5 วิธีเลือก กระเบื้องกันลื่น มาใช้ในบ้าน อาคาร และโรงงาน

กระเบื้องกันลื่น กระเบื้องที่มีประโยชน์มากกว่าความสวยงาม ถือเป็นอีกหนึ่งไอเท็มที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับคนในบ้าน

กระเบื้องประเภทนี้ใช้วัสดุอะไรในการผลิต? แต่ละวัสดุต่างกันอย่างไร? รวมถึงมีวิธีเลือกอย่างไรให้ถูกต้อง? ตาม KACHA ไปดูกัน

ขั้น 1 รู้จักกับ ค่ากันลื่น (ค่า R) ก่อน

สิ่งแรกที่เราจำเป็นต้องรู้ก่อนเลือกซื้อกระเบื้องกันลื่น คือ ค่ากันลื่น หรือ ค่า Slip Resistance Rating  (ค่า R) ซึ่งเป็น “หน่วยวัดมาตรฐาน” ของกระเบื้อง ซึ่งค่านี้ผ่านการทดสอบด้วยวิธีการตามมาตรฐานสากล เพื่อการใช้กระเบื้องที่เหมาะสม โดยจะมีตั้งแต่ R9 ไปจนถึง R13 (ตัวเลขมาก ยิ่งกันลื่นได้มาก) ดังนี้

ค่า R กระเบื้องกันลื่น

1. ค่ากันลื่น R9

เป็นค่าต่ำสุดของพื้นผิวของกระเบื้องกันลื่น ความหนืดอยู่ที่ 3 – 10 องศา เหมาะสำหรับปูพื้นแห้งทั่วไป เช่น ห้องโถง บันไดห้องอาหาร ห้องรับแขก พื้นที่ภายในออฟฟิศ เป็นต้น​

2. ค่ากันลื่น R10

เป็นค่ากันลื่นของกระเบื้องที่สามารถกันลื่นได้ปานกลาง ระดับความหนืดอยู่ที่ 10 – 19 องศา เหมาะสำหรับบริเวณพื้นแห้งและเปียก ห้องครัว โรงรถ ห้องน้ำ เป็นต้น​

3. ค่ากันลื่น R11

เป็นค่ากันลื่นของกระเบื้องที่กันลื่นได้สูง ระดับความหนืดอยู่ที่ 19 – 27 องศา เหมาะสำหรับบริเวณพื้นที่เปียกน้ำ หรือ พื้นที่ภายนอกอาคาร เช่น ลานซักล้าง ทางลาดชัน บริเวณภายนอกอาคาร บันไดนอกตัวอาคาร ที่จอดรถนอกอาคาร บริเวณรอบสระว่ายน้ำ พื้นห้องน้ำผู้สูงอายุ เป็นต้น​

4. ค่ากันลื่น R12

เป็นค่ากันลื่นของกระเบื้องที่กันลื่นได้สูง ระดับความหนืดอยู่ที่ 27 – 35 องศา เหมาะสำหรับพื้นที่ภายนอกที่มีความลาดชันมาก และ เหมาะสำหรับพื้นที่ที่มีการใช้น้ำมัน เช่น บริเวณรอบสระว่ายน้ำ พื้นที่ภายนอกอาคาร บริเวณลานจอดรถ ห้องครัว หรือโรงอาหารขนาดใหญ่ที่มีการใช้น้ำมัน

5. ค่ากันลื่น R13

เป็นค่ากันลื่นสูงสุดของกระเบื้องที่กันลื่นได้สูงมาก ระดับความหนืดมากกว่า 35 องศา เหมาะสำหรับพื้นที่ภายนอกที่มีความลาดชันมาก และ เหมาะสำหรับบริเวณโรงงานอุตสาหกรรม พื้นที่มีความมันหรือไขมันปริมาณมาก เช่น พื้นที่ภายนอกอาคาร พื้นที่ลาดชันสูง โรงรถ เป็นต้น

**วิธีสังเกตค่า R ของกระเบื้อง ให้ดูจาก “หน้ากล่อง” ที่บรรจุ**

ขั้น 2 เลือก วัสดุ กระเบื้องกันลื่น

วัสดุ กระเบื้องกันลื่น
  • กระเบื้องพอร์ซเลน เป็นกระเบื้องกันลื่นที่มีความแข็งแรง ทนทาน และกันรอยขีดข่วนได้ดี มีหลายลวดลายให้เลือก คุณสมบัติเด่น คือ มีความหนาแน่นสูง รูพรุนน้อย อัตราดูดซึมน้ำต่ำ ทำให้ทนทานต่อน้ำและความชื้น รับน้ำหนักได้มาก อีกทั้งยังมีรูปแบบที่หลากหลาย ทั้งแบบเคลือบผิวและไม่เคลือบผิว สามารถใช้งานได้อย่างอเนกประสงค์ ทั้งเป็นกระเบื้องปูพื้นภายใน ห้องน้ำ ห้องครัว ห้องนั่งเล่น และใช้เป็นกระเบื้องปูพื้นภายนอก ปูพื้นโรงรถได้ แต่จะมีราคาค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกันกระเบื้องปูพื้นกันลื่นชนิดอื่น
  • กระเบื้องเซรามิก ได้รับความนิยมในการนำมาใช้เป็นวัสดุปูพื้นเช่นกัน แต่จำเป็นต้องเลือกกระเบื้องเซรามิกที่มีผิวสัมผัสที่ช่วยลดปัญหาพื้นลื่น เพราะด้วยคุณสมบัติของกระเบื้องเซรามิกดูดซึมน้ำสูง หากปูกระเบื้องในโซนเปียกต้องระมัดระวังเรื่องความปลอดภัยลวดลายที่สวยงาม ดูแลรักษาง่าย
  • กระเบื้องแกรนิตโต้ มีอัตราการดูดซึมน้ำที่ค่อนข้างต่ำ มีความแข็งแรงทนทาน มีค่า R ที่ค่อนข้างสูง กันลื่นได้ดี มีความมันวาวน้อยกว่ากระเบื้องเซรามิค จะเหมาะกับการใช้งานในห้องน้ำมากที่สุด แต่จะมีข้อจำกัดในเรื่องของราคาที่ค่อนข้างสูง น้ำหนักที่มากและการติดตั้งที่ยาก

กระเบื้องเซรามิก พอร์ซเลน และแกรนิตโต้ มีพื้นผิวที่เพิ่มการยึดเกาะเมื่อเปียกน้ำ มีความทนทาน กันน้ำ และดูแลรักษาง่าย ควรมองหากระเบื้องที่มีค่าการกันลื่นสูง เช่น กระเบื้องที่มีค่า COF (ค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทาน) เท่ากับ 0.60 หรือสูงกว่า

  • กระเบื้องหินธรรมชาติ หากต้องการคุณสมบัติกันลื่น อาจเลือกใช้หินชนวนหรือทราเวอร์ทีนที่มีพื้นผิวที่ขรุขระ เพื่อให้ยึดเกาะได้แต่ต้องมีการปิดผนึก เพื่อป้องกันการเปื้อนและความเสียหายจากน้ำ
  • กระเบื้องโมเสก กระเบื้องโมเสกขนาดเล็ก ยึดเกาะได้ดี เนื่องจากมีแนวยาหลายแนวระหว่างกระเบื้อง เป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับเป็นกระเบื้องกันลื่น
  • กระเบื้องยาง กระเบื้องยางมีความนุ่มสบาย กันลื่นได้ดี กันน้ำ ทนทาน และทำความสะอาดง่าย จึงเป็นที่นิยมในบ้านที่มีเด็กหรือผู้สูงอายุอาศัยอยู่
  • กระเบื้องไวนิล กระเบื้องไวนิลบางชนิดมีพื้นผิวกันลื่น ออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับใช้ในพื้นที่เปียกและมีระดับการกันลื่นสูง

ขั้น 3 เลือก พื้นผิวกระเบื้องกันลื่น

พื้นผิวกระเบื้องกันลื่น
  • กระเบื้องผิวสัมผัสหยาบ (Anti-Slip)
  • กระเบื้องผิวสัมผัสเรียบด้าน (Matt)
  • กระเบื้องผิวสัมผัสมันวาว (Polish)
  • กระเบื้องผิวสัมผัสเงา ไม่มันวาว (Soft polish)
  • กระเบื้องผิวสัมผัสกึ่งเงากึ่งด้าน (Hon)
  • กระเบื้องผิวสัมผัสด้านขัดเงา (Lappato)
  • กระเบื้องผิวสัมผัสสากมาก (Grip)

กระเบื้องปูพื้นจะมีผิวสัมผัสให้เลือกมากมายหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็น ผิวด้าน, ผิวเรียบ, ผิวมัน, ผิวหยาบ และผิวกึ่งมันกึ่งหยาบ ซึ่งแต่ละผิวสัมผัสจะเป็นตัวช่วยในการกันลื่นได้อีกทางนอกจากการดูค่า R กระเบื้อง แต่กระเบื้องที่มีความหยาบเยอะ ๆ จะมีข้อเสียอยู่อย่างหนึ่งคือการทำความสะอาด เพราะกระเบื้องประเภทนี้จะทำความสะอาดค่อนข้างยาก

ขั้น 4 เลือก ขนาดกระเบื้องกันลื่น

ขนาดของกระเบื้องกันลื่นมีหลายขนาดเหมือนกับกระเบื้องทั่วไป ตามมาตรฐานแล้วจะเริ่มต้นที่ 8×8 นิ้ว (20×20 ซม.) 12×12 นิ้ว (30×30 ซม.) 16×16 นิ้ว (40×40 ซม.) 20×20 นิ้ว (50×50 ซม.) 24×24 นิ้ว (60×60 ซม.) 24×48 นิ้ว (60×120 ซม.) 30×60 นิ้ว (75×150 ซม.) 32×64 นิ้ว (80×160 ซม.) 32×32 นิ้ว (80×80 ซม.) ไปจนถึง 36×36 นิ้ว (90×90 ซม.) อย่างไรก็ตามเราต้องคำนวณพื้นที่ให้ดี แล้วซื้อกระเบื้องกันลื่นเผื่อไว้ประมาณ 3 – 5 %

ขั้น 5 เลือก โทนสี” กระเบื้องกันลื่น

การเลือกโทนสี กระเบื้องกันลื่น

โทนสีและลวดลายเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาร่วมกับข้ออื่น ๆ เพราะนอกจากกระเบื้องจะมีความแข็งแรง ทนทาน แล้วยังต้องมีความสวยงาม ซึ่งโทนสีและลวดลายนั้นสามารถเลือกได้ตามรสนิยมและดีไซน์การตกแต่งของแต่ละพื้นที่ได้เลย โดยโทนสีและลวดลายนั้นจะให้ความรู้สึกที่แตกต่างกัน โทนสีอ่อน ลายใหญ่ จะทำให้พื้นที่มีความโปร่งโล่ง แต่เห็นคราบสกปรกง่าย ในทางตรงข้ามกันสีเข้มจะเพิ่มความหรูหรา ลึกลับ อาจทำให้พื้นที่ดูแคบลง แต่ไม่เห็นคราบสกปรกมากเท่ากระเบื้องกันลื่นโทนสีอ่อน ดังนั้นข้อนี้เป็นเรื่องของปัจเจก ผู้ใช้งานสามารถเลือกได้ตามเหมาะสมและความชอบของตนเองได้เลย

จบไปแล้วกับเทคนิคการเลือก กระเบื้องกันลื่น สำหรับบ้าน อาคาร และโรงงาน หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์และเป็นแนวทางให้ทุกคนเลือกซื้อกระเบื้องกันลื่นมาใช้ได้อย่างเหมาะสม อย่างไรก็ตาม ควรเลือกทีมช่างที่มีประสบการณ์ เพื่อให้อาคารของเรามีพื้นกระเบื้องที่สวยงาม ทนทาน และเรียบเท่ากันทุกแผ่น 

ขอบคุณข้อมูลจาก : SmartBuild