โรงงาน โกดัง โครงสร้างPEB คือ? มีข้อดีอย่างไร? ใช้งานอะไรได้บ้าง?

KACHA พาไปทำความรู้จักกับ โครงสร้าง PEB (Pre-Engineered Building) ว่าคืออะไร?

อาคาร โรงงาน โกดัง หรือคลังสินค้าที่สร้างด้วยโครงสร้างแบบนี้ดีหรือไม่? ตามไปหาคำตอบกัน!

ไขข้อสงสัย โครงสร้าง PEB คืออะไร?

ไขข้อสงสัย โครงสร้าง PEB คืออะไร?

PEB (Pre-Engineered Building) คือ โครงสร้างเหล็กสำเร็จรูปที่มีการออกแบบทางวิศวกรรมเตรียมไว้ก่อนล่วงหน้า ทุกชิ้นส่วนถูกผลิตและขึ้นรูปจากโรงงาน จากนั้นค่อยนำประกอบและติดตั้งที่หน้างานด้วยระบบ Bolt System (ยึดต่อด้วยสลักเกลียวหรือน็อต) ก่อสร้างด้วยระบบน็อกดาวน์ไม่มีเสากลาง (Clear Span) ออกแบบให้มีพื้นที่ภายในกว้าง โปร่งโล่งทันสมัย จัดสรรพื้นที่การใช้งานภายในอาคารได้อิสระ ประหยัดเวลาก่อสร้างได้ประมาณ 30% ควบคุมงบประมาณไม่บานปลาย และสามารถถอดชิ้นส่วนย้ายประกอบซ้ำได้

โครงสร้างเหล็กที่ใช้ Bolt Connection เป็นการต่อเชื่อมโครงสร้างเหล็กที่ใช้สลักและน็อต การต่อเชื่อมด้วยระบบนี้ มีข้อดีหลายอย่าง เช่น สร้างเสร็จไว ปลอดภัย ตรวจสอบ และซ่อมแซมง่าย เหมาะสำหรับโครงการที่ต้องการการติดตั้งและถอดถอนได้

สาเหตุที่เรียก Pre-Engineered  เพราะอาคารถูกออกแบบตามมาตรฐานเชิงวิศวกรรมที่ผู้ผลิตมีการกำหนดขนาด รูปร่าง และโครงสร้างไว้ล่วงหน้าแล้ว

โรงงาน/ โกดัง ใช้โครงสร้าง PEB ดีไหม?

Pre-Engineered Building โรงงาน/ โกดัง ใช้โครงสร้าง PEB ดีไหม?

โครงสร้างเหล็ก PEB หรือโกดังสำเร็จรูป ทั้งดี ทั้งประหยัด และได้มาตรฐาน แต่ก็ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพในการก่อสร้าง การออกแบบ วัสดุที่ใช้ และความเชี่ยวชาญของทีมช่างด้วย

 จุดเด่นของโครงสร้าง PEB

  • ออกแบบตามการใช้งานจริง ยึดต่อด้วยระบบสลักเกลียวและน๊อต
  • ราคาถูกลงเนื่องจากใช้เหล็กน้อยกว่าโครงสร้างทั่วไปได้ถึง 30%
  • ประหยัดเวลาก่อสร้างมากกว่าการสร้างโกดังทั่วไป 30 –  50%
  • กระบวนการติดตั้งรวดเร็วด้วยระบบ Bolt ใช้แรงงานคนน้อย
  • ใช้วัสดุคุ้มค่า งบประมาณก่อสร้างไม่บานปลาย
  • โครงสร้างไม่มีเสากลาง พื้นที่ภายในกว้างขึ้น
  • ประหยัดงานฐานราก เสาเข็ม และค่าสีกันสนิม
  • ออกแบบเพื่อรองรับการต่อเติมในอนาคตได้
  • ประหยัดค่าไฟฟ้า หากเทียบกับระบบการเชื่อมแบบโครง truss
  • สามารถรื้อถอน เคลื่อนย้ายได้ (โครงสร้าง PEB ทำจากเหล็ก จึงทำให้มูลค่าทรัพย์สินยังคงอยู่ เมื่อมีการรื้อถอน)

โกดังสำเร็จรูป ดีกว่าโกดังทั่วไปอย่างไร? 

Pre-Engineered Building PEB ดีไหม

 

1) สร้างเสร็จไว ประหยัดเวลากว่า

โกดังสำเร็จรูป ผู้รับเหมามีการวางแผนออกแบบและผลิตชิ้นส่วนประกอบต่าง ๆ มาจากโรงงานแล้ว เหลือเพียงขั้นตอนการติดตั้งหน้างาน จึงสร้างเสร็จไวกว่าโกดังทั่วไป

2) ปรับรูปแบบให้เหมาะกับธุรกิจได้

ธุรกิจแต่ละแบบมีลักษณะการทำงานที่ไม่เหมือนกัน แม้ว่าโกดังสำเร็จรูปจะมีการออกแบบไว้เบื้องต้นแล้ว แต่ก็สามารถปรับให้เหมาะกับธุรกิจ และเพิ่มฟังก์ชันได้ตามความต้องการ

3) ช่วยลดต้นทุน คุมงบได้ไม่บานปลาย

การก่อสร้างอาคารมักมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมที่ไม่คาดคิด เช่น ค่าวัสดุที่มีความผันผวน ค่าแรงงานต่าง ๆ ซึ่งโกดังสำเร็จรูปจะพบปัญหาเหล่านี้น้อยมาก ๆ เพราะผู้รับเหมาคิดรวมค่าต่าง ๆ ไว้ในงบที่ตกลงกันไว้

4) โครงสร้างแข็งแรง ตามหลักวิศวกรรม

หากผู้ประกอบการว่าจ้างผู้รับเหมาที่น่าเชื่อถือ ใช้วัสดุที่มีคุณภาพ พร้อมการก่อสร้างที่ได้มาตรฐานแล้ว โครงสร้างที่ได้จะแข็งแรงไม่น้อยกว่าโกดังแบบอื่น โดยทั่วไปโกดังสำเร็จรูปจะมีอายุการใช้งานเป็นสิบ ๆ ปี

5) เคลื่อนย้าย รื้อถอน ประกอบใหม่ได้

ข้อนี้เป็นจุดเด่นหลัก ๆ ของโกดังสำเร็จรูป เพราะโครงสร้างแบบน็อกดาวน์ ประกอบด้วยส่วนประกอบที่แยกชิ้นส่วนกัน หากเรามีความจำเป็นที่จะเคลื่อนย้ายหรือรื้อถอน ก็สามารถถอดส่วนประกอบได้เลย ไม่ต้องใช้เวลารื้อถอนนานเหมือนกับโกดังทั่วไป

6) ดีต่อเพื่อนบ้าน และ สิ่งแวดล้อม

การสร้างโกดังสำเร็จรูป สร้างมลภาวะน้อยกว่าการสร้างโกดังทั่วไปมาก ทั้งเรื่องมลภาวะ เศษฝุ่น เศษหิน หรือมลภาวะทางเสียง

 

โครงสร้างเหล็กPEB ใช้งานอะไรได้บ้าง?

PEB (Pre-Engineered Building) โครงสร้างเหล็กสำเร็จรูป

โกดังสำเร็จรูป หรือ โครงสร้างเหล็ก PEB ใช้งานได้อเนกประสงค์ แล้วแต่ความต้องการของผู้ใช้งาน

  • จัดเก็บหรือสต็อกสินค้า (Product storage)
  • งานขนถ่ายสินค้า (Loading/Unloading)
  • งานนำเข้า – ส่งออก (Import/Export)
  • วัสดุก่อสร้าง (Building materials)
  • การจัดเก็บอุปกรณ์ (Equipment storage)
  • การบรรจุ/บรรจุภัณฑ์ (Packing/Packaging)
  • งานเกษตรกรรม (Agriculture)
  • การบิน (Aviation)
  • การผลิต (Production)
  • โกดัง คลังสินค้า (Warehouse)
  • พื้นที่สันทนาการ (Recreational)
  • หลังคาสนามกีฬาในร่ม (Indoor Stadium Roof)
  • โชว์รูม (Show Room)
  • สำนักงาน โรงงาน (Offices / Factories)

จะเห็นว่าระบบโครงสร้าง Pre-Engineered Building ได้เปรียบเรื่องระยะเวลาก่อสร้าง เพราะสามารถทำงานจริงและเสร็จได้ในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งเร็วกว่าการก่อสร้างด้วยโครงสร้างเหล็กแบบเดิม ๆ รวมถึงไม่ต้องใช้พื้นที่ในการเตรียมงานก่อสร้างมากเหมือนระบบโครงสร้างทั่วไป ที่สำคัญคือควบคุมงบประมาณได้ ไม่บานปลาย ดีต่อผู้ประกอบการมาก ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพของผู้รับเหมาด้วย

ขอบคุณข้อมูลจาก : Finance Rumour