ราคาก่อสร้างโกดังต่อตารางเมตร 2566 เท่าไหร่ เช็กให้ชัวร์ ก่อนสร้างโกดัง

ราคาก่อสร้างโกดังต่อตารางเมตร 2566 เท่าไหร่ KACHA มีคำตอบ พร้อมพาคุณไปเช็กให้ชัวร์ ก่อนสร้างโกดัง
ใครอยากสร้างโกดัง ไม่ว่าจะเป็น ว่าจ้าง หรือ รับสร้างโกดัง แล้วละก็ ตามมาดูกันเลย

ใครเป็นคนประเมิน ราคาก่อสร้างโกดัง โรงงาน

ราคาก่อสร้างโกดังต่อตารางเมตร 2566

มูลนิธิประเมินค่า-นายหน้าแห่งประเทศไทย ได้จัดทำราคาค่าก่อสร้างอาคารมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2556 ตามดำริของ ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารมูลนิธิฯ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการประเมินค่าทรัพย์สิน ให้ประชาชน และ นักลงทุนทั่วไป นำไปใช้ประเมิน ราคาก่อสร้างโกดัง โรงงาน คลังสินค้า โดยมีการปรับปรุงทุก ๆ 3 เดือน ซึ่งในแต่ละช่วงนั้น ก็จะมีการปรับราคาขึ้นลงตามลำดับ ตามการเปลี่ยนแปลงของราคาวัสดุก่อสร้าง ณ ช่วงเวลานั้น ๆ

sponsored (โฆษณา)

ปัจจัยที่ส่งผลต่อ ราคาก่อสร้างโกดังต่อตารางเมตร 2566

ราคาก่อสร้างโกดัง

1. การเปลี่ยนแปลงของราคาวัสดุก่อสร้าง

เป็นปัจจัยหลัก ที่ทำให้ ราคาก่อสร้างโกดัง เปลี่ยนแปลงเลยก็ว่าได้ เพราะด้วยสภาพเศรษฐกิจและสถานการณ์โลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทำให้ราคาวัสดุก่อสร้าง เช่น ไม้ เหล็ก ซีเมนต์ คอนกรีต ฯลฯ พลอยได้รับผลกระทบไปด้วย ส่งผลให้มีการปรับตัวขึ้นลงอย่างต่อเนื่องทุก ๆ ปี

2. พื้นที่ – ความสูงของอาคาร

พื้นที่ – ความสูงของอาคาร จะเป็นตัวกำหนดว่า ควรใช้วัดสุก่อสร้างเท่าไหร่ ปริมาณไหนถึงจะเพียงพอ เพื่อทำให้เสา ขื่อ คาน พื้นที่รับน้ำหนัก ฐานราก มีความแข็งแรง คงทน และ ถาวร มากที่สุด หากอาคารยิ่งสูงเท่าไหร่ ราคาก่อสร้างก็จะยิ่งแพงขึ้นเท่านั้น

3. แบบโกดัง

แบบโกดัง มีหลายรูปแบบมาก ๆ ทั้ง แบบโกดังขนาดเล็ก แบบโกดังสวยๆ แบบโกดังพร้อมออฟฟิศ แบบโกดังโมเดิร์น ฯลฯ ซึ่งแต่ละแบบนั้น ก็มีความยากง่ายในการก่อสร้างแตกต่างกัน และ ใช้วัสดุก่อสร้างไม่เท่ากันด้วย ทำให้โอกาสที่ราคาก่อสร้างโกดัง จะปรับเปลี่ยนไปตามแบบโกดังก็มีมากขึ้น

4. ต้องมีมาตรฐานโรงงานหรือไม่

เพราะโรงงานบางประเภท เช่น โรงงานอุตสาหกรรม โรงงานผลิตเครื่องสำอาง อาหารเสริม จะต้องมีมาตรฐานโรงงาน เช่น GMP HACCP เพื่อเป็นเครื่องการันตีสินค้า ว่าถูกผลิตอย่างถูกสุขลักษณะ ปลอดภัยต่อผู้บริโภค ตามที่กฎหมายกำหนด ทำให้การก่อสร้างโกดัง โรงงานเหล่านี้ จะต้องถูกออกแบบมาอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การกำหนดขนาดของโรงงานที่เหมาะสม  การวางระบบป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น การวางระบบสาธารณูปโภค ระบบสุขาภิบาล ภายในโรงงาน ฯลฯ ซึ่งปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้เอง ที่จะส่งผลให้ ราคาก่อสร้างโกดัง มีการปรับตัวสูงขึ้น

sponsored (โฆษณา)

อัตราการเปลี่ยนแปลงราคาวัสดุก่อสร้าง 2566

ราคาก่อสร้างโกดังต่อตารางเมตร 2566

จากสภาพเศรษฐกิจและสถานการณ์โลก ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะในช่วง 2564 – 2566 ที่โลกต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 รวมถึง วิกฤติสงครามยูเครน – รัสเซีย ทำให้นอกจากราคาน้ำมันจะมีความผันผวนสูง ราคาพืชผลทางการเกษตร ราคาอาหาร ค่าครองชีพของคนทั่วโลก ปรับตัวสูงขึ้นแล้ว ยังส่งผลให้ราคาวัสดุก่อสร้างปรับตัวสูงขึ้นอีกด้วย

ซึ่งจากการดำเนินงานของมูลนิธิประเมินค่า-นายหน้าแห่งประเทศไทย ที่ได้ดำเนินการศึกษาข้อมูลการจัดทำราคาค่าก่อสร้าง จากทางราชการและภาคสนาม พบว่า เดือนมีนาคม 2566 มีการเปลี่ยนแปลงราคาวัสดุก่อสร้างล่าสุด ดังนี้

วัสดุก่อสร้าง ราคาล่าสุด (มีนาคม 66) การเปลี่ยนแปลงของราคาวัสดุก่อสร้าง
ไตรมาสที่ 1/66 (เดือนม.ค. – มี.ค. 66) ไตรมาสที่ 2/66 (เดือนเม.ย. – มิ.ย. 66)
ไม้ 4.95% +2.84% 0.00%
ซีเมนต์ 11.36% +0.70% 0.00%
ผลิตภัณฑ์คอนกรีต 16.33% +0.27% +0.45%
เหล็ก 30.05% +1.09% -1.08%
กระเบื้อง 7.31% +0.18% +0.64%
วัสดุฉาบผิว 3.15% +1.53% +1.60%
สุขภัณฑ์ 2.12% +1.11% +0.40%
อุปกรณ์ไฟฟ้า 12.28% +0.96% -0.48%
วัสดุก่อสร้างอื่น ๆ 12.44% +0.78% -0.68%
รวม 100% +0.89% -0.50%
sponsored (โฆษณา)

ราคาก่อสร้างโกดังต่อตารางเมตร 2566

ราคาก่อสร้างโกดัง

หลังจากวิเคราะห์อัตราการเปลี่ยนแปลงราคาวัสดุก่อสร้าง โดยการเปรียบเทียบระหว่าง เดือนธันวาคม 65 – เดือนมีนาคม 2566 (ไตรมาสที่ 4/65 – ไตรมาสที่ 1/66) พบว่า ในภาพรวม ราคาวัสดุก่อสร้าง มีการปรับตัวสูงขึ้น +0.89% โดยวัสดุก่อสร้างที่ราคาปรับเพิ่มขึ้น ได้แก่ ไม้ ซีเมนต์ เหล็ก ผลิตภัณฑ์คอนกรีต กระเบื้อง อุปกรณ์ไฟฟ้า วัสดุฉาบผิว สุขภัณฑ์ วัสดุก่อสร้างอื่น ๆ สำหรับ ค่าแรงงาน นั้น ปรับเพิ่ม 6 % เป็นผลจากค่าแรงงานขั้นต่ำ ที่ปรับเพิ่มในเดือนตุลาคม 65 ตามราชกิจจานุเบกษา อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 11) ส่วน กำไรภาษี ค่าดำเนินการต่าง ๆ ยังคงพิจารณาเท่าเดิม ไม่มีการปรับตัวสูงขึ้น

เมื่อนำค่าวัสดุ ค่าแรงงาน และ กำไรภาษี ค่าดำเนินการ มารวมกัน จะพบว่า ค่าก่อสร้างที่แท้จริงเพิ่มขึ้น 1.74% ส่งผลให้ ราคาก่อสร้างโกดังต่อตารางเมตร 2566 ในไตรมาสที่ 1 เพิ่มขึ้นจากเดิม 6,700 – 8,500 บาท/ตร.ม. เป็น 6,800 – 8,600 บาท/ตร.ม.

ค่าวัสดุ                                         60%            +0.89%          60.54%

ค่าแรง                                          20%            +6.00%          21.20%

กำไรภาษี และ ค่าดำเนินการ          20%            +0.00%          20.00%

                                                    100%                                101.74%

                                     สรุป                                                     +1.74%

ล่าสุด เมื่อนำอัตราการเปลี่ยนแปลงในเดือนมีนาคม 66 เปรียบเทียบกับ เดือนมิถุนายน 66 (ไตรมาสที่ 1 ปี 66 – ไตรมาสที่ 2 ปี 66) แม้ในภาพรวมพบว่า ราคาวัสดุก่อสร้างปรับตัวลดลง 0.50% แต่เนื่องจากค่าแรงงาน กำไรภาษี ค่าดำเนินการ ยังคงเท่าเดิม ทำให้ถึงแม้ ค่าก่อสร้างที่แท้จริงจะลดลง -0.30% แต่ ราคาก่อสร้างโกดังต่อตารางเมตร 2566 ในไตรมาสที่ 2 ก็ยังคงเดิมอยู่ที่ 6,800 – 8,600 บาท/ตร.ม.

ค่าวัสดุ                                         60%            -0.50%           59.70%

ค่าแรง                                          20%            +0.00%          20.00%

กำไรภาษี และ ค่าดำเนินการ          20%            +0.00%          20.00%

                                                  100%                                  99.70%

                                     สรุป                                                   -0.30%

เพราะ ราคาก่อสร้างโกดัง มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา หากใครคิดจะว่าจ้างสร้างโกดัง หรือ รับสร้างโกดัง แล้วละก็ ลองเช็ก ราคาก่อสร้างโกดังต่อตารางเมตร 2566 กันให้ดี เพื่อให้ได้เรตราคาที่เหมาะสม ทั้งคนที่เป็นลูกค้า รวมถึงคนที่ประกอบอาชีพเป็น ผู้รับเหมาสร้างโกดัง โรงงาน คลังสินค้าต่าง ๆ

สำหรับใครที่อยากสร้างโกดัง แล้วอยากได้คนช่วยประเมินราคา หรือ เช็กราคาก่อสร้างโกดังแล้วละก็ ปรึกษา KACHA ได้เลย เพราะเรามีบริการ รับสร้างโกดัง ครบวงจร ราคาโรงงาน ถูกที่สุดในไทย พร้อมช่วยคุณสร้างโกดัง คลังสินค้าทุกรูปแบบได้ตามที่ต้องการ ออกแบบโดยทีมวิศวกรมืออาชีพ มีรับประกันยาวนานถึง 10 ปี หากใครสนใจ คลิกดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.kacha.co.th/รับสร้างโกดัง-โกดังสำเร/ หรือ สอบถามเพิ่มเติมทาง โทรศัพท์ Line ของเราได้เลย


บทความที่น่าสนใจ

Sponsered (โฆษณา)