“สกรู โบลต์ นัต” เป็นอุปกรณ์จับยึดสิ่งต่าง ๆ ในงานช่างใช้สำหรับจับยึดแบบชั่วคราว คือ สามารถขัน ไข ออกจากกันได้ มีลักษณะเป็นเกลียว เรียกแบบช่างทั่วไปได้ว่าเกลียวละเอียด และเกลียวปล่อย ซึ่งก็จะมีการใช้งานที่แตกต่างกัน แล้วสกรูโบลต์นัตนั้นหน้าตาเป็นแบบไหนกันล่ะ? วันนี้ KACHA จะพาไปทำความรู้จักกับสกรูโบลต์นัตแบบต่าง ๆ ให้มากขึ้นกัน ตามไปดูเลย!


????สกรู (Screw)

เป็นสลักเกลียวที่มีขนาดเล็กและหลากหลายตามการใช้งาน บางแบบมีเกลียวตลอดทั้งตัวสกรูจะมีหัวแตกต่างกัน มีทั้งหัวกลม หัวหกเหลี่ยม หัวสี่เหลี่ยม  และหัวฝั่ง บนหัวจะทำเป็นร่องผ่าเอาไว้หรือเป็นหลุมลงไปใช้สำหรับขันหรือคลายเกลียว และสกรูตัวเล็ก ๆ ส่วนใหญ่จะมีปลายเรียว มีหัวแตกต่างกันไปทั้งให้เหมาะกับการใช้งาน และเพื่อจำเพาะไว้สำหรับอุปกรณ์ไขเฉพาะทางเท่านั้น สามารถแบ่งออกได้เป็นชนิดเกลียวละเอียด และแบบเกลียวปล่อย

▸สกรูเกลียวละเอียด (Fine Threaded Screw)

หรือสกรูเครื่องจักร (Machine Screw) เป็นสกรูขนาดเล็กที่มีเกลียวซึ่งออกแบบไว้อย่างละเอียด มักใช้กับงานที่เป็นชิ้นส่วนเครื่องจักรต่าง ๆ อาจใช้หรือไม่ใช้ร่วมกับนัต ซึ่งก็แบ่งแยกแบบต่าง ๆ ได้ดังนี้

210213-Content-รู้จัก-สกรู-โบลต์-นัต-หน้าตาเป็นแบบไหนกันบ้างนะ-02


▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾

สกรูหกเหลี่ยมเกลียวเต็ม สกรูหัวแฉกแบน
สกรูหัวแฉก สกรูแฉกเรียบ
สกรูหัวผ่า สกรูหัวคอมไบน์
สกรูหกเหลี่ยมครึ่งเกลียว สกรูหางแบน
สกรูหัวผ่าหกเหลี่ยม สกรูหางแบน
210213-Content-รู้จัก-สกรู-โบลต์-นัต-หน้าตาเป็นแบบไหนกันบ้างนะ-03


▸สกรูเกลียวหยาบ (Coarse Threaded Screw)

หรือสกรูโลหะแผ่น สกรูงานไม้ และมักถูกเรียกว่าสกรูเกลียวปล่อย เป็นสกรูขนาดเล็กที่มีเกลียวเป็นบางค่อนข้างห่างกัน มักใช้ยึดชิ้นงานซึ่งเป็นโลหะบาง ๆ หรือไม้เข้าหากัน บางของสกรูช่วยเพิ่มพื้นที่ยึดเกาะให้ชิ้นงานแน่นหนา ที่ได้ชื่อว่าเกลียวปล่อยเพราะสามารถยิ่งสกรูเข้าไปในชิ้นงานได้โดยตรงโดยอาจไม่ได้ทำร่องนำไว้ก่อนได้ แบ่งได้ดังนี้

210213-Content-รู้จัก-สกรู-โบลต์-นัต-หน้าตาเป็นแบบไหนกันบ้างนะ-04


▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾


????โบลต์ (Bolt)

หรือเรียกว่าสลักเกลียว มีลักษณะเป็นแท่งโลหะมีหัวกลมหรือเหลี่ยมที่ปลาย มีเกลียวสำหรับยืดติดกับนัต (แป้นเกลียว) ส่วนประกอบหลักคือแกนโบลต์ (Body) เกลียว (Thread) และหัว (Head)

210213-Content-รู้จัก-สกรู-โบลต์-นัต-หน้าตาเป็นแบบไหนกันบ้างนะ-07


▸โบลต์หัวหกเหลี่ยม
 (Hexagonal Head bolt)

เป็นโบลต์หัวหกเหลี่ยมมีหลายแบบบางแบบมีหน้าแปลนหรือใช้แหวนสปริงรอง โบลต์แบบหน้าแปลนส่วนหัวของโบลต์จะสัมผัสกับชิ้นส่วนได้พื้นผิวมาก ดังนั้นจึงทำให้เกิดความเสียหายกับชิ้นส่วนได้น้อย โบลต์แบบมีแหวนรองแบบนี้ประสิทธิภาพคล้ายคลึงกับแบบมีหน้าแปลน จะนำไปใช้เมื่อต้องการยึดชิ้นส่วนที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่าหัวโบลต์ และโบลต์แบบนี้จะใช้แหวนสปริงรองระหว่างหัวโบลต์กับแหวมรองเพื่อลงการคลายของโบลต์ให้น้อยลง

▸โบลต์รูปตัวยู (U-Bolts)

ซึ่งโบลต์แบบนี้มีลักษณะเหมือนตัวยู จึงเรียกกว่าโบลต์รูปตัวยู ในรถยนต์จะใช้ในการยึดแผ่นแหนบเข้ากับเสื้อเพลาท้ายหรือใช้รัดชิ้นส่วนเข้าหากัน เช่น สลิง

▸สตัด (Studs)

ถือเป็นโบลต์ชนิดหนึ่งมีลักษณะที่ปลายทั้งสองข้างเป็นเกลียว โดยมีปลายข้างหนึ่งจะเป็นเกลียวหยาบเพื่อขันเข้ากับชิ้นงาน ส่วนปลายอีกด้านหนึ่งจะเป็นเกลียวละเอียด จะใช้กับนัตเพื่อยึดชิ้นงานนั่นเอง


????นัต (Nut)

นัตหรือแป้นเกลียวตัวเมีย ใช้คู่กับโบลต์หรือสลักเกลียว มีลักษณะเป็นเหลี่ยมมีรูตรงกลาง ทำเกลียวไว้ภายในนัตที่พบโดยทั่วไปมักจะเป็นแบบหัวหกเหลี่ยม แต่ก็ยังมีอีกหลายชนิด เช่น นัตสี่เหลี่ยม, นัตหัวกลม, นัตหัวผ่า เป็นต้น

210213-Content-รู้จัก-สกรู-โบลต์-นัต-หน้าตาเป็นแบบไหนกันบ้างนะ-05


▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾

นัตหกเหลี่ยม – เป็นนัตที่นิยมใช้ทั่วไป นัตแบบมีล็อกในตัว – สามารถป้องกันการคลายตัวได้อย่างมีเสถียรภาพป้องกันไม่ให้ สกรู หลุดออก
นัตหกเหลี่ยมมีบ่า – ช่วยกระจายแรงกดแทนแหวนรอง นัตหางปลา – ออกแบบให้สามารถใช้มือออกแรงขันได้
นัตหัวกลม – ช่วยป้องกันไม่ให้ปลายสกรูยื่นออกมา นัตสี่เหลี่ยม – ออกแบบให้เข้าร่องชิ้นงานได้ตามการออกแบบ
นัตล้อ – มักใช้สำหรับเว้นพื้นที่ในการออกแบบ นัตหัวผ่า – นัตที่สามารถป้องกันการคลายผ่านรูทะลุที่สลักเกลียวอีกด้านหนึ่ง แล้วสอดปิ้นเหล็กผ่านรูทะลุของสลักเกลียวและร่องนัตประเภท 2 คือชนิดนูนและนัตหกเหลี่ยมมีร่องเซาะด้านบน
นัตสี่เหลี่ยมบาง – ออกแบบให้มีขนาดเล็ก ซ่อนด้านในด้านใดด้านหนึ่งของชิ้นงาน นัตเชื่อม – เป็นอุปกรณ์ฟิตติ้ง ใช้ร่วมกับสกรู(ตัวผู้) เพื่อขันยึดเข้าหากัน โดยตัวนัตจะมีลักษณะเป็นเขี้ยวไว้ตอกจิกลงบนไม้
210213-Content-รู้จัก-สกรู-โบลต์-นัต-หน้าตาเป็นแบบไหนกันบ้างนะ-06


▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾


จะเห็นได้ว่า บทความนี้จะทำให้ทุกคนได้รู้จักกับสกรูโบลต์นัตกันมากขึ้น หวังว่าจะช่วยให้คุณได้สื่อสารกับร้านวัสดุก่อสร้างได้ง่ายขึ้นไม่มาก็น้อยนั่นเอง ????????

>>สามารถติดตามบทความต่าง ๆ ของ KACHA ได้ตามนี้เลย<<

ขอบคุณข้อมูลจาก : เว็บไซต์บ้านและสวน