เมื่อพูดถึง “เสาบ้าน (Column)” เสาบ้าน ถือว่าเป็นส่วนสำคัญมากของตัวบ้าน มีหน้าที่รับน้ำหนักของตัวบ้าน ทั้งส่วนที่เป็นพื้นชั้นล่าง ชั้นบน  ผนัง และหลังคา โดยโครงสร้างของเสาต้องมีความมั่นคง และแข็งแรง ที่จะทำหน้าที่ในการรับน้ำหนักทั้งหมดได้ ยิ่งถ้าบ้านมีหลายชั้น การออกแบบเสาของบ้านยิ่งมีความสำคัญมาก และปัญหา เสาบ้านแตกร้าว แก้ไขเบื้องต้นง่าย ๆ ได้อย่างไร ตาม KACHA ไปดูกันเลยดีกว่า

เสาบ้าน คืออะไร?

เสาบ้าน เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างที่ มีความสําคัญอย่างมาก เนื่องจากต้องแบกรับน้ำหนักของอาคารทั้งหลัง เมื่อเสาเกิดการวิบัติ หรือพังทลาย อาจส่งผลให้โครงสร้างทั้งหลังพังถล่มลงมาได้ ดังนั้น จึงจําเป็นต้องมีการเสริมความแข็งแรง และความเหนียวให้แก่เสาเพื่อให้สามารถต้านทานแรงแผ่นดินไหวที่ จะเกิดขึ้นในที่นี้จะกล่าวถึงการเสริมเหล็กในเสาอาคารที่ ยังไม่ได้ก่อสร้างและที่ก่อสร้างไปแล้ว โดยหลักการที่คล้าย ๆ กัน คือ เพิ่มกําลังรับแรง และความเหนียวให้แก่เสา

220112-Content-สาเหตุเสาบ้านแตกร้าว-แก้ไขง่ายๆด้วยตัวเองเบื้องต้น02

เสาอาคารที่ก่อสร้างในประเทศไทย หรือประเทศที่แผ่นดินไหวเป็นภัยที่ไม่เด่นชัด เสามักจะมีขนาดเล็ก ใส่เหล็กเสริมน้อย เนื่องจากการออกแบบที่ไม่ได้คํานึงถึงแรงแผ่นดินไหว ดังนั้น เมื่อมีแผ่นดินไหวเกิดขึ้น เสาเหล่านี้ จะมีการสั่นสะเทือนอย่างรุนแรง จนอาจทําให้เสาขาด หรือเกิดการพังทลายได้ ลักษณะการพังทลายในเสา ได้แก่ การเกิดรอยร้าวขนาดใหญ่ในเสา คอนกรีตกะเทาะหลุดออกมาเหล็กเสริมดุ้ง หรือขาด ความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่เสา มักเกิดขึ้นที่บริเวณโคนเสา หรือหัวเสา นั่นเอง

ปัญหาเสาบ้านแตกร้าว เกิดจากอะไร?

เสาบ้านแตกร้าวมีด้วยกันหลายสาเหตุ เช่น เสาแตกร้าวจากความชื้น ที่ขึ้นมาจากข้างใต้พื้นผิว สะสมในชั้นเสริมเหล็ก เกิดสนิม จนเกิดเป็นแรงดันทำให้ปูนเกิดการหลุดล่อน ขั้นตอนการหล่อเสา หรือแบบหล่อเสาไม่ได้มาตรฐาน หล่อเสาปูนไม่เต็ม เลือกใช้ปูนซีเมนต์หล่อเสาด้อยคุณภาพ ทำให้ยึดเกาะได้ไม่ดี รวมถึงไม่มีการเสริมเหล็กหล่อเสาเพิ่มความแข็งแรงนั่นเอง

220112-Content-สาเหตุเสาบ้านแตกร้าว-แก้ไขง่ายๆด้วยตัวเองเบื้องต้น03

ปัญหาเสาบ้านแตกร้าว เกิดขึ้นได้หลายกรณี ไม่ว่าจะเป็นการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ในการก่อสร้าง เช่น ปูนทราย หิน น้ำ และสภาพอากาศ การผสมซีเมนต์ไม่ได้อัตราส่วนที่เหมาะสม การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้คุณภาพ หรือ อาจจะเกิดการหดตัวของปูนซีเมนต์ตามสภาพอากาศ แบบหล่อเสาไม่ได้มาตรฐาน จึงทำให้ปูนซีเมนต์ไม่เต็มแบบ และเกิดการแตกร้าวได้ในอนาคต รวมไปถึงการขยับตัวของบ้าน และพื้น การที่เสาได้รับน้ำหนักมากเกินไป

เสาแตกร้าวแบบไหน ส่งผลต่อโครงสร้างบ้าน

รอยแตกร้าว บริเวณเสาบ้านที่ส่งผลอันตรายต่อโครงสร้างบ้าน จะเป็นรอยแตกร้าวที่มีขนาดลึก กว้าง มองเห็นถึงชั้นโครางสร้างเสริมเหล็ก หรือเหล็กเสริมมีการเกิดสนิม หากไม่ได้ทำการซ่อมแซม แน่นอนว่าในอนาคตเสี่ยงต่อบ้านเอียง บ้านทรุด เนื่องจากเสาเป็นจุดที่รองรับน้ำหนักของบ้าน และเป็นโครงสร้างบ้านส่วนสำคัยอย่างมาก หากเกิดกรณีดังกล่าว ทางที่ดีควรซ่อมแซม ปรึกษาวิศวกรรมโครงสร้างโดยด่วน

วิธีการแก้ไขซ่อมแซมเสาแตกร้าว

  • ในกรณีที่เสาแตกร้าว เกิดขึ้นจากความชื้นใต้ผิวทำให้ชั้นเสริมเหล็กเกิดสนิม จนเกิดแรงดันทำให้เสาแตกร้าว ควรทำการซ่อมแซม โดยการกระเทาะปูนออกให้มีแผลกว้างขึ้น ทำความสะอาดไม่ให้มีฝุ่นผง และเศษปูน หลังจากนั้น ใช้น้ำยากันสนิม ทาบริเวณเหล็กเสริม แล้วตามด้วยน้ำยาผสานคอนกรีต ทาไปที่พื้นผิวผนังเสา หรือจุดที่ต้องการฉาบซ่อม หลังจากนั้น ให้ใช้ปูนซ่อมแซมโครงสร้าง ที่มีคุณสมบัติการยึดเกาะที่ดี รับแรงอัดได้สูง 
  • ในกรณีเสาแตกร้าวเป็นโพรง ที่เกิดจากการเทคอนกรีตไม่เต็ม สามารถเลือกใช้ซีเมนต์ซ่อมแซมโครงสร้าง ฉาบโป๊วด้วยเกรียง กดให้แน่น อาจฉาบแต่ง 1 ถึง 2 ชั้น รอแห้งเป็นอันเสร็จเรียบร้อย แนะนำ หากมีการบวมพองของเนื้อวัสดุ สามารถใช้เกรียงไม้ปั่น หรือปล่อยให้ผิวหน้าแห้งตัว ก่อนทำการฉาบแต่ง และถ้าเนื้อปูนมีการไหลตัว ควรปรับลดสัดส่วนน้ำผสมซีเมนต์ให้พอเหมาะกับสภาพผิวงาน 

หากปัญหาการแตกร้าว ส่งผลกระทบต่อการวิบัติของโครงสร้างเสี่ยงอันตราย ควรปรึกษาวิศวกรผู้ชำนาญการ เพื่อตรวจสอบ และซ่อมแซม เพื่อความปลอยภัยของบ้าน และสมาชิกภายในบ้าน 

ทิ้งท้ายสักนิด! 5 รอยร้าวอันตรายในบ้าน ที่ควรรีบแก้ไขโดยเร็ว

  • รอยร้าวแนวเฉียง (กลางผนัง)

รอยร้าวผนัง ในแนวเฉียงทแยงจากมุมบนลงล่าง มักเกิดจากเสาต้นใดต้นหนึ่งในบ้าน เกิดการทรุดตัวลง คานที่รัดเสาแต่ละต้นนั้น ไม่สามารถพยุงเสาให้อยู่ในระนาบเดียวกันได้อีกต่อไป ผนังจึงเกิดการแตกร้าวขึ้นมา

สาเหตุในการทรุดตัวมักเกิดจาก การต่อเติมบ้านที่ผิดหลักการ เสาต้นเดิมไม่สามารถรับน้ำหนักได้ หรือฐานรากของอาคาร เกิดการทรุดตัวที่ไม่เท่ากัน ทำให้เสาเข็มเคลื่อนที่ออกจากจุดเดิม ขาดความต่อเนื่องกัน

220112-Content-สาเหตุเสาบ้านแตกร้าว-แก้ไขง่ายๆด้วยตัวเองเบื้องต้น04

(ภาพจาก Infinitydesign)

  • รอยร้าวแนวดิ่ง (กลางผนัง)

รอยร้าวชนิดนี้ จะอยู่ตรงกลางผนังเป็นแนวดิ่งลงมาตรง ๆ เกิดจากการมีของที่มีน้ำหนักมาก มากดทับพื้นข้างบน พื้นจึงเกิดการแอ่นตัวเป็นรูปตัวยู (U) ซึ่งคานที่อยู่เหนือผนัง และพื้นนั้นไม่สามารถรองรับน้ำหนักได้ ผนังข้างล่างที่ติดกับพื้น จึงเกิดเป็นรอยร้าวขึ้นมานั่นเอง

  • รอยร้าวแตกลึกที่เสา

รอยร้าวที่เสาเช่นนี้ เกิดได้จากเสามีการรับน้ำหนักที่มากเกินไป หรือมีการใช้อาคารผิดประเภท เช่น ใช้บ้านเป็นที่เก็บของ หรือนำเครื่องจักรมาตั้ง ซึ่งเสาต้องรับน้ำหนักมากกว่าที่วิศวกรคำนวณมาในตอนแรก จึงทำให้โครงสร้างของอาคารในแต่ละส่วนนั้นแยกออกจากกัน เสา และคานไม่เชื่อมกัน

ถ้าเสายังร้าวไม่มากนัก ควรคลื่อนย้ายของที่มีน้ำหนักออกจากบริเวณนั้น แต่ถ้าเกิดรอยร้าวจนเห็นถึงเหล็กที่เสริมภายในเสาได้ชัดเจน นั่นเป็นสัญญานเตือนว่า ควรรีบปรึกษาวิศวกรโดยด่วน ก่อนที่อาคารของคุณจะถล่มลงมา

220112-Content-สาเหตุเสาบ้านแตกร้าว-แก้ไขง่ายๆด้วยตัวเองเบื้องต้น05

(ภาพจาก Infinitydesign)

  • รอยร้าวกลางคาน

รอยร้าวกลางคาน คือ การที่คานตัวนั้น เกิดการรับน้ำหนักมากกว่าปกติ จึงเกิดการแอ่นตัวลงมาเป็นแนวโค้งคล้ายตัวยู (U) คอนกรีตจึงปริออกเกิดเป็นรอยร้าวในลักษณะนี้

นอกจากคานต้องรับน้ำหนักที่มากเกินกว่าปกติแล้ว ในบางครั้ง อาจเกิดได้จาก พื้นที่ข้างบนมีน้ำรั่วซึม จึงทำให้เหล็กเกิดสนิม และดันคอนกรีต คาน จนแตกร้าว ต่อมาจึงทำให้คานเหล็กอันนั้นเสื่อมประสิทธิภาพในการใช้งานได้อีกด้วย

  • รอยร้าวข้อปล้อง

รอยร้าวที่มีลักษณะเป็นปล้องที่เสาเป็นชั้น ๆ แนวนอนนั้น เกิดจากการทรุดตัวของฐานราก ซึ่งอาจจะน้อยกว่า หรือไม่เท่ากันกับเสาต้นอื่น ๆ เสาเลยแอ่นตัว และเกิดเป็นรอยร้าวขึ้นมา รอยร้าวชนิดนี้ แสดงถึงความไม่มั่นคงของเสา และฐานราก เป็นอีกหนึ่งรอยร้าวที่อาจจะทำให้บ้านถล่มได้เช่นกัน

220112-Content-สาเหตุเสาบ้านแตกร้าว-แก้ไขง่ายๆด้วยตัวเองเบื้องต้น06

(ภาพจาก Infinitydesign)

วิธีแก้ไขของทุก ๆ รอยร้าว

รอยร้าวที่อันตราย ส่วนมากสาเหตุหลักอาจเกิดจากการใช้งานบ้านที่ผิดประเภท ขั้นตอนโดยการแก้ไขอย่างง่าย มีดังนี้ เริ่มจากสำรวจรอยร้าวนั้น ว่าเกิดจากการวางของที่มีน้ำหนักมากอยู่บนพื้นข้างบนหรือไม่ ถ้าใช่ก็ควรนำของสิ่งนั้นออกจากพื้นที่โดยเร็ว และควรนำดินสอไปขีดไว้ที่รอยร้าว เพื่อคอยจดบันทึกอย่างสม่ำเสมอ ถ้าหากรอยร้าวไม่ลามต่อไปจุดอื่นก็ไม่อันตรายมากนัก แต่ถ้ารอยร้าวลาม และกว้างมากขึ้นภายในเวลาอันรวดเร็ว นั่นแสดงว่าบ้านของเราเกิดปัญหาเข้าเสียแล้ว ต้องรีบไปปรึกษาวิศวกรโครงสร้าง เพื่อหาวิธีรับมือแก้ไขปัญหาโดยด่วน

สินค้าแนะนำจาก KACHA

รถเข็นเครื่องมือช่าง รถเข็นช่าง โครงสร้างเหล็กหนาพิเศษ มีความแข็งแรงทนทานสูง เคลืบด้วยสีฝุ่น ป้องกันสนิม ล้อเลื่อน ผลิตจากพลาสติก (TPR) ทนทาน แถมเก็บเสียงอีกด้วย รองรับการใช้งานได้เป็นอย่างดี 

220112-Content-สาเหตุเสาบ้านแตกร้าว-แก้ไขง่ายๆด้วยตัวเองเบื้องต้น07