Checklist จุดสำคัญการ ตรวจบ้าน ก่อนโอนทำได้ไม่ยาก!

ช่วงนี้บ้านแนวราบกำลังมาแรง ยอดจองหลาย ๆ โครงการกำลังไปได้สวย ขั้นตอนต่อไปที่กำลังจะตามมา จึงเป็นการ ตรวจบ้าน รับบ้าน ก่อนโอนรับกรรมสิทธิ์ ซึ่งมือใหม่ ซื้อบ้านครั้งแรก หลาย ๆ คนคงยังไม่รู้ว่ามีอะไรบ้าง ที่ต้องตรวจสอบให้ดีก่อนตกลงเซ็นรับบ้าน

บทความนี้ KACHA จึงอยากจะพาทุกคนไป ตรวจบ้าน เช็คจุดสำคัญก่อนโอนบ้าน มาให้เพื่อน ๆ ได้เตรียมตัวกัน

จุดสำคัญในการ ตรวจบ้าน มีอะไรบ้าง?

การตรวจบ้าน เป็นขั้นตอนที่สำคัญ ต้องใช้ความละเอียดถี่ถ้วนในการหาจุดบกพร่องของบ้าน เพื่อแจ้งให้โครงการแก้ปัญหาก่อนโอนรับกรรมสิทธิ์

211220-Content-Checklist-จุดสำคัญการตรวจบ้าน-ก่อนโอนทำได้ไม่ยาก!02

หากตรวจไม่ละเอียดแล้วไปพบปัญหาหลังจากโอนรับบ้าน เราจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าซ่อมแซมเอง หรือถ้าตรวจเจอแต่โครงการให้เซ็นรับมอบไปก่อน โดยสัญญาว่าจะแก้ไขปัญหาให้ เจ้าของบ้านจะต้องวุ่นวายอย่างมากในการทวงสัญญา เพราะเมื่อคนขายได้เงินไปแล้ว โดยส่วนมาก มักจะไม่ใส่ใจลูกค้าเท่าไรนัก เพื่อรักษาสิทธิ์ในตอนที่เรายังมีอำนาจต่อรอง มาดูกันดีกว่า ว่ารายละเอียด จุดสำคัญในการตรวจบ้านนั้นมีอะไรบ้าง?

พื้นที่นอกตัวบ้าน

ด่านแรกสุดที่เราต้องตรวจ คือ พื้นที่ภายนอกตัวบ้านซึ่งแบ่งรายละเอียดปลีกย่อยได้ ดังนี้

211220-Content-Checklist-จุดสำคัญการตรวจบ้าน-ก่อนโอนทำได้ไม่ยาก!03
  • ประตูรั้ว หากเป็นบานพับ จะต้องเปิด-ปิดได้สะดวก ไม่ฝืดเคือง ถ้าเป็นเเบบเลื่อน เปิดค้างไว้ตรงไหน จะต้องหยุดอยู่ตรงนั้น ไม่เลื่อนไหลเอง งานสีต้องทาเรียบร้อยครบทั้งบาน ไม่มีส่วนที่เห็นเนื้อวัสดุหรือขึ้นสนิม กลอนประตู สามารถใช้การได้ดี
  • รั้ว จะต้องไม่เอียง ไม่ล้ม ไม่มีรอยแตกร้าว สีหรือวัสดุพื้นผิว จะต้องเรียบร้อยสวยงาม ไม่มีคราบความสกปรกจากการก่อสร้าง
    อ่านบทความ: รั้วบ้าน มีกี่แบบ เลือกอย่างไรให้เหมาะกับบ้าน
  • ดินถมรอบบ้าน ดินที่ถม ต้องถมเต็มพื้นที่ ปรับระดับของดินบริเวณรอบบ้านให้เรียบ หรือเป็นเนินอย่างสวยงาม ไม่มีเศษวัสดุก่อสร้าง หรือคราบปูนหลงเหลือ
    อ่านบทความ: ชนิดของดิน มีกี่แบบ แบบไหนเหมาะกับถมดินสร้างบ้าน
  • หญ้าและต้นไม้ หากโครงการสัญญาว่า จะปลูกหญ้า และต้นไม้ในบริเวณบ้าน ควรสั่งให้ลงมือปลูกภายหลังจากการตรวจบ้านเมื่อใกล้เวลาที่เราจะเข้าอยู่ ส่วนการลงต้นไม้ ต้องตรวจสอบให้ดีว่ามีการนำแผ่นพลาสติก หรือตาข่ายพลาสติกออกจากตุ้มดินหรือยัง
  • การระบายน้ำรอบที่ดิน ตรวจสอบว่าบ้านมี รางระบายน้ำ หรือจุดสำหรับระบายน้ำอยู่รอบที่ดิน ในทิศทางที่จะไม่ไหลย้อนกลับเข้าตัวบ้าน ท่อระบายน้ำจะต้องมีบ่อพักและฝาเปิด เพื่อการซ่อมบำรุงทุกระยะ 12 เมตร หากสามารถไปตรวจสอบทันทีหลังฝนหยุดตก จะทำให้เห็นทิศทางการระบายน้ำได้ดี
    อ่านบทความ: ท่อระบายน้ำ มีกี่ประเภท แต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร? / รางน้ำฝน เลือกแบบไหนให้เหมาะกับบ้าน
  • ที่จอดรถ ตรวจสอบความลาดเอียงของพื้น ให้อยู่ในองศาที่พอเหมาะ เพื่อป้องกันน้ำขังจากฝนสาด หรือน้ำล้างรถ พื้นผิวต้องเรียบเสมอไม่มีผิวขรุขระ ก่อสร้างด้วยปูนซีเมนต์ เพื่อความเเข็งแรงรองรับน้ำหนักของรถ
  • ผนังภายนอก ตรวจสอบรอยแตกร้าว ทั้งจากการฉาบปูน และทาสี สีจะต้องเรียบเนียนสม่ำเสมอ หากเป็นวัสดุบุผนังอื่น ๆ จะต้องไม่แตกบิ่น หรือบวม
  • ระเบียง หรือเฉลียงนอกบ้าน วัสดุปูพื้นเรียบร้อยสวยงาม ไม่ลื่นเวลาเปียกน้ำ และน้ำจะต้องไหลออกนอกตัวบ้านเสมอ
    อ่านบทความ: เฉลียงหน้าบ้าน ออกแบบจัดวางอย่างไร ให้บ้านสวย ดูดี และน่าอยู่

โครงสร้าง

การตรวจสอบโครงสร้างบ้าน จะต้องดูกันระหว่างขั้นตอนก่อสร้าง ทว่าปัจจุบันหลายคนเลือกซื้อบ้านที่สร้างเสร็จพร้อมอยู่ การตรวจโครงสร้าง จึงทำได้ไม่ละเอียดนัก เพราะถูกปกปิดด้วยการตกแต่งส่วนต่าง ๆ แต่ก็ยังสามารถตรวจสอบคร่าว ๆ ได้ตามจุดต่าง ๆ ดังนี้

  • เสาและคานส่วนของโครงสร้างเหล็ก ไม่มีรอยแตกร้าว ไม่มีรอยแยกระหว่างเสากับผนัง รูปแบบของเสาไม่แอ่น หรือโค้ง
  • พื้น จะต้องเรียบสม่ำเสมอ ไม่แอ่นหรือป่องขึ้นมา
  • เสาเอ็นและทับหลังรอบวงกบประตูหน้าต่าง ไม่มีรอยแตกร้าวที่มุมวงกบประตู และหน้าต่าง
  • โครงสร้างเหล็กรับหลังคา ต้องมีการทาสีเคลือบกันสนิมทั่วบริเวณ การเชื่อมต่อของโครงเหล็ก จะต้องมั่นคงแข็งแรง ระยะห่างระหว่างระแนงรับกระเบื้องต้องเท่ากันสม่ำเสมอ
  • โครงสร้างไม้ฝ้าเพดาน เนื้อไม้ต้องมีการเคลือบน้ำยาป้องกันปลวกทั่วทุกด้าน ไม่มีรอยผุหรือกัดแทะของแมลง
211220-Content-Checklist-จุดสำคัญการตรวจบ้าน-ก่อนโอนทำได้ไม่ยาก!04

หลังคา

หน้าที่ของหลังคา คือ การบังแดดและฝน การตรวจสอบว่าหลังคาอยู่ในสภาพดีหรือไม่ จึงควรตรวจสอบหลังฝนตกหมาด ๆ เพื่อหาจุดรั่วซึมได้ง่าย แต่หากไม่สามารถรอให้ฝนตกได้ ก็ต้องสังเกตจากคราบน้ำฝน โดยจุดสำคัญของหลังคาที่ต้องตรวจสอบ มีดังนี้

  • ชายคา กระเบื้องทุกแผ่น ติดตั้งอย่างแข็งแรง รอยต่อของวัสดุทำชายคาเชื่อมต่ออย่างเรียบร้อย ขอบชายคาได้แนวตรงทุกด้าน
  • พื้น พื้นเรียบสม่ำเสมอ ไม่แอ่นหรือป่องขึ้นมา
  • ฝ้าเพดานใต้ชายคา ใช้วัสดุที่กันน้ำได้ ไม่มีคราบน้ำรั่วซึม ติดตั้งเรียบร้อย ทาสีเรียบเนียนสม่ำเสมอ
  • ช่องระบายอากาศ เรียบร้อยไม่คดงอ หากมีการเจาะรู ขนาดรูต้องเท่ากันสม่ำเสมอ ควรมีการติดตั้งมุ้งลวดใต้หลังคาเพื่อกันแมลงและสัตว์เล็ก
    อ่านบทความ: ช่องลมระบายอากาศ ในบ้าน แก้ปัญหาบ้านร้อนได้จริงหรือ?
  • กระเบื้องหลังคา ติดตั้งสวยงามได้แนวตรง ผูกลวดยึดเกาะกันอย่างแข็งแรง สีกระเบื้องสม่ำเสมอตรงตามที่กำหนด
    แนะนำตัวช่วยดี ๆ : เครื่องผูกลวดอัตโนมัติ เครื่องผูกเหล็กเส้น ไร้สาย
  • การรั่วซึมของหลังคา ฝ้าใต้หลังคาต้องไม่มีคราบน้ำรั่วซึม กระเบื้องปูหลังคาแต่ละเเผ่นต้องแนบสนิท มองจากภายในบ้านแล้วไม่เห็นรูแสงผ่านเข้ามา

พื้น

พื้น คือ ส่วนที่เราสัมผัสมากที่สุดของบ้าน สามารถตรวจสอบความเรียบร้อยได้ด้วยการมองและการสัมผัส โดยมีจุดสำคัญ ที่ควรดูให้ละเอียด ดังนี้

  • พื้นผิวในตัวบ้าน เรียบเนียนสม่ำเสมอ เดินไม่สดุด ไม่นูน โก่งตัว หรือยุบเป็นโพรงใต้กระเบื้อง หากไม่ใช่ส่วนระบายน้ำต้องไม่เป็นแอ่ง
  • พื้นผิวส่วนเปียก พื้นห้องน้ำ ลานจอดรถ ลานซักล้าง เฉลียงภายนอก ต้องมีความลาดเอียงพอเหมาะกับการระบายน้ำ และต้องไม่มีน้ำขังเป็นแอ่ง
  • บันได ลูกนอนและลูกตั้งของบันได ต้องเท่ากันทุกขั้น แต่ละขั้นต้องได้ฉาก และได้แนว เวลาเดินขึ้นลงต้องไม่ส่งเสียงดัง วัสดุเคลือบผิวเรียบร้อย ติดตั้งราวกันตกอย่างเเข็งแรงอ่านบทความ: บันไดบ้าน ตามหลักฮวงจุ้ย ควรเป็นอย่างไร?
  • การปูพื้น หรือติดตั้งวัสดุบุผิว พื้นไม้ พื้นลามิเนต หินอ่อน หินแกรนิต กระเบื้องเซรามิค รวมถึงพรม รอยต่อต้องสนิทดี เรียบเนียนเสมอกัน ไม่มีคราบน้ำ หรือความชื้นจากภายใจ ยาแนวที่ใช้ต้องผสมสารกันซึมและเชื้อรา สีสม่ำเสมอถูกต้องตามแบบ ไม่มีคราบสกปรก
211220-Content-Checklist-จุดสำคัญการตรวจบ้าน-ก่อนโอนทำได้ไม่ยาก!05

ผนัง

ผนังเป็นส่วนที่มีพื้นผิวมากที่สุดของบ้าน มีรายละเอียดที่ต้องตรวจสอบอย่างถี่ถ้วน ดังนี้

  • ระดับผิวหน้าผนัง ต้องได้ดิ่งและได้ฉาก ผิวปูนฉาบหนังต้องเรียบสม่ำเสมอ ไม่มีสวนที่ปูดออก หรือยุบเป็นหลุม ไม่มีรอบแตกร้าว ทาสีเรียบสม่ำเสมอ
  • รอยต่อระหว่างพื้น ผนัง เพดาน ต้องแนบสนิท ไม่มีรอยแตกระหว่างผนังกับพื้น และเพดาน
  • วัสดุบุผนัง วิธีสังเกตเหมือนกับวัสดุปูพื้น คือ เรียบเนียบเสมอกัน สีสม่ำเสมอถูกต้องตามแบบ ส่วนที่เพิ่มขึ้นมา คือ บัวพื้น บัวเชิงผนัง และบัวฝ้าเพดาน ต้องติดตั้งแนบสนิบไม่โก่ง หรือคดงอ ได้ระดับเท่ากันทั้งห้อง

ฝ้าเพดาน

เป็นส่วนที่ไกลจากการสัมผัสที่สุดเพราะอยู่สูง แต่ไม่ควรละเลยการตรวจสอบอย่างละเอียด โดยทั่วไป ฝ้าเพดาน จะใช้วัสดุ 3 ชนิด ได้แก่ ยิบซั่มบอร์ดฉาบเรียบ ฝ้าทีบาร์ และฝ้าแผ่นกระเบื้องซีเมนต์ โดยมีจุดสังเกต ดังต่อไปนี้

211220-Content-Checklist-จุดสำคัญการตรวจบ้าน-ก่อนโอนทำได้ไม่ยาก!06

ช่องเปิด

ช่องเปิด คือ ช่องต่าง ๆ ที่เปิดออกจากตัวบ้าน ได้แก่ ช่องประตู ช่องหน้าต่าง ช่องแสง ช่องระบายอากาศ บานเกล็ด ผนังอิฐแก้ว ฯลฯ มีเรื่องที่ต้องตรวจสอบ ดังนี้

  • กรอบของช่องเปิด กรอบของทุกช่องเปิดต้องได้แนวและระดับ มีการทำทับหลังและเสาเอ็น ช่องเปิดต้องได้ฉาก และขนาดที่ถูกต้อง เปิดปิดได้สะดวก ไม่มีช่องว่างระหว่างบานกรอบกับวงกบ
  • กระจก ไม่มีรอยแตกร้าว หรือขีดข่วน กดดูแล้วไม่หลุดออกจากบาน หรือโก่งจนเหมือนจะแตก รอยต่อระหว่างกระจกกับบาน หรือวงกบต้องแนบสนิท
  • อุปกรณ์ต่าง ๆ ใช้งานได้ดี ลงกลอนได้สุดทุกตัว มือจับ และลูกบิดติดตั้งแข็งแรง ไม่หลวมหลุด เมื่อออกแรงดึง

ไฟฟ้า

การตรวจสอบระบบไฟฟ้า มีตั้งแต่ระดับง่ายสำหรับเจ้าของบ้านทั่วไป จนถึงระดับยากที่ต้องอาศัยความรู้เชิงช่าง มีรายละเอียดคร่าว ๆ ดังนี้

211220-Content-Checklist-จุดสำคัญการตรวจบ้าน-ก่อนโอนทำได้ไม่ยาก!07
  • ปลั๊กไฟฟ้า ใช้งานได้ทุกจุด ฝาครอบไม่หมองคล้ำหรือมีรอยดำ ควรตรวจสอบด้วยไขควงวัดไฟ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า และอย่าลืมลองกดกลิ่งหน้าบ้านดูด้วยว่าใช้งานได้หรือไม่
    อ่านบทความ: เรื่องที่ต้องรู้! ก่อนซื้อ ปลั๊กไฟ
  • สวิทช์ไฟฟ้า เปิดปิดได้อย่างสะดวก ควรลองเปิดปิดแรง ๆ หลายครั้ง และฝาครอบ ต้องไม่หมองคล้ำ หรือมีรอยดำ
    อ่านบทความ: เต้ารับ สวิตช์ไฟ คืออะไร? เลือกใช้อย่างไร?
  • ไฟแสงสว่าง หลอดไฟฟ้าทุกดวง ทั้งในและนอกบ้าน ต้องเปิดได้ทุกดวง ไม่มีคราบดำ
  • การเดินสายไฟฟ้า ต้องเดินเรียบร้อยสวยงาม แบบลอยต้องมีการตีกิ๊บเรียบร้อย ส่วนการเดินลอยบริเวณมุมต้องเข้ามุมสวยงาม ไม่มีบริเวณใดของสายที่เป้นรอยคล้ำ หรือดำ
  • อุปกรณ์ไฟฟ้าอื่น ๆ ตามปกติโครงการบ้าน จะแถมเครื่องใช้ไฟฟ้าพื้นฐานอย่าง เครื่องปรับอากาศ พัดลมดูดอากาศ เครื่องดูดควัน เตาไฟฟ้า เครื่องทำน้ำอุ่น ฯลฯ ควรทดลองเปิดอุปกรณ์ทั้งหมดพร้อม ๆ กัน เพื่อตรวจดูการใช้ไฟว่าปกติดีหรือไม่ และต้องขอใบรับประกันของอุปกรณ์ทุกชิ้นเก็บไว้ด้วย
  • สายดิน ต้องมีการเดินสายดินไว้อย่างเรียบร้อยทุกปลั๊กไฟฟ้า และต้องสอบถามที่ฝังแท่งเหล็กของสายดินให้ทราบชัดเจนว่าอยู๋ตรงไหน
    อ่านบทความ: สายดิน คืออะไร? ทำไมต้องติดตั้ง!

สุขาภิบาล

ระบบสุขาภิบาลระบบนี้ จะเกี่ยวกับเรื่องน้ำทั้งหมดในบ้าน มีจุดสำคัญต้องตรวจสอบ ดังนี้

211220-Content-Checklist-จุดสำคัญการตรวจบ้าน-ก่อนโอนทำได้ไม่ยาก!08
  • การติดตั้งสุขภัณฑ์และอุปกรณ์ ติดตั้งในตำแหน่งที่ถูกต้อง ได้ระนาบและได้ฉาก มั่นคงแข็งแรง ผิวสุขภัณฑ์เรียบเนียนไม่มีรอยด่างหรือคราบสกปรก
  • ก๊อกน้ำ ใช้งานได้ดี เปิดปิดไม่ติดขัด หรือหลวม น้ำไหลโดยสะดวกไม่เบาผิดปกติ เมื่อปิดก๊อกแล้วต้องไม่มีน้ำหยดซึม
    อ่านบทความ: “ก๊อกน้ำ” คุณสมบัติที่น่ารู้ ก่อนนำไปใช้งาน
  • อ่างล้างหน้า และอ่างอาบน้ำ ติดตั้งในตำแหน่ง และระดับความสูงที่ถูกต้อง ช่องน้ำล้น และสะดือระบายน้ำได้ดี พื้นผิวเรียบเนียน สะอาดไม่มีคราบสกปรก
    อ่านบทความ: อ่างล้างหน้า คุณสมบัติที่น่ารู้ เลือกอย่างไรก่อนนำไปใช้งาน
  • จุดระบายน้ำที่พื้น สามารถระบายน้ำได้เป็นอย่างดี ในเวลาที่รวดเร็ว โดยที่ระบายน้ำ ควรมีถ้วยดักกลิ่นหรือติดตั้งระบบดักกลิ่นด้วยท่อข้องอ ขังน้ำกันกลิ่น
  • ระบบท่อ ต้องไม่มีรอยรั่วของน้ำทุกจุดของท่อ และข้อต่อ เมื่อปิดระบบน้ำทั้งหมดแล้วมิเตอร์ต้องไม่เดิน
  • โถส้วม กดน้ำแล้วสามารถชำระสิ่งปฏิกูลได้เป็นอย่างดี ยาแนวที่ฐานเรียบร้อยไม่มีฟองอากาศเกิดขึ้นเมื่อใช้งาน และไม่มีฟองอากาศผุดขึ้นในโถ เมื่อมีการใช้งานโถส้วมห้องน้ำห้องอื่น
    อ่านบทความ: ชักโครก แต่ละแบบแตกต่างกันอย่างไร?

จุดสำคัญที่ต้องตรวจสอบ ก่อนตกลงโอนกรรมสิทธิ์บ้าน ซึ่งการจะเช็คให้ละเอียดครบทุกซอกทุกมุม จนมั่นใจในความสมบูรณ์ของบ้านนั้น ต้องใช้ความรู้เชิงลึกพอสมควร  ปัจจุบันนี้ จึงมีบริษัทรับจ้าง ตรวจบ้าน โดยวิศวกรหลายแห่ง พร้อมให้บริการ แต่ผู้ซื้อบ้านมีความเข้าใจคอนเซปต์คร่าว ๆ ไว้บ้างก็คงจะดีกว่า

เป็นอย่างไรกันบ้างกับการ Checklist จุดสำคัญการตรวจบ้าน ก่อนจะรับโอน หวังว่าคงให้ความรู้แก่ผู้อ่าน เพื่อไปประกอบการพิจารณาไม่มากก็น้อย

สามารถติดตามบทความต่าง ๆ ของ KACHA ได้ตามนี้เลย