รู้จักกับ ไม้แบบ ไม้แบบก่อสร้าง คืออะไร? สำคัญอย่างไรในงานก่อสร้าง

หลาย ๆ คนคงเคยได้ยินคำว่า ไม้แบบ ไม้แบบก่อสร้าง กันมาบ้างแล้วใช่ไหม เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่ช่างก่อสร้าง หรือผู้รับเหมาะ จะต้องใช้กัน ในบทความนี้  KACHA จะพาไปรู้จักกับไม้แบบก่อสร้าง ว่าคืออะไร? การนำไปใช้งานเป็นอย่างไร? ตามไปรู้จักกับไม้แบบ พร้อม ๆ กันเลย

ไม้แบบก่อสร้าง คืออะไร?

ไม้แบบสำหรับงานก่อสร้าง คือ โครงสร้างชั่วคราว ทำจากไม้ ใช้สำหรับติดตั้งเป็นแม่แบบในงานหล่อคอนกรีต และคอนกรีตเสริมเหล็ก สำหรับโครงสร้าง และส่วนประกอบต่าง ๆ ของอาคาร เช่น เสา คาน พื้น ถนน เป็นต้น โดย ไม้แบบ จะมีหน้าที่รับน้ำหนักของคอนกรีต และสร้างขอบเขตในการเทให้คอนกรีตออกมาเป็นรูปแบบตามต้องการนั่นเอง

ไม้แบบมีลักษณะคล้าย ๆ ไม้กระดานสำหรับปูพื้น มีขนาดหน้ากวาง 6, 8 และ 10 นิ้ว ความหนาทั่วไป ประมาณ 1 นิ้ว มีความยาวเท่ากับระยะช่วงมาตรฐาน ขนาดของห้องที่ได้รับความนิยม คือ 2.5, 3, 3.5 หรือ 4 เมตร เพื่อให้พอดีสำหรับการติดตั้งไม้แบบในการหล่อคอนกรีต

230609-Content-ไม้แบบก่อสร้าง-ไม้แบบ-คืออะไร-02

นอกจากนี้ ยังมีการใช้ในแผ่นไม้อัดเคลือบฟิล์ม ในการหล่อคอนกรีตอีกด้วย ชั้นฟิล์มพลาสติกที่เคลือบอยู่นี้จะช่วยป้องกันปูนไม่ให้ยึดติดแน่นกับแผ่นไม้ ทำให้ถอดแบบได้สะดวก และสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้อีก โดยแผ่นไม้อัดทั่วไปจะมีขนาด 1.2×2.4 เมตร และมีความหนา 10, 15 หรือ 20 มิลลิเมตร นิยมใช้กระดานในส่วนของโครงสร้างเสา คาน หรือบันได ส่วนแผ่นไม้อัด จะใช้งานในส่วนของพื้นผิวมากอย่างเช่น ฐานราก ผนัง หลังคาดาดฟ้าหรือพื้น เป็นต้น

ประเภทของไม้แบบก่อสร้าง

ไม้แบบสำหรับงานก่อสร้างมีมากมายหลายชนิด และการเลือกใช้งานไม้แบบแต่ละประเภทก็จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับประเภทของการใช้งาน ดังนี้

  • ไม้แบบกระบาก เป็นไม้ที่นิยมใช้กันมากที่สุด มีคุณภาพดี ไม่บิดงอ สามารถใช้ซ้ำได้หลายครั้ง ทำงานง่าย ตอกตะปูง่าย ใช้ทำแบบหล่อคอนกรีตได้ดี
  • ไม้แบบยางมาเลย์ เป็นไม้เนื้อแข็ง ตอกตะปูง่าย ราคาไม่แพง เหมาะสำหรับทำแบบ ไม้หน้าสาม ไม้ฝ้า ไม้โครงต่าง ๆ โดยไม้ยางมาเลย์ จะใช้งานได้ดีกว่าไม้เบญจพรรณ
  • ไม้แบบเบญจพรรณ เป็นไม้ที่นิยมมากที่สุดอีกหนึ่งชนิด มีความคงทนปานกลาง เป็นไม้ผสมทั้งเนื้อแข็ง และเนื้ออ่อน ใช้ในงานทำแบบเสา ทำโครงสำหรับยึดแบบ เทพื้น ทำนั่งร้าน ทำแปหลังคา
  • ไม้แบบยูคาลิปตัส เนื้อไม้มีความแข็งแรง ทนทาน มักนำมาใช้ในงานเทพื้น ค้ำยันเสา รองปั้นจั่น ตอกเสา ทำเพิง ทำป้ายโฆษณา และสามารถใช้ในการสร้างบ้านพักอาศัยชั่วคราว สำหรับคนงานได้อีกด้วย
  • ไม้แบบเต็ง มีสีน้ำตาลแก่แกมแดง เนื้อหยาบ มีความทนทาน เหมาะสำหรับทำหมอนรองรางรถไฟ โครงสร้างอาคาร และงานตกแต่งภายใน-ภายนอก
  • ไม้แบบไม้ไผ่ มักจะใช้สำหรับทำนั่งร้าน โดยจะมีไผ่ตัน ซึ่งมีความแข็งแรง และไผ่นวล ซึ่งมีลักษณะกลวง และใช้ร่วมสำหรับไม้ขันสน็อกและเชือกไนล่อน หรือเชือกฟางได้

ประโยชน์ของ ไม้แบบ

ไม้แบบก่อสร้างนั้น สามารถนำมาใช้เป็น แบบเสา และแบบคานบ้าน ส่วนมากช่าง หรือผู้รับเหมา จะตัดแล้วใช้งานได้เรื่อย ๆ ไม่นิยมตัดซ้ำ ถ้าความยาวไม่พอ ก็จะนำมาต่อกัน ไม่นิยมตัดไม้แบบให้ความยาวพอดีกับงาน และไม้แบบนั้น จะใช้สำหรับกั้นเป็นแบบเทพื้นบ้านได้อีกด้วย นอกจากไม้แบบแล้ว ปัจจุบันก็ยังมีแบบพลาสติก และแบบเหล็ก ที่ใช้ในงานก่อสร้างได้เหมือนกัน

ไม้แบบสำหรับปลูกบ้าน ทำแบบเสา แบบคาน จะมีขนาดตายตัว และมีไม้หน้า 8 และ 10 นิ้ว ไว้ให้ช่าง หรือผู้รับเหมาใช้งาน และส่วนมากช่างจะไม่นิยมตัดไม้แบบ เพราะต้องเสียต้นทุนซื้อไม้แบบมาใช้งานใหม่อีก ถ้าอยากใช้งานได้หลาย ๆ ครั้งใช้งานได้นาน ๆ ต้องเก็บรักษาไม้แบบให้ดี ๆ ด้วยนั่นเอง

230609-Content-ไม้แบบก่อสร้าง-ไม้แบบ-คืออะไร-03

ไม้แบบก่อสร้างบวม เกิดจากอะไร? แก้ไขได้อย่างไร?

ไม้แบบก่อสร้าง เป็นอุปกรณ์ที่มีคุณสมบัติหลักเรื่องความแข็งแรง ทำให้ไม้แบบจะไม่แอ่นตัว หรือเสียรูปได้ง่าย มีความทนทาน สามารถทนต่อปฏิกิริยาทางเคมีของคอนกรีตได้หลายรูปแบบโดยไม่ทำให้ไม้แบบเสีย แต่หากเกิดกรณีเทคอนกรีตแล้วไม้แบบบวม ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกงานก่อสร้าง โดยส่วนใหญ่มักมีสาเหตุ ดังนี้

  • ไม้แบบหมดอายุ เป็นวัสดุที่ทำจากไม้ มีอยู่หลายเกรด เพื่อให้เหมาะสมกับงบประมาณที่มี โดยมักจะมีการกำหนดระยะเวลาการใช้งานต่อครั้งไว้ แต่หากใช้เกินจำนวนครั้งที่ระบุไว้ เมื่อไม้หมดอายุ ก็ส่งผลให้ยามเทคอนกรีตทำให้ไม้แบบบวมได้
  • ไม้แบบไม่มีคุณภาพ ไม้แบบที่มีราคาถูก ผลิตจากไม้ไม่มีคุณภาพ และการเก็บรักษาไม้แบบที่ไม่ถูกต้อง ทำให้ไม้แบบเสื่อมอายุได้ไวมากกว่าเดิมได้
  • ไม้แบบไม่แข็งแรง ความไม่แข็งแรงของไม้แบบ ส่งผลให้ขณะเทคอนกรีตเหลว จะเกิดแรงดันมาก ทำให้ไม้แบบบวม หรืออาจมีจุดที่ทำให้คอนกรีตรั่วออกมานอกไม้แบบได้

วิธีแก้ไข

  1. เมื่อสังเกตเห็นว่า ขณะเทคอนกรีตแล้ว ไม้แบบเกิดการบวม และมีคอนกรีตรั่ว หรือซึมออกมา แนะนำให้หยุดการเทคอนกรีตก่อน หลังจากนั้น ทำการตักคอนกรีตที่เทไปแล้วออกจากไม้แบบให้หมด
  2. เมื่อในไม้แบบไม่มีคอนกรีตแล้ว ทำการรื้อไม้แบบออก หากไม้แบบหมดอายุ หรือเสื่อมสภาพ ให้เปลี่ยนเป็นไม้แบบชิ้นใหม่ หลังจากนั้น ค่อยนำมาประกอบใหม่ โดยทำการยึดโครงไม้แบบให้แข็งแรงได้มาตรฐาน แล้วเทคอนกรีตใหม่ได้
  3. แต่หากในกรณีไม้แบบมีอาการป่อง หรือบวมออกมา 2 ข้างแบบเท่า ๆ กัน แก้ไขโดยเจียคอนกรีตส่วนที่เกินออก ก็สามารถทำงานต่อไป

การดูแล และการเก็บรักษาไม้แบบก่อสร้าง

  • การดูแลไม้แบบ หลังการใช้งานแบบง่าย ๆ คือ หลังจากแกะแบบออกมาแล้ว ให้เคาะเศษปูนออกจากตัวไม้ นำไม้ไปล้างทำความสะอาด ถ้ามีตะปูติดอยู่ที่แผ่นไม้ ให้ถอนเอาออก แล้วเอาไปพึ่งแดดให้แห้ง แล้วนำเก็บไว้ในที่แห้ง ระวังอย่าให้ไม้แบบโดนฝน
  • การเก็บรักษาไม้แบบ ไม่ควรตัดไม้แบบบ่อย ๆ หรือทำให้ไม้แบบเป็นรู ไม่ควรเก็บในที่ชื้น ไม่กองไม้แบบไว้บนดิน เพราะปลวก และมอดจะกินไม้แบบ ทำให้ไม้แบบผุกร่อนได้ ถ้าเก็บรักษาเป็นอย่างดี ก็จะใช้ได้นานนั่นเอง

จบไปแล้วกับ ไม้แบบก่อสร้าง ที่เรานำมาฝากกัน หลาย ๆ คนคงหายสงสัยกันแล้วใช่ไหม ว่าไม้แบบที่ว่านี้ ใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง อย่างไรก็ตาม การเลือกใช้งานไม้แบบ ควรพิจารณให้ดีก่อนนำมาใช้งานด้วย เช่น ไม้แบบต้องไม่งอตรงตรงตลอดตั้งแต่หัวไปกลางแผ่น และปลายแผ่น ไม่บิด ไม่งอ และไม่เปียกชื้นไม่มีมอดกินไม้ ไม่ผุไม่หักไม่บิ่น อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้อยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และปลอดภัยนั่นเอง บทความหน้าจะมีสาระดี ๆ มาฝากอีกแน่นอน อย่าลืมติดตามกันด้วยนะจ๊ะ

บทความดี ๆ น่าอ่าน:

● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ●

KACHA ผู้จัดจำหน่าย เครื่องมือช่างราคาถูก และอุปกรณ์เสริม สำหรับช่างมืออาชีพ ราคาที่คุณจับต้องได้ รับรองสินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจอย่างแน่นอน!!

เลือกดูสินค้า สินค้าจาก KACHA  คลิกเลย

อ้างอิงข้อมูลจาก tnpshoponline.com, sonofwood.com, builk.com