
รู้จัก ห้องคลีนรูม (Cleanroom) ในอุตสาหกรรม คืออะไร?
เมื่อพูดถึง ห้องปลอดเชื้อ หรือห้องสะอาด หลาย ๆ คนคงคุ้นเคยกับคำว่า ห้องคลีนรูม (Clean Room) กันอย่างแน่นอน เป็นอีกหนึ่งห้องที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้า ที่ต้องมีมาตรฐานในความสะอาดระดับสูง ปลอดเชื้อโรค และฝุ่น จึงมีหลาย ๆ โรงงานอุตสาหกรรม ที่ต้องมีการใช้ห้องนี้ในการผลิต แล้วห้องคลีนรูมที่ว่านี้คืออะไร ตาม KACHA ไปรู้จักกับ ห้องคลีนรูม กันเลยจ้า
ห้องคลีนรูม (Cleanroom) คือ?
คลีนรูม หรือ ห้องปลอดเชื้อ คือ ห้องสะอาดที่มีการควบคุมปริมาณอนุภาคฝุ่นละออง และสิ่งปนเปื้อนต่าง ๆ ไม่ให้เกินระดับที่กำหนดไว้ และควบคุมปัจจัยเสริมต่าง ๆ นิยมใช้กันในวงการที่ต้องระมัดระวังเรื่องฝุ่นละออง หรือเชื้อโรคเป็นพิเศษ เช่น โรงพยาบาล โรงงานอุตสาหกรรมประเภทอาหารและยา โรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์ เป็นต้น

คุณสมบัติจำเพาะของห้องคลีนรูมโรงงาน
สำหรับห้องคลีนรูม มีคุณสมบัติจำเพาะที่กำหนดเอาไว้อย่างชัดเจน เพื่อแยกแยะประเภทของห้อง ให้แตกต่างกว่าห้องในโรงงานทั่ว ๆ ไป ดังนี้
- อุณหภูมิที่เหมาะสม กำหนดอยู่ในช่วง 22.2 °C ± 0.14 °C โดยอุณหภูมิ เป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องควบคุมภายในห้องคลีนรูม เพราะอุณหภูมิมีความเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ จึงมีการกำหนดตามความต้องการของกระบวนการผลิต
- ความชื้นสัมพัทธ์ที่เหมาะสม ประมาณ 50 ± 10 % มีส่วนในเรื่องของผลิตภัณฑ์ หากความชื้นภายในห้องไม่เหมาะสม อาจทำให้ผลผลิตเสียหายได้
- ความดัน จะต้องเป็นบวกเสมอ มีทางเข้า-ออก ที่ปิดมิดชิด และมีพัดลมเป่า ห้องที่มีระดับความสะอาดต่างกัน กำหนดให้มีความดันต่างกันอย่างน้อย 0.05 นิ้วน้ำ
- แสงสว่าง กรณีที่ไม่มีการกำหนดพิเศษ จะอยู่ที่ 1,080-1,620 lux
- ระดับเสียง ตามข้อกำหนดของการใช้งาน
ประเภทห้องคลีนรูม
สามารถแบ่งตามลักษณะการใช้งานของห้องคลีนรูม ได้ดังนี้
1. Industrial Clean Room (ICR)

เป็นระบบห้องสะอาดแบบความดันบวก (Positive Pressure) คือ ห้องปลอดเชื้อ ที่ต้องระมัดระวังเรื่องฝุ่น เป็นห้องสะอาดที่ใช้กับอุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ Microchip เครื่องใช้ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน อุตสาหกรรมการผลิตสี และสารเคมีต่าง ๆ เป็นต้น
2. Biological Clean Room (BCR)

เป็นระบบห้องสะอาดแบบความดันลบ (Negative Pressure) คือ เป็นห้องสะอาด ที่ใช้กับอุตสาหกรรมการผลิตยา ห้องปฏิบัติการทางด้านชีววิทยา ห้องผ่าตัด เพื่อควบคุมปริมาณเชื้อแบคทีเรีย ความดันอากาศในห้องจะ ต้องสูงกว่าความดันอากาศห้องข้างเคียง เพื่อป้องกันไม่ให้สิ่งสกปรกจากห้องข้างเคียงไหลเข้าสู่ห้องสะอาดนั่นเอง
3. Biohazard Clean Room

เป็นระบบห้องสะอาดแบบความดันลบ คล้าย ๆ ห้องแบบ Biological Clean Room แต่จะเป็นห้องสะอาด ที่ใช้กับห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับ เชื้อโรคไวรัส หรือสารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยความดันอากาศในห้อง จะต้องต่ำกว่าความดัน อากาศห้องข้างเคียง เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ หรือสารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพออกไป ปนเปื้อนสิ่งแวดล้อมภายนอก
เกล็ดความรู้:
- ห้องคลีนรูม ความดันบวก (Positive Pressure) คือ สภาวะที่ความดันภายในห้องมากกว่าความดันภายนอกห้อง หรือมากกว่าความดันบรรยากาศ ทำให้มีอากาศไหลออกจากห้อง ซึ่งห้อง Positive ใช้กับห้องสะอาด เช่น ห้องบรรจุ ห้องเตรียมวัตถุดิบ เพื่อป้องกันไม่ให้ฝุ่นละออง แบคทีเรีย เข้ามาได้
- ห้องคลีนรูม ความดันลบ (Negative Pressure) คือ ห้องที่มีสภาวะที่มีความดันอากาศภายในห้องต่ำกว่าภายนอกห้อง ซึ่งห้อง Negative ใช้กับห้องสะอาด ที่เกี่ยวข้องกับเชื้อโรค หรือสารเคมีอันตราย ที่ต้องป้องกันไม่ให้แพร่ระบาดไปภายนอก โดยความดันในห้องจะมีต้องเป็นลบ อากาศภายในห้อง จะถูกทำให้มีความดันต่ำกว่า จะไม่ไหลออกจากห้อง เมื่อมีการเปิด-ปิดประตู และป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคจากในห้องไปสู่บริเวณอื่น ๆ
วิธีการควบคุมเพื่อรักษามาตรฐาน ห้อง Clean Room
- รักษาความดันในห้องให้สูงกว่าภายนอก
- ใช้ HEPA filter กรองอากาศที่เข้าสู่ห้อง
- ทำความสะอาดร่างกายโดยล้างตัวด้วยอากาศ (air washer) ก่อนเข้าห้อง
- สวมชุดพิเศษ สำหรับคนงานทุกคน
- วัสดุที่ใช้ในห้องต้องสะอาด
- การทำความสะอาด ต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด
- ผนังห้อง ต้องสะอาด ไม่สะสมฝุ่น
- ควรมีการหมุนเวียนอากาศบางส่วนออกสู่ภายนอก เพื่อลดสิ่งสกปรกที่เกิดขึ้น
- ควรทำที่ป้องกันอย่างมิดชิด หรือมีการดูดอากาศทิ้งเป็นจุด ๆ ณ บริเวณที่มีอาจจะก่อให้เกิดความสกปรก

เป็นอย่างไรบ้าง ห้องคลีนรูม ห้องปลอดเชื้อ ที่เรานำมาฝากกัน คงเข้าใจและรู้จักห้องชนิดนี้กันมากขึ้นแล้ว เรียกได้ว่า เป็นห้องที่ป้องกันปัญหาของสิ่งปนเปื้อน ฝุ่นละอองต่าง ๆ ที่มาจากผู้ปฏิบัติงาน เครื่องจักร กระบวนการผลิตรวมถึงอากาศภายนอกด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ สามารถทำให้ผลิตภัณฑ์ หรืองานที่กำลังทำอยู่ ขาดประสิทธิภาพได้
บทความดี ๆ น่าอ่าน:
- รู้จักกับ ระบบ HVAC คืออะไร? มีความสำคัญอย่างไรในโรงงาน
- แชร์วิธีดู อายุสินค้า อายุสต๊อกสินค้า แต่ละประเภท ทำได้อย่างไรบ้าง?
- มาตรฐาน GMP โรงงาน คืออะไร? มีความสำคัญอย่างไรบ้าง?
- “กฎหมายควบคุมอาคาร” รู้ไว้ก่อนสร้างโรงงาน โกดัง และคลังสินค้า
- เรื่องต้องรู้ ระยะร่นโกดัง ระยะร่นโรงงาน ก่อนวางแปลนสร้าง มีอะไรบ้าง?
- 10 แบบโกดังพร้อมออฟฟิศ 2023 เก็บของได้ ทำธุรกิจได้ในที่เดียว
KACHA ผู้จัดจำหน่าย รอกโซ่ รอกโซ่มือสาว เครนยกของ และอุปกรณ์เสริมสำหรับงานช่าง ต่าง ๆ ราคาจับต้องได้ สินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจ นอกจากนี้ บริษัทของเรา ยังมีบริการรับ สร้างโกดัง สร้างโรงงาน สร้างคลังสินค้าต่าง ๆ จากช่างมืออาชีพที่มีประสบการณ์ การันตีผ่านมาตรฐานก่อสร้าง และความปลอดภัยต่าง ๆ เข้าชมเว็บไซต์ www.kacha.co.th
อ้างอิงข้อมูลจาก www.bspirit.co.th, www.charmace.com
เพื่อไม่ให้พลาดข่าวสารสำคัญ และโปรโมชั่นพิเศษมากมาย สามารถติดตามเราผ่านช่องทางต่างๆได้หลากหลายช่องทางตามด้านล่างนี้เลย
บทความที่เกี่ยวข้อง
พลาสติก PE คืออะไร? รู้จักประเภท คุณสมบัติ และการใช้งานที่ควรรู้
25 กรกฎาคม 2025
พลาสติก PP คืออะไร? รวมคุณสมบัติและการใช้งาน
14 กรกฎาคม 2025
มือใหม่ต้องรู้! หัวไขควงแบบต่างๆ มีอะไรบ้าง ใช้ต่างกันยังไง
30 มิถุนายน 2025
ไขข้อสงสัย! น็อตคืออะไร น็อตมีกี่ประเภท
30 มิถุนายน 2025
10 อุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม ที่ควรมีไว้ติดบ้านก่อนน้ำจะมา
9 มิถุนายน 2025
แม่แรงไฮดรอลิค คืออะไร มีแบบไหนบ้าง?
9 มิถุนายน 2025
บทความที่น่าสนใจ
พลาสติก PE คืออะไร? รู้จักประเภท คุณสมบัติ และการใช้งานที่ควรรู้
25 กรกฎาคม 2025
พลาสติก PP คืออะไร? รวมคุณสมบัติและการใช้งาน
14 กรกฎาคม 2025
มือใหม่ต้องรู้! หัวไขควงแบบต่างๆ มีอะไรบ้าง ใช้ต่างกันยังไง
30 มิถุนายน 2025
ไขข้อสงสัย! น็อตคืออะไร น็อตมีกี่ประเภท
30 มิถุนายน 2025
10 อุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม ที่ควรมีไว้ติดบ้านก่อนน้ำจะมา
9 มิถุนายน 2025
แม่แรงไฮดรอลิค คืออะไร มีแบบไหนบ้าง?
9 มิถุนายน 2025