
“สแตนเลส” คุณสมบัติและประโยชน์ในการใช้งาน
ไม่มีใครไม่รู้จัก สแตนเลส หรือบางคนก็เรียก สเตนเลส เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่มักนำมาใช้งานในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ส่วนประกอบเครื่องใช้ ส่วนประกอบในการสร้างบ้าน เป็นต้น จุดเด่นคือ ไม่เป็นสนิมนั่นเอง บทความนี้ KACHA จะพาไปทำความรู้จัก สแตนเลส คุณสมบัติ และการใช้งานต่าง ๆ จะมีอะไรบ้างนั้น ไปดู
สแตนเลส คือ?
สแตนเลส หรือเหล็กกล้าไร้สนิม (Stainless steel) คือ โลหะผสม (Alloy) มีส่วนประกอบหลัก คือ เหล็ก และโครเมียม อย่างน้อย 10.5% ของน้ำหนัก และต้องมีคาร์บอนน้อยกว่า 1.2% อาจมีการเติมสารชนิดอื่น ๆ เช่น นิเกิล แมงกานีส ทองแดง โมลิบดินั่ม อะลูมิเนียม เพื่อเพิ่มคุณสมบัติของสแตนเลสให้เหมาะกับการใช้งานแบบต่าง ๆ โดยคุณสมบัติหลักของสแตนเลสสตีล คือ ไม่เกิดสนิม ทนความชื้น ทนต่อการกัดกร่อนนั่นเอง

สเตนเลส สามารถปรับปรุงคุณสมบัติในการต้านทานการกัดกร่อน และสมบัติอื่น ๆ ที่ต้องการ ให้สูงขึ้นได้โดยการเพิ่ม ส่วนผสมของโครเมียม และเพิ่ม ธาตุอื่น ๆ เช่น โมลิบดิบนัม นิกเกิล และไนโตรเจนเข้าไป สแตนเลส มีอยู่มากกว่า 60 ชนิด
ด้วยคุณสมบัติที่ไม่เหมือนใคร ยากต่อการขึ้นสนิมเมื่อเทียบกับโลหะ หรือวัสดุชนิดอื่น ๆ ค่าบำรุงรักษาต่ำ ง่ายต่อการเชื่อม และการขึ้นรูป ระยะเวลาการใช้งานคุ้มค่ากับราคา และสามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่ทั้งหมด ทำให้สแตนเลส เป็นโลหะที่ทรงคุณค่า คุณสมบัติ และประโยชน์ใช้สอยที่ไร้ขีดจำกัด
ประเภทของสแตนเลส มีอะไรบ้าง?
-
กลุ่มออสเตนิติก (Austenitic)
เป็นสเตนเลสที่แม่เหล็ดดูดไม่ติด มีส่วนผสมของโครเมียม 18% ยังมีนิเกิล ที่ช่วยเพิ่มความต้านทานการกัดกร่อนอีกด้วย นิยมใช้อย่างกว้างขวางมากที่สุด ในบรรดาสแตนเลสด้วยกัน ส่วนออสเตนิติกที่มีโครเมียมผสมอยู่สูง 20%-25% และนิกเกิล 1-20% จะสามารถทนการเกิดออกซิไดซ์ได้ที่อุณหภูมิสูง ซึ่งใช้ในส่วนประกอบของเตาหลอม ท่อนำความร้อน และแผ่นกันความาร้อนในเครื่องยนต์ จะเรียกว่า เหล็กกล้าไร้สนิม ชนิดทนความร้อน (Heat Resisting Steel)
-
กลุ่มเฟอร์ริติก (Ferritic)
เป็นสเตนเลสที่แม่เหล็กดูดติด มีส่วนผสมของคาร์บอนต่ำ และมีโครเมียมเป็นส่วนผสมหลัก ประมาณ 13% หรือ 17%
-
กลุ่มมาร์เทนซิติก (Martensitic)
เป็นสเตนเลสที่แม่เหล็กดูดติด มีโครเมียมผสมอยู่ 12% และมีส่วนผสมของคาร์บอนในระดับปานกลาง มักนำไปใช้ทำส้อม มีด เครื่องมือตัด และเครื่องมือวิศวกรอื่น ๆ มีคุณสมบัติเด่นในด้าน การต้านทานการสึกกร่อน และ ความแข็งแรงทนทาน
-
กลุ่มดูเพล็กซ์ (Duplex)
เป็นสเตนเลสที่แม่เหล็กดูดติด มีโครงสร้างผสมระหว่างเฟอร์ไรต์ และออสเตไนต์ มีโครเมียมผสมอยู่ประมาณ 18-28% และนิเกิล 4.5-8% มักถูกนำไปใช้งานกับงานที่มีคลอรีนสูงเพื่อป้องกันมิให้เกิดการกัด กร่อนแบบรูเข็ม และช่วยเพิ่มความต้านทานการกัดกร่อน ที่เป็นรอยร้าวจากแรงกดดัน
-
กลุ่มเหล็กกล้าชุบแข็งแบบตกผลึก (Precipitation Hardening Steel)
มีโครเมียมผสมอยู่ 17% และมีนิเกิล ทองแดง และไนโอเบียมผสมอยู่ด้วย สามารถชุบแข็งได้ในคราวเดียว เหมาะสำหรับทำแกน ปั้ม หัววาล์ว และส่วนประกอบของอากาศยาน และสแตนเลสที่นิยมใช้ทั่วไป คือ ออสเตนิก และเฟอร์ริติก

เกรดของสแตนเลส มีอะไรบ้าง?
หลาย ๆ คนคงจะสงสัยว่า เกรดสแตนเลส ที่ใช้ในปัจจุบบันนั้น มีอะไรบ้าง ดังนี้
- เบอร์ 304 – เป็นสแตนเลสสตีลพื้นฐาน ที่ใช้ในการตกแต่งเพื่อความสวยงาม ง่ายต่อการขึ้นรูป และป้องกันการเกิดสนิมได้เป็นอย่างดี
- เบอร์ 304L – เป็นสแตนเลสสตีลเบอร์ 304 ที่ใช้คาร์บอนเป็นส่วนประกอบน้อยลงมา ใช้ในงานการเชื่อมอย่างกว้างขวาง
- เบอร์ 316 – ถูกออกแบบให้มาป้องกันการเกิดสนิมได้เป็นอย่างดี ถูกใช้ในงานอุตสาหกรรมหนัก และสถานที่ใกล้ทะเล
- เบอร์ 316L – เป็นสแตนเลสสตีลเบอร์ 316 ที่มีส่วนประกอบของคาร์บอนน้อยลงมา
- เบอร์ 430 – เป็นสแตนเลสสตีล ที่ใช้โครเมี่ยมเป็นส่วนประกอบ 100% และมีโอกาสเกิดสนิมน้อยกว่าเบอร์ 300 นิยมใช้ตกแต่งภายใน
ผิวสำเร็จชนิดต่าง ๆ ของสแตนเลส มีอะไรบ้าง?
- No.1 – ผิวขรุขระเล็กน้อย สีออกเทาด้าน เป็นผิวของท่อสแตนเลสด้านอุตสาหกรรม ผิวสแตนเลสฉากรีด และแผ่นสแตนเลสที่หนากว่า 3mm ขึ้นไป
- 2D (No.2D) – ผิวเรียบ สีออกเทาเงินอ่อนลงเล็กน้อย เกิดจากการนำแผ่นสแตนเลสไปรีดเย็น อบอ่อน และกัดด้วยกรด มักไม่นิยมนำมาใช้งานเท่าผิวสแตนเลสอื่น ๆ
- 2B (No.2B) – ผิวเรียบ สีออกเงินค่อนข้างเงา สะท้อนแสงได้ดี (แต่ไม่เงาเท่าผิว Mirror) เกิดจากการนำแผ่นไปรีดเย็น อบอ่อน และกัดกรด ก่อนนำไปรีดเบาด้วยลูกกลิ้งขัด เป็นพื้นผิวยอดนิยมจำพวกท่อสแตนเลสเงาเฟอร์นิเจอร์ และแผ่นสแตนเลสที่มีความหนาน้อยกว่า 3mm
- BA (No.2BA) – ผิวเรียบ สีออกเงินและเงายิ่งขึ้น สะท้อนแสงได้ 50-55% (ยังไม่เงาเท่าผิว Mirror) คล้ายการผลิตแบบผิว 2B แต่นำไปผ่านกระบวนการขัดขึ้นเงาด้วยลูกกลิ้งขัดเป็นลำดับสุดท้าย
ผิว BA คือ ผิวที่ดีที่สุดที่จะทำได้ด้วยกระบวนการ Mill finish (จบการผลิตด้วยการรีดกลึง) ซึ่งหลังจากนี้ จะต้องนำเข้าสู่กระบวนการ Polish finish (จบการผลิตด้วยการขัดผิว) เพื่อให้แผ่นสแตนเลสเป็นลวดลายที่ต้องการ หรือเพิ่มความเงาสะท้อนแสงให้มากขึ้นไปอีก
- No.4 – ผิวเรียบมีลายขนแมวขนาดใหญ่ดูหยาบ สีออกเงินค่อนข้างเงา เกิดจากการนำสแตนเลสผิว 2B มาขัดด้วยกระดาษทรายเบอร์ 150-180
- No.4 Hairline – ผิวเรียบมีลายขนแมวละเอียด เรียงตัวสวย สีออกเงินค่อนข้างเงา เป็นแบบพื้นผิวยอดนิยม เกิดจากการนำสแตนเลสผิว 2B มาขัดด้วยกระดาษทรายเบอร์ 180-300 หรือตามความเหมาะสม
- Mirror (No.8 หรือ No.12) – ผิวเรียบ สีเงินและเงาที่สุดราวกับกระจกเงา เกิดจากการนำสแตนเลสผิว BA มาเข้ากระบวนการขัดละเอียดสูง ได้แก่ขัดด้วยกระดาษทรายเบอร์ 1000ขึ้นไป ตามด้วยการขัดด้วยขนสัตว์, ผงอลูมิเนียม, โครเมียมออกไซด์
ประโยชน์ของการใช้งานสแตนเลส
- ทนทานต่อการกัดกร่อนได้ดี แข็งแรง ทนทาน สามารถนำมาใช้งานได้อย่างยาวนาน และคุ้มค่าที่สุด
- เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ทั้งหมด โดยไม่ก่อให้เกิดปัญหาตามมาภายหลัง
- สามารถนำมาประกอบ หรือแปรรูปได้ง่าย เหมาะกับการแปรรูปทุกชนิด
- ทนความร้อน และความเย็นได้ดี ทนไฟ นิยมนำมาใช้ในงานอุตสาหกรรมขนส่ง หรือปิโตรเคมีเป็นส่วนใหญ่
- มีความปลอดภัยสูง และถูกสุขลักษณะ นิยมนำมาใช้ในโรงพยาบาล รวมถึงการนำมาใช้ในครัว เช่น หม้อเสตนเลส ช้อนสแตนเลส เป็นต้น
- สแตนเลสจะไม่ดูดซึมรส หรือสารใด ๆ จึงไม่ก่อให้เกิดสารปนเปื้อน หรือเชื้อโรคติดมากับสแตนเลส
- มีความสวยงาม เหมาะกับการนำมาใช้งานเพื่อเพิ่มความสวยงาม

การเลือกใช้สแตนเลส
ก่อนเลือกซื้อสแตนเลสมาใช้งาน สิ่งที่ควรรู้ มีดังนี้
- ความรู้เกี่ยวกับวัสดุ จะช่วยการตัดสินใจไม่เกิดปัญหาผิดพลาด และประหยัดราคา
- ความรู้เรื่องเกรดของวัสดุ เลือกใช้เกรดวัสดุถูกต้อง ลดความเสี่ยง ช่วยให้ประหยัดจากการใช้วัสดุราคาแพงได้
- ความรู้ในการออกแบบ การออกแบบที่ดี จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการประกอบได้
- ความรู้ในการตกแต่งผิว การตกแต่งผิวทำให้ดู สวยงาม และมีราคาเพิ่มขึ้น
- การประยุกต์ใช้ในงานตกแต่ง หรืองานเครื่องใช้ภายในบ้าน ใช้เป็นอุปกรณ์เครื่องใช้ในบ้าน จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงได้
- การใช้การวางแผนการผลิต จะช่วย ประหยัดค่าใช้จ่าย และเพิ่มคุณภาพผลิตภัณฑ์ได้
จะเห็นได้ว่า การใช้งาน สแตนเลส ทั่วไป มักนำมาใช้งานอย่างกว้างขวางไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์เครื่องครัว เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ หวังว่าบนความนี้ คงจะทำให้หลายคนเข้าใจ สเตนเลส ประเภทต่าง ๆ ไม่มากก็น้อย
บทความดี ๆ น่าอ่าน:
- เหล็กสังกะสี คืออะไร? กระบวนการผลิต การนำไปใช้งานเป็นแบบไหน?
- “ทองแดง และ ทองเหลือง” จุดเด่นและประโยชน์เป็นอย่างไร?
- มอเตอร์ ลวดทองแดง Vs ลวดอะลูมิเนียม ต่างกันอย่างไร? แบบไหนดีกว่า?
- ประเภทของ เหล็ก มีอะไรบ้าง?
KACHA ผู้จัดจำหน่าย รอกโซ่ รอกโซ่มือสาว เครนยกของ และอุปกรณ์เสริมสำหรับงานช่าง ต่าง ๆ ราคาจับต้องได้ สินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจ นอกจากนี้ บริษัทของเรา ยังมีบริการรับ สร้างโกดัง สร้างโรงงาน สร้างคลังสินค้าต่าง ๆ จากช่างมืออาชีพที่มีประสบการณ์ การันตีผ่านมาตรฐานก่อสร้าง และความปลอดภัยต่าง ๆ เข้าชมเว็บไซต์ www.kacha.co.th
เพื่อไม่ให้พลาดข่าวสารสำคัญ และโปรโมชั่นพิเศษมากมาย สามารถติดตามเราผ่านช่องทางต่างๆได้หลากหลายช่องทางตามด้านล่างนี้เลย
บทความที่เกี่ยวข้อง
พลาสติก PE คืออะไร? รู้จักประเภท คุณสมบัติ และการใช้งานที่ควรรู้
25 กรกฎาคม 2025
พลาสติก PP คืออะไร? รวมคุณสมบัติและการใช้งาน
14 กรกฎาคม 2025
มือใหม่ต้องรู้! หัวไขควงแบบต่างๆ มีอะไรบ้าง ใช้ต่างกันยังไง
30 มิถุนายน 2025
ไขข้อสงสัย! น็อตคืออะไร น็อตมีกี่ประเภท
30 มิถุนายน 2025
10 อุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม ที่ควรมีไว้ติดบ้านก่อนน้ำจะมา
9 มิถุนายน 2025
แม่แรงไฮดรอลิค คืออะไร มีแบบไหนบ้าง?
9 มิถุนายน 2025
บทความที่น่าสนใจ
พลาสติก PE คืออะไร? รู้จักประเภท คุณสมบัติ และการใช้งานที่ควรรู้
25 กรกฎาคม 2025
พลาสติก PP คืออะไร? รวมคุณสมบัติและการใช้งาน
14 กรกฎาคม 2025
มือใหม่ต้องรู้! หัวไขควงแบบต่างๆ มีอะไรบ้าง ใช้ต่างกันยังไง
30 มิถุนายน 2025
ไขข้อสงสัย! น็อตคืออะไร น็อตมีกี่ประเภท
30 มิถุนายน 2025
10 อุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม ที่ควรมีไว้ติดบ้านก่อนน้ำจะมา
9 มิถุนายน 2025
แม่แรงไฮดรอลิค คืออะไร มีแบบไหนบ้าง?
9 มิถุนายน 2025