร
  • ลูกศรสีเหลือง – ใช้บอกการแสดงทิศทาง
  • เส้นสีขาว – เส้นบริเวณวางงานกระบวนการผลิต โดนเส้นสีจะต้องหนา 5 เซนติเมตร
  • เส้นสีแดง – เส้นบริเวณไว้ของเสีย โดนเส้นสีจะต้องหนา 5 เซนติเมตร
  • เส้นสีเหลืองสลับดำ หรือเส้นสีเหลือง – เส้นสำหรับเตือนการเกิดอันตราย อุปกรณ์สำหรับขนถ่าย บริเวณที่อาจลื่นหกล้ม กระแทก
  • เส้นสีแดง – บริเวณติดตั้งเครื่องดับเพลิง อุปกรณ์ป้องกันอัคคีภัย ภาชนะบรรจุของเหลวไวไฟ อุปกรณ์ขีดขวาง หรือหยุดเครื่องจักรทุกชนิด
  • เส้นสีเขียว – บริเวณที่ปลอดภัย เครื่องมือปฐมพยาบาล
  • เส้นสีส้ม – เครื่องจักรที่เป็นอันตราย ของมีคมส่วนที่หมุนได้ เคลื่อนที่ได้
  • เส้นสีดำสลับขาว – การจราจรขอบถนน
  • เส้นสีม่วง – ภาชนะอุปกรณ์เกี่ยวกับกัมมันตภาพรังสี

เป็นอย่างไรกันบ้าน แถบสีต่าง ๆ ในโรงงาน ที่ควรรู้ เรียกได้ว่ารู้ไว้ดีที่สุด เพื่อความปลอดภัยในการทำงานนั่นเอง จากข้อความข้างต้นอาจจะเป็นข้อควรรู้ส่วนหนึ่งที่ยกตัวอย่างมาแชร์กัน อาจจะมีอีกหลายสัญลักษณ์ในโรงงานที่อาจจะต้องศึกษากันต่อไปอีก อย่างไรก็ตามมีความรู้เบื้องต้นติดตัวไว้ ปลอดภัยที่สุด หวังว่าบทความนี้จะให้สาระดี ๆ แก่ผู้อ่านไม่มากก็น้อยนะจ๊ะ

บทความดี ๆ น่าอ่าน:

KACHA ผู้จัดจำหน่าย เครื่องมือช่างราคาถูก เช่น รอกโซ่ รอกโซ่มือสาว เครนยกของ และอุปกรณ์เสริม สำหรับช่างมืออาชีพ ราคาที่คุณจับต้องได้ รับรองสินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจ นอกจากนี้ บริษัทของเรา ยังมีบริการรับ สร้างโกดัง สร้างโรงงาน สร้างคลังสินค้าต่าง ๆ จากช่างมืออาชีพที่มีประสบการณ์ การันตีผ่านมาตรฐานก่อสร้าง และความปลอดภัยต่าง ๆ เข้าชมเว็บไซต์ KACHA คลิกเลย

อ้างอิงข้อมูลจาก สำนักความปลอดภัยแรงงาน, factorium.tech