ไม้โครง ที่ใช้ในงานเฟอร์นิเจอร์ มีกี่ประเภท ใช้ทำอะไรได้บ้าง?

ไม้โครง คืออะไร?

เป็นไม้ที่มักนำไปใช้เป็นโครงสร้างหลัก สำหรับเฟอร์นิเจอร์ งานตกแต่งผนัง งานฉาก ไปจนถึงงานประตู หรือหน้าต่าง โดยจะมีไม้อัด หรือวัสดุอื่นมาประกอบปิดเพียงด้านเดียว หรือทั้ง 2 ด้านก็ได้เช่นกัน เพื่อให้โครงสร้างมีความแข็งแรงมากขึ้น สำหรับไม้ที่นำมาเป็นไม้โครงนั้น จะมีอยู่ 2 ประเภทด้วยกัน คือ ไม้โครงเส้น และไม้โครงจ๊อย

หน้าที่หลักของไม้โครงใช้เป็นตัวโครงสร้างหลัก ถ้าเปรียบกับการสร้างบ้านก็คืองานโครงสร้างพวก เสา คาน นั่นเอง หรือเป็นการขึ้นตู้ ก่อนที่จะนำไม้อัดมาประกบ และเป็นตัวที่ใช้ในการนำไปจับยึด จากตะปูเกลียว หรือตะปู ให้เกิดความแข็งแรงของตู้, ตัวเฟอร์นิเจอร์ หรือเฟอร์นิเจอร์บิวท์อินที่ต้องการ

ประเภทของ ไม้โครง 

ไม้โครงที่นำมาใช้เป็นโครงเส้น และโครงจ๊อย จะมีให้เลือกหลากหลายไม้ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นไม้สยา, ไม้สน, ไม้สะเดา, ไม้ยางพาราอัดน้ำยา หรือไม้เบญจพรรณอัดน้ำยา ซึ่งความแตกต่างของโครงเส้น และโครงจ๊อยนั้น สามารถแบ่งออกได้ ดังนี้

  1. ไม้โครงเส้น เป็นไม้ท่อนเดียว ที่นำมาตัดเป็นเส้นยาว ๆ เพื่อนำไปใช้ในการทำโครงสร้างต่าง ๆ อาจจะมีราคาแพงกว่า หายากกว่าโครงจ๊อย รวมถึงมีโอกาสที่ไม้จะบิด เมื่อใช้งานไปนาน ๆ อีกด้วย
  2. ไม้จ๊อย จะเป็นไม้เส้นสั้น ๆ ที่นำมาประกอบกันให้กลายเป็นไม้โครงเส้นยาว มีความแข็งแรง และไม่บิดงอ เมื่อใช้งานไปนาน ๆ ง่ายต่อการนำไปใช้งานต่อ สำหรับการจ๊อยไม้นั้น จะมีอยู่ 2 วิธีด้วยกัน คือ แบบ Finger-joint ที่เห็นเป็นรอยฟันปลาที่ประสานกันระหว่างไม้ 2 ชิ้น อยู่ที่ด้านความกว้างของไม้ และแบบ Butt-joint ที่ด้านกว้าง เป็นรอยเส้นตรง โดยทั้งสองประเภทนั้น จะใช้กาวอุตสาหกรรม และเครื่องจักรในการประกอบกับไม้ให้ติดกัน
210513-Content-'ไม้โครง'ที่ใช้ในงานงานเฟอร์นิเจอร์-มีคุณสมบัติอย่างไร-02

ในส่วนของการตัดสินใจเลือกใช้ไม้เส้น หรือไม้จ๊อย ขึ้นอยู่กับราคา และลักษณะงานที่ต้องการใช้เป็นหลัก เนื่องจากไม้แต่ละชนิด จะมีราคา และคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป ที่สำคัญคือ ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อนั้น ควรที่จะต้องวัดความยาวของขนาดไม้โครงเฟอร์นิเจอร์ก่อน เพื่อดูว่าจำเป็นที่จะต้องซื้อ หรือสั่งตัดในความยาวเท่าไร เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุดนั่นเอง

ขนาดของไม้โครง 

ไม้โครงเป็นการนำไม้แปรรูปมาไสให้ได้ขนาด หนาประมาณ 17.5, 20-22 มม. กว้างประมาณ 35, 42-45 มม. ยาว 2.5 ม. นิยมมาจำหน่ายในท้องตลาด เป็นขนาดโดยประมาณ ขึ้นอยู่กับแต่ละผู้ผลิต และจะมัดรวมกันมา มัดละ 10 ท่อน

หนา (มม.) กว้าง (มม.) ยาว (ม.)
นิยมใช้ขนาดตามความยาวไม้อัด
หมายเหตุ
17.5 35
แบบหน้าแคบ
2.4 – 2.5 ประกบไม่อัด 4 มม. หน้า-หลัง จะรวมความหนาโดยประมาณ 22-23 มม. นิยมให้เป็นโครงตัวในเพราะหน้าแคบ
17.5 42 – 45
แบบหน้าปกติ
2.4 – 2.5 นิยมให้กันมาก ติดบานพับถ้วย-ปุ่มรับชั้น ไม่ให้หลุดขาด
20 – 22 42 – 45 2.4 – 2.5 ประกบไม่อัด 4 มม. หน้า-หลัง จะรวมความหนา โดยประมาณ 26-28 มม. ขึ้นอยู่กับไม้อัดที่ประกบ

ไม้โครงเฟอร์นิเจอร์ มีอะไรบ้าง?

โดยส่วนใหญ่ ไม้โครงที่ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ มีหลากหลายเกรด แบ่งตามประเภทของไม้ที่นำมาใช้ ดังนี้

1. ไม้ยางพารา

เป็นไม้โครงที่นิ่วเหนียวใช้งานง่าย เนื่องจากไม้ยางพารา ขัดง่าย มีสีอ่อน เหมาะกับการย้อมสี และขึ้นรูปทั่วไปได้

2. ไม้โครงสน

เป็นไม้โครงที่มีสีอ่อน เหนียว แต่บิดงอง่าย การใช้งานเหมาะกับงานพ่นสี ย้อมสี เนืองจากขัดง่ายมีสีอ่อน ลักษณะจำเพาะเช่นเดียวกับไม้โครงบางพารา เพียงแต่มีทั้งโครงแบบจ๊อย (รอยต่อไม้) และไม่จ๊อย แบบไร้รอยต่อเหมาะแก่การนำไปทำระแนงเล็ก

210513-Content-'ไม้โครง'ที่ใช้ในงานงานเฟอร์นิเจอร์-มีคุณสมบัติอย่างไร-03

3. ไม้เบญจพรรณ

เป็นไม้โครงที่เป็นการรวมไม้หลากหลายชนิดมาใช้ด้วยกัน มีความแข็งแรงดี เหมาะแก่การทำโครง ราคาไม่แพง มีข้อเสีย คือ แข็งมากแต่ไม่เหนียวจนอาจเปราะ และหักง่าย

4. ไม้ทุเรียน

เป็นไม้โครงที่มีเนื้อละเอียด สามารถขึ้นรูปทำงานง่าย ไม่บิดตัว ไม่แอ่น แต่เนื้ออ่อน ทำให้การยิงสกรูยึดเกาะได้ไม่แน่นเท่าไม้เบญจพรรณ

210513-Content-'ไม้โครง'ที่ใช้ในงานงานเฟอร์นิเจอร์-มีคุณสมบัติอย่างไร-04

5. ไม้สยา

มีลักษณะใกล้เคียงกับไม้ทุเรียน คือ ทำงานง่ายไม่บิดตัว แต่ไม้เนื้ออ่อน การยึดเกาะสกรูไม่ดีเท่าที่ควร

6. ไม้ตะเคียน

เป็นไม้โครงที่แข็งแรงมาก แข็งแรงไม่บิดตัว แต่ทำงานยาก เนื่องจากไม้แข็งตัดได้ยากกว่าไม้โครงชนิดอื่น

210513-Content-'ไม้โครง'ที่ใช้ในงานงานเฟอร์นิเจอร์-มีคุณสมบัติอย่างไร-05

7. ไม้ตะแบก

เป็นไม้โครงที่เกรดดี มีความแข็งแรงมากเหนียวไม่หักง่าย ไม่โก่ง ไม่แอ่น ทำงานง่ายตัดง่าย

8. ไม้สักสวนป่า

เป็นไม้โครงที่เกรดดีมาก แข็งเหนียว ตัดทำงานง่าย ไม่หักง่ายไม่โก่งไม่งอ แต่ราคาสูง

9. ไม้สักเนื้อ

ที่คุณภาพเช่นเดียวกับสักสวนป่า แต่ต่างตรงไม้มีอายุมากกว่า จึงแข็งแรง และเหนียวกกว่า รวมถึงปลวกไม่กิน จึงไม่จำเป็นต้องทาน้ำยากันปลวกเลย

ไม้โครงใช้ทำอะไรได้บ้าง?

ไม้โครงเหล่านี้ ควรเลือกใช้ตามความเหมาะสมกับงาน ซึ่งการใช้งานไม้โครงนี้ ส่วนใหญ่ช่างเฟอร์นิเจอร์มักนำมาใช้งานหลายอย่าง เช่น

  • ใช้ทำโครงผนังบิวท์อิน ผนังบิวท์อิน ต้องมีการขึ้นโครงก่อนให้ได้ตามแบบที่ต้องการ ก่อนปิดทับโครงด้วยไม้อัดยาง หรือ MDF ก่อนขั้นตอนการปิดแผ่นลามิเนต หรือพ่นสี
  • ใช้ทำโครงฝ้าเพดาน ฝ้าเพดานที่มีการตกแต่งด้วยแผ่นลามิเนต หรือปิดกระจก ควรใช้โครงเหล่านี้ ทำเป็นโครงสร้าง เนื่องจาก มีความแข็งแรงกว่าโครง C-Line เป็นอย่างมาก และทำให้สามารถรับน้ำหนักได้มากกว่า
210513-Content-'ไม้โครง'ที่ใช้ในงานงานเฟอร์นิเจอร์-มีคุณสมบัติอย่างไร-07
  • ใช้ทำตู้เฟอร์นิเจอร์บิวท์อิน เฟอร์นิเจอร์ที่ใช้ไม้อัดยางในการทำ ต้องมีการขึ้นโครงภายใน เพื่อความแข็งแรงของตู้ จึงนิยมใช้ไม้โครง เนื่องจากสามารถขึ้นงานง่ายกว่านำไม้อัดยางมาเป็นโครง
  • ใช้ทำระแนง ในกรณีที่มีการตกแต่งด้วยระแนง เราสามารถประยุกต์ ใช้ไม้โครงยางพาราแบบไร้รอยต่อ มาทำเป็นระแนงได้ เนื่องจาก สามารถย้อมสีได้ง่าย เพราะตัวไม้โครงยางพารา มีสีอ่อนอยู่แล้ว จึงขับสีย้อมให้เด่นชัดได้ง่ายนั่นเอง

จะเห็นว่าไม้โครงนั้น สามารถช่วยลดเศษไม้ได้อย่างมาก ทั้งสามารถนำมาใช้งานในวงการเฟอร์นิเจอร์ได้อย่างหลากหลาย ดังนั้นการใช้งาน ควรเลือกให้เหมาะสมกับงาน ว่าต้องการทำโครงแบบไหน รับน้ำหนักหรือไม่ หรือจะนำไปย้อมสีพ่นสี ก็ควรเลือกให้เหมาะสมจึงจะงานที่มีคุณภาพตามต้องการ

>>สามารถติดตามบทความต่าง ๆ ของ KACHA ได้ตามนี้เลย<<


บทความที่น่าสนใจ