พามารู้จัก ไฟเบอร์บอร์ด คืออะไร? มีทั้งหมดกี่ประเภท?
บทความนี้ พาทุกท่านมารู้จักกับ ไฟเบอร์บอร์ด (Fiberboard) วัสดุทดแทนไม้ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในวงการอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ รวมทั้งบอกคุณสมบัติของวัสดุประเภทนี้ ว่าควรค่าและเหมาะสมกับการนำไปใช้งานของท่านหรือไม่ ตาม KACHA ไปไขข้อสงสัยกันเลย!
ไฟเบอร์บอร์ด คืออะไร?
ไฟเบอร์บอร์ด (Fiberboard) หรือที่ในภาษาไทยเรียกว่า แผ่นใยไม้อัด เป็นวัสดุที่เกิดจากการใช้ไม้หรือพืชเกษตร เช่น เศษไม้ยางพารา นำมาแยกเส้นใยออก แล้วใช้กาวชนิดพิเศษเพื่อประสานใยไม้เข้าด้วยกัน จากนั้นอัดเป็นแผ่นด้วยความร้อนและแรงอัด สุดท้ายเมื่อเสร็จกระบวนการจึงนำไปผึ่งอากาศให้เย็น ถึงจะได้แผ่นไฟเบอร์บอร์ดที่สามารถนำมาใช้ทดแทน แผ่นไม้อัดและไม้ประกอบอื่น ๆ ได้เป็นอย่างดี
ไฟเบอร์บอร์ด มีกี่ประเภท? ต่างกันอย่างไร?
ไฟเบอร์บอร์ดสามารถนำมาแบ่งประเภทได้ตามความหนาแน่น โดยแบ่งได้เป็น 2 ประเภท
- ประเภทที่ 1 แผ่นใยไม้อัดอ่อน หรือ แผ่นใยไม้อัดฉนวน (Softboard หรือ Insulation Board) นำไปใช้เป็นฉนวนกันความร้อนและเสียง
- ประเภทที่ 2 แผ่นใยไม้อัดแข็ง (hardboard) โดยที่นิยมนำมาใช้งานนั้น สามารถแยกย่อยได้อีก 3 ชนิด คือ
- MDF (Medium Density Fiberboard) แผ่นใยไม้อัด ความหนาแน่นปานกลาง โดยผลิตจากเส้นใยไม้ ขี้ผึ้ง และเรซิน สามารถนำมาใช้แทนไม้อัดได้
- HDF (High Density Fiberboard) แผ่นใยไม้อัด ทนความชื้นสูง ลักษณะคล้ายกับแผ่นใยไม้อัดความหนาแน่นปานกลาง MDF แต่มีความแข็งแรงทนทานมากกว่า
- HMR (High Moisture Resistance board) แผ่นใยไม้อัด ความหนาแน่นสูง มีลักษณะเป็นแผ่นไม้สีเขียว ที่เพิ่มเข้าในกระบวนการผลิต ซึ่งสีอาจจะจางหรือเปลี่ยนไปได้เมื่อถูกแดดหรือโดนความร้อน จุดเด่นคือมีความทนทานและทนความชื้นสูง สามารถนำไปใช้งาน เช่น ทำเฟอร์นิเจอร์บิวท์อินในห้องน้ำหรือห้องครัว แต่ไม่แนะนำให้เอาไปแช่น้ำหรือโดนน้ำโดยตรง
ข้อดี-ข้อเสียของ ไฟเบอร์บอร์ด ประเภทต่าง ๆ
แผ่นใยไม้อัดความหนาแน่นปานกลาง MDF (Medium Density Fiberboard)
ข้อดี
- ไม่มีลายไม้ จึงทำให้พื้นผิวไม้มีความเรียบ สม่ำเสมอ เหมาะกับงานที่ต้องใช้พื้นผิวลักษณะนี้
- ใช้งานได้หลากหลาย อเนกประสงค์
- นำไปใช้ทำงานจำพวกเฟอร์นิเจอร์ ตู้เก็บของ ชั้นวางของ และงานไม้อื่นๆ
- ราคาไม่แพง เมื่อเทียบกับไม้ประเภทเนื้อแข็ง เหมาะสำหรับงานที่ต้องควบคุมงบประมาณ
- ตัดขึ้นรูปและนำไปใช้งานได้ง่าย ใช้เพียงแค่เครื่องมืองานไม้ทั่วไปในหารตัด ก็สามารถนำไปใช้งานได้แล้ว
ข้อเสีย
- ไม่เหมาะกับพื้นที่ที่มีน้ำหรือมีความชื้นสูง เพราะอาจทำให้ไม้อัดบวม บิดงอ เสียหายได้
- ไม่เหมาะกับงานกลางแจ้ง เพราะไวต่อความชื้นสูง จึงไม่เหมาะกับสภาพแวดล้อมที่มีการสัมผัสความชื้นหรือโดนน้ำโดยตรง
- ความแข็งแรงปานกลาง อาจะไม่เหมาะกับงานที่นำไปใช้รองรับแรงหรือน้ำหนักมาก ๆ
- แผ่นไม้ค่อนข้างหนัก เพราะมีความหนาแน่นมากกว่า แผ่นไม้ธรรมดาแบบอื่น ๆ
แผ่นใยไม้อัดความหนาแน่นสูง HDF (High Density Fiberboard)
ข้อดี
- มีความหนาแน่นสูงมากกว่าไม้ MDF จึงทำให้มีความแข็งแรง และทนทานต่อความชื้นมากยิ่งขึ้น
- มีพื้นผิวเรียบ คล้ายกับไม้ MDF สามารถนำไปตกแต่งและเคลือบต่อไปได้
- ความทนทานต่ออุณหภูมิหรือความชื้น มากกว่าแผ่นไม้ชนิดอื่น ๆ
- ทนต่อการบิดเบี้ยว เพราะมีความหนาแน่นสูง จึงทำให้มีความทนทานมากกว่าไม้ MDF
ข้อเสีย
- ไม่สามารถทนต่อแรงกระแทก หรือแรงบีบได้ดีเท่ากับไม้แท้ ๆ เนื่องจากเป็นแผ่นไม้ที่สังเคราะห์จากใยไม้เท่านั้น
- ไม่เหมาะกับพื้นที่ที่มีความชื้นสูงหรือมีการโดนน้ำบ่อยครั้ง เพราะอาจเกิดการบวมและเสียหายได้
- ไม่เหมาะสำหรับการใช้งานกลางแจ้ง เพราะอาจโดนฝนหรือความชื้นจากอากาศ จนเกิดการบวมและความเสียหายได้
- ราคาสูงกว่าแผ่นไม้ชนิดอื่นที่ใช้ในการทำเฟอร์นิเจอร์ เพราะมีความหนาแน่นไม้สูง จึงทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นเช่นกัน
แผ่นใยไม้อัดทนความชื้นสูง HMR (High Moisture Resistance board)
ข้อดี
- ทนต่อความชื้นสูง เพราะในกระบวรการผลิตมีสารที่ช่วยเสริมให้ทนต่อความชื้นและทนต่อน้ำได้ดีมาก
- แผ่นไม้มีความทนทาน ทำให้เมื่อโดนน้ำหรือความชื้น จะสามารถทนต่อการบวมหรือแตกได้เป็นอย่างดี
- เหมาะสำหรับใช้ในที่ที่มีความชื้น เช่น ห้องน้ำ ห้องครัว หรือบริเวณที่อาจมีการสัมผัสกับน้ำ
- ใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ เช่น ตู้เสื้อผ้า เฟอร์นิเจอร์ในห้องครัว ห้องน้ำ หรือโครงสร้างอื่นๆ ได้
ข้อเสีย
- ราคาสูงกว่าไม้ในรูปแบบอื่น ๆ เพราะเป็นไม้ชนิดพิเศษที่ทำขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาเรื่องความชื้น จึงทำให้ต้นทุนในการผลิตสูงขึ้นเช่นกัน
- ข้อจำกัดเรื่องทนต่อความชื้น ควรระวังเรื่องการใช้งานในสภาพแวดล้อมที่มีน้ำขังตลอดเวลา
- ความทนทานต่อแรงกระแทก เพราะไม่สามารถทนต่อแรงกระแทกและแรงบีบได้ดีเท่ากับไม้แท้ ๆ เนื่องจากเป็นแผ่นไม้ที่สังเคราะห์จากใยไม้เท่านั้น
หลังจากอ่านบทความจบแล้ว เพื่อน ๆ พอจะเข้าใจคุณสมบัติของแผ่นไฟเบอร์บอร์ดเพิ่มมากขึ้นไหมคะ ซึ่งในการเลือกใช้งานแผ่นใยไม้อัด นอกจากจะเลือกให้เหมาะสมกับชิ้นงานที่ต้องการแล้ว ควรนึกถึงเรื่องสภาพแวดล้อมที่จะนำไปใช้งานด้วยนะคะ เพราะแผ่นไม้บางชนิดก็อาจไม่มีความสามารถในการทนทานต่อความชื้นได้ดีเท่าที่ต้องการนะคะ
บทความที่น่าสนใจ
ข้อมูลอ้างอิง : prochain, builk, rubber.oie, forprod.forest