
โรงงาน โกดัง โครงสร้างPEB คือ? มีข้อดีอย่างไร? ใช้งานอะไรได้บ้าง?
KACHA พาไปทำความรู้จักกับ โครงสร้าง PEB (Pre-Engineered Building) ว่าคืออะไร?
อาคาร โรงงาน โกดัง หรือคลังสินค้าที่สร้างด้วยโครงสร้างแบบนี้ดีหรือไม่? ตามไปหาคำตอบกัน!
ไขข้อสงสัย โครงสร้าง PEB คืออะไร?

PEB (Pre-Engineered Building) คือ โครงสร้างเหล็กสำเร็จรูปที่มีการออกแบบทางวิศวกรรมเตรียมไว้ก่อนล่วงหน้า ทุกชิ้นส่วนถูกผลิตและขึ้นรูปจากโรงงาน จากนั้นค่อยนำประกอบและติดตั้งที่หน้างานด้วยระบบ Bolt System (ยึดต่อด้วยสลักเกลียวหรือน็อต) ก่อสร้างด้วยระบบน็อกดาวน์ไม่มีเสากลาง (Clear Span) ออกแบบให้มีพื้นที่ภายในกว้าง โปร่งโล่งทันสมัย จัดสรรพื้นที่การใช้งานภายในอาคารได้อิสระ ประหยัดเวลาก่อสร้างได้ประมาณ 30% ควบคุมงบประมาณไม่บานปลาย และสามารถถอดชิ้นส่วนย้ายประกอบซ้ำได้
โครงสร้างเหล็กที่ใช้ Bolt Connection เป็นการต่อเชื่อมโครงสร้างเหล็กที่ใช้สลักและน็อต การต่อเชื่อมด้วยระบบนี้ มีข้อดีหลายอย่าง เช่น สร้างเสร็จไว ปลอดภัย ตรวจสอบ และซ่อมแซมง่าย เหมาะสำหรับโครงการที่ต้องการการติดตั้งและถอดถอนได้
สาเหตุที่เรียก Pre-Engineered เพราะอาคารถูกออกแบบตามมาตรฐานเชิงวิศวกรรมที่ผู้ผลิตมีการกำหนดขนาด รูปร่าง และโครงสร้างไว้ล่วงหน้าแล้ว
โรงงาน/ โกดัง ใช้โครงสร้าง PEB ดีไหม?

โครงสร้างเหล็ก PEB หรือโกดังสำเร็จรูป ทั้งดี ทั้งประหยัด และได้มาตรฐาน แต่ก็ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพในการก่อสร้าง การออกแบบ วัสดุที่ใช้ และความเชี่ยวชาญของทีมช่างด้วย
จุดเด่นของโครงสร้าง PEB
- ออกแบบตามการใช้งานจริง ยึดต่อด้วยระบบสลักเกลียวและน๊อต
- ราคาถูกลงเนื่องจากใช้เหล็กน้อยกว่าโครงสร้างทั่วไปได้ถึง 30%
- ประหยัดเวลาก่อสร้างมากกว่าการสร้างโกดังทั่วไป 30 – 50%
- กระบวนการติดตั้งรวดเร็วด้วยระบบ Bolt ใช้แรงงานคนน้อย
- ใช้วัสดุคุ้มค่า งบประมาณก่อสร้างไม่บานปลาย
- โครงสร้างไม่มีเสากลาง พื้นที่ภายในกว้างขึ้น
- ประหยัดงานฐานราก เสาเข็ม และค่าสีกันสนิม
- ออกแบบเพื่อรองรับการต่อเติมในอนาคตได้
- ประหยัดค่าไฟฟ้า หากเทียบกับระบบการเชื่อมแบบโครง truss
- สามารถรื้อถอน เคลื่อนย้ายได้ (โครงสร้าง PEB ทำจากเหล็ก จึงทำให้มูลค่าทรัพย์สินยังคงอยู่ เมื่อมีการรื้อถอน)
โกดังสำเร็จรูป ดีกว่าโกดังทั่วไปอย่างไร?

1) สร้างเสร็จไว ประหยัดเวลากว่า
โกดังสำเร็จรูป ผู้รับเหมามีการวางแผนออกแบบและผลิตชิ้นส่วนประกอบต่าง ๆ มาจากโรงงานแล้ว เหลือเพียงขั้นตอนการติดตั้งหน้างาน จึงสร้างเสร็จไวกว่าโกดังทั่วไป
2) ปรับรูปแบบให้เหมาะกับธุรกิจได้
ธุรกิจแต่ละแบบมีลักษณะการทำงานที่ไม่เหมือนกัน แม้ว่าโกดังสำเร็จรูปจะมีการออกแบบไว้เบื้องต้นแล้ว แต่ก็สามารถปรับให้เหมาะกับธุรกิจ และเพิ่มฟังก์ชันได้ตามความต้องการ
3) ช่วยลดต้นทุน คุมงบได้ไม่บานปลาย
การก่อสร้างอาคารมักมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมที่ไม่คาดคิด เช่น ค่าวัสดุที่มีความผันผวน ค่าแรงงานต่าง ๆ ซึ่งโกดังสำเร็จรูปจะพบปัญหาเหล่านี้น้อยมาก ๆ เพราะผู้รับเหมาคิดรวมค่าต่าง ๆ ไว้ในงบที่ตกลงกันไว้
4) โครงสร้างแข็งแรง ตามหลักวิศวกรรม
หากผู้ประกอบการว่าจ้างผู้รับเหมาที่น่าเชื่อถือ ใช้วัสดุที่มีคุณภาพ พร้อมการก่อสร้างที่ได้มาตรฐานแล้ว โครงสร้างที่ได้จะแข็งแรงไม่น้อยกว่าโกดังแบบอื่น โดยทั่วไปโกดังสำเร็จรูปจะมีอายุการใช้งานเป็นสิบ ๆ ปี
5) เคลื่อนย้าย รื้อถอน ประกอบใหม่ได้
ข้อนี้เป็นจุดเด่นหลัก ๆ ของโกดังสำเร็จรูป เพราะโครงสร้างแบบน็อกดาวน์ ประกอบด้วยส่วนประกอบที่แยกชิ้นส่วนกัน หากเรามีความจำเป็นที่จะเคลื่อนย้ายหรือรื้อถอน ก็สามารถถอดส่วนประกอบได้เลย ไม่ต้องใช้เวลารื้อถอนนานเหมือนกับโกดังทั่วไป
6) ดีต่อเพื่อนบ้าน และ สิ่งแวดล้อม
การสร้างโกดังสำเร็จรูป สร้างมลภาวะน้อยกว่าการสร้างโกดังทั่วไปมาก ทั้งเรื่องมลภาวะ เศษฝุ่น เศษหิน หรือมลภาวะทางเสียง
โครงสร้างเหล็กPEB ใช้งานอะไรได้บ้าง?

โกดังสำเร็จรูป หรือ โครงสร้างเหล็ก PEB ใช้งานได้อเนกประสงค์ แล้วแต่ความต้องการของผู้ใช้งาน
- จัดเก็บหรือสต็อกสินค้า (Product storage)
- งานขนถ่ายสินค้า (Loading/Unloading)
- งานนำเข้า – ส่งออก (Import/Export)
- วัสดุก่อสร้าง (Building materials)
- การจัดเก็บอุปกรณ์ (Equipment storage)
- การบรรจุ/บรรจุภัณฑ์ (Packing/Packaging)
- งานเกษตรกรรม (Agriculture)
- การบิน (Aviation)
- การผลิต (Production)
- โกดัง คลังสินค้า (Warehouse)
- พื้นที่สันทนาการ (Recreational)
- หลังคาสนามกีฬาในร่ม (Indoor Stadium Roof)
- โชว์รูม (Show Room)
- สำนักงาน โรงงาน (Offices / Factories)
จะเห็นว่าระบบโครงสร้าง Pre-Engineered Building ได้เปรียบเรื่องระยะเวลาก่อสร้าง เพราะสามารถทำงานจริงและเสร็จได้ในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งเร็วกว่าการก่อสร้างด้วยโครงสร้างเหล็กแบบเดิม ๆ รวมถึงไม่ต้องใช้พื้นที่ในการเตรียมงานก่อสร้างมากเหมือนระบบโครงสร้างทั่วไป ที่สำคัญคือควบคุมงบประมาณได้ ไม่บานปลาย ดีต่อผู้ประกอบการมาก ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพของผู้รับเหมาด้วย
บทความอื่นที่น่าสนใจ
ขอบคุณข้อมูลจาก : Finance Rumour
เพื่อไม่ให้พลาดข่าวสารสำคัญ และโปรโมชั่นพิเศษมากมาย สามารถติดตามเราผ่านช่องทางต่างๆได้หลากหลายช่องทางตามด้านล่างนี้เลย
บทความที่เกี่ยวข้อง
พลาสติก PE คืออะไร? รู้จักประเภท คุณสมบัติ และการใช้งานที่ควรรู้
25 กรกฎาคม 2025
พลาสติก PP คืออะไร? รวมคุณสมบัติและการใช้งาน
14 กรกฎาคม 2025
มือใหม่ต้องรู้! หัวไขควงแบบต่างๆ มีอะไรบ้าง ใช้ต่างกันยังไง
30 มิถุนายน 2025
ไขข้อสงสัย! น็อตคืออะไร น็อตมีกี่ประเภท
30 มิถุนายน 2025
10 อุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม ที่ควรมีไว้ติดบ้านก่อนน้ำจะมา
9 มิถุนายน 2025
แม่แรงไฮดรอลิค คืออะไร มีแบบไหนบ้าง?
9 มิถุนายน 2025
บทความที่น่าสนใจ
พลาสติก PE คืออะไร? รู้จักประเภท คุณสมบัติ และการใช้งานที่ควรรู้
25 กรกฎาคม 2025
พลาสติก PP คืออะไร? รวมคุณสมบัติและการใช้งาน
14 กรกฎาคม 2025
มือใหม่ต้องรู้! หัวไขควงแบบต่างๆ มีอะไรบ้าง ใช้ต่างกันยังไง
30 มิถุนายน 2025
ไขข้อสงสัย! น็อตคืออะไร น็อตมีกี่ประเภท
30 มิถุนายน 2025
10 อุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม ที่ควรมีไว้ติดบ้านก่อนน้ำจะมา
9 มิถุนายน 2025
แม่แรงไฮดรอลิค คืออะไร มีแบบไหนบ้าง?
9 มิถุนายน 2025