วิธีปูกระเบื้อง การปูกระเบื้อง ทับพื้นเดิม มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง?

ปัญหาคราบสกปรกฝังแน่น หรือรอยขีดข่วนบนพื้นกระเบื้อง รวมไปถึงปัญหากระเบื้องโก่งตัว กระเบื้องระเบิด เป็นปัญหาใหญ่ที่มักเกิดขึ้นในบ้าน โดยวิธีการแก้ปัญหาที่ได้รับความนิยมอย่างมาก คือ การปูกระเบื้องใหม่ ถึงแม้จะเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่ถูกต้อง แต่ก็มาพร้อมกับค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมที่ค่อนข้างสูง อีกทั้งเสียเวลาอย่างมาก โดยการปูกระเบื้องใหม่นั้น จะต้องคำนึงถึง วิธีปูกระเบื้อง ที่ถูกต้อง ต้องผ่านหลายขั้นตอนกว่าจะได้พื้นที่มั่นคง เพื่อให้พื้นกระเบื้องที่แข็งแรงทนทาน ใช้งานได้อย่างยาวนานนั่นเอง

วันนี้ตาม KACHA ไปดู การปูกระเบื้อง วิธีการปูกระเบื้อง เก่าทับกระเบื้องใหม่กันว่า จะทำอย่างไรได้บ้าง?

How To การปูกระเบื้อง ทับพื้นเดิม มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง?

หนึ่งสิ่งที่สำคัญก่อนเริ่มปูกระเบื้อง คือ อย่าลืมตรวจสอบพื้นเดิมเสียก่อน เพื่อให้พื้นกระเบื้องที่ปูเสร็จเรียบร้อยแล้วออกมาสวยงาม แข็งแรง ไม่เสี่ยงเกิดปัญหาในอนาคต โดยสิ่งที่ควรคำนึงถึง มีดังต่อไปนี้

สิ่งที่ควรคำนึงถึง ก่อนปูกระเบื้องทับพื้นเดิม

  1. พื้นเดิมต้องเรียบเนียน ไม่มีรอยแตกร้าว
  2. บริเวณพื้นทั่วไปต้องเสมอกัน ไม่มีความลาดเอียง
  3. หากต้องการปูกระเบื้องทับบริเวณพื้นห้องน้ำ ควรตรวจเช็คทิศทางการไหลของน้ำให้ดีเสียก่อน ที่สำคัญต้องทำระบบกันซึมก่อนทำการปูกระเบื้องทับ
  4. ในกรณีที่มีกระเบื้องบางแผ่นชำรุด เช่น มีการโก่งตัว หรือมีรอยร้าว ควรสกัดแผ่นที่ชำรุดออก จากนั้น ปรับระดับพื้นให้เท่ากับกระเบื้องแผ่นอื่น
  5. หากกระเบื้องมีอาการโปร่ง ไม่ควรปูทับอย่างเด็ดขาด เพราะจะทำให้เกิดปัญหากระแตกร้าว หรือน้ำรั่วซึมภายหลังได้
210611-Content-How-To-การปูกระเบื้องทับพื้นเดิม-มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง-02

อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับปูกระเบื้อง มีอะไรบ้าง?

สำหรับอุปกรณ์ที่เราใช้มาปูกระเบื้องทับพื้นเดิมกัน มีดังนี้

  1. แผ่นกระเบื้อง เลือกแผ่นกระเบื้องตามความต้องการ โดยเลือกให้เหมาะสมกับโครงสร้าง เพื่อป้องกันปัญหาโครงสร้างรับน้ำหนักมากเกินจนทำให้เกิดอันตรายได้
  2. กาวซีเมนต์ ควรเลือกใช้กาวซีเมนต์ที่เหมาะกับการปูทับพื้นกระเบื้องเดิม โดยควรเลือกใช้กาวซีเมนต์ที่มีคุณสมบัติเกาะติดแน่น เพื่อความแข็งแรง
  3. ถังผสม ใช้สำหรับผสมกาวซีเมนต์กับน้ำ เพื่อช่วยให้กาวซีเมนต์ผสมเข้ากันได้ดี
  4. เกรียงหวี ใช้สำหรับปาดกาวซีเมนต์ลงบนบริเวณที่ปูกระเบื้อง โดยควรเลือกใช้เกรียงหวีที่มีขนาดร่องเหมาะกับขนาดแผ่นกระเบื้อง เพื่อการปูกระเบื้องที่ได้มาตรฐานสูงสุด
  5. ค้อนยาง ใช้สำหรับเคาะแผ่นกระเบื้องให้ได้ระดับตามต้องการ
  6. กาวยาแนว ใช้สำหรับปิดรอยต่อระหว่างร่องกระเบื้องหลังปูกระเบื้องเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยกาวยาแนว จะช่วยป้องกันคราบสกปรกต่าง ๆ ป้องกันน้ำซึมเข้ากระเบื้อง ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้กระเบื้องหลุดร่อนได้

วิธีการปูกระเบื้องทับพื้นเดิม

1. ทำความสะอาดพื้นผิว

ควรทำความสะอาดพื้นผิวกระเบื้องเดิมให้สะอาดเสียก่อน เพื่อป้องกันการปูกระเบื้องทับเศษฝุ่น ความสกปรก หรือสิ่งแปลกปลอม ทำให้อายุการใช้งานพื้นกระเบื้องสั้นลง หรืออาจมีปัญหาตามมาในภายหลังได้

210611-Content-How-To-การปูกระเบื้องทับพื้นเดิม-มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง-03

2. ผสมกาวซีเมนต์

เลือกใช้กาวซีเมนต์ที่เหมาะสมกับประเภท และขนาดของแผ่นกระเบื้อง โดยศึกษาวิธีการใช้งานกาวซีเมนต์ให้ละเอียดเสียก่อน จากนั้นจึงผสมกาวซีเมนต์กับน้ำตามปริมาณที่ระบุไว้บนถุง คนกาวซีเมนต์กับน้ำให้เข้ากันแล้ว ทิ้งกาวซีเมนต์ที่ผสมแล้วให้เคมีบ่มตัวประมาณ 15 นาที โดยควรคนซ้ำอีกครั้งก่อนการใช้งาน

3. ปาดกาวซีเมนต์

ปาดกาวซีเมนต์ที่ผสมแล้วลงบนพื้นผิวที่ต้องการ โดยใช้เกรียงด้านเรียบปาดลงไปบนพื้นที่ที่จะปูกระเบื้อง แล้วใช้เกรียงด้านหวีทำมุมเอียง 60 องศา ปาดกาวซีเมนต์ให้เป็นร่องสวยงาม จากนั้น จึงไล้กาวซีเมนต์ที่ด้านหลังแผ่นกระเบื้องให้เต็มแผ่น เพื่อเตรียมแปะลงบนพื้นที่ที่ต้องการ

210611-Content-How-To-การปูกระเบื้องทับพื้นเดิม-มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง-04

4. แปะกระเบื้อง

หลังจากปาดกาวซีเมนต์เรียบร้อยแล้ว แปะแผ่นกระเบื้องลงบนบริเวณที่เตรียมไว้ แล้วจัดให้ได้ระดับที่เหมาะสม โดยเลือกใช้อุปกรณ์จัดระดับแนวกระเบื้อง เพื่อให้ได้พื้นที่ร่องยาแนวที่เหมาะสมเท่ากันทุกแผ่น

5. ใช้ค้อนทุบให้ได้ระดับ

หลังจากแปะแผ่นกระเบื้องแล้ว จึงใช้ค้อนยางค่อย ๆ ทุบแผ่นกระเบื้องให้ได้ระดับเรียบเสมอกันทุกแผ่น โดยควรจัดระเบียบแผ่นกระเบื้องให้ได้ระดับภายใน 20 นาที ก่อนที่กาวซีเมนต์จะเริ่มเซ็ตตัว

210611-Content-How-To-การปูกระเบื้องทับพื้นเดิม-มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง-05

6. ทำยาแนว

หลังจากทิ้งปูกระเบื้องเสร็จเรียบร้อยแล้ว ควรทิ้งไว้ให้แห้งประมาณ 24-48 ชั่วโมง จึงเริ่มทำยาแนวได้ โดยผสมกาวยาแนวกับน้ำ ตามปริมาณที่ระบุบนถุง แล้วใช้เกรียงยางปาดยาแนว ที่ผสมแล้วให้เต็มร่องทำมุมเฉียง 45 องศา กับร่องกระเบื้อง จากนั้น ปาดยาแนวออกจากหน้ากระเบื้องให้สะอาด

7. เช็คทำความสะอาด

หลังจากปล่อยให้ยาแนวแห้งแล้ว ก็ใช้น้ำยาเช็ดทำความสะอาดคราบสกปรกให้เรียบร้อย เพียงเท่านี้กระเบื้องปูพื้นใหม่ก็พร้อมเปิดใช้งานได้แล้ว

รู้ไหม? ร่องยาแนว มีประโยชน์อย่างไร?

ตามธรรมชาติอุณหภูมิของปูนมันหด หรือขยายตัวได้ หากอุณหภูมิร้อน ปูนก็จะคลายตัวออก ถ้ามีความเย็น ปูนก็จะหดตัวลง การเว้นร่องยาแนว จึงเป็นการสร้างพื้นที่ว่างระหว่างกระเบื้อง เพื่อป้องกันไม่ให้กระเบื้องดันกัน เป็นส่วนที่จะทำให้กระเบื้องรักษาสมดุลของมันได้เมื่อมีการหดขยายตัว ในขณะเดียวกัน ร่องยาแนว ก็เป็นแหล่งสะสมเชื้อราเชื้อโรค ถ้าไม่ได้รับการดูแลรักษาที่ดี จะเห็นได้ชัดอย่างบริเวณห้องน้ำ ดังนั้น การเลือกยาแนวกระเบื้อง จึงจำเป็นจะต้องพิจารณาคุณสมบัติการป้องการเชื้อรา นอกเหนือจากการยึดติดที่เหนียวแน่นด้วยเช่นกัน

เป็นอย่างไรบ้าง วิธีปูกระเบื้อง การปูกระเบื้องทับกระเบื้องเดิม เป็นอีกหนึ่งวิธีที่หลายคนเลือกใช้ ในปัจจุบัน สามารถปูกระเบื้องทับพื้นเดิม โดยไม่จำเป็นต้องรื้อกระเบื้องเก่าออก โดยวิธีนี้ถือเป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์ สำหรับคนที่ต้องการปูพื้นกระเบื้องใหม่ แต่มีงบประมาณที่จำกัด เพียงศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการปูพื้นเบื้องต้น ถึงขั้นตอนการทำที่ถูกวิธี รวมถึงเลือกช่างที่มีความรู้ และความชำนาญ ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ก็จะได้พื้นกระเบื้องใหม่ที่แข็งแรงทนทาน ไร้ปัญหากวนใจภายหลัง ที่สำคัญช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซม และช่วยยืดระยะงานได้งานได้ดีทีเดียว

สามารถติดตามบทความต่าง ๆ ของ KACHA ได้ตามนี้เลย