รู้จักกับ บ้านประหยัดพลังงาน คืออะไร? ดีกว่าบ้านทั่วไปอย่างไร?

ปัจจุบันเรียกได้ว่า เทคโนโลยีได้มีการพัฒนาไปไกลกันมากขึ้น รวมไปถึง บ้านประหยัดพลังงาน ที่เรียกได้ว่า ปัจจุบันก็ได้รับความสนใจอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะในยุคที่คนเริ่มให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เป็นบ้านอนาคต ที่จะสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายได้

ตาม KACHA ไปรู้จัก บ้านประหยัดพลังงาน พร้อมแนะนำ แบบบ้านประหยัดพลังงาน ว่าจะเป็นอย่างไร และมีอะไรบ้าง

บ้านประหยัดพลังงานเป็นอย่างไร?

แบบบ้าน ประหยัดพลังงาน คือ บ้านที่ถูกออกแบบมาให้สามารถลดการใช้พลังงานในบ้านให้ได้มากที่สุด เช่น ออกแบบบ้านให้มีความโปร่ง โล่ง สบาย เรียบง่าย แต่มีสไตล์ ตอบโจทย์ความต้องการคนในบ้านได้อย่างลงตัวนั่นเอง
230502-Content-รู้จักกับ-บ้านประหยัดพลังงาน-02

ข้อดีของบ้านประหยัดพลังงาน

  • ประหยัดพลังงาน
  • ตอบโจทย์การใช้งานของผู้คนในปัจจุบัน
  • รองรับความต้องการได้หลากหลายรูปแบบ เช่น ด้านการทำงาน และการอยู่อาศัย
  • ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ได้อย่างคุ้มค่า และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  • ประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ธรรมชาติ และรูปแบบการใช้ชีวิตได้อย่างลงตัว

อยากมีบ้านประหยัดพลังงาน ทำได้อย่างไร?

ออกแบบ และเลือกวัสดุสร้างบ้านเย็นสบาย

การทำให้บ้านเย็นสบาย เป็นวิธีพื้นฐานที่ดีที่สุด ในการประหยัดพลังงาน เพราะเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟมาก คือ เครื่องปรับอากาศ ดังนั้นถ้าตัวบ้านเย็นสบาย จะลดการใช้แอร์ไปได้ซึ่งสารมารถออกแบบ และเลือกวัสดุก่อสร้างบ้าน ได้ดังนี้

  • หันทิศทางตัวบ้านให้ถูกต้องรับลม ลดแสงแดด วางแปลนบ้านให้รับลมจากทิศเหนือในฤดูหนาว และลมตะวันออกเฉียงใต้ในฤดูร้อน ทิศที่เหมาะกับหน้าบ้านที่สุด คือ ทิศเหนือ ทิศตะวันออก ส่วนทิศใต้ อาจโดนแสงแดดบ้าง ทิศที่ควรหลีกเลี่ยงอย่างเด็ดขาด คือ ทิศตะวันตก ที่จะทำให้บ้านโดนความร้อนจากแดดบ่ายเข้าเต็ม ๆ ทำให้ร้อนไปถึงตอนกลางคืน นอกจากนี้ บ้านควรมีฝ้าเพดานสูงโปร่ง มีช่องระบายอากาศถ่ายเทความร้อน และหมุนเวียนอากาศภายในบ้านด้วย
    (อ่านบทความ: รู้จักกับ ทิศทางลม แดด ฝน สำคัญกับการสร้างบ้านอย่างไร?)
  • เลือกใช้วัสดุกันความร้อน ใช้ฉนวนกันความร้อนจากกระเบื้องหลังคา เช่น ฉนวนไฟเบอร์กลาส ผนังสำเร็จรูป ที่มีฉนวนกันความร้อน การทำผนังสองชั้นในทิศที่รับแดด การใช้กระจกหน้าต่างกันความร้อน หรือติดฟิลม์กระจกกันความร้อน ใช้กรอบหน้าต่างทำจากไวนิลที่กันความร้อนได้ดี ทาบ้านสีอ่อนรวมถึงเลือกใช้สีที่ช่วยกันความร้อน
    (อ่านบทความ: ฉนวนกันความร้อน มีกี่ประเภท? ใช้งานแบบไหน? / วิธีติดฟิล์มกระจกบ้าน ด้วยตัวเองแบบไม่ง้อช่าง ทำได้อย่างไร?)
  • สร้างสวนรอบตัวบ้าน การขุดสระน้ำเล็ก ๆ หน้าบ้าน จะทำให้บ้านมีความชุ่มชื้น เมื่อมีลมพัดเข้ามา จะช่วยลดความร้อนให้ตัวบ้านได้ และการปลูกต้นไม้รอบ ๆ บ้าน ก็จะช่วยทำให้บ้านร่มรื่น เย็นสบาย ช่วยลดความร้อนจากแสงแดด และยังช่วยฟอกอากาศได้อีกด้วย

เลือกเครื่องใช้ในบ้านประหยัดไฟ

การเลือกใช้เครื่องไฟฟ้าที่ประหยัดไฟ ก็ช่วยให้บ้านประหยัดพลังงานได้ ดังนี้

  • ฉลากประหยัดไฟ เบอร์ 5 จะบอกข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับระดับการใช้ไฟฟ้า ประสิทธิภาพการประหยัดพลังงาน ค่าใช้จ่ายต่อปีของเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิด ในแต่ละยี่ห้อ  ซึ่งจะเป็นตัวช่วยในการเลือกซื้อสินค้าในระยะยาว โดยเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่มีฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่ผ่านการทดสอบประสิทธิภาพการประหยัดพลังที่ได้มาตราฐานตามที่ กฟผ. และกระทรวงพลังงานกำหนด (อ่านบทความ: ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 คืออะไร? ช่วยประหยัดไฟจริงหรือ!)
  • เลือกระบบ Inverter ควรเลือกใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีเทคโนโลยี Inverter ควบคุมอุณหภูมิ ที่ทำให้ระบบเครื่องใช้ไฟฟ้าทำงานสม่ำเสมอ และช่วยประหยัดพลังงานกว่าเดิมอย่างน้อย 30% เช่น แอร์, ตู้เย็น Inverter, เครื่องซักผ้า Inverter เป็นต้น แม้เครื่องใช้ไฟฟ้า Inverter จะมีราคาสูงกว่าเทคโนโลยีแบบเดิม แต่การใช้ในระยะยาว ถือว่าคุ้มค่าแน่นอน
  • เทคโนโลยีสมาร์ทโฮม เป็นการนำ Internet of Things (IOT) มาประยุกต์ใช้กับฟังก์ชั่นควบคุมการทำงานเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน จะช่วยให้บริหารจัดการการใช้พลังงานในบ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การตั้งเวลาปิด-เปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าล่วงหน้า การสั่งการได้ผ่านหน้าจอแอปพลิเคชันบนสมาร์ตโฟน หรือแท็บเล็ตที่สามารถเปิด-ปิดไฟ ตู้เย็น แอร์ ไมโครเวฟ ได้แม้ไม่ได้อยู่บ้าน รวมถึงระบบ Smart Sensor Smart Sensor โดยเฉพาะกลุ่ม (Motion Sensor) ที่คอยตรวจจับความเคลื่อนไหวของเรา เช่น เปิดไฟอัตโนมัติ เมื่อมีคนเดินผ่าน ช่วยประหยัดไฟให้เปิดเฉพาะตอนที่มีคนใช้จริง ๆ

ติดตั้งโซลาร์เซลล์

เทคโนโลยีโซลาร์เซลล์ได้ถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ คุ้มค่า คืนทุนเร็วยิ่งขึ้น หลังคาโซลาร์เซลล์ เป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่อยากมีบ้านประหยัดพลังงานแบบขั้นสุด เหมาะกับบ้านที่มีการใช้ไฟมากกว่าเดือนละ 3,000 บาท มีคนอยู่ตอนกลางวัน มีการใช้แอร์ตอนกลางวันเยอะ ๆ เช่น บ้านพักอาศัยที่ผู้สูงอายุอยู่บ้าน ในช่วงกลางวัน คนที่ทำงาน Work from home หรือทำออฟฟิศ ทำธุรกิจที่บ้าน และบ้านที่มีเนื้อที่ติดตั้งโซลาร์เซลล์ขั้นต่ำ 60 ตรม.

โซลาร์เซลล์ ที่นิยมใช้กันในตอนนี้ คือ ระบบ On Grid ที่เชื่อมระบบกับสายส่งการไฟฟ้า มีแผงโซลาร์เซลล์ต่อเข้ากับ กริดไทอินเวอร์เตอร์ ผลิตพลังงานไฟฟ้าใช้งานในบ้านทันที ไม่มีการเก็บสำรองใน Energy Storage พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ เราสามารถขายส่วนเกินให้กับการไฟฟ้าได้ด้วย ในโครงการโซลาร์ภาคประชาชน ลงทะเบียนยื่นความจำนงค์ได้ที่ https://spv.mea.or.th/ หรือ https://pea.or.th/

อย่างไรก็ตาม ควรเลือกใช้บริการติดตั้งโซลาร์เซลล์กับบริษัทชั้นนำที่ได้มาตรฐาน ให้บริการแบบครบวงจรตั้งแต่ การยื่นขออนุญาต ติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ ตลอดจนบริการหลังการขายให้กับลูกค้าแบบครบวงจรด้วย

ข้อแตกต่าง บ้านประหยัดพลังงาน และ แบบบ้านทั่วไป

จุดเด่น และความพิเศษของบ้านประหยัดพลังงาน จะได้รับความสนใจที่ต่างไปจากแบบบ้านสไตล์อื่น ๆ เพราะเป็นแบบบ้านที่เน้นความเรียบง่าย ประหยัดพลังงาน ความคงทน และการตอบโจทย์การใช้งานที่ทันสมัย สามารถอยู่อาศัยร่วมกับธรรมชาติได้อย่างลงตัว เรียกได้ว่าคับแน่น แฝงไปด้วยคุณภาพ นอกจากนี้ ยังสามารถรองรับการใช้งาน และเทคโนโลยีในอนาคตอันใกล้ได้ดีอีกด้วย

แนะนำแบบบ้านประหยัดพลังงาน

บ้านประหยัดพลังงาน 5 แบบบ้าน จากกรมพัฒนาพลังงานทดแทน และอนุรักษ์พลังงาน พร้อมผังพื้นที่ ราคาก่อสร้าง มีทั้งแบบบ้านชั้นเดียว และ 2 ชั้น

1) บ้านดีดีรักษ์ดิน 1

แบบบ้านประหยัดพลังงาน

ชมแบบบ้าน “บ้านดีดีรักษ์ดิน 1” และรายละเอียดเพิ่มเติม

บ้านชั้นเดียวหลังเล็ก ขนาดพื้นที่ใช้สอยรวม 126 ตารางเมตร ภายในประกอบด้วย 2 ห้องนอน 1 ห้องน้ำ, โถงอเนกประสงค์ 1 ห้อง (ห้องนั่งเล่น+รับประทานอาหาร), ส่วนซักล้าง และที่จอดรถ 1 คัน ค่าก่อสร้าง ราคาโดยประมาณ 1.78 ล้านบาท (ไม่รวมค่าที่ดิน และโครงสร้างแผงเซลล์แสงอาทิตย์)
บ้านชั้นเดียวหลังเล็ก มีการเพิ่มพื้นที่ใช้สอยในบ้าน ขนาดพื้นที่ใช้สอยรวม 171.5 ตารางเมตร ภายในประกอบด้วย 2 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ, ห้องครัว, โถงอเนกประสงค์, ส่วนซักล้าง และที่จอดรถ 1 คัน ค่าก่อสร้าง ราคาโดยประมาณ 2.02 ล้านบาท (ไม่รวมค่าที่ดิน และโครงสร้างแผงเซลล์แสงอาทิตย์)
บ้านใต้ถุุนสูงขนาดเล็ก พื้นที่ใช้สอยรวม 236.5 ตารางเมตร ภายในประกอบด้วย 2 ห้องนอน 1 ห้องน้ำ, ห้องครัว, โถงอเนกประสงค์, ส่วนซักล้าง และที่จอดรถ 1-2 คัน ค่าก่อสร้าง ราคาโดยประมาณ 2.10 ล้านบาท (ไม่รวมค่าที่ดิน และโครงสร้างแผงเซลล์แสงอาทิตย์)
บ้าน 2 ชั้น พื้นที่ใช้สอยรวม 215 ตารางเมตร ภายในประกอบด้วย 3 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ, ห้องครัว, โถงอเนกประสงค์, ส่วนซักล้าง และที่จอดรถ 1 คัน ค่าก่อสร้าง ราคาโดยประมาณ 2.60 ล้านบาท (ไม่รวมค่าที่ดิน และโครงสร้างแผงเซลล์แสงอาทิตย์)
บ้านทาวน์โฮม 2 ชั้น พื้นที่ใช้สอยรวม 194 ตารางเมตร ภายในประกอบด้วย 3 ห้องนอน 3 ห้องน้ำ โถงอเนกประสงค์ 2 ห้อง, ห้องครัว, ห้องเก็บของ, ส่วนซักล้าง และที่จอดรถ 1-2 คัน ค่าก่อสร้าง ราคาโดยประมาณ 1.81 ล้านบาท (ไม่รวมค่าที่ดิน และโครงสร้างแผงเซลล์แสงอาทิตย์)

เป็นอย่างไรกันบ้าง บ้านประหยัดพลังงาน น่าสนใจมาก ๆ เลยใช่ไหม เรียกได้ว่า เป็นบ้านแห่งอนาคต ที่ใคร ๆ ก็ชอบ ช่วยประหยัดพลังได้ เน้นความเรียบง่าย มีคุณภาพ ทั้งด้านการประหยัดพลังงาน ความคงทน และตอบโจทย์การใช้งานที่ทันสมัย สามารถอยู่อาศัยร่วมกับธรรมชาติได้อย่างลงตัวอีกด้วย

บทความดี ๆ น่าอ่าน:

KACHA ผู้จัดจำหน่าย เครื่องมือช่างราคาถูก และอุปกรณ์เสริม สำหรับช่างมืออาชีพ ราคาที่คุณจับต้องได้ รับรองสินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจอย่างแน่นอน!!

เลือกดูสินค้าจาก KACHA คลิกเลย ????????

อ้างอิงข้อมูลจาก: ธนาคารไทยพาณิชย์, ddproperty.com, เฟซบุ๊ก บ้านดีดีรักษ์พลังงาน, กระทรวงพลังงาน