เกจวัดความดัน (Pressure Gauge) มีกี่ประเภท? เหมาะกับงานประเภทใด?

ในงานอุตสาหกรรม การผลิต หรือแม้แต่ภายในครัวเรือน เกจวัดความดัน เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ถูกนำมาใช้ประโยชน์อยู่บ่อย ๆ เพราะใช้งานง่าย และสะดวกที่สุดในการนำไปใช้วัดความดัน บทความนี้จะพาไปรู้จักกับเครื่องมือชนิดนี้ รวมทั้งรายละเอียดอื่น ๆ ที่ควรรู้หากกำลังจะเริ่มต้นใช้งาน!

เกจวัดความดัน คืออะไร?

เกจวัดความดัน คืออะไร?

เกจวัดความดัน (Pressure Gauge) คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการวัดความดันของไหล ที่ไหลเวียนอยู่ภายในกระบวนการ หรือภายในท่อ เปรียบเทียบกันกับบรรยากาศภายนอก จนได้ค่าความดันออกมาแสดงผลบนหน้าจอ โดยนิยมใช้วัด ความดันน้ำ ความดันลม ความดันน้ำมันไฮดรอลิกส์ หรือแม้แต่ความดันแก๊ส ฯลฯ ทั้งในภาคครัวเรือนและอุตสาหกรรม

ในปัจจุบันเกจวัดความดัน ถูกผลิตออกมาให้รองรับการใช้งานที่หลากหลายมากขึ้น โดยจะมีโครงสร้างเป็นวงกลม ที่แสดงค่าวัดผลบนหน้าปัดคล้ายนาฬิกา มีทั้งแบบอนาล็อกและดิจิตอล ทำให้ผู้ใช้งานสามารถอ่านค่าและทราบผลได้ในทันที ทั้งนี้ทั้งนั้นการใช้งานเกจวัดความดันก็เพื่อใช้ตรวจสอบและควบคุมการผลิต ให้เป็นไปในมาตรฐานคุณภาพและความปลอดภัยนั่นเอง

sponsored (โฆษณา)

เกจวัดความดัน มีทั้งหมดกี่ประเภท?

เกจวัดความดันสามารถนำมาแบ่งประเภทได้ 2 แบบหลัก ๆ โดยแบ่งจากประเภทตามย่านการวัด หรือ แบ่งจากประเภทตามชนิดหน้าปัด ได้ดังนี้

  • แบ่งประเภทตามย่านการวัด

  1. Pressure Gauge เป็นย่านการวัดความดันอากาศ ที่มีความดันที่มากกว่า 1 ATM
  2. Vacuum Gauge เป็นย่านการวัดความดันสุญญากาศ ที่ใช้ในการสูญญากาศ คือมีความดันต่ำกว่า 0 bar เช่น -1 ถึง 0 bar
  3. Compound Gauge เป็นย่านการวัดที่สามารถอ่านได้ทั้งค่าความดันปกติ และความดันสูญญากาศ เช่น – 1 ถึง 5 bar, -1 ถึง 1 bar เป็นต้น
เกจวัดความดัน มีทั้งหมดกี่ประเภท?
  • แบ่งประเภทตามชนิดหน้าปัด
เกจวัดความดันแบบเข็ม (Analog Pressure Gauge)
  1. เกจวัดความดันแบบธรรมดา (Dry pressure gauge) ด้านในของเกจวัดจะเป็นอากาศที่ถูกดูดความชื้นออกมาแล้ว แต่ไม่ถูกซีลอากาศ จึงทำให้เมื่อนำไปใช้งานในอุณภูมิที่สูง-ต่ำกว่าบรรยากาศภายนอกมาก ๆ จะเกิดปัญหาไอน้ำหรือฝ้าเกาะภายในหน้าปัด จนไม่สามารถอ่านค่าได้ จุดเด่นคือมีราคาถูกที่สุด
  2. เกจวัดความดันแบบเติมน้ำมัน (Oil Pressure gauge) มีราคาสูงกว่าแบบธรรมดา แต่มีรูปลักษณ์ภายนอกคล้ายกัน โดยที่ภายในหน้าปัดถูกแทนที่ด้วยน้ำมัน เช่น กลีเซอรีน (Glycerin) หรือ ซิลิโคนออยล์ (Silicone oil) ที่ไม่เป็นอันตรายต่อการใช้งาน โดยการเพิ่มน้ำมันเข้ามาก็เพื่อแก้ปัญหาหน้าปัดมีไอน้ำหรือฝ้าเกาะ ทั้งยังช่วยลดแรงกระชากของเข็มหน้าปัด ทำให้สามารถอ่านค่าได้ง่ายขึ้น เหมาะกับติดตั้งในพื้นที่ที่มีแรงสั่นสะเทือน
เกจวัดความดัน มีทั้งหมดกี่ประเภท?
เกจวัดความดันแบบดิจิตอล (Digital Pressure Gauge)

เกจวัดความดันประเภทนี้ จะแสดงผลค่าความดันที่หน้าจอเป็นชุดตัวเลข มีทั้งแบบจอ LEDและLCD โดยการใช้เกจวัดความดันดิจิตอล จำเป็นต้องใช้แหล่งพลัง เช่น แบตเตอรี่ หรือไฟฟ้าเลี้ยงจากภายนอก แต่ข้อดีที่เด่นมากคือ มีค่าความแม่นยำและความละเอียดในการวัดสูงกว่าเกจวัดแบบเข็ม รวมถึงช่วยแก้ปัญการอ่านค่าผิดพลาด ที่เกิดจากมุมสายตาในการอ่านค่าแสดงผลเกจวัดแบบเข็ม

sponsored (โฆษณา)

วิธีการใช้งานและข้อควรระวังสำหรับ เกจวัดความดัน

วิธีการใช้งานและข้อควรระวังสำหรับ เกจวัดความดัน

วิธีการใช้งาน

  1. เลือกประเภทของเกจวัดที่เหมาะสมกับความต้องการ เช่น หากนำไปใช้วัดลม,น้ำ ควรเลือกเกจวัดสุญญากาศ หากนำไปวัดน้ำมัน ให้ใช้เกจวัดความดันอากาศ หรือถ้าต้องใช้วัดในสารที่มีฤทธิ์กัดกร่อนสูง ก็พิจารณาจากตัวเรือนที่ทำจากวัสดุแข็งแรงและทนต่อการกัดกร่อนได้
  2. นำเกจวัดความดันไปติดตั้งเข้ากับจุดที่ต้องการวัดผล จากนั้นเปิดแหล่งกำเนิดแรงดัน เพื่อป้อนแรงดันเข้าระบบ
  3. อ่านค่าความดันที่ได้ และสรุปบันทึกเพื่อใช้อ้างอิงต่อไปในอนาคต

ข้อควรระวัง

  1. เพื่อให้ได้ค่าความดันที่ถูกต้อง ควรเลือกประเภทของมาตรวัดให้เหมาะสมกับการใช้งาน
  2. เพื่อให้ได้ค่าความดันแม่นยำเสมอ ควรมีการตรวจเทียบค่าความถูกต้องของเกจวัดแรงดันเป็นประจำ
  3. เพื่อยืดอายุการใช้งาน ควรมีการบำรุงรักษาเกจวัดแรงดันให้อยู่ในสภาพดีอยู่เสมอ

เครื่องมือวัดความดันที่ใช้ได้ทั้งในระบบอุตสาหกรรมและครัวเรือน มีประโยชน์ในแง่ของการตรวจสอบและควบคุมค่าความดัน ให้เป็นไปในมาตรฐานคุณภาพและความปลอดภัย โดยถูกพัฒนาให้มีรูปแบบหลากหลาย และสามารถรองรับความต้องการการใช้งานได้อย่างครอบคลุม

ข้อมูลอ้างอิง : dekchangwad, pakoengineering, radiusglobal, cal-laboratory

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

Sponsered (โฆษณา)