“Walk in Closet” ก่อนออกแบบ ควรรู้อะไรบ้าง?
การทำ Walk in Closet ในปัจจุบัน มักจะใช้วิธีบิ้วอินตู้เสื้อผ้า และเฟอร์นิเจอร์สำหรับจัดเก็บหลาย ๆ แบบ ให้มีฟังก์ชั่นการใช้งานครบครัน ทั้งการแขวน หรือการพับเก็บ ซึ่งสำหรับคนที่มีความสามารถด้านงานช่างบ้าง อาจสามารถ DIY ตู้เสื้อผ้า หรือทำตู้เสื้อผ้าเอง เพราะการออกแบบและทำ WalkinCloset ด้วยตัวเอง จะสามารถตอบโจทย์การใช้งาน และพฤติกรรมการใช้งานของเจ้าของบ้านได้ดีที่สุด และยังสามารถใช้เป็นห้อง หรือเฟอร์นิเจอร์แต่งห้องนอน ที่เข้ากับสไตล์ของเจ้าของบ้านได้เป็นอย่างดี
ในบทความนี้ KACHA อยากจะพาทุกคนไปรู้ถึง ข้อควรรู้ก่อนจะออกแบบ และสร้าง “Walk in Closet” ว่าจะมีอะไรบ้าง ไปดูกัน…
Walk in Closet คืออะไร?
WalkinCloset คือ พื้นที่สำหรับจัดเก็บข้าวของเครื่องใช้การแต่งกาย ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า หรือเครื่องประดับต่าง ๆ ตลอดจนของใช้ในบ้านที่นาน ๆ ที จะได้หยิบออกมาใช้งาน อย่างเช่น ชุดเครื่องนอน หมอน หรือแม้กระทั่งกระเป๋าเดินทางใบโต โดยทั้งหมดที่กล่าวมานี้ จะถูกออกแบบไว้ในพื้นที่เดียวกัน เพื่อความสะดวกสบายในการใช้งาน และเพื่อเน้นการใช้พื้นที่จำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งการทำ “Walk in Closet” ด้วยตัวเอง ก็เป็นสิ่งที่กำลังได้รับความนิยม
ข้อดี-ข้อเสีย ของ WalkinCloset
ข้อดี
คือ การจัดเก็บข้าวของจำนวนมากได้อย่างเป็นระเบียบ และสามารถแยกประเภทของใช้ไปด้วยในตัว สะดวกกับการใช้งานในชีวิตประจำวันมาก โดยเฉพาะสำหรับคนรักการแต่งตัว การบิ้วอินตู้เสื้อผ้าให้เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของตัวเอง จะสามารถรวบรวมของทุกชิ้นที่ชอบมาไว้ในที่เดียวกัน ทำให้ง่ายต่อการแต่งตัว สร้างไอเดียละแรงบันดาลใจใหม่ ๆ นอกจากนี้ ยังสามารถปรับเปลี่ยนฟังก์ชั่นต่าง ๆ ได้ตามความเหมาะสม โดยยังคงช่วยเรื่องการประหยัดพื้นที่ไปด้วยในตัว
ข้อเสีย
WalkinCloset ก็เหมือนกับห้องขนาดเล็ก ๆ ในบ้านที่ต้องการการดูแลอย่างสม่ำเสมอ เพราะสำหรับบางคน การจัดเก็บเสื้อผ้าที่มีมากมายให้เป็นระเบียบเรียบร้อยตลอดเวลา ก็ยากพอ ๆ กับการทำตู้เสื้อผ้าเอง โดยเฉพาะกับ WalkinCloset แบบไม่มีหน้าบานปิด แม้จะสามารถมองเห็นของใช้ได้ง่าย และหยิบออกมาใช้งานได้สะดวก แต่หากหยิบแล้วไม่วางที่เดิม หรือข้าวของกระจัดกระจายไม่เข้าที่เข้าทาง เสื้อผ้าแขวนปนกันสะเปะสะปะ WalkinCloset ที่สวยงาม อาจกลายสภาพเป็นห้องเล็ก ๆ รก ๆ ห้องหนึ่งเอาได้ง่าย ๆ ยังไม่นับรวมเรื่องฝุ่นที่ต้องคอยทำความสะอาดเสมอ และงบประมาณในการทำที่ค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับตู้เสื้อผ้าทั่วไป
ข้อควรรู้ก่อนออกแบบ WalkinCloset
การออกแบบ WalkinCloset ไม่ใช่เพียงแค่การจ้างบริษัทบิ้วอินตู้เสื้อผ้า แบบตายตัวที่ต้องใช้งบประมาณสูงเท่านั้น แต่บางคนอาจทำตู้เสื้อผ้าเอง ด้วยโครงเหล็กรางกระดูกงู ใช้ร่วมกับชั้นเหล็ก และตะกร้าจัดเก็บต่าง ๆ ที่ทำได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเอง หรืออาจใช้วิธี DIY ตู้เสื้อผ้าเก่า เพื่อจับมา Mix & Match กับเฟอร์นิเจอร์จัดเก็บชิ้นอื่น ๆ หรือเคลื่อนย้ายเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ ที่มีอยู่แล้ว มาไว้ในโซนเดียวกัน เพื่อให้ได้ WalkinCloset ในแบบของตัวเอง เพราะไอเดียของ WalkinCloset จริง ๆ แล้ว คือ การแบ่งพื้นที่ สำหรับห้องแต่งตัวให้เป็นสัดส่วนนั่นเอง
กำหนดความลึกของตู้เสื้อผ้า
เสื้อผ้าส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นชุดเดรส เสื้อเชิ้ต เสื้อคลุม หรือเสื้อกันหนาวตัวหนา มักจะจัดเก็บได้พอดีกับตู้ที่มีความลึก ประมาณ 24 นิ้ว หากความลึกน้อยกว่านั้น อาจทำให้เวลาแขวนเสื้อผ้า แล้วเสื้อผ้าจะยื่นออกมา จนทำให้ไม่สามารถปิดบานตู้ หรือขวางทางเดินได้ ทำให้ดูไม่เรียบร้อยเอามาก ๆ และสำหรับเสื้อผ้าที่ต้องพับเก็บ จะต้องมีพื้นที่กว้างอย่างน้อย 9-15 นิ้ว สำหรับการจัดเก็บ ส่วนเสื้อผ้าประเภทชุดเดรสยาว ชุดราตรี หรือเสื้อโค้ทตัวยาว ก็อาจต้องมีพื้นที่สำหรับการแขวนที่สูงสัก 68 นิ้วเป็นอย่างน้อย และความสูงที่ 50 นิ้ว สำหรับการแขวนกางเกง และกระโปรงแบบพับครึ่ง
แบ่งจำนวนพื้นที่แขวนเสื้อผ้าอย่างเหมาะสม
ลองสำรวจดูว่า เสื้อผ้าที่ต้องจัดเก็บโดยการแขวน ส่วนใหญ่เป็นเสื้อผ้าประเภทใด หากเสื้อผ้าส่วนใหญ่เป็นเสื้อเชิ้ต กระโปรง กางเกง หรือเดรสตัวสั้น การบิ้วอินตู้เสื้อผ้า ให้มีราวแขวนแบบสองชั้น จะทำให้ประหยัดพื้นที่จัดเก็บได้มาก แต่หากเสื้อผ้าส่วนใหญ่เป็นเดรสยาว ชุดราตรี หรือเสื้อโค้ทตัวยาว การใช้ราวแขวนแบบราวเดี่ยว ก็จะตอบโจทย์การใช้งานได้มากกว่า
พื้นที่ตรงมุมห้องก็สร้างประโยชน์ใช้สอยได้
การออกแบบ WalkinCloset แบบเข้ามุมนั้น สามารถทำได้จริง เพียงใช้เทคนิคการซ้อนตู้ หรือการติดตั้ง ราวแบบโค้ง เพื่อให้มีพื้นที่สำหรับจัดเก็บได้มากขึ้น ถึงแม้ว่าจะเป็นพื้นที่ส่วนที่ไม่ได้เข้าถึงได้สะดวกนัก แต่ก็สามารถใช้จัดเก็บของใช้ที่นาน ๆ จะหยิบออกมาใช้ที อย่างเช่น กระเป๋าเดินทาง หรือเสื้อกันหนาวตัวใหญ่ ๆ ได้
เว้นพื้นที่สำหรับจัดวาง Island
Island หรือเกาะกลางที่ถูกจัดวางไว้ตรงกลาง WalkinCloset จะช่วยให้การจัดเก็บเครื่องประดับชิ้นเล็กชิ้นน้อยเป็นระเบียบ และหาง่ายขึ้น นอกจากนี้ ยังสามารถปรับให้เป็นพื้นที่วางของ ที่กำลังเลือก หรือปรับเป็นพื้นที่สำหรับการแต่งหน้าของสาว ๆ ได้แบบ 3 in 1 หากบ้านไหนมีพื้นที่มากพอ จึงอยากแนะนำให้เพิ่มพื้นที่ส่วนนี้เข้าไปใน WalkinCloset ด้วย โดยขนาดเกาะกลางที่เหมาะสม คือ เว้นพื้นที่ทางเดินรอบด้านประมาณ 24-36 นิ้ว สำหรับคนที่ทำตู้เสื้อผ้าเอง ส่วนของเกาะกลางนี้ อาจแค่เพียงนำตู้ลิ้นชักขนาดไม่ใหญ่นัก มาวางเรียงต่อกันทั้ง 2 ด้าน แล้วปิดด้านบนตู้ด้วยแผ่นไม้ หรือวัสดุอื่น ๆ เพื่อหลอกตาให้เหมือนเฟอร์นิเจอร์บิ้วอินที่เข้ากับตู้เสื้อผ้าชิ้นอื่น เพียงเท่านี้ก็ได้ Island สวย ๆ ที่ใช้งานได้จริง และใช้ตกแต่งห้องนอนไปด้วยในตัว
เว้นพื้นที่สำหรับรองเท้าคู่โปรด
หากต้องการให้ WalkinCloset สามารถจัดเก็บรองเท้าคู่โปรด โดยมั่นใจว่าจะไม่มีปัญหาเรื่องกลิ่นรบกวน หรือเรื่องความสกปรกได้ การจัดวางพื้นที่สำหรับเก็บ หรือโชว์รองเท้า ก็สามารถทำได้ โดยกำหนดช่องว่างสำหรับการจัดเก็บรองเท้า ความกว้างประมาณ 7-2 นิ้ว ช่องว่างสำหรับการจัดเก็บรองเท้าบู้ท หุ้มข้อ ความสูงประมาณ 3-5 นิ้ว และช่องว่างสำหรับการจัดเก็บรองเท้าบู้ทคู่ยาว ความสูงประมาณ 9-17 นิ้ว ตามลำดับ
วางเก้าอี้นุ่มสบายไว้สักตัว
หากมีพื้นที่ว่างมากพอ การวางเก้าอี้ตัวโปรดไว้ใน WalkinCloset สักตัว จะช่วยให้มีพื้นที่สำหรับนั่งใส่รองเท้า ติดกระดุมเสื้อ แต่งหน้า และรองรับกิจกรรมอื่น ๆ ได้อีกมาก โดยสามารถเลือกวางเก้าอี้ไว้ด้านข้างของเกาะกลาง หรือจะวางได้ด้านข้างผนังที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ก็ได้ และหากต้องการฟังก์ชั่นที่มากกว่าการนั่ง ก็อาจเลือกใช้เก้าอี้ที่สามารถจัดเก็บของเล็ก ๆ น้อย ๆ ไว้ใต้ที่นั่งได้ นอกจากจะใช้งานได้หลากหลายแล้ว เก้าอี้สวย ๆ หนึ่งตัวยังเป็นเฟอร์นิเจอร์แต่งห้องนอนที่ช่วยเติมเต็มให้ห้องดูสมบูรณ์แบบขึ้นด้วย
อย่าลืมพื้นที่เก็บเครื่องประดับ
นอกจากเสื้อผ้า และรองเท้าแล้ว หมวก กระเป๋า เข็มขัด เนคไท นาฬิกา และเครื่องประดับต่าง ๆ ก็ต้องการพื้นที่จัดเก็บที่เป็นสัดส่วนเช่นกัน โดยเข็มขัด เนคไท สร้อยคอ หรือกระเป๋าบางประเภทที่เหมาะกับการแขวน ก็สามารถแขวนกับผนังด้านที่เหลือพื้นที่น้อย หรือไม่ค่อยได้ใช้งานได้ ส่วนเครื่องประดับชิ้นเล็ก ๆ อย่าสร้อยข้อมือ แหวน นาฬิกา หรือเข็มกลัดต่าง ๆ อาจใช้ลิ้นชักในการจัดเก็บ หรือจัดเก็บใส่กล่องแยกประเภท และจัดวางไว้ในพื้นที่ที่มองเห็นได้ง่าย และหยิบใช้ได้สะดวก
ออกแบบให้แสงธรรมชาติเข้าถึง
ไม่ว่าจะเป็น WalkinCloset แบบบิ้วอินตู้เสื้อผ้า หรือการ DIY ตู้เสื้อผ้า ตู้ลิ้นชักต่าง ๆ แล้วนำมาจัดวางใหม่ หากในพื้นที่พอจะมีช่องแสงธรรมชาติอยู่ ก็ควรจะเว้นให้แสงธรรมชาติเข้าถึงได้ เพราะสาว ๆ ที่ต้องแต่งหน้าเป็นประจำ จะทราบดีว่า การแต่งหน้าท่ามกลางแสงธรรมชาติ คือ สิ่งที่ดีที่สุด และยังทำให้การมองเห็นข้าวของต่าง ๆ ชัดเจนตรงกับสีจริง ไม่หลอกตา ทำให้การ Mix & Match การแต่งตัวในลุคต่าง ๆ ออกมาไม่พลาดแน่ ๆ
เลือกการจัดวางให้โปร่ง ป้องกันความชื้น
เนื่องจากพื้นที่บิ้วอินตู้เสื้อผ้า หรือ WalkinCloset ส่วนใหญ่ มักถูกจัดวางให้เชื่อมต่อระหว่างห้องน้ำ กับห้องนอน การออกแบบ WalkinCloset จึงต้องให้ความสำคัญเรื่องการระบายอากาศ และความชื้นมากเป็นพิเศษ โดยออกแบบให้มีระยะห่างระหว่างพื้นที่แห้งและเปียก อย่างน้อย 1.20 เมตร ขึ้นไป รวมไปถึงให้มีหน้าต่าง หรือช่องลม เพื่อช่วยระบายความอับชื้น สาเหตุของการเกิดเชื้อรา และโรคทางเดินหายใจ รวมทั้งช่วยลดการสะสมความร้อนภายใน WalkinCloset ซึ่งเป็นการช่วยยืดอายุการใช้งานข้าวของเครื่องใช้ไปด้วยในตัว
กระจกเงาเช็คความเรียบร้อยตั้งแต่หัวจรดเท้า
WalkinCloset กับกระจกเงา ถือเป็นของคู่กัน โดยเฉพาะกระจกเงาแบบเต็มตัว ที่ทำให้เพลิดเพลินกับการแต่งตัว และเช็คความเรียบร้อยได้ตั้งแต่หัวจรดเท้า ซึ่งปัจจุบัน กระจกเงามีดีไซน์หลากหลายแบบให้เลือกใช้ ไม่เพียงแค่แบบตั้งพื้น หรือยึดติดกับผนัง แต่ยังมีแบบที่สามารถซ่อนไว้ด้านใน และหมุนหรือเปิดออกมาได้เมื่อต้องการใช้งาน นอกจากจะมีประโยชน์แล้ว กระจกเงายังสามารถใช้เป็นของตกแต่งห้องนอนที่ช่วยทำให้ห้องดูโปร่ง สว่าง และกว้างขึ้นด้วย
เป็นอย่างไรกันบ้าง กับเรื่องที่ควรรู้ ก่อนออกแบบ และสร้าง WalkinCloset ถึงแม้ WalkinCloset จะเป็นเพียงพื้นที่เล็ก ๆ ภายในบ้าน แต่กลับมีประโยชน์ใช้สอยมากมาย และสามารถเติมเต็มความเป็นบ้านในฝันของใครหลายคนได้อย่างสมบูรณ์ สิ่งสำคัญในการออกแบบ WalkinCloset ด้วยตัวเอง คือ การใส่ใจในรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่แสดงถึงความเป็นตัวตนของผู้ใช้งานเองนั่นเอง
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง :